จากอนิเมญี่ปุ่นกว่าจะได้เป็นแผ่นในไทย

วันนี้มาแนะนำครับ...ไม่สิ เรียกว่าเล่าให้ฟังในมุมมองของผมจะดีกว่า ผมจะไม่เขียนอะไรนอกเหนือจากสิ่งที่รู้และเคยเห็นมานะครับ

งานหลักไม่ขอบอกแต่อาชีพเสริมคือแปลอนิเมให้กับค่ายนำเข้าค่ายนึง ผมไม่ขอเขียนถึงเรื่องรายได้และไม่ตอบคำถามอื่นๆ นอกเหนือจากที่เกี่ยวข้องกับบทความนี้ไม่ว่าจะในนี้หรือหลังไมค์นะครับ และผมไม่มีส่วนได้ส่วนเสียหรือถูกสั่งให้เขียนบทความนี้ขึ้นมาจากใครทั้งสิ้น และเขียนขึ้นภายใต้ข้อจำกัดของจรรยาบรรณทางวิชาชีพ จึงไมอาจะเปิดเผยอะไรๆ ได้ทั้งหมด เขียนเท่าที่จะเปิดเผยได้ครับ

เอาล่ะผมจะพูดถึงขั้นตอนจากการนำเข้าอนิเมมาจากญี่ปุ่น จนถึงออกเป็นแผ่นวางขายในร้านอย่างคร่าวๆ ครับ ซึ่งคิดว่ามีหลายคนน่าจะสงสัยและอยากรู้อยู่ และผมก็เคยโดนถามอยู่เนืองๆ เหมือนกัน

ขั้นตอนการนำเข้า...ตรงนี้ผมไม่ทราบมากนักแต่ก็มีทั้งเราขอซื้อ เขาติดต่อขาย(อันนี้โดยมากน่าจะเป็นค่ายที่เคยค้ากันอยู่แล้ว) แล้วก็เอ่อ...ขายพ่วงให้(บางเรื่องสงสัยว่าแม่มมาไงวะ บางทีก็อาจจะเข้าเค้านี่แหละ)

ติดต่อกันสักพักกว่าจะได้LCมา ใช้เวลาไม่เท่ากัน บางค่ายตอบรับเร็ว LCตั้งกะอนิเมเพิ่งฉายไปตอนแรก บางค่ายก็ช้า หรือต่อให้ได้มาแต่บริษัทในไทยก็ยังไม่ได้ประกาศ ไม่ก็ประกาศไม่ได้เพราะญี่ปุ่นไม่ให้พูด ก็มีหลายเรื่องครับ ตรงส่วนนี้ผมไม่ทราบรายละเอียดมากเท่าไหร่ บางเรื่องเขียนมากไปก็ไม่ดีเพราะจะกลายเป็นผิดจรรยาบรรณไป ก็ขอเขียนไว้เท่านี้ละกันครับ

ได้มาแล้วก็จะมาเฟ้นหาคนแปลกัน หลักการหาคนแปล...ค่ายไหนอะไรยังไงผมไม่รู้นะ แต่ที่ผมเจอมาจะประมาณว่า ใครว่างอยู่อะไรตอนไหนก็เสนอไป คนแปลมีสิทธิ์จะเลือกทำหรือไม่ทำก็ได้ (แต่เลือกไม่ทำก็ไม่ได้ตังครับ จบเห่ ว่าแต่ทำไมเอาแต่เรื่องที่ทำแล้วปวดตับมาให้ผม แง้ 555) เม่าจอแดง2    

ได้LCมาแล้ว ใช่ว่าจะทำได้เลย บางครั้งทางต้นสังกัดญี่ปุ่นไม่ส่งวัตถุดิบ (เช่นบท ภาพที่ใช้ทำปก แพ็คเกจ ฯลฯ) เราก็เริ่มงานกันไม่ได้ครับ นี่คือเหตุผลที่หลายๆ คนถามว่า ทำไมประกาศLCนานแล้วไม่ทำสักที ดองหาสวรรค์วิมานเธอว์หรือ ผมก็อยากจะบอกว่าบริษัทไหนก็อยากจะขายเร็วๆ ครับ แต่ของเขาไม่ส่งมาให้จะขายยังไงล่ะ ตรงนี้บางครั้งก็ต้องทำความเข้าใจครับ ผมเคยรออยู่เป็นเดือนๆ เลยก็มี

หลังจากนั้นถึงกระจายงานไปทำต่อจนกระทั่งส่งงานมาถึงคนแปล...

งานแปล... ขั้นตอนที่ผมขลุกอยู่กับมันมากที่สุด บทที่ได้มาจะเป็นบทที่นักพากย์ญี่ปุ่นใช้พากย์กันจริงๆ แต่บางทีก็จะเจอบทพูดที่ในบทไม่มีแต่ในอนิเมดันมี ก็ต้องมาแกะเอาเองครับ จริงๆ แล้วเนี่ยสิ่งสำคัญของการแปลอนิเมคือ “การฟัง” ครับ ไม่ใช่ “บท” เพราะในบทจะมี ad lib ซึ่งหมายถึงให้นักพากย์ใส่เสียงอะไรก็ได้มาในตอนนั้น มักจะเป็นคำเช่น เอ๊ะ อ๊ะ หรือมาเป็นประโยคสยองๆ ก็เคยเจอถ้านักพากย์ดันนึกอะไรบรรเจิดขึ้นมา ก็ต้องมานั่งแกะกันสนุกสนาน งานแปลนี่ถ้าไปเจอมุกเล่นคำล่ะก็ถึงกับเอามือทาบอกแล้วร้องอุทานว่า “บ้าชะมัดเลยพี่ชาย” กันเลยทีเดียว เม่าบัลเล่ต์

อ้อใช่ งานแปลนี่ทำซับและบทพากย์ไปพร้อมกันครับ ปกติจะเลือกเฟ้นรูปประโยคและคำศัพท์ให้มีจำนวนพยางค์ เท่ากับหรือ+-2ถึง3คำ เทียบกับจำนวนพยางค์ในประโยคญี่ปุ่นครับ คนแปลนี่เท่าที่ผมถามมาแปลเสร็จก็พากย์เองก่อนส่งแทบจะทุกคนเลยนะ ตบแล้วตบอีกจนคิดว่าดี แต่บางทีก็ยังมีพลาด แผ่นออกไปแล้วเพิ่งนึกขึ้นได้ว่าคำนี้ดีกว่า ก็มีกันประจำครับ (ผมก็มีไปเร็วๆ นี้เรื่องนึง แผ่นออกแล้วด้วย บ้าที่สึด)เม่าในกองไฟ

คนแปลแปลเสร็จ ก็ส่งบทกลับให้P...ผู้ดูแลคนแปลครับ ซึ่งส่วนมากจะมีหน้าที่คอยส่งงาน ตรวจเช็คงาน ทวงงานคนแปล QCบทที่แปลมาแล้ว สารพัดอย่างให้งานออกมาลงตัวที่สุด จากนั้นก็จะเข้าห้องพากย์

ส่วนของการพากย์ ผมเคยไปดูเองจำไม่ได้ว่ากี่ครั้ง แต่ความรู้สึกตอนที่เห็นว่าบทที่ตัวเองแปลกำลังถูกอ่านพากย์อยู่นี่มัน...ครั้งแรกผมตื่นเต้นแบบบอกไม่ถูก คนๆเดียวกับที่ผมเคยฟังเสียงเขามาตั้งแต่เด็ก พอได้ยินเสียงสดๆ แล้วมันฟินบอกไม่ถูกจริงๆ ผมเองก็เคยอคติว่าพากย์ไทยทำไมมันสู้ญี่ปุ่นไม่ได้ ยอมรับว่าไปเยือนด้วยข้อกังขาที่มีมาของผมที่เหมือนทุกคนคิดนี่แหละ แต่สถานที่จริงมันไม่ใช่ครับ เป็นไปได้ก็อยากจะแบ่งปันบรรยากาศให้สัมผัสบ้าง พากย์ไทยไม่ได้พากย์ส่งๆครับ มีคนแปล(บางคน) คนQCบทพากย์คุมเสียงพากย์ด้วย ถ้าไม่ได้ก็ไม่ให้ผ่าน หรือบางทีพี่นักพากย์ไม่พอใจ ขอเทคเองก็บ่อยครับ นักพากย์ที่โดนเทคใหม่เป็นสิบรอบผมก็เห็นมาแล้ว(บทมันยาก)

งานพากย์ไม่ใช่งานง่ายๆ แค่อ่านบทแล้วผ่านๆ ไป พี่นักพากย์คนนึงบางตอนบางเรื่องพากย์ 2-3 ตัว บางทีก็เยอะกว่านั้น ด้วยจำนวนคนสายอาชีพนี้จำกัดไม่ได้มีตัวเลือกเยอะมากเหมือนญี่ปุ่น และสิ่งที่เป็นความเห็นส่วนตัวของผมอีกเรื่องคือภาษาไทยกับญี่ปุ่น ลักษณะการพูด และวัฒนธรรมมันไม่ได้เหมือนกัน สิ่งที่แปลมาจากภาษาญี่ปุ่นมันไม่ใช่ภาษาไทย เลยอาจจะทำให้มันฟังดูแปลกๆ “เพราะมันไม่ใช่ภาษาไทย” ทุกวันนี้คือดีที่สุดเท่าที่ทำได้ครับ และผมเองก็อยากให้ดีกว่านี้ ก็คงต้องพัฒนากันไปเรื่อยๆ แหละครับ

จบจากงานพากย์ ก็เป็นด้านงานแผ่น บางครั้งฝ่ายโปรดักชั่นที่ทำQC (ผมควรจะเรียกว่า GB เจเนรัลเบ๊ รึเปล่านะ?) ก็ไปแก้งานขั้นสุดท้ายจนเป็นที่หน้าพอใจถึงโรงงานไรท์แผ่นเลยก็มี

ระหว่างทำบทแปล พากย์ และงานแผ่น ก็มีอีกงานที่เดินหน้าไปด้วยคืองานพิมพ์ครับ อย่างรูปเล่มbookletที่แถมในแผ่น แล้วก็ปกและกล่องทั้งหลาย ซึ่งตรงนี้ไม่เกี่ยวกับผมเท่าไหร่และไม่เคยทราบรายละเอียดเหมือนกัน ยกเว้นงานแปลบุ้คเลทและปกหลัง แต่เอ๊ะนั่นมันก็แปล...ไม่เกี่ยว เพราะฉะนั้นก็คงเขียนไว้เท่านี้ครับ

แล้วก็ส่งแผ่นออกขายได้ เย้เม่าบัลเล่ต์

ขอย้ำอีกทีว่าบทความนี้เขียนขึ้นจากสิ่งที่ผมรู้เห็นและพบเจอกับตัวเอง ไม่ได้เขียนขึ้นมาเพื่ออวยใคร บริษัทไหน หรืออะไรทั้งสิ้น เพื่อสร้างความเข้าใจ ไขข้อกังขาบางข้อของหลายๆ คน และจะดีถ้าสิ่งที่ผมเขียนถูกเผยแพร่ในวงกว้างเพื่อความเข้าใจครับ

kuro

ปล. บนโลกนี้ไม่มีอะไรที่ดีเลิศ ในบรรดาสิงที่ดี ก็มีบางส่วนที่แย่ เพราะฉะนั้นก่อนจะต่อว่าด่าใคร ดูว่ามันอยู่ในประเด็นหรือไม่ครับ จะได้ไม่เป็นภาระทางอารมณ์ของคนอ่านคอมเม้นท์คนอื่นๆ ขอบคุณครับ

ปล.2 ไว้วันหลังจะเขียนปัญหาในงานแปลที่เจอดีไหมนะ?

ปล.3 พันทิปมีแต่ tag นักพากย์ ไม่มี tag นักแปลบ้าง เผื่อบางคนอยากจะคุยว่านักแปลคนไหนอะไรยังไง น้อยใจจุงเม่าโศก
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่