"พ่อแม่สอนตลอดว่าอย่าหน้าตาดีอย่างเดียว ต้องฉลาดด้วย"
"ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าเพราะอะไร" "เก้า-สุภัสสรา ธนชาต" บอกหัวเราะๆ หลังคนดูซีรีส์ "Hormones วัยว้าวุ่น" ที่ออกอากาศทางช่องจีเอ็มเอ็มวัน เกิดปฏิกิริยาสุดขั้วใน 2 ทาง จากบทบาท "สไปร์ท" ที่เธอแสดง
"สไปร์ท" เด็กนักเรียนหญิงคนสวยของชั้นมัธยมปลาย ที่พร้อมมีเพศสัมพันธ์กับทุกคนที่เจ้าตัวพอใจ ในกรณีที่ฝ่ายชายสวมถุงยางอนามัย ด้วยยึดคติว่า แม้ "อารมณ์ฉันก็มี แต่ถ้าไม่มีถุงยางก็อดเว้ย"
จน "อยากกินสไปร์ทต้องใส่ถุง" กลายเป็นคำใหม่ ที่ซ่อนนัยให้ใครต่อใครเข้าใจตรงกัน
"ฟีดแบคดีนะคะ" เก้า ซึ่งปัจจุบันอายุ 19 ปี และกำลังศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะเศรษฐศาสตร์ภาคพิเศษ ม.เกษตรศาสตร์บอก
"มีหลายคนบอกว่าสไปร์ทแรด ไม่ชอบเลย แต่ก็มีหลายคนบอกว่าสไปร์ทเป็นไอดอล"
ดูจากยอดกดไลค์ในแฟนเพจของ "สไปร์ท" เทียบกับแฟนเพจของ "ของขวัญ" เด็กเรียนผู้มีความประพฤติดีเลิศก็พอจะเห็นความต่าง เพราะขณะที่ของ "ของขวัญ" มียอดไลค์ 2,500 "สไปร์ท" ก็ปาเข้าไปราวๆ 16,000
"บางทีก็ไปไม่เป็นเหมือนกันนะคะ" เก้าบอก
"จริงๆ ตอนแรกเราเองก็กังวลเหมือนกับทุกๆ คนที่กังวลอยู่ ว่าคนดูจะแยกออกไหม ว่าอันไหนดี อันไหนไม่ดี แต่เหมือนพอออกไป ทุกคนจะรู้ ดูจะเข้าใจ"
"คือตัวละครตัวนี้มีความน่าสนใจและน่าเห็นใจอยู่ ถ้ามององค์ประกอบทุกอย่าง คนจะไม่ชอบเลย แต่ที่เขาเป็นแบบนี้เพราะเขามีวิธีคิดที่แตกต่างกับคนอื่น"
ซึ่งสุดท้ายแล้วจะดีหรือไม่ดี อันนี้ขอให้คอยติดตาม
อย่างไรก็ดีที่บอกได้ตอนนี้คือ สิ่งที่ "สไปร์ท" คิดและเป็นนั้น "มันไกลตัวค่ะ"
"อยากให้เข้าใจว่าเราเองไม่ได้ร้าย" ไหนๆ ก็ไหนๆ เก้าขอออกตัวให้รู้
"ไม่อยากให้ใครมองว่าเราเป็นอย่างนั้น" เก้าบอก
"กลัวมาก เพราะหน้าเราก็แบบนิ่งๆ ร้ายๆ"
"แต่บทมันท้าทายเลยลองดู" นักแสดงซึ่งก่อนหน้านี้เคยมีผลงานในละคร "หลวงตามหาชน" ว่า
ซึ่งหลัง "ลอง" แล้วจึงรู้ว่าทั้งบทที่ได้ ทั้งการทำงานกับผู้กำกับ "ย้ง-ทรงยศ สุขมากอนันต์" น่ะ "ยากมาก"
"ยากทุกฉาก มันเหมือนถ่ายเป็นหนัง แล้วเขาละเอียดมาก ฉากหนึ่งเล่น 20 รอบ ชั่วโมงครึ่ง สองชั่วโมง"
กว่าจะออกได้เป็นภาพสวย มุมดี อย่างที่เห็น
ไหนยังจะเลิฟซีนแบบ "จูบจริง" ที่คิดไม่ถึงนั่นอีก
"ตอนแรกไม่รู้ เห็นในบทว่ามีฉากจูบ โอเค ก็คงจะมุมกล้อง จนจะถ่ายอยู่แล้ว รู้สึกว่าคาใจ ถาม "ต่อ" "
ธนภพ ลีรัตนขจร)" ต่อบอกอย่างพี่ย้งคงจูบจริงมั๊ง เราก็เฮ้ย!!" เลยไปถาม แล้วก็ได้คำตอบว่า "จริงสิ"
"เราก็เอ่อ...ค่ะ เพราะมาถึงขนาดนี้แล้ว ยังไงก็ต้องทำ"
ตกลงกับคู่แสดงไว้ดิบดีว่าเทคเดียวต้องผ่าน "เพราะเราเป็นผู้หญิง จะให้ไปจูบเลยก็แบบยังไงอยู่ ไม่รู้มือต้องไปไว้ไหนเหรอ"
"ถามพี่ย้ง เขาก็บอกตามฟีลเลยเก้า"
"ก็ไม่ฟีลแล้วน่ะ เกร็งไปหมด" เก้าเล่าอย่างออกรส
"สุดท้ายคือเกือบ 10 เทค"
เก้าซึ่งเข้าวงการจากถ่ายงานโฆษณา และถ่ายแบบนิตยสารบอกว่า แม้งานแสดงจะสนุก แถมทำเงิน จนทุกวันนี้สามารถเลี้ยงดูตัวเองได้ ไม่ต้องกวนพ่อแม่ แต่เธอก็ไม่มั่นใจว่าจะทำต่อไปอีกนานแค่ไหน
ด้วยเหตุหลายปัจจัย หนึ่งคือ "พ่อแม่สอนตลอดว่าอย่าหน้าตาดีอย่างเดียว ต้องฉลาดด้วย" จึงติดนิสัย "โฟกัสเรื่องเรียน" มาตั้งแต่เด็ก
สองคือ แต่ไหนแต่ไร "ไม่ได้อยากเข้ามาทำงานตรงนี้มาก" ที่เข้ามาก็เพราะอยากมีเงินมากิน มาเที่ยวกับเพื่อน
"ที่บ้านไม่ได้จนนะคะ แต่เขาอยากให้รู้จักใช้เงิน ให้อาทิตย์นึงเท่านี้ๆ แต่เพื่อนทุกคนกินร้านดีๆ ทุกมื้อ เราก็อยากได้เงินตรงนี้มา จะได้ไม่ต้องกวนเขา"
และสาม "ที่บ้านมีธุรกิจทำที่ดิน ก็อยากทำงานกับที่บ้าน แล้วก็อยากเปิดบริษัทตัวเองเหมือนกัน"
อย่างไรก็ดี ต่อไปถ้าเกิดรักวงการนี้จับใจ อย่างที่ใครๆ หลายคนมักเป็น
เก้าก็คงหนีไปไหนไม่พ้น
"ว่าอย่างนั้น"
9+++++++++++++++++++++++++++++++++
ในมุมผู้กำกับ
คำแรกที่ "ย้ง-ทรงยศ สุขมากอนันต์" ผู้กำกับบอกคือ "แปลกใจและเซอร์ไพรส์มากเหมือนกัน"
ด้วยตอนเริ่มต้นหวังคนดูแค่ 200,000-300,000 วิวเท่านั้น หากตอนนี้ยอดวิวทะลุไปไม่รู้กี่เท่า
ส่วนเรื่องของตัวละครนั้น เขาว่ายอมรับเรื่อง "สไปร์ท" กับ "ไผ่" มีกระแสแรง
"คงเพราะความหวือหวา" คือสิ่งที่เขาคิด
"เพราะสไปร์ทเป็นคาแรกเตอร์แบบแรดเปิดเผย นอนกับผู้ชาย แต่ขณะเดียวกันก็นิสัยดี"
"ถ้าผู้ชายชอบสไปร์ทก็ไม่แปลก เพราะมีเซ็กซ์แอพพีลสูง"
"ส่วนไผ่เท่ห์ดี"
"แต่เขาจะมีคำถาม คือชอบสไปร์ทนะ แต่ทำไมสไปร์ทต้องทำตัวแบบนี้ ชอบไผ่ แต่ทำไมไผ่ต้องทำตัวแบบนี้"
สำหรับกรณีที่บางคนชอบสไปร์ทถึงขึ้นยกให้เป็นไอดอลนั้น คงเพราะ "สังคมบ้านเราตีกรอบให้ผู้หญิงมาก พอมีคาแรกเตอร์แบบสไปร์ท ที่มันแรด มันจริงจัง มันเปิดเผย มันอิสระในเซ็กส์ แต่ขณะเดียวกันก็ไม่ใช่เด็กที่ไม่ฉลาด มั่วแต่ก็ป้องกัน คือฉันเลือกจะเป็นแบบนี้ ฉันก็คิดมาดีแล้ว ทำให้เด็กผู้หญิงหลายคนอยากมีอิสระได้อย่างนี้บ้าง"
"แต่ผมไม่คิดว่าสิ่งนี้คือสิ่งที่ดีนะ และสุดท้ายแล้วมันจะพาไปถึงจุดที่ว่าตัวละครทุกตัวจะมีผลลัพธ์ที่ตามมา"
"ซึ่งผมอยากให้วัยรุ่นดูว่า ถ้าเราไม่อยากตกอยู่ในสภาวะที่เกิดผลลัพธ์แบบนี้จะยังไง"
"คือตัวซีรีส์จะไม่สรุป ไม่ตัดสินนะ ว่าอะไรถูก อะไรผิด"
"แค่อยากให้เขารู้ว่าเขาต้องคิดเองให้ได้เท่านั้น"
หน้า 24,มติชนรายวัน ฉบับวันอังคารที่ 9 กรกฎาคม 2556
เปิดใจ เก้า-สุภัสสรา "สไปร์ท" ใน "Hormones"
"ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าเพราะอะไร" "เก้า-สุภัสสรา ธนชาต" บอกหัวเราะๆ หลังคนดูซีรีส์ "Hormones วัยว้าวุ่น" ที่ออกอากาศทางช่องจีเอ็มเอ็มวัน เกิดปฏิกิริยาสุดขั้วใน 2 ทาง จากบทบาท "สไปร์ท" ที่เธอแสดง
"สไปร์ท" เด็กนักเรียนหญิงคนสวยของชั้นมัธยมปลาย ที่พร้อมมีเพศสัมพันธ์กับทุกคนที่เจ้าตัวพอใจ ในกรณีที่ฝ่ายชายสวมถุงยางอนามัย ด้วยยึดคติว่า แม้ "อารมณ์ฉันก็มี แต่ถ้าไม่มีถุงยางก็อดเว้ย"
จน "อยากกินสไปร์ทต้องใส่ถุง" กลายเป็นคำใหม่ ที่ซ่อนนัยให้ใครต่อใครเข้าใจตรงกัน
"ฟีดแบคดีนะคะ" เก้า ซึ่งปัจจุบันอายุ 19 ปี และกำลังศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะเศรษฐศาสตร์ภาคพิเศษ ม.เกษตรศาสตร์บอก
"มีหลายคนบอกว่าสไปร์ทแรด ไม่ชอบเลย แต่ก็มีหลายคนบอกว่าสไปร์ทเป็นไอดอล"
ดูจากยอดกดไลค์ในแฟนเพจของ "สไปร์ท" เทียบกับแฟนเพจของ "ของขวัญ" เด็กเรียนผู้มีความประพฤติดีเลิศก็พอจะเห็นความต่าง เพราะขณะที่ของ "ของขวัญ" มียอดไลค์ 2,500 "สไปร์ท" ก็ปาเข้าไปราวๆ 16,000
"บางทีก็ไปไม่เป็นเหมือนกันนะคะ" เก้าบอก
"จริงๆ ตอนแรกเราเองก็กังวลเหมือนกับทุกๆ คนที่กังวลอยู่ ว่าคนดูจะแยกออกไหม ว่าอันไหนดี อันไหนไม่ดี แต่เหมือนพอออกไป ทุกคนจะรู้ ดูจะเข้าใจ"
"คือตัวละครตัวนี้มีความน่าสนใจและน่าเห็นใจอยู่ ถ้ามององค์ประกอบทุกอย่าง คนจะไม่ชอบเลย แต่ที่เขาเป็นแบบนี้เพราะเขามีวิธีคิดที่แตกต่างกับคนอื่น"
ซึ่งสุดท้ายแล้วจะดีหรือไม่ดี อันนี้ขอให้คอยติดตาม
อย่างไรก็ดีที่บอกได้ตอนนี้คือ สิ่งที่ "สไปร์ท" คิดและเป็นนั้น "มันไกลตัวค่ะ"
"อยากให้เข้าใจว่าเราเองไม่ได้ร้าย" ไหนๆ ก็ไหนๆ เก้าขอออกตัวให้รู้
"ไม่อยากให้ใครมองว่าเราเป็นอย่างนั้น" เก้าบอก
"กลัวมาก เพราะหน้าเราก็แบบนิ่งๆ ร้ายๆ"
"แต่บทมันท้าทายเลยลองดู" นักแสดงซึ่งก่อนหน้านี้เคยมีผลงานในละคร "หลวงตามหาชน" ว่า
ซึ่งหลัง "ลอง" แล้วจึงรู้ว่าทั้งบทที่ได้ ทั้งการทำงานกับผู้กำกับ "ย้ง-ทรงยศ สุขมากอนันต์" น่ะ "ยากมาก"
"ยากทุกฉาก มันเหมือนถ่ายเป็นหนัง แล้วเขาละเอียดมาก ฉากหนึ่งเล่น 20 รอบ ชั่วโมงครึ่ง สองชั่วโมง"
กว่าจะออกได้เป็นภาพสวย มุมดี อย่างที่เห็น
ไหนยังจะเลิฟซีนแบบ "จูบจริง" ที่คิดไม่ถึงนั่นอีก
"ตอนแรกไม่รู้ เห็นในบทว่ามีฉากจูบ โอเค ก็คงจะมุมกล้อง จนจะถ่ายอยู่แล้ว รู้สึกว่าคาใจ ถาม "ต่อ" "ธนภพ ลีรัตนขจร)" ต่อบอกอย่างพี่ย้งคงจูบจริงมั๊ง เราก็เฮ้ย!!" เลยไปถาม แล้วก็ได้คำตอบว่า "จริงสิ"
"เราก็เอ่อ...ค่ะ เพราะมาถึงขนาดนี้แล้ว ยังไงก็ต้องทำ"
ตกลงกับคู่แสดงไว้ดิบดีว่าเทคเดียวต้องผ่าน "เพราะเราเป็นผู้หญิง จะให้ไปจูบเลยก็แบบยังไงอยู่ ไม่รู้มือต้องไปไว้ไหนเหรอ"
"ถามพี่ย้ง เขาก็บอกตามฟีลเลยเก้า"
"ก็ไม่ฟีลแล้วน่ะ เกร็งไปหมด" เก้าเล่าอย่างออกรส
"สุดท้ายคือเกือบ 10 เทค"
เก้าซึ่งเข้าวงการจากถ่ายงานโฆษณา และถ่ายแบบนิตยสารบอกว่า แม้งานแสดงจะสนุก แถมทำเงิน จนทุกวันนี้สามารถเลี้ยงดูตัวเองได้ ไม่ต้องกวนพ่อแม่ แต่เธอก็ไม่มั่นใจว่าจะทำต่อไปอีกนานแค่ไหน
ด้วยเหตุหลายปัจจัย หนึ่งคือ "พ่อแม่สอนตลอดว่าอย่าหน้าตาดีอย่างเดียว ต้องฉลาดด้วย" จึงติดนิสัย "โฟกัสเรื่องเรียน" มาตั้งแต่เด็ก
สองคือ แต่ไหนแต่ไร "ไม่ได้อยากเข้ามาทำงานตรงนี้มาก" ที่เข้ามาก็เพราะอยากมีเงินมากิน มาเที่ยวกับเพื่อน
"ที่บ้านไม่ได้จนนะคะ แต่เขาอยากให้รู้จักใช้เงิน ให้อาทิตย์นึงเท่านี้ๆ แต่เพื่อนทุกคนกินร้านดีๆ ทุกมื้อ เราก็อยากได้เงินตรงนี้มา จะได้ไม่ต้องกวนเขา"
และสาม "ที่บ้านมีธุรกิจทำที่ดิน ก็อยากทำงานกับที่บ้าน แล้วก็อยากเปิดบริษัทตัวเองเหมือนกัน"
อย่างไรก็ดี ต่อไปถ้าเกิดรักวงการนี้จับใจ อย่างที่ใครๆ หลายคนมักเป็น
เก้าก็คงหนีไปไหนไม่พ้น
"ว่าอย่างนั้น"
9+++++++++++++++++++++++++++++++++
ในมุมผู้กำกับ
คำแรกที่ "ย้ง-ทรงยศ สุขมากอนันต์" ผู้กำกับบอกคือ "แปลกใจและเซอร์ไพรส์มากเหมือนกัน"
ด้วยตอนเริ่มต้นหวังคนดูแค่ 200,000-300,000 วิวเท่านั้น หากตอนนี้ยอดวิวทะลุไปไม่รู้กี่เท่า
ส่วนเรื่องของตัวละครนั้น เขาว่ายอมรับเรื่อง "สไปร์ท" กับ "ไผ่" มีกระแสแรง
"คงเพราะความหวือหวา" คือสิ่งที่เขาคิด
"เพราะสไปร์ทเป็นคาแรกเตอร์แบบแรดเปิดเผย นอนกับผู้ชาย แต่ขณะเดียวกันก็นิสัยดี"
"ถ้าผู้ชายชอบสไปร์ทก็ไม่แปลก เพราะมีเซ็กซ์แอพพีลสูง"
"ส่วนไผ่เท่ห์ดี"
"แต่เขาจะมีคำถาม คือชอบสไปร์ทนะ แต่ทำไมสไปร์ทต้องทำตัวแบบนี้ ชอบไผ่ แต่ทำไมไผ่ต้องทำตัวแบบนี้"
สำหรับกรณีที่บางคนชอบสไปร์ทถึงขึ้นยกให้เป็นไอดอลนั้น คงเพราะ "สังคมบ้านเราตีกรอบให้ผู้หญิงมาก พอมีคาแรกเตอร์แบบสไปร์ท ที่มันแรด มันจริงจัง มันเปิดเผย มันอิสระในเซ็กส์ แต่ขณะเดียวกันก็ไม่ใช่เด็กที่ไม่ฉลาด มั่วแต่ก็ป้องกัน คือฉันเลือกจะเป็นแบบนี้ ฉันก็คิดมาดีแล้ว ทำให้เด็กผู้หญิงหลายคนอยากมีอิสระได้อย่างนี้บ้าง"
"แต่ผมไม่คิดว่าสิ่งนี้คือสิ่งที่ดีนะ และสุดท้ายแล้วมันจะพาไปถึงจุดที่ว่าตัวละครทุกตัวจะมีผลลัพธ์ที่ตามมา"
"ซึ่งผมอยากให้วัยรุ่นดูว่า ถ้าเราไม่อยากตกอยู่ในสภาวะที่เกิดผลลัพธ์แบบนี้จะยังไง"
"คือตัวซีรีส์จะไม่สรุป ไม่ตัดสินนะ ว่าอะไรถูก อะไรผิด"
"แค่อยากให้เขารู้ว่าเขาต้องคิดเองให้ได้เท่านั้น"
หน้า 24,มติชนรายวัน ฉบับวันอังคารที่ 9 กรกฎาคม 2556