วันนี้หมออาสาตอบปัญหาสัตว์เลี้ยง อยากเสนอความรู้ให้ผู้เลี้ยงสัตว์ที่ยังไม่รู้ถึงภัยร้ายของยาพาราเซตามอลให้ได้ทราบค่ะ
เมื่อสุนัขและแมวเริ่มมีอาการซึมโดยไม่ทราบสาเหตุ หรือโดนกัด หรือตกจากที่สูง รถชนก็ว่ากันไป เจ้าของจะคิดว่าตัวร้อน เป็นไข้ เจ็บปวด และมักคิดเปรียบเทียบกับคนเราว่า ไม่สบาย ครั่นเนื้อครั่นตัว ปวดหัว ตัวร้อน ต้องกินยาแก้ปวดลดไข้ ซึ่งที่หาได้ง่ายคือพาราเซตามอล ทั้งชนิดเม็ดและชนิดน้ำ
คนมักป้อนครึ่งเม็ด หรือหนึ่งเม็ด บางคนให้วันละ3ครั้ง เช้า กลางวัน เย็น ทีนี้มาดูผลที่เกิดกันนะคะ
ในสุนัข
1.ในทางสัตวแพทย์แล้วยาพาราไม่ควรให้หรือถ้าจำเป็นสุดๆจริงๆ ให้ได้เพียงหนึ่งครั้งเพื่อบรรเทากรณีหายาอะไรไม่ได้แล้วจริงๆ แต่การให้ยาในสัตว์ต้องให้ตามน้ำหนักตัว คนหนัก80-100กิโลกรัม กินพารา1เม็ดเป็นอย่างต่ำในขนาดปกติธรรมดา ในคนยาจะใช้คำว่าในเด็ก กับในผู้ใหญ่ แต่สำหรับในสัตว์ยาใช้ตามน้ำหนักตัว ดังนั้นพารา1เม็ดกับสุนัขเล็ก หรือขนาดธรรมดาทั่วไปถือว่าเป็นปริมาณที่มหาศาลมากๆๆ
2.หลังจากกินไปได้1-2วัน อาจจะรู้สึกว่าสัตว์ลุกเดินได้ จากที่ไม่เดินเอาแต่นอนขดตัว เจ้าของจะเข้าใจว่าสุนัขอาการดีขึ้น แต่หลังจากนั้น7-10วัน หรืออาจจะภายใน1เดือนถัดมา อาจซึม อาเจียน ซีด เหลือง ตรวจเลือดพบค่าตับ หรืออาจมีค่าไตสูง โลหิตจาง สุนัขพอจะมีตัวย่อยพาราในตับบ้าง แต่ไม่ให้จะดีกว่าค่ะ
ในแมว
1.หลังกินพาราไม่ว่าจะชนิดเม็ดหรือน้ำ ไปได้ราวๆ1-2วันแล้วแต่ตัว จะมีอาการน้ำหลายไหลมา หน้าบวม หน้ากลม หอบ ซีด บางตัวปัสสาวะเป็นเลือดสด
2.เจ้าของบางคนอาจเข้าใจว่าตัวก่อนก็กินไม่เห็นเป็นไร คือแมวเป็นสัตว์ที่กินยายาก(แล้วแต่ตัว) บางตัวพอป้อนยาจะอมแล้ววิ่งไปคายทิ้ง บางตัวพอยาเข้าปากจะสะบัดหัวอย่างเร็วยาจะหลุดกระเด็ดออกไปไม่ทันที่เจ้าของจะสังเกตเห็นก็จะคิดว่ากินเข้าไปแล้ว
3.ยิ่งยาน้ำแมวยิ่งกินยาก กรณีให้พาราน้ำ แมวจะทำน้ำลายฟูมสะบัดทำให้ยาแทบไม่เข้าไปในการที่จะกลืนยาได้เลย บางตัวที่ป้อนยาน้ำไปแล้วขับพ่นมากับน้ำลายเลยไม่เป็นอะไร
4.บางตัวป้อนยาแล้ววิ่งหนีหายไป ไม่กลับมาอีกเลย ถ้ากินยาเข้าไปจริงๆ จะไปออกอาการป่วยที่ไหนซักแห่งแล้วอาจไม่รอดชีวิตกลับมา
ผลพิษพาราเซตามอล ในแมวจะแสดงอาการชัดเจนและรุนแรงกว่าสุนัข เพราะแมวไม่มีสาร(เอ็นไซม์)ที่ใช้ย่อยยาพารา พาราจะทำลายตับ ไต ทำให้ดีซ่าน เม็ดเลือดแดงแตก ไตวาย การหมุนเวียนเลือดเพื่อจับออกซิเจนถูกขัดขวาง จะหอบซีดตาย ต้องรีบพาพบสัตวแพทย์ให้เร็วที่สุด มียาแก้พิษพารา แต่ขึ้นอยู่กับปริมาณ และระยะเวลาที่ได้รับเข้าไป สัตว์อาจต้องนอนให้น้ำเกลือให้ยาแก้พิษเข้าเส้น ให้ยาบำรุงตับ หรือให้เลือดก็แล้วแต่กรณีค่ะ หันมาใช้ยาแก้ปวดสำหรับสุนัขและมวดีกว่าค่ะ
ในสุนัขบางตัวที่มีปัญหาโรคตับ โรคไต อยู่แล้วโดยที่มีประวัติป่วยอยู่หรือป่วยแต่ยังไม่แสดงอาการ ก็จะยิ่งไปซ้ำให้เป็นหนักกว่าเดิม สุนัขที่สุขภาพแข็งแรงอาจยังไม่มีอาการอะไรให้เห็น แต่พิษจะคงอยู่เรื้อรังในตับ หรือร่างกาย แล้วค่อยแสดงอาการซีด เหลือง ตับวายใน2-3เดือนต่อมา ทั้งที่ผลเฉียบพลันหรือเรื้อรังขึ้นอยู่กับสภาพตัวสัตว์ แต่ที่แน่ๆคือ พาราเป็นยาพิษสำหรับแมวค่ะ
เจ้าของลองค้นหา พาราเซตามอล +สุนัข แมว ในกูเกิ้ลดูก็ได้ค่ะ ที่กล่าวมาหมอเอามาจากประสบการณ์ ความรู้ที่เรียนมา และใช้ถ้อยคำที่เข้าใจง่ายๆคร่าวๆสั้นๆน่ะค่ะ ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาอ่าน หวังว่าจะเป็นประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อยนะคะ
ยาพาราเซตามอล ภัยร้ายในสุนัขและแมว
เมื่อสุนัขและแมวเริ่มมีอาการซึมโดยไม่ทราบสาเหตุ หรือโดนกัด หรือตกจากที่สูง รถชนก็ว่ากันไป เจ้าของจะคิดว่าตัวร้อน เป็นไข้ เจ็บปวด และมักคิดเปรียบเทียบกับคนเราว่า ไม่สบาย ครั่นเนื้อครั่นตัว ปวดหัว ตัวร้อน ต้องกินยาแก้ปวดลดไข้ ซึ่งที่หาได้ง่ายคือพาราเซตามอล ทั้งชนิดเม็ดและชนิดน้ำ
คนมักป้อนครึ่งเม็ด หรือหนึ่งเม็ด บางคนให้วันละ3ครั้ง เช้า กลางวัน เย็น ทีนี้มาดูผลที่เกิดกันนะคะ
ในสุนัข
1.ในทางสัตวแพทย์แล้วยาพาราไม่ควรให้หรือถ้าจำเป็นสุดๆจริงๆ ให้ได้เพียงหนึ่งครั้งเพื่อบรรเทากรณีหายาอะไรไม่ได้แล้วจริงๆ แต่การให้ยาในสัตว์ต้องให้ตามน้ำหนักตัว คนหนัก80-100กิโลกรัม กินพารา1เม็ดเป็นอย่างต่ำในขนาดปกติธรรมดา ในคนยาจะใช้คำว่าในเด็ก กับในผู้ใหญ่ แต่สำหรับในสัตว์ยาใช้ตามน้ำหนักตัว ดังนั้นพารา1เม็ดกับสุนัขเล็ก หรือขนาดธรรมดาทั่วไปถือว่าเป็นปริมาณที่มหาศาลมากๆๆ
2.หลังจากกินไปได้1-2วัน อาจจะรู้สึกว่าสัตว์ลุกเดินได้ จากที่ไม่เดินเอาแต่นอนขดตัว เจ้าของจะเข้าใจว่าสุนัขอาการดีขึ้น แต่หลังจากนั้น7-10วัน หรืออาจจะภายใน1เดือนถัดมา อาจซึม อาเจียน ซีด เหลือง ตรวจเลือดพบค่าตับ หรืออาจมีค่าไตสูง โลหิตจาง สุนัขพอจะมีตัวย่อยพาราในตับบ้าง แต่ไม่ให้จะดีกว่าค่ะ
ในแมว
1.หลังกินพาราไม่ว่าจะชนิดเม็ดหรือน้ำ ไปได้ราวๆ1-2วันแล้วแต่ตัว จะมีอาการน้ำหลายไหลมา หน้าบวม หน้ากลม หอบ ซีด บางตัวปัสสาวะเป็นเลือดสด
2.เจ้าของบางคนอาจเข้าใจว่าตัวก่อนก็กินไม่เห็นเป็นไร คือแมวเป็นสัตว์ที่กินยายาก(แล้วแต่ตัว) บางตัวพอป้อนยาจะอมแล้ววิ่งไปคายทิ้ง บางตัวพอยาเข้าปากจะสะบัดหัวอย่างเร็วยาจะหลุดกระเด็ดออกไปไม่ทันที่เจ้าของจะสังเกตเห็นก็จะคิดว่ากินเข้าไปแล้ว
3.ยิ่งยาน้ำแมวยิ่งกินยาก กรณีให้พาราน้ำ แมวจะทำน้ำลายฟูมสะบัดทำให้ยาแทบไม่เข้าไปในการที่จะกลืนยาได้เลย บางตัวที่ป้อนยาน้ำไปแล้วขับพ่นมากับน้ำลายเลยไม่เป็นอะไร
4.บางตัวป้อนยาแล้ววิ่งหนีหายไป ไม่กลับมาอีกเลย ถ้ากินยาเข้าไปจริงๆ จะไปออกอาการป่วยที่ไหนซักแห่งแล้วอาจไม่รอดชีวิตกลับมา
ผลพิษพาราเซตามอล ในแมวจะแสดงอาการชัดเจนและรุนแรงกว่าสุนัข เพราะแมวไม่มีสาร(เอ็นไซม์)ที่ใช้ย่อยยาพารา พาราจะทำลายตับ ไต ทำให้ดีซ่าน เม็ดเลือดแดงแตก ไตวาย การหมุนเวียนเลือดเพื่อจับออกซิเจนถูกขัดขวาง จะหอบซีดตาย ต้องรีบพาพบสัตวแพทย์ให้เร็วที่สุด มียาแก้พิษพารา แต่ขึ้นอยู่กับปริมาณ และระยะเวลาที่ได้รับเข้าไป สัตว์อาจต้องนอนให้น้ำเกลือให้ยาแก้พิษเข้าเส้น ให้ยาบำรุงตับ หรือให้เลือดก็แล้วแต่กรณีค่ะ หันมาใช้ยาแก้ปวดสำหรับสุนัขและมวดีกว่าค่ะ
ในสุนัขบางตัวที่มีปัญหาโรคตับ โรคไต อยู่แล้วโดยที่มีประวัติป่วยอยู่หรือป่วยแต่ยังไม่แสดงอาการ ก็จะยิ่งไปซ้ำให้เป็นหนักกว่าเดิม สุนัขที่สุขภาพแข็งแรงอาจยังไม่มีอาการอะไรให้เห็น แต่พิษจะคงอยู่เรื้อรังในตับ หรือร่างกาย แล้วค่อยแสดงอาการซีด เหลือง ตับวายใน2-3เดือนต่อมา ทั้งที่ผลเฉียบพลันหรือเรื้อรังขึ้นอยู่กับสภาพตัวสัตว์ แต่ที่แน่ๆคือ พาราเป็นยาพิษสำหรับแมวค่ะ
เจ้าของลองค้นหา พาราเซตามอล +สุนัข แมว ในกูเกิ้ลดูก็ได้ค่ะ ที่กล่าวมาหมอเอามาจากประสบการณ์ ความรู้ที่เรียนมา และใช้ถ้อยคำที่เข้าใจง่ายๆคร่าวๆสั้นๆน่ะค่ะ ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาอ่าน หวังว่าจะเป็นประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อยนะคะ