มองอียิปต์ ในสายตานักข่าวต่างประเทศ

นี่เป็นกระทู้แรกที่ผมเขียนในห้องราชดำเนิน ด้วยว่าผมเองก็อัดอั้นใจมาก ที่เห็นคนไทยทั้ง สส ในสภา ทั้งมวลชนคนเสื้อแดง คนเสื้อเหลือง ที่ต่างก็หยิบยกเหตุการณ์ในประเทศอียิปต์เอามาพูดเกทับ บลัฟแหลก โดยหาคนที่รู้จริงน้อยมากๆ ส่วนมากจับแต่สิ่งที่โดนใจตัวเองเอามาพูด ผมเองจึงไปหาบทวิเคราะห์จากสำนักข่าวต่างประเทศที่ดูแล้วน่าเชื่อถือกว่าสำนักข่าวไทยอ่านดู แล้วใช้ความรู้อันน้อยนิดของผม แปลเพื่อมาแลกเปลี่ยนกับเพื่อนๆในห้องนี้ครับ
       To understand the massive outpouring of grassroots opposition to the Muslim Brotherhood, which spurred the Egyptian
army to evict President Mohamed Morsi from office on his first anniversary of taking power, it is best to avoid the language of
politics – Was it an army coup? Was it a popular revolt? – and focus instead on the language of law and order. In talking to
Egyptians in recent weeks there is one word that best captures the mood of that country and that word is “theft.”

      Always remember: Morsi narrowly won the Presidency by 51 percent of the vote because he managed to persuade many
secular and pious but non-Islamist Egyptians that he would govern from the center, focus on the economy and be inclusive.
The Muslim Brotherhood never could have won 51 percent with just its base alone. Many centrist Egyptian urban elites chose
to vote for Morsi because they could not bring themselves to vote for his opponent, Ahmed Shafik, a holdover from the regime
of Hosni Mubarak. So they talked themselves into believing what Morsi was telling them.

   As it gradually became apparent that Morsi, whenever he had a choice of acting in an inclusive manner – and pulling in all
sectors of Egyptian society – or grabbing more power, would grab more power, a huge chunk of Morsi voters, Islamists and
non-Islamist, started to feel cheated by him. They felt that he and his party had stolen something very valuable – their long
sought chance to really put Egypt on a democratic course, with more equal growth.
       The non-Islamist youth, who mounted the revolution in Tahrir Square in 2011, more than any others, felt that their
revolution had been stolen by the Muslim Brotherhood, who became much more focused on locking themselves and their
cronies in power than fixing Egypt’s economy and making its government more representative. Meanwhile, the rural and
urban poor resented the fact that instead of delivering jobs and bread, as promised, Morsi delivered gas lines and electricity
cuts. Egypt’s Coptic Christians, some of whom were key supporters of the revolution against Mubarak, never trusted Morsi,
who seemed to turn a blind eye to attacks on Christians.

   That widespread sense of theft is what brought so many Egyptians into the streets, which is why it was quite ironic that
President Morsi’s last words before being toppled – words he conveyed in a short video over a presidential Web site – were:
“The revolution is being stolen from us.”
     The thief was calling 911. Unfortunately for him the Egyptian Army answered. Its leaders had already been called by a
significant swath of the Egyptian people, so it is now Morsi who finds himself in custody.

นี่เป็นบทความที่ผมคัดลอกมาส่วนหนึ่ง จากลิงค์ครับ http://www.nytimes.com/2013/07/04/opinion/friedman-egypts-revolution-part-ii.html?pagewanted=1&_r=0&src=recg
โดย THOMAS L. FRIEDMAN

ส่วนด้านล่างที่ผมพยายามแปลมาครับ

         เพื่อที่จะเข้าใจถึงมูลเหตุสำคัญที่ทำให้กองทัพของอียิปต์ ทำการขับไล่นายมอร์ซีลงจากตำแหน่งประธานธิบดีของอียิปต์ หลังจากก้าว
ขึ้นครองอำนาจเป็นครั้งแรก  ทหารก่อกบฏ?  การปฏิวัติของประชาชน?  เปล่าเลย มีเพียงคำพูดเดียวเท่านั้นที่เหมาะสมกับอารมณ์และความ
รู้สึกของคนอียิปต์ตอนนี้  “หัวขโมย”

     ขอให้ระลึกไว้เสมอว่า นายมอร์ซีชนะการเลือกตั้งประธานธิดีของอียิปต์อย่างฉิวเฉียดด้วยคะแนน 51 เปอร์เซนต์ ก็เพราะว่าได้ทำการหา
เสียงเอาไว้กับเหล่าผู้เคร่งศาสนาแต่ไม่ใช่มุสลิม ว่าจะทำการปกครองอย่างเป็นกลาง และพุ่งความสนใจไปที่เศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งกลุ่ม
ภราดรภาพมุสลิม จะไม่มีทางชนะการเลือกตั้งได้เลย ถ้ามีแต่ฐานเสียงของกลุ่มตัวเอง กลุ่มชนชั้นสูงจำนวนมากเลือกที่จะโหวตให้นายมอร์ซี ก็
เพราะพวกเค้าไม่สามารถที่จะโหวตให้กับอีกตัวเลือกที่อยู่ฝ่ายตรงข้ามกับพวกเค้า “นายชาฟีก”  มรดกที่หลงเหลือจากยุคเก่า การปกครองของ
นายฮอสนี มูบารัค  พวกเค้าจึงทำได้เพียงบอกตัวเองให้เชื่อในสิ่งที่นายมอร์ซี ได้สัญญากับพวกเค้า

     แต่เมื่อเหตุการณ์ค่อยๆผ่านไป กลุ่มผู้ลงคะแนนเสียงส่วนใหญ่ให้นายมอร์ซี ทั้งมุสลิมและไม่ใช่มุสลิม เริ่มรู้สึกว่าถูกนายมอร์ซีหักหลัง พวก
เค้ารู้สึกว่าถูกขโมยบางสิ่งบางอย่างที่มีคุณค่าอย่างยิ่งไป   

สิ่งนั้นคือ  การต่อสู้อันยาวนานเพื่อที่จะผลักดันให้อียิปต์ก้าวไปสู่การเป็นประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย และความเท่าเทียมกัน

    ยิ่งกว่าใครๆ ก็คือกลุ่มเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่ไม่ได้นับถือศาสนาอิสลาม ที่เข้าร่วมการปฏิวัติ ใน Tahrir Square ในปี  2011 พวกเค้ารู้สึก
ว่าการปฏิวัติที่พวกเค้าได้ร่วมฟันฝ่าต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งการปกครองโดยระบอบประชาธิปไตย ถูกขโมยโดยกลุ่มภราดรภาพมุสลิม ซึ่งแทนที่จะ
พุ่งเป้าไปที่การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ  กลับกลายเป็นการกระทำเพื่อผูกติดตัวเองกับอำนาจโดยการแต่งตั้งพวกพ้องของตัวเองใน
ตำแหน่งสำคัญต่างๆทางการเมือง
     ในขณะผู้คนทั้งในเมืองและชนบท ต่างเริ่มแสดงความไม่พอใจที่นายมอร์ซีที่นอกจากจะไม่แก้ปัญหาเรื่องการว่างงานและปากท้องของ
ประชาชนแล้ว ยังแถมด้วยการตัดแก๊ซและไฟฟ้าซะอีก
ในขณะที่  Egypt’s Coptic Christians บางคนที่เป็นผู้สนับสนุนคนสำคัญในการปฏิวัตินายฮอสนีย์ มูบารัค ไม่เคยเชื่อในตัวตัวมอร์ซี  ที่เคย
แกล้งทำเป็นตาบอดปล่อยให้มีการทำร้ายชาวคริสเตียน
    นั่นจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ประชาชนชาวอียิปต์จำนวนมาก ออกมาเดินตามท้องถนน  และดูเหมือนเป็นการประชดตัวเองไม่น้อยที่คำพูด
สุดท้ายของนายมอร์ซีก่อนที่จะถูกบังคับให้ลงจากตำแหน่งคือ  “ พวกเราถูกขโมยการปฏิวัติ ”
     จากนั้นหัวขโมยจึงโทรหา 911  แต่ก็พบว่าที่ปลายสายกำลังคุยอยู่กับประชาชนของอียิปต์
ถึงคราวที่นายมอร์ซี ต้องดูแลตัวเองซะแล้ว
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่