Link :
http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=7&t=56023
ผมคิดว่าละครไทยเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลและช่วยให้เราติดตามความเคลื่อนไหวของสังคมได้ในอีกรูปแบบหนึ่ง เนื่องจากเป็นพฤติกรรมสองทาง คือมีแนวคิดของผู้สร้างละครเพื่อให้ตอบสนองต่อความต้องการของผู้ชม และยิ่งไปกว่านั้น ก็มีเสียงตอบรับจากผู้ชม ผ่านทางสื่อ Social Media ต่าง ๆ เพื่อให้เราสามารถมองเห็นมุมมองที่เป็นองค์ประกอบในสังคมครบถ้วนทั้งสองด้าน
ละครเรื่องล่าสุดที่ผมคิดว่ามีข้อคิดไม่น้อย สำหรับนักลงทุนและนักธุรกิจ คือเรื่องสุภาพบุรุษจุฑาเทพ เป็นละครพีเรียดที่ถูกแต่งขึ้น โดยอ้างอิงสังคมไทยในช่วงปีพ.ศ. 2500 ซึ่งอันที่จริงก็เป็นช่วงจุดเปลี่ยนหลายอย่างของเศรษฐกิจและสังคมไทย โดยเป็นเรื่องราวเกี่ยวข้องกับความรักหลายรูปแบบของคุณชายทั้ง 5 แห่งวังจุฑาเทพ
แนวคิดแรกคือ ในมุมของผู้สร้างละคร นี่คือตัวอย่างของ Business Model ที่น่าศึกษา นั่นคือ การรวบรวม “Product” หรือนักแสดง และผู้กำกับหลากหลายเข้าหากัน การวางบทละครโทรทัศน์เพื่อให้เกิดความหลากหลายในการถ่ายทอด ให้กลุ่มผู้ชมกว้างขึ้น มีการสร้างดารานำใหม่โดยผูกเข้ากับดาราที่มีฝีมืออยู่แล้ว มี “Place” หรือ การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อและช่องทางที่หลากหลาย มี “Promotion” การจัดกิจกรรมให้ผู้ชมสัมผัสได้และสามารถจินตนาการตามได้ไม่ยากนัก และยิ่งไปกว่านั้น “Price” คือการสร้าง Economy of Scale ด้วยการนำละคร 5 เรื่องมาผูกติดกัน ซึ่งทำให้ต้นทุนคงที่หลายอย่างลดลง โดยเฉพาะต้นทุนประชาสัมพันธ์ เราจะเห็นบ่อย ๆ ว่า ละครหรือหนัง ที่ผู้แสดงนำดี แต่ถ้าไม่มีระบบต่าง ๆ เกื้อหนุน ก็ยากที่จะประสบความสำเร็จ One Man Show ในธุรกิจสมัยใหม่จะน้อยลงเรื่อย ๆ
แนวคิดที่สองคือ เนื้อเรื่องในละครทั้ง 5 เรื่อง เปรียบเสมือน “เรื่องราวของหุ้น” ที่มีลักษณะที่น่าสนใจยิ่ง นั่นคือ ในปฐมบทเรื่องคุณชายธราธร ซึ่งเป็นเรื่องราวเพื่อปูท้องเรื่องสำหรับคุณชายสี่คนที่เหลือ เนื้อหาความรักไม่ค่อยมีอุปสรรค เหมือนการเดินเข้าสู่ตลาดหุ้นไม่มีผิดเพี้ยน การเปิดบัญชีง่ายแสนง่าย มีของแถมเสียอีก หลังจากนั้นก็กดซื้อขายเทรดหุ้นบนโทรศัพท์สบาย ๆ ง่ายกว่าเล่นเกมด้วยซ้ำ
สำหรับเรื่องราวที่สองและสาม คือคุณชายปวรรุช และคุณชายพุฒิภัทร ซึ่งเป็นเรื่องราวที่มีคนดูติดตามมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะการปูเรื่องและประชาสัมพันธ์มาตั้งแต่คุณชายคนแรก ณ เวลานี้ คือเวลาที่หอมหวานที่สุด ละครมีผู้ชมจำนวนมาก มีความรักที่ประโลมโลกให้ตัวเองอยู่ในฉาก เปรียบเสมือนตลาดหุ้นที่กำลังบูม เริ่มมีนักลงทุนหน้าใหม่ ๆ เข้ามา โดยฝันหวานไปกับความสวยงามในตลาดหุ้น เพราะมีคน “บอกต่อ” ว่าตลาดหุ้นคือแหล่งทำเงินอย่างง่ายดาย
ในขณะเดียวกันนั้น คุณชายที่สี่ คุณชายรัชชานนท์ คือเรื่องราวที่นักลงทุนแนว VI ต้องสนใจที่สุด เนื่องจากเริ่มแรกนั้นเป็นคุณชายที่ถูกคาดหวังต่ำกว่าเรื่องอื่น ๆ เพราะเนื้อหาแปลกกว่าคุณชายคนอื่นมาก เป็นเรื่องราวความรักในป่าในเขา ซึ่งออกลักษณะหวานน้อยกว่ามาตรฐานละครไทย รวมถึงละครออกจะดูยากนิด ๆ เพราะมีการใช้ภาษาอีสานปนภาษากลางจนมีบรรยายไทยอยู่ด้านล่าง นี่คือละคร หรือ หุ้นที่แทบจะไม่มีคนจับตามาตั้งแต่ตอนแรก
ผ่านไปหลาย ๆ สัปดาห์เข้า สิ่งที่น่าแปลกใจก็เกิดขึ้นคือ เรตติ้งละครเรื่องนี้สูงขึ้นทุกสัปดาห์ เมื่อมีผู้ชมเริ่มเห็น “คุณค่า” ของสิ่งที่ผู้กำกับและนักแสดงกำลังถ่ายทอด จนสุดท้าย ผมเข้าใจว่าเรื่องนี้เป็นละครที่เรตติ้งสูงสุดในประว้ติศาสตร์เรื่องหนึ่งทีเดียว และนี่คือลักษณะของการเลือกหุ้นแบบ VI คือเราต้องเห็น “คุณค่า” ก่อนคนอื่น ความสวยงาม หรือ Story เปลือกนอกของบริษัทมักเป็นแค่กระพี้ แต่แก่นที่แท้จริงคือ การขุดหาความสวยงามภายในของบริษัทต่างหาก
ละครเรื่องสุดท้ายคือคุณชายรณพีร์ นี่คือสิ่งที่น่าสนใจมากเช่นกัน เพราะคุณชายรณพีร์ คือคุณชายที่ถูกคาดหวังสูงมากจากผู้ชมคุณชายที่ผ่านมาทั้ง 4 คน ถ้าว่ากันตามเนื้อผ้า เนื้อเรื่องคุณชายก็ไม่ได้ต่ำกว่ามาตรฐานเรื่องอื่น ๆ แต่ผู้ชมกลับผิดหวังเพราะความหวังที่สูงลิ่ว และนี่คือตอนจบของตลาดหุ้น ว่าเส้นทางรวยนั้นไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ ความคาดหวัง และราคาหุ้นอันสูงลิ่ว คือจุดจบของนักลงทุนมานักต่อนัก และดัชนีหุ้นที่ตกลงมาหลายร้อยจุด ในช่วงที่ผ่านมาคงเป็นคำตอบสำหรับนักลงทุนได้เป็นอย่างดี
หุ้น 5 สิงห์แห่งจุฑาเทพ/วีระพงษ์ ธัม
ผมคิดว่าละครไทยเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลและช่วยให้เราติดตามความเคลื่อนไหวของสังคมได้ในอีกรูปแบบหนึ่ง เนื่องจากเป็นพฤติกรรมสองทาง คือมีแนวคิดของผู้สร้างละครเพื่อให้ตอบสนองต่อความต้องการของผู้ชม และยิ่งไปกว่านั้น ก็มีเสียงตอบรับจากผู้ชม ผ่านทางสื่อ Social Media ต่าง ๆ เพื่อให้เราสามารถมองเห็นมุมมองที่เป็นองค์ประกอบในสังคมครบถ้วนทั้งสองด้าน
ละครเรื่องล่าสุดที่ผมคิดว่ามีข้อคิดไม่น้อย สำหรับนักลงทุนและนักธุรกิจ คือเรื่องสุภาพบุรุษจุฑาเทพ เป็นละครพีเรียดที่ถูกแต่งขึ้น โดยอ้างอิงสังคมไทยในช่วงปีพ.ศ. 2500 ซึ่งอันที่จริงก็เป็นช่วงจุดเปลี่ยนหลายอย่างของเศรษฐกิจและสังคมไทย โดยเป็นเรื่องราวเกี่ยวข้องกับความรักหลายรูปแบบของคุณชายทั้ง 5 แห่งวังจุฑาเทพ
แนวคิดแรกคือ ในมุมของผู้สร้างละคร นี่คือตัวอย่างของ Business Model ที่น่าศึกษา นั่นคือ การรวบรวม “Product” หรือนักแสดง และผู้กำกับหลากหลายเข้าหากัน การวางบทละครโทรทัศน์เพื่อให้เกิดความหลากหลายในการถ่ายทอด ให้กลุ่มผู้ชมกว้างขึ้น มีการสร้างดารานำใหม่โดยผูกเข้ากับดาราที่มีฝีมืออยู่แล้ว มี “Place” หรือ การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อและช่องทางที่หลากหลาย มี “Promotion” การจัดกิจกรรมให้ผู้ชมสัมผัสได้และสามารถจินตนาการตามได้ไม่ยากนัก และยิ่งไปกว่านั้น “Price” คือการสร้าง Economy of Scale ด้วยการนำละคร 5 เรื่องมาผูกติดกัน ซึ่งทำให้ต้นทุนคงที่หลายอย่างลดลง โดยเฉพาะต้นทุนประชาสัมพันธ์ เราจะเห็นบ่อย ๆ ว่า ละครหรือหนัง ที่ผู้แสดงนำดี แต่ถ้าไม่มีระบบต่าง ๆ เกื้อหนุน ก็ยากที่จะประสบความสำเร็จ One Man Show ในธุรกิจสมัยใหม่จะน้อยลงเรื่อย ๆ
แนวคิดที่สองคือ เนื้อเรื่องในละครทั้ง 5 เรื่อง เปรียบเสมือน “เรื่องราวของหุ้น” ที่มีลักษณะที่น่าสนใจยิ่ง นั่นคือ ในปฐมบทเรื่องคุณชายธราธร ซึ่งเป็นเรื่องราวเพื่อปูท้องเรื่องสำหรับคุณชายสี่คนที่เหลือ เนื้อหาความรักไม่ค่อยมีอุปสรรค เหมือนการเดินเข้าสู่ตลาดหุ้นไม่มีผิดเพี้ยน การเปิดบัญชีง่ายแสนง่าย มีของแถมเสียอีก หลังจากนั้นก็กดซื้อขายเทรดหุ้นบนโทรศัพท์สบาย ๆ ง่ายกว่าเล่นเกมด้วยซ้ำ
สำหรับเรื่องราวที่สองและสาม คือคุณชายปวรรุช และคุณชายพุฒิภัทร ซึ่งเป็นเรื่องราวที่มีคนดูติดตามมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะการปูเรื่องและประชาสัมพันธ์มาตั้งแต่คุณชายคนแรก ณ เวลานี้ คือเวลาที่หอมหวานที่สุด ละครมีผู้ชมจำนวนมาก มีความรักที่ประโลมโลกให้ตัวเองอยู่ในฉาก เปรียบเสมือนตลาดหุ้นที่กำลังบูม เริ่มมีนักลงทุนหน้าใหม่ ๆ เข้ามา โดยฝันหวานไปกับความสวยงามในตลาดหุ้น เพราะมีคน “บอกต่อ” ว่าตลาดหุ้นคือแหล่งทำเงินอย่างง่ายดาย
ในขณะเดียวกันนั้น คุณชายที่สี่ คุณชายรัชชานนท์ คือเรื่องราวที่นักลงทุนแนว VI ต้องสนใจที่สุด เนื่องจากเริ่มแรกนั้นเป็นคุณชายที่ถูกคาดหวังต่ำกว่าเรื่องอื่น ๆ เพราะเนื้อหาแปลกกว่าคุณชายคนอื่นมาก เป็นเรื่องราวความรักในป่าในเขา ซึ่งออกลักษณะหวานน้อยกว่ามาตรฐานละครไทย รวมถึงละครออกจะดูยากนิด ๆ เพราะมีการใช้ภาษาอีสานปนภาษากลางจนมีบรรยายไทยอยู่ด้านล่าง นี่คือละคร หรือ หุ้นที่แทบจะไม่มีคนจับตามาตั้งแต่ตอนแรก
ผ่านไปหลาย ๆ สัปดาห์เข้า สิ่งที่น่าแปลกใจก็เกิดขึ้นคือ เรตติ้งละครเรื่องนี้สูงขึ้นทุกสัปดาห์ เมื่อมีผู้ชมเริ่มเห็น “คุณค่า” ของสิ่งที่ผู้กำกับและนักแสดงกำลังถ่ายทอด จนสุดท้าย ผมเข้าใจว่าเรื่องนี้เป็นละครที่เรตติ้งสูงสุดในประว้ติศาสตร์เรื่องหนึ่งทีเดียว และนี่คือลักษณะของการเลือกหุ้นแบบ VI คือเราต้องเห็น “คุณค่า” ก่อนคนอื่น ความสวยงาม หรือ Story เปลือกนอกของบริษัทมักเป็นแค่กระพี้ แต่แก่นที่แท้จริงคือ การขุดหาความสวยงามภายในของบริษัทต่างหาก
ละครเรื่องสุดท้ายคือคุณชายรณพีร์ นี่คือสิ่งที่น่าสนใจมากเช่นกัน เพราะคุณชายรณพีร์ คือคุณชายที่ถูกคาดหวังสูงมากจากผู้ชมคุณชายที่ผ่านมาทั้ง 4 คน ถ้าว่ากันตามเนื้อผ้า เนื้อเรื่องคุณชายก็ไม่ได้ต่ำกว่ามาตรฐานเรื่องอื่น ๆ แต่ผู้ชมกลับผิดหวังเพราะความหวังที่สูงลิ่ว และนี่คือตอนจบของตลาดหุ้น ว่าเส้นทางรวยนั้นไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ ความคาดหวัง และราคาหุ้นอันสูงลิ่ว คือจุดจบของนักลงทุนมานักต่อนัก และดัชนีหุ้นที่ตกลงมาหลายร้อยจุด ในช่วงที่ผ่านมาคงเป็นคำตอบสำหรับนักลงทุนได้เป็นอย่างดี