http://money.sanook.com/84886/%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%84%E0%B8%AD-%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B9%89-%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%A1-10-%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7/
นักวิชาการทีดีอาร์ไอระบุ วิถีชีวิตคนไทย 20 ปีที่ผ่านมา พบสัญญาณดี ครัวเรือนไทยที่มีเงินออมมีจำนวนมากขึ้น มีเงินออมเฉลี่ยเพิ่มขึ้นกว่า 10 เท่าตัว
แต่ความเหลื่อมล้ำด้านเงินออมระหว่างคนรวยและคนจนก็สูงขึ้นเช่นกัน คนไทยส่วนใหญ่ยังขาดความรู้การบริหารจัดการทางการเงิน ผลพวงจากระดับการศึกษา แนะรัฐเพิ่มการดูแล หวังลดช่องว่าง โดยเฉพาะในกลุ่มคนยากจนและผู้เสียเปรียบทางด้านเศรษฐกิจ
คุณชัยสิทธิ์ อนุชิตวรวงศ์ นักวิชาการ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ ทีดีอาร์ไอ เปิดเผยผลศึกษาภาพรวมเกี่ยวกับเงินออม การสะสมทุน และการถือครองทรัพย์สินของครัวเรือนไทยช่วง 2 ทศวรรษพบว่า สถานะการออมของคนไทยช่วงกว่า 20 ปีที่ผ่านมา เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น โดยสัดส่วนครัวเรือนที่มีการออมเงิน หรือมีรายได้สูงกว่ารายจ่ายมีแนวโน้มสูงขึ้น
ทั้งนี้ ครัวเรือนมีเงินออมเฉลี่ยเพิ่มขึ้นประมาณ 10 เท่า โดยปี 2531 มีเงินออมเฉลี่ยเดือนละ 507 บาท แต่ปี 2552 พบว่า เพิ่มขึ้นเป็น 5,145 บาท ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการเติบโตของรายได้ ขณะที่รายจ่ายไม่ได้ขยายตัวในอัตราที่สูงเทียบเท่ากับรายได้
อย่างไรก็ตาม สังคมไทยยังมีความเหลื่อมล้ำด้านเงินออมระหว่างคนรวยกับคนจนอย่างชัดเจน ซึ่งปี 2552 กลุ่มคนที่ร่ำรวยสุด มีเงินออมเฉลี่ยสูงมากถึง 6,300 บาทต่อคนต่อเดือน
ขณะที่กลุ่มคนที่จนสุดโดยเฉลี่ยไม่มีเงินออม ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่น่าเป็นห่วงมากที่สุด เนื่องจากไม่มีเงินออมที่สามารถใช้เป็นหลักประกันทางการเงินสำหรับตนเอง และครอบครัวในยามที่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องใช้เงิน
ส่วนหนึ่งเป็นเพราะความไม่เท่าเทียมกันของระดับการศึกษา โดยผู้ที่มีการศึกษาสูงมีรายได้ดี และสามารถจัดสรรเงินออมไปลงทุนในทางเลือกต่างๆ ได้ดีกว่าผู้ที่มีการศึกษาน้อยกว่า
-----------------------------------------------------------
ผมไม่มั่นใจเท่าไหร่กับข้อมูลของ TDRI เรื่องการออมเพิ่มขึ้น เพราะเปรียบเทียบกับ ปี 2531 ซึ่งหากย้อนไปสมัยนั้น แต่ละครัวเรือนมักจะออมโดยการเก็บไว้เอง แต่สมัยนี้จะออมไว้ในธนาคาร ส่วนความเหลื่อมล้ำด้านฐานะการเงินที่มากขึ้นค่อนข้างมีให้เห็นชัดขึ้น
จึงขอฝากถึงภาครัฐให้ส่งเสริมโอกาสและความเท่าเทียมกันของการศึกษา และการออมด้วยนะครับ อย่าเน้นแต่ด้านวัตถุ ทรัพย์สิน มากจนเกินไป ไม่ว่าจะเป็น
- เรื่องรถคันแรก เป็นการสร้างค่านิยมที่ไม่ถูก เรื่องการมีรถ หากนำงบประมาณมาพัฒนาด้าน คมนาคม สาธารณะแบบประเทศที่เจริญแล้ว รถแทบไม่จำเป็น หลายประเทศนิยมใช้บริการรถเช่ากรณีออกไปนอกเมืองเพื่อท่องเที่ยว แต่เห็นด้วยที่เป็นรถที่ต้องผลิตภายในประเทศเท่านั้น
- Tablet เด็กป.1 ซึ่งไม่มีตัวชี้วัตใดใดออกมากว่าเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายด้านหนังสือ หรือทักษะให้เด็กวัยที่ต้องหัดขีดเขียน และเป็นการนำเข้าจากต่างประเทศทั้งหมด หากมีโครงการส่งเสริมให้มีการผลิตภายในประเทศแบบรถอาจจะเห็นด้วย
- การรับจำนำข้าว ยิ่งสูงเท่าไหร่รัฐก็ขาดทุนมากเท่านั้น ถ้าหากสอนให้ชาวนารู้วิธิบริหารจัดการกับต้นทุนได้ก็จะช่วยให้เขามีรายได้ที่มากขึ้นเช่นกัน หรือส่งเสริม "สหกรณ์ชุมชน" ก็จะช่วยให้ชาวนาเข้มแข็ง ไม่โดนเอารัดเอาเปรียบจากโรงสี และสามารถดูแลตัวเองได้
ทั้งหมดนี้ทำให้นึกถึงดังสุภาษิตจีนที่ว่า
“ถ้าท่านให้ปลาแก่คนจน เขาจะมีปลากินเพียงแค่วันเดียว แต่ถ้าท่านสอนวิธีจับปลาให้เขา เขาจะมีปลากินตลอดชีวิต”
Tag :
ราชดำเนิน เพราะเกี่ยวกับนโยบายของ "รัฐบาล"
สินธร เพราะเกี่ยวกับ "เศรษฐกิจ" ความเป็นอยู่ประชาชน
ห้องสมุด เพราะความสำคัญของชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีเริ่มจาก "การศึกษา"
ครัวเรือนไทยที่มีเงินออมมีจำนวนมากขึ้น แต่ความเหลื่อมล้ำก็สูงขึ้นเช่นกัน เพราะความไม่เท่าเทียมกันของระดับการศึกษา
นักวิชาการทีดีอาร์ไอระบุ วิถีชีวิตคนไทย 20 ปีที่ผ่านมา พบสัญญาณดี ครัวเรือนไทยที่มีเงินออมมีจำนวนมากขึ้น มีเงินออมเฉลี่ยเพิ่มขึ้นกว่า 10 เท่าตัว
แต่ความเหลื่อมล้ำด้านเงินออมระหว่างคนรวยและคนจนก็สูงขึ้นเช่นกัน คนไทยส่วนใหญ่ยังขาดความรู้การบริหารจัดการทางการเงิน ผลพวงจากระดับการศึกษา แนะรัฐเพิ่มการดูแล หวังลดช่องว่าง โดยเฉพาะในกลุ่มคนยากจนและผู้เสียเปรียบทางด้านเศรษฐกิจ
คุณชัยสิทธิ์ อนุชิตวรวงศ์ นักวิชาการ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ ทีดีอาร์ไอ เปิดเผยผลศึกษาภาพรวมเกี่ยวกับเงินออม การสะสมทุน และการถือครองทรัพย์สินของครัวเรือนไทยช่วง 2 ทศวรรษพบว่า สถานะการออมของคนไทยช่วงกว่า 20 ปีที่ผ่านมา เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น โดยสัดส่วนครัวเรือนที่มีการออมเงิน หรือมีรายได้สูงกว่ารายจ่ายมีแนวโน้มสูงขึ้น
ทั้งนี้ ครัวเรือนมีเงินออมเฉลี่ยเพิ่มขึ้นประมาณ 10 เท่า โดยปี 2531 มีเงินออมเฉลี่ยเดือนละ 507 บาท แต่ปี 2552 พบว่า เพิ่มขึ้นเป็น 5,145 บาท ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการเติบโตของรายได้ ขณะที่รายจ่ายไม่ได้ขยายตัวในอัตราที่สูงเทียบเท่ากับรายได้
อย่างไรก็ตาม สังคมไทยยังมีความเหลื่อมล้ำด้านเงินออมระหว่างคนรวยกับคนจนอย่างชัดเจน ซึ่งปี 2552 กลุ่มคนที่ร่ำรวยสุด มีเงินออมเฉลี่ยสูงมากถึง 6,300 บาทต่อคนต่อเดือน
ขณะที่กลุ่มคนที่จนสุดโดยเฉลี่ยไม่มีเงินออม ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่น่าเป็นห่วงมากที่สุด เนื่องจากไม่มีเงินออมที่สามารถใช้เป็นหลักประกันทางการเงินสำหรับตนเอง และครอบครัวในยามที่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องใช้เงิน
ส่วนหนึ่งเป็นเพราะความไม่เท่าเทียมกันของระดับการศึกษา โดยผู้ที่มีการศึกษาสูงมีรายได้ดี และสามารถจัดสรรเงินออมไปลงทุนในทางเลือกต่างๆ ได้ดีกว่าผู้ที่มีการศึกษาน้อยกว่า
-----------------------------------------------------------
ผมไม่มั่นใจเท่าไหร่กับข้อมูลของ TDRI เรื่องการออมเพิ่มขึ้น เพราะเปรียบเทียบกับ ปี 2531 ซึ่งหากย้อนไปสมัยนั้น แต่ละครัวเรือนมักจะออมโดยการเก็บไว้เอง แต่สมัยนี้จะออมไว้ในธนาคาร ส่วนความเหลื่อมล้ำด้านฐานะการเงินที่มากขึ้นค่อนข้างมีให้เห็นชัดขึ้น
จึงขอฝากถึงภาครัฐให้ส่งเสริมโอกาสและความเท่าเทียมกันของการศึกษา และการออมด้วยนะครับ อย่าเน้นแต่ด้านวัตถุ ทรัพย์สิน มากจนเกินไป ไม่ว่าจะเป็น
- เรื่องรถคันแรก เป็นการสร้างค่านิยมที่ไม่ถูก เรื่องการมีรถ หากนำงบประมาณมาพัฒนาด้าน คมนาคม สาธารณะแบบประเทศที่เจริญแล้ว รถแทบไม่จำเป็น หลายประเทศนิยมใช้บริการรถเช่ากรณีออกไปนอกเมืองเพื่อท่องเที่ยว แต่เห็นด้วยที่เป็นรถที่ต้องผลิตภายในประเทศเท่านั้น
- Tablet เด็กป.1 ซึ่งไม่มีตัวชี้วัตใดใดออกมากว่าเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายด้านหนังสือ หรือทักษะให้เด็กวัยที่ต้องหัดขีดเขียน และเป็นการนำเข้าจากต่างประเทศทั้งหมด หากมีโครงการส่งเสริมให้มีการผลิตภายในประเทศแบบรถอาจจะเห็นด้วย
- การรับจำนำข้าว ยิ่งสูงเท่าไหร่รัฐก็ขาดทุนมากเท่านั้น ถ้าหากสอนให้ชาวนารู้วิธิบริหารจัดการกับต้นทุนได้ก็จะช่วยให้เขามีรายได้ที่มากขึ้นเช่นกัน หรือส่งเสริม "สหกรณ์ชุมชน" ก็จะช่วยให้ชาวนาเข้มแข็ง ไม่โดนเอารัดเอาเปรียบจากโรงสี และสามารถดูแลตัวเองได้
ทั้งหมดนี้ทำให้นึกถึงดังสุภาษิตจีนที่ว่า
“ถ้าท่านให้ปลาแก่คนจน เขาจะมีปลากินเพียงแค่วันเดียว แต่ถ้าท่านสอนวิธีจับปลาให้เขา เขาจะมีปลากินตลอดชีวิต”
Tag :
ราชดำเนิน เพราะเกี่ยวกับนโยบายของ "รัฐบาล"
สินธร เพราะเกี่ยวกับ "เศรษฐกิจ" ความเป็นอยู่ประชาชน
ห้องสมุด เพราะความสำคัญของชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีเริ่มจาก "การศึกษา"