ย้อนอดีต กลาโหม จากยุค ′ประชาธิปัตย์′ ถึงยุค ′ยิ่งลักษณ์′ ....... มติชนออนไลน์

กระทู้สนทนา
(ที่มา:มติชนรายวัน 3 ก.ค.2556)



แล้วความฝันเมื่อปี 2533 ของ นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี ก็ปรากฏเป็นจริง
พลันที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เข้าดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีกลาโหม

ไม่น่าเชื่อว่าจะต้องรอนานถึง 26 ปี

ความจริง ฝ่ายการเมืองพยายาม "แหย่" เข้าไปในตำแหน่งรัฐมนตรีกลาโหมอยู่เสมอ
เมื่อมีโอกาส

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นักการเมืองจาก "ประชาธิปัตย์"

ก่อนเกิดสถานการณ์นองเลือดเมื่อเดือนตุลาคม 2519 ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช
ก็เคยเข้าไปนั่งในตำแหน่งรัฐมนตรีกลาโหมมาแล้ว

นั่งประเดี๋ยวประด๋าว แล้วก็ถอนตัวออกมา

จากนั้น จึงค่อยแต่งตั้ง พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ จากผู้บัญชาการทหารสูงสุด,
ผู้บัญชาการทหารเรือเข้าดำรงตำแหน่งแทน

แล้ว พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ก็สนองคุณซะ "อ่วม"

ต่อมา เมื่อ นายชวน หลีกภัย ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีก็เข้าควบตำแหน่งรัฐมนตรีกลาโหม
ในแบบเดียวกับ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช

แต่ครานี้เป็น น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

ครั้งที่ นายชวน หลีกภัย ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีควบกับตำแหน่งรัฐมนตรีกลาโหม
นายชำนิ ศักดิเศรษฐ์ สรุปดีอย่างยิ่ง

สรุปว่าเป็นการให้เกียรติ "ทหาร"

เพราะการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกลาโหมของ นายชวน หลีกภัย
เป็นการดำรงตำแหน่งโดยนายกรัฐมนตรี


เป็น "กัปปิยโวหาร" อย่างแน่นอน

เป็นกัปปิยโวหารต่อ นายชวน หลีกภัย ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรี ขณะเดียวกัน
ก็เป็นการเสนอมุมมองที่หลายคนมองข้ามเมื่อนายกรัฐมนตรีเข้าไปดำรง
ตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีกลาโหม


นี่ย่อมเป็นเหตุผลเดียวกับที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ตัดสินใจ

จากนี้จึงเห็นได้ว่า บทสรุปอันมาจากทั้ง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และ
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ที่ว่าเป้าหมายของนายกรัฐมนตรีเพื่อการ
โยกย้ายแต่งตั้งนายทหาร

อาจเป็นบทสรุปอันเจือ "อคติ"

มองในเชิงจิตวิทยา คนติดความเคยชินอะไร หมกมุ่นอยู่กับแนวคิดแบบใด
ย่อมมีความโน้มเอียงที่จะประเมินว่าคนอื่นคิดเหมือนกับตน ทั้งๆ ที่
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อาจไม่คิดอย่างนั้น ทั้งๆ ที่กำลังพลในกองทัพอาจ
ไม่คิดอย่างนั้น

อาจคิดแบบ นายชำนิ ศักดิเศรษฐ์ ก็ได้

ไม่ว่าพรรคประชาธิปัตย์จะมองและประเมินการขยับเข้ามาใน
กระทรวงกลาโหมของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อย่างไร

แต่ความเป็นจริง น่าศึกษา

ความเป็นจริงนับแต่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เข้าดำรงตำแหน่งเป็น
นายกรัฐมนตรีในเดือนกรกฎาคม 2554

น่าพิจารณาอย่างทำความเข้าใจ

น่าพิจารณา 1 คือ ความพยายามในการเชื่อมประสานด้วยการเข้าบ้านสี่เสา เทเวศร์
และความพยายามในการเชื่อมประสานด้วยการดึงคนบ้านสี่เสา เทเวศร์ เข้าไปยัง
ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล

น่าพิจารณา 1 คือ ความเปี่ยมด้วยมิตรไมตรีระหว่าง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จาก
ผบ.เหล่าทัพ ที่ดำเนินไปอย่างกำหนดระยะระหว่างกันและกันอย่างเหมาะสม
ไม่เข้าไปแทรกแซง ก้าวก่าย ขณะเดียวกัน ก็ให้อิสระและให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มที่

มิตรไมตรีเช่นนี้ก่อให้เกิดอาการกระบอกตาร้อนผ่าวกับบางคน บางฝ่าย

แม้จะมีเสียงกู่ร้องให้ทหาร "เทค แอ๊กชั่น" เหมือนในยุค พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน
เหมือนในยุค พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา แต่อาจไม่ได้เห็นในยุค พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

แปร "ศัสตรา" เป็น "แพรพรรณ"

จากนี้จึงมองเห็นอย่างเด่นชัดยิ่งในท่วงทำนองแบบ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ต่อทหาร ต่อกองทัพ

มิได้เป็นท่วงทำนองหักหาญ เอาชนะคะคานแบบ "กำปั้นเหล็ก" ตรงกันข้าม
เป็นท่วงทำนองในแบบพนมมือไป 10 ทิศสร้างมิตร ไม่สร้างศัตรู

เป็นท่วงทำนองเอา "ไมตรี" แลกได้ดังใจจง

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1372853109&grpid=&catid=12&subcatid=1200

ปชป. เคยบอกเอง  ของอะไรที่ดี  เราไม่ยกเลิก  และเอาไปต่อยอด
ปชป.เคยทำดีมาแล้ว  กรณี  นายกฯควบตำแหน่งรมต.กลาโหม  วันนี้
เพื่อไทย  ก็เลยเอาเป็นแบบอย่าง  ทำไมถึงมาวิจารณ์ ดูเหตุผลที่เคยว่าไว้  

สรุปว่าเป็นการให้เกียรติ "ทหาร"   หัวเราะ

สาวแว่น
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่