คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
ตลาดก็คือ ตลาดครับ ดัชนีก็คือดัชนี
ที่ถามมาคือ Dow Jones, Nasdaq และ S&P 500 เป็น "ดัชนี"
ส่วนตลาดหุ้นในสหรัฐมี "โคตรเยอะ" มากครับ เอาเฉพาะที่ดังๆ และเป็นตลาดหลักก็มี NYSE (New York Stock Exchange)
และ NASDAQ Stock Market นอกจากนี้ยังมี CME, CBOE, ISE, NSX (และอื่นๆอีกเพียบ)
หากถามว่าทำไมสหรัฐมีตลาดหุ้นเยอะขนาดนี้ มันก็มีปัจจัยหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นเหตุผลทางด้านว่าสหรัฐเป็นตลาดธุรกิจขนาดใหญ่
รวมถึงมีความเสรีทางด้านเงินทุน เพื่อให้คนระดมทุนทำธุรกิจได้มาก และง่ายขึ้น และรวมถึงการส่งเสริมภาคการเงินทางภาครัฐ
แต่ว่าแต่ละตลาดนั้นก็แตกต่างกันนะครับ บริษัทสามารถเลือกจดทะเบียนในแต่ละตลาดได้ตามเงื่อนไขของบริษัท หรือเหตุผลอื่นๆ
อย่างบ้านเราเอง ก็มีสองตลาดหลัก ก็คือ SET และ mai ... ทางด้าน SET คือสำหรับบริษัทขนาดใหญ่ที่มีทุนจดทะเบียนสูงๆ
ตลาด SET บริษัทจดทะเบียนต้องมีทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า 300 ล้านบาท ส่วนตลาด mai มุ่งเน้นเพื่อธุรกิจขนาดย่อม
ทุนจดทะเบียนตั้งแต่ 40 ล้านบาทขึ้นไป พูดง่ายๆก็คือแยกตลาดใหญ่กับเล็กออกจากกัน อย่างเช่นเดียวกับ NASDAQ ของสหรัฐ
ซึ่งเมื่อก่อน NASDAQ ก็มุ่งเน้นไปทางบริษัทใหม่ๆ บริษัทเล็กๆ ที่ดำเนินกิจการขนาดย่อมๆ จะได้มีหนทางระดมทุนได้
แต่ปัจจุบัน NASDAQ กลายเป็นตลาดสำหรับบริษัทเทคโนโลยีไปแล้ว อย่าง facebook ก็จดทะเบียนที่ NASDAQ
ส่วนดัชนีต่างๆนั้น ก็แล้วแต่ว่าใครเป็นผู้จัดทำ และมีเงื่อนไขเป็นไปตามผู้จัดทำ ซึ่งอาจแบ่งแยกตามตลาดหรือไม่ก็ได้
เช่นดัชนี S&P500 จัดทำโดย Standard & Poors คัดเลือกหุ้นใหญ่ 500 บริษัทของสหรัฐมาทำเป็นดัชนี
ซึ่งใน 500 บริษัทก็มีทั้งบริษัทจดทะเบียนใน NYSE, AMEX, NASDAQ ฯลฯ พูดง่ายๆคือ สนใจแค่บริษัท จะอยู่ตลาดไหนก็ช่าง
ปัจจุบันเป็นดัชนีหลักสำหรับตลาดหุ้นสหรัฐ นักลงทุนมักใช้ดัชนี S&P500 เป็นเกณฑ์หลัก เพราะใช้การวัดค่าดัชนีด้วยการถ่วงน้ำหนัก
ของ Market Cap (แบบสากลยุคใหม่ SET Index ก็ใช้วิธีเดียวกันนี้) เพราะเป็นแบบที่วัดค่าให้เป็นมาตรฐานมากที่สุด
ดัชนี Dow Jones เป็นดัชนีรุ่นโบราณ และมีวิธีการคำนวณแบบเก่า นั่นคือดัชนีราคา ดังนั้นชื่อเต็มของดัชนีนี้คือ
Dow Jones Industrial Average โดยใช้วิธีการหาค่าเฉลี่ยราคา และปัจจุบันคำนวณแค่ 30 หลักทรัพย์ของบริษัทขนาดใหญ่
ดัชนีนี้เริ่มกำเนิดมาตั้งกะปี 1896 ปัจจุบันก็สิริรวมอายุดัชนี 117 ปีเข้าไปแล้ว (ดัชนีไม่มีวันตาย แต่นักลงทุนซี้แหงไปหลายแล้ว)
ทางด้านดัชนี NASDAQ ก็เช่นกันก็เป็นดัชนีที่วัดเฉพาะบริษัทจดทะเบียนใน NASDAQ ดังนั้นอย่างที่บอก ตลาดก็คือตลาด
ดัชนีก็คือดัชนี บางบริษัทอาจทำดัชนีขึ้นมา โดยผสมหลายๆตลาดก็ได้ หรือบางตลาดจะเลือกทำเฉพาะของตัวเองก็ได้
อย่าง SET ของเราก็เช่นกัน อย่างที่เห็นเรามี SET Index, SET50, SET100, SET HD และอีกมากมาย
เพราะในบางกรณี กองทุนต่างๆก็จะทำกองทุนดัชนี อย่างเช่น K-SET50 กองทุนกสิกร ก็จะลงทุนเฉพาะหุ้นในกลุ่ม SET50
ซึ่งเจ้าตัวดัชนี ก็จะเป็นตัวชี้วัดถึงระดับการดำเนินงานกองทุน รวมถึงเป็นนโยบาย/เงื่อนไข ของการดำเนินงานกองทุนเช่นกัน
ที่ถามมาคือ Dow Jones, Nasdaq และ S&P 500 เป็น "ดัชนี"
ส่วนตลาดหุ้นในสหรัฐมี "โคตรเยอะ" มากครับ เอาเฉพาะที่ดังๆ และเป็นตลาดหลักก็มี NYSE (New York Stock Exchange)
และ NASDAQ Stock Market นอกจากนี้ยังมี CME, CBOE, ISE, NSX (และอื่นๆอีกเพียบ)
หากถามว่าทำไมสหรัฐมีตลาดหุ้นเยอะขนาดนี้ มันก็มีปัจจัยหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นเหตุผลทางด้านว่าสหรัฐเป็นตลาดธุรกิจขนาดใหญ่
รวมถึงมีความเสรีทางด้านเงินทุน เพื่อให้คนระดมทุนทำธุรกิจได้มาก และง่ายขึ้น และรวมถึงการส่งเสริมภาคการเงินทางภาครัฐ
แต่ว่าแต่ละตลาดนั้นก็แตกต่างกันนะครับ บริษัทสามารถเลือกจดทะเบียนในแต่ละตลาดได้ตามเงื่อนไขของบริษัท หรือเหตุผลอื่นๆ
อย่างบ้านเราเอง ก็มีสองตลาดหลัก ก็คือ SET และ mai ... ทางด้าน SET คือสำหรับบริษัทขนาดใหญ่ที่มีทุนจดทะเบียนสูงๆ
ตลาด SET บริษัทจดทะเบียนต้องมีทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า 300 ล้านบาท ส่วนตลาด mai มุ่งเน้นเพื่อธุรกิจขนาดย่อม
ทุนจดทะเบียนตั้งแต่ 40 ล้านบาทขึ้นไป พูดง่ายๆก็คือแยกตลาดใหญ่กับเล็กออกจากกัน อย่างเช่นเดียวกับ NASDAQ ของสหรัฐ
ซึ่งเมื่อก่อน NASDAQ ก็มุ่งเน้นไปทางบริษัทใหม่ๆ บริษัทเล็กๆ ที่ดำเนินกิจการขนาดย่อมๆ จะได้มีหนทางระดมทุนได้
แต่ปัจจุบัน NASDAQ กลายเป็นตลาดสำหรับบริษัทเทคโนโลยีไปแล้ว อย่าง facebook ก็จดทะเบียนที่ NASDAQ
ส่วนดัชนีต่างๆนั้น ก็แล้วแต่ว่าใครเป็นผู้จัดทำ และมีเงื่อนไขเป็นไปตามผู้จัดทำ ซึ่งอาจแบ่งแยกตามตลาดหรือไม่ก็ได้
เช่นดัชนี S&P500 จัดทำโดย Standard & Poors คัดเลือกหุ้นใหญ่ 500 บริษัทของสหรัฐมาทำเป็นดัชนี
ซึ่งใน 500 บริษัทก็มีทั้งบริษัทจดทะเบียนใน NYSE, AMEX, NASDAQ ฯลฯ พูดง่ายๆคือ สนใจแค่บริษัท จะอยู่ตลาดไหนก็ช่าง
ปัจจุบันเป็นดัชนีหลักสำหรับตลาดหุ้นสหรัฐ นักลงทุนมักใช้ดัชนี S&P500 เป็นเกณฑ์หลัก เพราะใช้การวัดค่าดัชนีด้วยการถ่วงน้ำหนัก
ของ Market Cap (แบบสากลยุคใหม่ SET Index ก็ใช้วิธีเดียวกันนี้) เพราะเป็นแบบที่วัดค่าให้เป็นมาตรฐานมากที่สุด
ดัชนี Dow Jones เป็นดัชนีรุ่นโบราณ และมีวิธีการคำนวณแบบเก่า นั่นคือดัชนีราคา ดังนั้นชื่อเต็มของดัชนีนี้คือ
Dow Jones Industrial Average โดยใช้วิธีการหาค่าเฉลี่ยราคา และปัจจุบันคำนวณแค่ 30 หลักทรัพย์ของบริษัทขนาดใหญ่
ดัชนีนี้เริ่มกำเนิดมาตั้งกะปี 1896 ปัจจุบันก็สิริรวมอายุดัชนี 117 ปีเข้าไปแล้ว (ดัชนีไม่มีวันตาย แต่นักลงทุนซี้แหงไปหลายแล้ว)
ทางด้านดัชนี NASDAQ ก็เช่นกันก็เป็นดัชนีที่วัดเฉพาะบริษัทจดทะเบียนใน NASDAQ ดังนั้นอย่างที่บอก ตลาดก็คือตลาด
ดัชนีก็คือดัชนี บางบริษัทอาจทำดัชนีขึ้นมา โดยผสมหลายๆตลาดก็ได้ หรือบางตลาดจะเลือกทำเฉพาะของตัวเองก็ได้
อย่าง SET ของเราก็เช่นกัน อย่างที่เห็นเรามี SET Index, SET50, SET100, SET HD และอีกมากมาย
เพราะในบางกรณี กองทุนต่างๆก็จะทำกองทุนดัชนี อย่างเช่น K-SET50 กองทุนกสิกร ก็จะลงทุนเฉพาะหุ้นในกลุ่ม SET50
ซึ่งเจ้าตัวดัชนี ก็จะเป็นตัวชี้วัดถึงระดับการดำเนินงานกองทุน รวมถึงเป็นนโยบาย/เงื่อนไข ของการดำเนินงานกองทุนเช่นกัน
แสดงความคิดเห็น
DJIA, S&P500, Nasdaq ต่างกันอย่างไรครับ
รบกวนเพื่อนๆที่ทราบช่วยอธิบายด้วยครับ
ขอบคุณครับ