เปิดทีวีตอนนี้ ไม่ได้มีแต่ละคร "สุภาพบุรุษจุฑาเทพ" ทางช่อง 3 เท่านั้น ที่ทำออกมาเป็นละครพีเรียดย้อนยุค
เพราะกดไปช่อง 5 ก็จะเจอ "เรือนเสน่หา" ของ "เอ็กแซ็กท์"
กดอีกที ช่อง 7 ก็มี "โดมทอง"
เลื่อนไปอีกช่อง "นางมาร" ทางช่อง 8 นั่นก็ใช่
นี่ยังไม่นับที่กำลังถ่ายทำ หรือรอจ่อคิวฉาย อย่าง "แค้นเสน่หา, เรือนกาหลง, ลูกทาส, บางระจัน, อีสา-รวีช่วงโชติ, บุพเพสันนิวาส" ฯลฯ
เลยต้องถามไงว่าจะพีเรียดไปไหน?
"ยังไงซะ ความเป็นไทยก็ขายได้" ธงชัย ประสงค์สันติ กรรมการผู้จัดการบริษัท พอดีคำ จำกัด ผู้ผลิตละครให้สถานีโทรทัศน์ช่อง 7 ให้เหตุผลที่เดี๋ยวๆ พีเรียดก็เวียนมาหาผู้ชม
"เพราะคนยังโหยหา อยากเห็นอยู่"
โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ ที่ถือเป็นหนึ่งในกลุ่มผู้ชมหลัก นอกเหนือไปจากกลุ่มแม่บ้าน โดยคนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะอยู่กับบ้านและมีทีวีเป็นเพื่อน
"การทำละครที่ย้อนวัยกลับไป น่าจะเป็นที่ถูกใจคนกลุ่มนี้มากกว่า" ว่าอย่างนั้น
ขณะ อรุโณชา ภาณุพันธุ์ กรรมการผู้จัดการบริษัท บรอดคาซท์ ไทย เทเลวิชั่น ผู้กำลังทำ "บางระจัน" ผลิตละครให้ช่อง 3 บอกว่านานๆ ทีก็อยากทำละครแบบนี้เหมือนกัน ทำให้เป็นงานโชว์ฝีมือ
ด้วยละครพีเรียดนั้น มีรายละเอียดหลายอย่างที่ยากลำบากกว่าการทำละครสมัยใหม่ทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นเรื่องข้อมูล ฉาก เสื้อผ้า หน้า ผม ภาษา "ที่ต้องลงลึกทุกรายละเอียด"
เพื่อให้ออกมาแล้วดี มีเสียงชม มากกว่าเสียงก่นตำหนิ
ด้วยละครแนวนี้ออกมาทีไรคนก็ชอบใจ ซึ่งถ้าให้หาเหตุผลเธอก็ว่า "อาจเพราะคนอยากย้อนไปดูว่า ณ ตอนนั้น ภาษาที่ใช้ หรือความคิดความเชื่อสมัยนั้นเป็นยังไง"
ส่วนทำไมถึงได้ออกมามากมายพร้อมกันขนาดนี้ ณัฏฐนันท์ ฉวีวงษ์ ผู้จัดแห่งค่าย ทีวีซีน บอกปนอาการหัวเราะ "งงเหมือนกัน"
"อะไรจะใจตรงกันขนาดนี้"
สำหรับทีวีซีนแล้ว เธอว่า ที่ผ่านมาถ้าเป็นงานพีเรียดมักได้ละครแนวประวัติศาสตร์ อย่าง "ขุนศึก" และปัจจุบันก็ "ลูกทาส" ซึ่งอาจเพราะช่อง 3 คงอยากให้ทำงานที่เด็กๆ ดูแล้วได้ความรู้ไปด้วย
"เป็นพีเรียดอิงประวัติศาสตร์ อิงเรื่องจริง"
จากนั้นก็แทรกเรื่องดีๆ เช่น การให้เห็นความสำคัญของการศึกษา การรักชาติ รวมถึงเรื่องความคิด ความเชื่อสมัยก่อน
ในความเห็นของเธอละครพีเรียดเป็นงานที่มีเสน่ห์ แต่ก็ทำยาก
หากถ้าทำออกมาแล้วดี ก็โดนใจคนแน่
"ใช่ มันมีจุดโดนของมัน"
หนึ่งในนั้นก็คือพาคนดูย้อนกลับไปในอดีต อดีตที่อยากหวนรำลึก
ขณะเดียวกัน "ผู้จัดก็อยากสอดเเทรกความเป็นไทยให้ได้เห็น เพราะมันเหมือนเป็นหน้าที่ให้เราช่วยดำรง ช่วยทำให้เด็กเห็นความเป็นไทย"
โดยผู้จัดอาจจะนึกถึงเรื่องเหล่านี้ในเวลาไล่เลี่ยกัน งานพีเรียดเลยออกมากระหึ่ม
และน่าจะถูกใจคนดู
ซึ่งไม่เพียงแต่คนดูที่เป็นไทย หากในยุคที่ละครบ้านเรากำลังเป็นที่สนใจในตลาดต่างประเทศ ความเป็นไทยในละครย้อนยุคก็น่าจะเป็นจุดขาย
อย่างเกาหลี ยังส่ง "แดจังกึม" ไปทั่วโลก
"เพราะวัฒนธรรมมันเอามาเล่าเรื่องได้"
แถมถ้าทำได้ดี ก็ถูกอกถูกใจผู้ชมแน่
หน้า 24,มติชนรายวัน ฉบับวันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม 2556
กระแสละครไทย : ชั่วโมงนี้ต้องพีเรียด!?
เพราะกดไปช่อง 5 ก็จะเจอ "เรือนเสน่หา" ของ "เอ็กแซ็กท์"
กดอีกที ช่อง 7 ก็มี "โดมทอง"
เลื่อนไปอีกช่อง "นางมาร" ทางช่อง 8 นั่นก็ใช่
นี่ยังไม่นับที่กำลังถ่ายทำ หรือรอจ่อคิวฉาย อย่าง "แค้นเสน่หา, เรือนกาหลง, ลูกทาส, บางระจัน, อีสา-รวีช่วงโชติ, บุพเพสันนิวาส" ฯลฯ
เลยต้องถามไงว่าจะพีเรียดไปไหน?
"ยังไงซะ ความเป็นไทยก็ขายได้" ธงชัย ประสงค์สันติ กรรมการผู้จัดการบริษัท พอดีคำ จำกัด ผู้ผลิตละครให้สถานีโทรทัศน์ช่อง 7 ให้เหตุผลที่เดี๋ยวๆ พีเรียดก็เวียนมาหาผู้ชม
"เพราะคนยังโหยหา อยากเห็นอยู่"
โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ ที่ถือเป็นหนึ่งในกลุ่มผู้ชมหลัก นอกเหนือไปจากกลุ่มแม่บ้าน โดยคนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะอยู่กับบ้านและมีทีวีเป็นเพื่อน
"การทำละครที่ย้อนวัยกลับไป น่าจะเป็นที่ถูกใจคนกลุ่มนี้มากกว่า" ว่าอย่างนั้น
ขณะ อรุโณชา ภาณุพันธุ์ กรรมการผู้จัดการบริษัท บรอดคาซท์ ไทย เทเลวิชั่น ผู้กำลังทำ "บางระจัน" ผลิตละครให้ช่อง 3 บอกว่านานๆ ทีก็อยากทำละครแบบนี้เหมือนกัน ทำให้เป็นงานโชว์ฝีมือ
ด้วยละครพีเรียดนั้น มีรายละเอียดหลายอย่างที่ยากลำบากกว่าการทำละครสมัยใหม่ทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นเรื่องข้อมูล ฉาก เสื้อผ้า หน้า ผม ภาษา "ที่ต้องลงลึกทุกรายละเอียด"
เพื่อให้ออกมาแล้วดี มีเสียงชม มากกว่าเสียงก่นตำหนิ
ด้วยละครแนวนี้ออกมาทีไรคนก็ชอบใจ ซึ่งถ้าให้หาเหตุผลเธอก็ว่า "อาจเพราะคนอยากย้อนไปดูว่า ณ ตอนนั้น ภาษาที่ใช้ หรือความคิดความเชื่อสมัยนั้นเป็นยังไง"
ส่วนทำไมถึงได้ออกมามากมายพร้อมกันขนาดนี้ ณัฏฐนันท์ ฉวีวงษ์ ผู้จัดแห่งค่าย ทีวีซีน บอกปนอาการหัวเราะ "งงเหมือนกัน"
"อะไรจะใจตรงกันขนาดนี้"
สำหรับทีวีซีนแล้ว เธอว่า ที่ผ่านมาถ้าเป็นงานพีเรียดมักได้ละครแนวประวัติศาสตร์ อย่าง "ขุนศึก" และปัจจุบันก็ "ลูกทาส" ซึ่งอาจเพราะช่อง 3 คงอยากให้ทำงานที่เด็กๆ ดูแล้วได้ความรู้ไปด้วย
"เป็นพีเรียดอิงประวัติศาสตร์ อิงเรื่องจริง"
จากนั้นก็แทรกเรื่องดีๆ เช่น การให้เห็นความสำคัญของการศึกษา การรักชาติ รวมถึงเรื่องความคิด ความเชื่อสมัยก่อน
ในความเห็นของเธอละครพีเรียดเป็นงานที่มีเสน่ห์ แต่ก็ทำยาก
หากถ้าทำออกมาแล้วดี ก็โดนใจคนแน่
"ใช่ มันมีจุดโดนของมัน"
หนึ่งในนั้นก็คือพาคนดูย้อนกลับไปในอดีต อดีตที่อยากหวนรำลึก
ขณะเดียวกัน "ผู้จัดก็อยากสอดเเทรกความเป็นไทยให้ได้เห็น เพราะมันเหมือนเป็นหน้าที่ให้เราช่วยดำรง ช่วยทำให้เด็กเห็นความเป็นไทย"
โดยผู้จัดอาจจะนึกถึงเรื่องเหล่านี้ในเวลาไล่เลี่ยกัน งานพีเรียดเลยออกมากระหึ่ม
และน่าจะถูกใจคนดู
ซึ่งไม่เพียงแต่คนดูที่เป็นไทย หากในยุคที่ละครบ้านเรากำลังเป็นที่สนใจในตลาดต่างประเทศ ความเป็นไทยในละครย้อนยุคก็น่าจะเป็นจุดขาย
อย่างเกาหลี ยังส่ง "แดจังกึม" ไปทั่วโลก
"เพราะวัฒนธรรมมันเอามาเล่าเรื่องได้"
แถมถ้าทำได้ดี ก็ถูกอกถูกใจผู้ชมแน่
หน้า 24,มติชนรายวัน ฉบับวันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม 2556