สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 10
ตาม คห.2 และ คห.6 ครับ
ยกเว้นเป็นกรณีซื้อขายกันเองไม่ผ่านธนาคาร (คือเป็นเช่าซื้อแบบบุคคลต่อบุคคล) ตามสัญญาเช่าซื้อจริงๆ กรรมสิทธิ์โอนเมื่อชำระค่างวดหมด โอนวันไหนก็ดูว่าวันนั้นจดทะเบียนหรือยัง
แต่ไม่ค่อยเห็นด้วยกับ คห.5 กับ คห.6 ในประเด็นเรื่องทรัพย์สินครับ คือผมว่า การตกลงเรื่องทรัพย์สินกันให้ดี ไม่ใช่เรื่องคิดเล็กคิดน้อย แต่เป็นการ "คิดเยอะ" และรอบคอบ เพื่อความสะดวกใจในอนาคต และชีวิตสมรสอันยืนยาว
การมองว่าเรื่องทรัพย์สินในการสมรส ไม่ควรนำมาพูดกัน ผมว่าออกจะประมาทต่ออนิจจัง และดูโรแมนติกเกินไป (ไม่มีแล้วเงินฉัน เงินเธอ มีแต่เงินเรา อะไรแบบนี้)
ตกลงกันให้เคลียร์ ความรักก็ความรัก ปัจจัยชีวิตก็ปัจจัยชีวิต คุยให้เคลียร์ ตกลงให้ได้ กำหนดไว้เป็นสัญญาก่อนสมรส ชีวิตคู่จะยั่งยืนครับ ^^
และไม่ผิดใจกันภายหลัง
ยกเว้นเป็นกรณีซื้อขายกันเองไม่ผ่านธนาคาร (คือเป็นเช่าซื้อแบบบุคคลต่อบุคคล) ตามสัญญาเช่าซื้อจริงๆ กรรมสิทธิ์โอนเมื่อชำระค่างวดหมด โอนวันไหนก็ดูว่าวันนั้นจดทะเบียนหรือยัง
แต่ไม่ค่อยเห็นด้วยกับ คห.5 กับ คห.6 ในประเด็นเรื่องทรัพย์สินครับ คือผมว่า การตกลงเรื่องทรัพย์สินกันให้ดี ไม่ใช่เรื่องคิดเล็กคิดน้อย แต่เป็นการ "คิดเยอะ" และรอบคอบ เพื่อความสะดวกใจในอนาคต และชีวิตสมรสอันยืนยาว
การมองว่าเรื่องทรัพย์สินในการสมรส ไม่ควรนำมาพูดกัน ผมว่าออกจะประมาทต่ออนิจจัง และดูโรแมนติกเกินไป (ไม่มีแล้วเงินฉัน เงินเธอ มีแต่เงินเรา อะไรแบบนี้)
ตกลงกันให้เคลียร์ ความรักก็ความรัก ปัจจัยชีวิตก็ปัจจัยชีวิต คุยให้เคลียร์ ตกลงให้ได้ กำหนดไว้เป็นสัญญาก่อนสมรส ชีวิตคู่จะยั่งยืนครับ ^^
และไม่ผิดใจกันภายหลัง
ความคิดเห็นที่ 16
สินส่วนตัวครับ
ถ้าจะเป็นสินสมรส ก็เฉพาะส่วนที่ผ่อนไปงวดสุดท้าย
หากเงินที่ผ่อนนั้น แม้จะเป็นของเรา แต่ถ้าผ่อนในขณะจดทะเบียนสมรสแล้ว
บ้านนั้นแฟนเรามีส่วนในเงินส่วนนั้น (ส่วนที่ผ่อนงวดสุดท้าย) ครึ่งหนึ่ง
เช่น บ้านราคา 1 ล้านบาท เราผ่อนเองไปจนเหลือเพียง 5 หมื่นบาท
ต่อมาเราจดทะเบียนสมรสกัน เงินที่เราจะผ่อนอีก 5 หมื่นนั้น
แฟนเรามีส่วนด้วยกึ่งหนึ่ง คือ 2.5 หมื่น
กรณีนี้แฟนเราจะอ้างว่าบ้านเป็นสินสมรสไม่ได้
เพราะได้มาก่อนสมรส และ นำสืบได้ถึงขนาดว่าเงินที่ผ่อนเกือบทั้งหมด คือเงินส่วนตัว
กรณีจึงไม่เข้าข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่า ให้สันนิษฐานว่าเป็นสินสมรส
แต่ถ้าเราทำเรื่องกู้ก่อนสมรส แล้วจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์และจำนองก่อนสมรส แต่ยังไม่ได้ผ่อนเลยสักบาท
ต่อมาจดทะเบียนสมรสกัน เงินที่ผ่อนไปทั้งหมด และบ้านนั้น คือสินสมรส เพราะเกิดจากการทำมาหาได้ร่วมกัน
เพราะถือว่าหนี้สินนั้นเป็นหนี้ร่วมกันในครอบครัว และเงินที่ผ่อนไปก็เป็นสินสมรส บ้านจึงเข้าข้อสันนิษฐานว่าเป้นสินสมรสตามกฎหมาย
หลักคิดในเรื่องนี้ คือ หลักแห่งความยุติธรรม
เพราะในเมื่อคุณไม่ได้ผ่อนเลย จนถึงงวดสุดท้าย คุณจะมาขอแบ่งทั้งหมด มันไม่ยุติธรรม
เช่นกัน เมื่อคุณผ่อนมาด้วยกันตั้งแต่แรก แม้ว่าอีกฝ่ายจะได้รับโอนก่อนแต่ง
มันก็ต้องแบ่งครึ่ง โดยอีกฝ่ายจะเอาไว้คนเดียว มันก็ไม่ยุติธรรม เช่นกัน
ถ้าจะเป็นสินสมรส ก็เฉพาะส่วนที่ผ่อนไปงวดสุดท้าย
หากเงินที่ผ่อนนั้น แม้จะเป็นของเรา แต่ถ้าผ่อนในขณะจดทะเบียนสมรสแล้ว
บ้านนั้นแฟนเรามีส่วนในเงินส่วนนั้น (ส่วนที่ผ่อนงวดสุดท้าย) ครึ่งหนึ่ง
เช่น บ้านราคา 1 ล้านบาท เราผ่อนเองไปจนเหลือเพียง 5 หมื่นบาท
ต่อมาเราจดทะเบียนสมรสกัน เงินที่เราจะผ่อนอีก 5 หมื่นนั้น
แฟนเรามีส่วนด้วยกึ่งหนึ่ง คือ 2.5 หมื่น
กรณีนี้แฟนเราจะอ้างว่าบ้านเป็นสินสมรสไม่ได้
เพราะได้มาก่อนสมรส และ นำสืบได้ถึงขนาดว่าเงินที่ผ่อนเกือบทั้งหมด คือเงินส่วนตัว
กรณีจึงไม่เข้าข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่า ให้สันนิษฐานว่าเป็นสินสมรส
แต่ถ้าเราทำเรื่องกู้ก่อนสมรส แล้วจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์และจำนองก่อนสมรส แต่ยังไม่ได้ผ่อนเลยสักบาท
ต่อมาจดทะเบียนสมรสกัน เงินที่ผ่อนไปทั้งหมด และบ้านนั้น คือสินสมรส เพราะเกิดจากการทำมาหาได้ร่วมกัน
เพราะถือว่าหนี้สินนั้นเป็นหนี้ร่วมกันในครอบครัว และเงินที่ผ่อนไปก็เป็นสินสมรส บ้านจึงเข้าข้อสันนิษฐานว่าเป้นสินสมรสตามกฎหมาย
หลักคิดในเรื่องนี้ คือ หลักแห่งความยุติธรรม
เพราะในเมื่อคุณไม่ได้ผ่อนเลย จนถึงงวดสุดท้าย คุณจะมาขอแบ่งทั้งหมด มันไม่ยุติธรรม
เช่นกัน เมื่อคุณผ่อนมาด้วยกันตั้งแต่แรก แม้ว่าอีกฝ่ายจะได้รับโอนก่อนแต่ง
มันก็ต้องแบ่งครึ่ง โดยอีกฝ่ายจะเอาไว้คนเดียว มันก็ไม่ยุติธรรม เช่นกัน
แสดงความคิดเห็น
ผ่อนบ้านจนเหลืองวดสุดท้ายแล้วแต่งงาน บ้านนั้นเป็นสินสมรสหรือไม่
หรือเป็นทั้งหลัง เพราะโอนจากธนาคารมาเป็นของคนซื้อหลังแต่งงาน