signaling problem … ทำไมคนจึงพยายามเข้ามหาลัยดัง?
ในงานวิจัยทางเศรษฐศาสตร์ ประโยชน์ของการศึกษาแบ่งออกเป็นสองส่วนใหญ่ๆคือ
1. พัฒนาความสามารถของนักเรียน
2. เป็นการแสดงสัญญาณถึงความสามารถของนักเรียน
ข้อ 1 เป็นอะไรที่ชัดเจนมากๆ ใครๆก็เดาได้แน่นอน งานวิจัยส่วนมากจะนำข้อมูลของนักเรียนมาประมาณค่า Return on education ราวๆ 16% (ถ้าจำไม่ผิด) ซึ่ีงค่อนข้างจะสูงกว่าอัตราดอกเบี้ย แน่นอนว่าปัญหาการกู้เงิน (Borrowing constraint) ก็มีบทบาทสำคัญเช่นกัน ดังนั้นงานวิจัยปัจจุบันจึงพยายามก้าวไปยังการเขียนแบบจำลองระยะยาวเพื่ออธิบายการตัดสินใจเข้าเรียน จำนวนปีที่จะเรียน จังหวะในการกลับมาเรียนต่อ ฯลฯ
ข้อ 2 เป็นอะไรที่หลายฝ่ายเถียงกันว่า ทำไมคนเราจึงเชื่อว่าคนจบมหาลัยดังจึงเก่ง? ทั้งๆที่คนเก่งจบมหาลัยอื่นๆมีเยอะแยะ … บทความนี้จะเน้นอธิบายในส่วนนี้
นายจ้างที่ต้องการลูกจ้างเก่งๆคัดเลือกอย่างไร? ปัญหาสำคัญคือลูกจ้างรู้ความสามารถของเขาแต่นายจ้างไม่ทราบจากการเดาหน้าตาภายนอก!!
ข้อปัญหาดังกล่าวเรียกว่า Adverse Selection ซึ่งเกิดจากฝั่งใดฝั่งหนึ่งมีข้อมูลมากกว่าอีกฝั่งหนึ่ง วิธีแก้ก็ง่ายมากๆ … ทำให้ข้อมูลเท่ากัน!! (ตัวอย่างคลาสสิคคือบริษัทประกันไม่สามารถแยกแยะได้ว่าลูกค้าขับรถมีความเสี่ยงมากแค่ไหน)
แน่นอนว่าผู้สมัครต่างฝ่ายต่างย่อมโอ้อวดว่าตัวเองเก่งมาก ใช้คอมคล่อง อังกฤษดี แต่ภายใต้คำว่าเก่งก็มีหลายระดับด้วยกัน โปรแกรมเมอร์ที่เขียนโปรแกรม C+/Java เก่งอาจจะแพ้ผู้สมัครอีกคนทีบอกว่าใช้คอมเก่งได้หลายโปรแกรมเพราะเคยใช้ Word/Powerpoint/Excel แม้ว่าอาจจะวาดกราฟไม่เป็นก็ตาม!
วิธีไหนที่จะทำให้แยกความสามารถได้ชัดเจน? คำตอบหนึ่งคือต้องให้ผู้สมัครแข่งกันทำอะไรสักอย่างซึ่งคนเก่งจะทำได้ง่ายกว่า (ต้นทุนน้อยกว่า) ส่วนคนไม่เก่งจะเสียเวลาหรือไม่คุ้มค่าที่แม้จะฝืนจนทำสำเร็จแล้วจะได้ผลตอบแทนน้อยกว่ากับต้นทุนที่เสียไป … เช่น?
ถ้าต้องการคนที่เก่งภาษาอังกฤษ นายจ้างสามารถขอคะแนน TOEFL/TOEIC เพื่อวัดผลภาษา อันนี้ค่อนข้างชัดเจนเพราะคนไม่เก่งภาษาอาจจะเลือกไปสมัครงานอื่นที่ไม่ต้องใช้ภาษาอังกฤษแทนที่จะเสียเวลาไปสอบหรือจ้างคนสอบแทน
กลับมาที่เรื่องของโรงเรียนกันดีกว่า … เมื่อเทียบความ"ยาก"ในการจบมหาลัยดังและได้คะแนนสูงๆแล้วคนที่ไม่เก่งย่อมมีต้นทุนในการสละเวลาเที่ยวเล่นมาอ่านหนังสือและขยันสุดๆเพื่อให้ได้เกรดดีๆ เมื่อ เทียบกับคนเก่งๆที่อ่านรอบเดียวก็ทำข้อสอบได้ ดังนั้นภายใต้สมมติฐานว่าโรงเรียนไม่พัฒนาผู้เรียนเลยก็ตาม โรงเรียนก็สามารถส่งสัญญาณไปยังบริษัทผู้จ้างได้ว่าศิษย์เก่าที่จบไปมีความรู้ความสามารถ!!
ถามว่าผิดมั้ยที่นายจ้างเลือกแต่คนจบมหาลัยดังๆ? ในดุลยภาพนี้ไม่ผิดครับ โรงเรียนส่งสัญญาณได้จริงว่าลูกจ้างมีคุณภาพ คนทุกคนก็เชื่อถือโรงเรียนเหมือนกัน (แน่นอนว่าข้อสรุปเป็นจริงภายใต้ข้อสมมติที่การันตีดุลยภาพมีจริง ซึ่งอาจจะไม่ได้บอกว่าดุลยภาพมีแค่หนึ่งเดียว)
***คนเก่งก็พร้อมจะจ่ายต้นทุนเวลาช่วงมหาลัยเพื่อเรียนหนัก และเก็บประวัติเพื่อให้ได้งานดีๆในอนาคต***
อันนี้สำคัญนะครับ อย่ามองว่า "น่าหมั่นไส้เพราะแค่เข้ามหาลัยดังได้แล้วจะได้เงินเดือนดี" แต่ลืมมองต้นทุนที่คนเหล่านั้นเสียสละในช่วงเวลาที่อยากรื่นเริง ในวัยที่ยังไม่ต้องรับผิดชอบชีวิต
ถ้าไม่ชอบแล้วจะแก้ค่านิยมนี้ได้หรือไม่? … ได้ครับ!!
มหาลัยที่อยากได้ชื่อเสียงต้องลงทุนโน้มน้าวให้คนเก่งๆเข้ามาเรียน ยกระดับการเรียนการสอน พัฒนาระดับผู้สอน แล้ว 4 ปีให้หลังก็จะได้ลูกศิษย์รุ่นแรกที่มีความสามารถเทียบเท่ามหาลัยอื่นๆ จากนั้นก็รอ 5-20 ปีให้นักเรียนเหล่านั้นประสบความสำเร็จ และสร้างชื่อเสียงให้กับมหาลัย
แต่ถามว่ามีผู้บริหารที่ไหนอยากทำหรือไม่?
ต้นทุนคือการลงทุนเพื่อสร้างชื่อเสียงนาน 15-20ปี ซึ่งกว่าจะถึงเวลานั้นผู้บริหารก็คงออกไปก่อนแล้วแน่ๆ คำชื่นชมคงไปตกที่ผู้บริหารกลุ่มใหม่ ไหนขณะเดียวกันเม็ดเงินลงทุนคงจะจมไปไม่น้อยเพื่อดึงดูดคนเก่งให้มาตลอด 20ปี …. โอกาสที่มหาลัยจะกล้าขนาดนั้นคงเป็นไปได้ยาก (ส่วนตัวแล้วผมเชื่อว่าผู้บริหารของ รร. มหิดลวิทยานุสรณ์ เป็นตัวอย่างที่ดีของการยกระดับและน่าจะทำได้สำเร็จครับ - จขกท.สอบไม่ติด)
ปล. หลักสูตร MBA ระดับโลกก็ประมาณนี้ คือ ให้ทุนเด็กเก่งส่วนหนึ่งมาเรียนเพื่อสร้างชื่อเสียงในอนาคตและหวังเงินบริจาคจากศิษย์เก่า
อ้างอิง
Akerlof, George A. (1970). "The Market for "Lemons": Quality Uncertainty and the Market Mechanism". The Quarterly Journal of Economics 84 (3): 488–500.
https://www.iei.liu.se/nek/730g83/artiklar/1.328833/AkerlofMarketforLemons.pdf
Signaling problem … ทำไมคนจึงพยายามเข้ามหาลัยดัง?
ในงานวิจัยทางเศรษฐศาสตร์ ประโยชน์ของการศึกษาแบ่งออกเป็นสองส่วนใหญ่ๆคือ
1. พัฒนาความสามารถของนักเรียน
2. เป็นการแสดงสัญญาณถึงความสามารถของนักเรียน
ข้อ 1 เป็นอะไรที่ชัดเจนมากๆ ใครๆก็เดาได้แน่นอน งานวิจัยส่วนมากจะนำข้อมูลของนักเรียนมาประมาณค่า Return on education ราวๆ 16% (ถ้าจำไม่ผิด) ซึ่ีงค่อนข้างจะสูงกว่าอัตราดอกเบี้ย แน่นอนว่าปัญหาการกู้เงิน (Borrowing constraint) ก็มีบทบาทสำคัญเช่นกัน ดังนั้นงานวิจัยปัจจุบันจึงพยายามก้าวไปยังการเขียนแบบจำลองระยะยาวเพื่ออธิบายการตัดสินใจเข้าเรียน จำนวนปีที่จะเรียน จังหวะในการกลับมาเรียนต่อ ฯลฯ
ข้อ 2 เป็นอะไรที่หลายฝ่ายเถียงกันว่า ทำไมคนเราจึงเชื่อว่าคนจบมหาลัยดังจึงเก่ง? ทั้งๆที่คนเก่งจบมหาลัยอื่นๆมีเยอะแยะ … บทความนี้จะเน้นอธิบายในส่วนนี้
นายจ้างที่ต้องการลูกจ้างเก่งๆคัดเลือกอย่างไร? ปัญหาสำคัญคือลูกจ้างรู้ความสามารถของเขาแต่นายจ้างไม่ทราบจากการเดาหน้าตาภายนอก!!
ข้อปัญหาดังกล่าวเรียกว่า Adverse Selection ซึ่งเกิดจากฝั่งใดฝั่งหนึ่งมีข้อมูลมากกว่าอีกฝั่งหนึ่ง วิธีแก้ก็ง่ายมากๆ … ทำให้ข้อมูลเท่ากัน!! (ตัวอย่างคลาสสิคคือบริษัทประกันไม่สามารถแยกแยะได้ว่าลูกค้าขับรถมีความเสี่ยงมากแค่ไหน)
แน่นอนว่าผู้สมัครต่างฝ่ายต่างย่อมโอ้อวดว่าตัวเองเก่งมาก ใช้คอมคล่อง อังกฤษดี แต่ภายใต้คำว่าเก่งก็มีหลายระดับด้วยกัน โปรแกรมเมอร์ที่เขียนโปรแกรม C+/Java เก่งอาจจะแพ้ผู้สมัครอีกคนทีบอกว่าใช้คอมเก่งได้หลายโปรแกรมเพราะเคยใช้ Word/Powerpoint/Excel แม้ว่าอาจจะวาดกราฟไม่เป็นก็ตาม!
วิธีไหนที่จะทำให้แยกความสามารถได้ชัดเจน? คำตอบหนึ่งคือต้องให้ผู้สมัครแข่งกันทำอะไรสักอย่างซึ่งคนเก่งจะทำได้ง่ายกว่า (ต้นทุนน้อยกว่า) ส่วนคนไม่เก่งจะเสียเวลาหรือไม่คุ้มค่าที่แม้จะฝืนจนทำสำเร็จแล้วจะได้ผลตอบแทนน้อยกว่ากับต้นทุนที่เสียไป … เช่น?
ถ้าต้องการคนที่เก่งภาษาอังกฤษ นายจ้างสามารถขอคะแนน TOEFL/TOEIC เพื่อวัดผลภาษา อันนี้ค่อนข้างชัดเจนเพราะคนไม่เก่งภาษาอาจจะเลือกไปสมัครงานอื่นที่ไม่ต้องใช้ภาษาอังกฤษแทนที่จะเสียเวลาไปสอบหรือจ้างคนสอบแทน
กลับมาที่เรื่องของโรงเรียนกันดีกว่า … เมื่อเทียบความ"ยาก"ในการจบมหาลัยดังและได้คะแนนสูงๆแล้วคนที่ไม่เก่งย่อมมีต้นทุนในการสละเวลาเที่ยวเล่นมาอ่านหนังสือและขยันสุดๆเพื่อให้ได้เกรดดีๆ เมื่อ เทียบกับคนเก่งๆที่อ่านรอบเดียวก็ทำข้อสอบได้ ดังนั้นภายใต้สมมติฐานว่าโรงเรียนไม่พัฒนาผู้เรียนเลยก็ตาม โรงเรียนก็สามารถส่งสัญญาณไปยังบริษัทผู้จ้างได้ว่าศิษย์เก่าที่จบไปมีความรู้ความสามารถ!!
ถามว่าผิดมั้ยที่นายจ้างเลือกแต่คนจบมหาลัยดังๆ? ในดุลยภาพนี้ไม่ผิดครับ โรงเรียนส่งสัญญาณได้จริงว่าลูกจ้างมีคุณภาพ คนทุกคนก็เชื่อถือโรงเรียนเหมือนกัน (แน่นอนว่าข้อสรุปเป็นจริงภายใต้ข้อสมมติที่การันตีดุลยภาพมีจริง ซึ่งอาจจะไม่ได้บอกว่าดุลยภาพมีแค่หนึ่งเดียว)
***คนเก่งก็พร้อมจะจ่ายต้นทุนเวลาช่วงมหาลัยเพื่อเรียนหนัก และเก็บประวัติเพื่อให้ได้งานดีๆในอนาคต***
อันนี้สำคัญนะครับ อย่ามองว่า "น่าหมั่นไส้เพราะแค่เข้ามหาลัยดังได้แล้วจะได้เงินเดือนดี" แต่ลืมมองต้นทุนที่คนเหล่านั้นเสียสละในช่วงเวลาที่อยากรื่นเริง ในวัยที่ยังไม่ต้องรับผิดชอบชีวิต
ถ้าไม่ชอบแล้วจะแก้ค่านิยมนี้ได้หรือไม่? … ได้ครับ!!
มหาลัยที่อยากได้ชื่อเสียงต้องลงทุนโน้มน้าวให้คนเก่งๆเข้ามาเรียน ยกระดับการเรียนการสอน พัฒนาระดับผู้สอน แล้ว 4 ปีให้หลังก็จะได้ลูกศิษย์รุ่นแรกที่มีความสามารถเทียบเท่ามหาลัยอื่นๆ จากนั้นก็รอ 5-20 ปีให้นักเรียนเหล่านั้นประสบความสำเร็จ และสร้างชื่อเสียงให้กับมหาลัย
แต่ถามว่ามีผู้บริหารที่ไหนอยากทำหรือไม่?
ต้นทุนคือการลงทุนเพื่อสร้างชื่อเสียงนาน 15-20ปี ซึ่งกว่าจะถึงเวลานั้นผู้บริหารก็คงออกไปก่อนแล้วแน่ๆ คำชื่นชมคงไปตกที่ผู้บริหารกลุ่มใหม่ ไหนขณะเดียวกันเม็ดเงินลงทุนคงจะจมไปไม่น้อยเพื่อดึงดูดคนเก่งให้มาตลอด 20ปี …. โอกาสที่มหาลัยจะกล้าขนาดนั้นคงเป็นไปได้ยาก (ส่วนตัวแล้วผมเชื่อว่าผู้บริหารของ รร. มหิดลวิทยานุสรณ์ เป็นตัวอย่างที่ดีของการยกระดับและน่าจะทำได้สำเร็จครับ - จขกท.สอบไม่ติด)
ปล. หลักสูตร MBA ระดับโลกก็ประมาณนี้ คือ ให้ทุนเด็กเก่งส่วนหนึ่งมาเรียนเพื่อสร้างชื่อเสียงในอนาคตและหวังเงินบริจาคจากศิษย์เก่า
อ้างอิง
Akerlof, George A. (1970). "The Market for "Lemons": Quality Uncertainty and the Market Mechanism". The Quarterly Journal of Economics 84 (3): 488–500.
https://www.iei.liu.se/nek/730g83/artiklar/1.328833/AkerlofMarketforLemons.pdf