โหมดนี้เราเรียกว่า "ไทม์แมชชีน" ที่จะพาคุณย้อนเวลากลับไปหาเกมเก่าๆที่พวกเกมเมอร์รุ่นดึกชอบขุดเอามาเล่ากันไม่รู้จบ น้องๆหนูๆรุ่นใหม่อ่านแล้วไม่ต้องกลัวง่วงนอน เพราะเราจะได้รับทราบข้อมูลว่าพี่ๆน้าๆสมัย 20 ปีก่อนเค้าเล่นเกมแบบไหนกัน ทีนี้พอเรารู้ก็สามารถเอาไปเป็นหัวข้อสนทนากับเกมเมอร์รุ่นใหญ่กว่าเราได้แบบสนุกปาก
เกมเก่าบางเกมมันก็มีจุดอ่อนเมื่อเอามาเปิดเล่นในสมัยนี้ ตอนท่านยังเล็กไว้ผมทรงเกรียนหวีเบอร์สาม อาจจะเล่นแล้วมันสนุกและรู้สึกเร้าใจอย่างแรง แต่พอเอามาเปิดเล่นในปัจจุบันซึ่งกลายเป็นมนุษย์เงินเดือนหนวดเคราเขียวครึ้ม กลับเล่นแล้วรู้สึกว่ามันติงต๊องและรับไม่ได้กับกราฟิคซะงั้น ทั้งที่ตัวเองในอดีตเมื่อ 20 ปีก่อนยังต้องแย่งชิงจอยกับพี่ๆเพื่อนๆแล้วเล่นได้อย่างเมามัน
แต่กับบางเกมมันไม่เป็นเช่นนั้น 20 ปีก่อนสนุกยังไง เอากลับมาเล่นใหม่ก็ยังสนุกเหมือนเดิม เพียงแต่เปลี่ยนมุมมองที่เรามีกับมันไปเท่านั้น ตอนวัยเด็ก การเล่นเกมคือสนุกกับเกมล้วนๆเป้าหมายคือเล่นให้เคลียร์ให้ได้ แต่พอเราโตขึ้น มุมมองที่เรามีต่อการเล่นเกมก็ละเอียดกว่าเดิม เริ่มดูเนื้อเรื่อง ดูกราฟิค ดูการออกแบบ ยกตัวอย่างเช่้นเกมลุงหนวดมาริโอ เมื่อคนวัย 20+30+หรือกระทั่ง 40+ นำกลับมาเล่นใหม่ตอนนี้ จะเห็นได้ชัดเจนกว่าตอนเป็นเด็ก ว่้าไอเดียแต่ละอย่างที่เขาออกแบบมานั้นสุดยอดจริงๆ
"คอนทร่า" เป็นหนึ่งในเกมที่หยิบกลับมาเล่นใหม่ในพ.ศ. 2554 ได้อย่างสนุกไม่แพ้ปีพ.ศ. 2531 อันนี้เป็นความรู้สึกส่วนตัวของผมหลังจากที่หยิบคอนทร่าสองภาคแรกกลับมาเล่นใหม่แบบจริงจังอีกครั้งในรอบหลายปี แม้จะเล่นด้วย EMU บนคอมพิวเตอร์ แต่มันก็เรียกความรู้สึกเก่าๆกลับมาได้ และมีหลายอย่างที่เพิ่งจะสัมผัสได้ในเกมนี้ทั้งที่เรารู้จักมันมากว่า 23 ปีแล้ว ความรู้สึกของมนุษย์วัย 20 ปลายๆคนนี้ก็คือ เกมมันยากก็จริง แต่มันแฝงความง่ายเอาไว้ในตัว
ถ้าจะเล่นแบบดันทุรังเดินลุยแหลกมันก็มีแต่ตายกับตาย แต่หากเล่นแล้วจำ เล่นแล้วรู้จังหวะของศัตรูแต่ละตัวว่ามันมาจากไหน ไอเท็มจะลอยมาเมื่อไร เกมนี้จะหวานหมูทันที แต่ที่แน่ๆก็คือทำไมตอนผมเป็นผู้ใหญ่เล่นเกมคอนทร่าแล้วรู้สึกว่าบอสมันกระจอกจัง ยิงๆไม่ถึงนาทีก็ตายแล้ว แต่กับศัตรูลูกจ๊อกและอุปสรรคตามรายทางนี่ยังจะยากกว่าปราบบอสหลายเท่าตัว
Contra เป็นซีรีส์เกมจากค่าย Konami ที่นำเสนอในแนว "Run & Gun" ที่แปลให้เข้าใจง่ายก็คือแนว "วิ่งแล้วยิง" เน้นการลุยไปข้างหน้าแล้วยิงศัตรูไปเรื่อยๆ ไม่ต้องโดดโหม่งบล็อค ไม่ต้องแก้ปริศนา และไม่ต้องเข้าเมืองหาข่าวสาร หน้าที่ของท่านคือซัลโวลูกกระสุนและเอาตัวรอดจากดงศัตรูให้ได้เป็นพอ (คำว่า Run & Gun ยังใช้ในภาษาของบาสเก็ตบอล หมายถึงสไตล์การเล่นที่รวดเร็วมาก ใครเคยอ่านสแลมดั๊งค์น่าจะจำกันได้)
Contra ปรากฏตัวเป็นครั้งแรกในปีพ.ศ. 2530 บนระบบเกมอาเขตหยอดเหรียญ ซึ่งคำว่า Contra ที่เป็นชื่อเกมนี้มีความหมายถึงรางวัลเกียรติยศที่มอบให้กับทหารระดับสุดยอดซึ่งมีความสามารถเหนือทหารสามัญทั่วไป และยังมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติภารกิจที่เหนือกว่าการรบแบบกองโจรอีกด้วย ดังนั้น Contra จึงหมายถึงสุดยอดนักรบที่มาคนเดียวก็ฆ่าคนได้ทั้งกองทัพนั่นเอง ทีนี้คงทราบแล้วใช่้ไหมว่าทำไมจึงมีแค่พระเอกสองคนถูกส่งให้มารบกับศัตรูเป็นขโยง (ประหยัดงบ)
เกมตู้ Contra เปิดตัวให้เล่นกันในปีพ.ศ. 2530 ซึ่งไม่ได้มีการนำเข้ามาให้เล่นในเมืองไทย หลังจากเกมออกสู่ตลาดได้ได้ไม่กี่เดือน ก็เกิดเหตุ "Iran-Contra affair" ซึ่งเป็นเหตุการณ์อื้อฉาวเกี่ยวกับอเมริกาที่ซื้อขายอาวุธกับอิหร่าน แล้วเม็ดเงินส่วนนึงกลับถูกนำไปสนับสนุนกองทัพกบฏชาวนิคารากัวที่ชื่อว่า "Contra" ซึ่งดันมีชื่อตรงกับเกมนี้พอดิบพอดี ส่วนชื่อเพลงในฉากจบของเกมก็ถูกตั้งชื่อว่า "Sandinista" อันเป็นชื่อกองทัพศัตรูของกลุ่ม Contra ในโลกความเป็นจริง ดังนั้นจึงเชื่อได้ว่า Konami เอาไอเดียแรกเริ่มของเกมนี้มาจากเหตุการณ์จริงนั่นเอง
Contra ที่ชาวไทยคุ้นเคยกันมากที่สุด แน่นอนว่าต้องเป็นเกมภาคแรกของระบบ Famicom สมัยนั้นลูกเด็กเล็กแดงยังไม่มีแสงสีนอกบ้านเท่าในปัจจุบัน บ้านไหนมีฐานะหน่อยก็จะซื้อวิดีโอเกมให้ลูกหลานนั่งเล่นกันในบ้าน ซึ่งเล่นกันคนสองคนไม่พอต้องไปชวนญาติพี่น้องรวมทั้งเพื่อนฝูงในบริเวณใกล้เคียงให้มาลุ้นร่วมกัน ในปีพ.ศ. 2531 ยังถือว่าเป็นยุคทองของเครื่องเกม 8bits สีขาวแดงที่แล้วแต่จะเรียกกัน บางคนเรียก Famicom บางคนเรียก Family ก็แล้วแต่ว่าพื้นที่ไหนจะนิยมคำใด
เกมในยุค 8bits จะมีเอกลักษณ์ที่เด่นชัดคือ หลายๆเกมมักจะทำออกมาในแนวแอ็คชั่นเดินลุยด่านด้านข้าง มีโดดข้ามเหว มีเก็บของ เหตุก็มาจากการจั่วหัวของลุงหนวดมาริโอที่สร้างกระแสให้เกมแนว Action Platform ลุยด่านด้านข้างได้รับความนิยมมาก ค่ายเกมตอนนั้นก็นำโดย Nintendo, Capcom และ Konami ที่เป็นตัวหลักของการทำเกมเดินลุยด่าน ซึ่ง Contra เองก็เปิดตัวได้อย่างสวยหรู เมื่อประสบความสำเร็จอย่างมากในการทำให้คนรู้จักและยังตราติดตรึงใจมาจนถึงทุกวันนี้
เกมใดก็ตาม ที่สามารถเล่นได้พร้อมกันสองคน เกมนั้นจะได้รับความสนใจและถูกหยิบมาเล่นในหมู่เด็กๆอย่างมาก เพราะการเล่นสองคนพร้อมๆกันมันจะทวีความสนุกและได้ลุ้นได้เชียร์อย่างครื้นเครง บางเกมเล่นได้สองคนก็จริง แต่ดันสลับกันเล่นทีละตัว พอตายแล้วจึงเปลี่ยนให้อีกจอยเล่น (เช่นลุงหนวดเป็นต้น) เกมที่เล่นสองคนพร้อมกันก็อย่างเช่น Kunio, Double Dragon, Twin Bee และ Contra นี่เองที่เป็นลำดับต้นๆของการพูดถึง เรียกว่าเหมาะสำหรับการเอามาต้อนรับแขกเหรื่อที่มาเยี่ยมเยียน
ตอนเด็กๆเราไม่รู้จักหรอก ว่าพระเอกสองคนที่หน้าเหมือนอาร์โนลด์กับสตอลโลนเนี่ย ในเกมเค้ามีชื่อว่าอะไร เพราะเล่นตลับญี่ปุ่นภาษายุ่นปี่อ่านเนื้อหาไม่ออก ก็เหมาเอาว่านี่คือคนเหล็กกับแรมโบ้ละกัน ซึ่งถ้าค่ายเกมสมัยนี้เอาหน้าตารูปลักษณ์ของดารามาดีไซน์และขึ้นหน้าปกเกม รับรองว่าต้องมีคดีความฟ้องร้องกันแน่นอน เพราะทั้งท่าทางและหน้าตาดูยังไงมันก็ใช่ชัดเจน
แต่ในสมัย 20 กว่าปีก่อนยังไม่มีการตื่นตัวเรื่องลิขสิทธิ์มากมายเท่าปัจจุบัน ลองดูจากในภาพจะเห็นว่าการจัดวางองค์ประกอบนี่เนียนมาก ส่วนใหญ่ Konami จะเอาโปสเตอร์หนังหลายๆเรื่องที่ทั้งสองคนแสดงมาวาดและดัดแปลง ใครบอกว่าญี่ปุ่นไม่เคยลอกชาติอื่นอาจจะต้องคิดใหม่นะครับ อิอิ
ความแตกต่างของ Contra ภาคแรกใน Famicom นั้นมีถึงสามแบบ เวอร์ชั่นของแท้และดั้งเดิมจริงๆต้องเป็นญี่ปุ่นแน่นอน ตัวโลโก้ตอนเข้าเกมจะต้องเป็นอักษรคันจิสามตัวที่อ่านว่า "คอนโทะร่า" พร้อมมีเปลวเพลิงอยู่ข้างใน พอเข้าเกมก็จะมีเนื้อเรื่องเกริ่นนำ และมีการแสดงฉากแผนที่ของเสตจต่างๆ ส่วนฉากจบเกมจะมีให้เห็นตอนพระเอกหนีขึ้นฮ.ก่อนที่เกาะจะระเบิดตูม และพอเราเล่นใหม่อีกครั้งหลังจบเกมก็จะเจอศัตรูที่ยากขึ้นกว่าเดิม รวมทั้งสูตรฟัง BGM ในเกมด้วยการกด A B Select Start พร้อมกัน
ทั้งหมดที่ว่ามานี้ล้วนถูกตัดออกไป เมื่อนำเกมเข้ามาขายในอเมริกา เพราะว่ากระบวนการผลิตตลับเกมของโซน NTSC กับ PAL นั้นต่างกัน ดังนั้นบางท่านที่สงสัยว่าทำไม Contra บางตลับถึงไม่มีฉากไตเติล แล้วอันนี้มันเก๊หรือเปล่า ก็ขอให้ทราบว่าที่บอกว่าปลอมนั้นที่จริงก็คือเวอร์ชั่นมะกันนั่นเอง
นอกจากนี้ Contra ยังถูกเปลี่ยนชื่อเกมให้เป็น "Probotector" เมื่อส่งไปขายในยุโรปและออสเตรเลีย แถมยังเปลี่ยนทั้งตัวเอกและเหล่าศัตรูในเกมที่เป็นทหารให้กลายเป็นหุ่นยนต์แทน ดูจากรูปร่างหน้าตาแล้วก็คล้ายคลึงกับการ์ตูนโรบอทญี่ปุ่นเรื่อง "แพทเลเบอร์" ซึ่งอยู่ในยุคเดียวกันอย่างไม่ผิดเพี้ยน
เหตุที่เค้าต้องเปลี่ยนตัวละครให้เป็นหุ่นยนต์เพราะตอนนั้นมีการแบนสื่อที่รุนแรงสำหรับเด็ก ยิ่งเกมนี้เป็นการทำสงครามและยิงปืนด้วยมนุษย์อย่างโจ่งแจ้ง เค้าจึงเลี่ยงด้วยการเปลี่ยนให้เป็นหุ่นยนต์จะได้ดูน่ารักกว่าเดิมหน่อย (มั้ง)
นอกจากนี้ Contra ยังมีอีกชื่อนึงว่า "Gryzor" อันเป็นชื่อเกมในเวอร์ชั่นเครื่องรุ่นดึกโซนฝรั่งอย่างเช่น Amiga และระบบ DOS ของคอมพิวเตอร์รุ่นแรกๆนั่นเอง สรุปแล้วเกมนี้มีด้วยกันทั้งหมด 4 เวอร์ชั่นซึ่งถือว่าเยอะจน Street Fighter IV ยังต้องอายม้วนต้วน
(ย้อนอดีต) CONTRA "คู่มหากาฬ ล้างบางเอเลี่ยน"
เกมเก่าบางเกมมันก็มีจุดอ่อนเมื่อเอามาเปิดเล่นในสมัยนี้ ตอนท่านยังเล็กไว้ผมทรงเกรียนหวีเบอร์สาม อาจจะเล่นแล้วมันสนุกและรู้สึกเร้าใจอย่างแรง แต่พอเอามาเปิดเล่นในปัจจุบันซึ่งกลายเป็นมนุษย์เงินเดือนหนวดเคราเขียวครึ้ม กลับเล่นแล้วรู้สึกว่ามันติงต๊องและรับไม่ได้กับกราฟิคซะงั้น ทั้งที่ตัวเองในอดีตเมื่อ 20 ปีก่อนยังต้องแย่งชิงจอยกับพี่ๆเพื่อนๆแล้วเล่นได้อย่างเมามัน
แต่กับบางเกมมันไม่เป็นเช่นนั้น 20 ปีก่อนสนุกยังไง เอากลับมาเล่นใหม่ก็ยังสนุกเหมือนเดิม เพียงแต่เปลี่ยนมุมมองที่เรามีกับมันไปเท่านั้น ตอนวัยเด็ก การเล่นเกมคือสนุกกับเกมล้วนๆเป้าหมายคือเล่นให้เคลียร์ให้ได้ แต่พอเราโตขึ้น มุมมองที่เรามีต่อการเล่นเกมก็ละเอียดกว่าเดิม เริ่มดูเนื้อเรื่อง ดูกราฟิค ดูการออกแบบ ยกตัวอย่างเช่้นเกมลุงหนวดมาริโอ เมื่อคนวัย 20+30+หรือกระทั่ง 40+ นำกลับมาเล่นใหม่ตอนนี้ จะเห็นได้ชัดเจนกว่าตอนเป็นเด็ก ว่้าไอเดียแต่ละอย่างที่เขาออกแบบมานั้นสุดยอดจริงๆ
"คอนทร่า" เป็นหนึ่งในเกมที่หยิบกลับมาเล่นใหม่ในพ.ศ. 2554 ได้อย่างสนุกไม่แพ้ปีพ.ศ. 2531 อันนี้เป็นความรู้สึกส่วนตัวของผมหลังจากที่หยิบคอนทร่าสองภาคแรกกลับมาเล่นใหม่แบบจริงจังอีกครั้งในรอบหลายปี แม้จะเล่นด้วย EMU บนคอมพิวเตอร์ แต่มันก็เรียกความรู้สึกเก่าๆกลับมาได้ และมีหลายอย่างที่เพิ่งจะสัมผัสได้ในเกมนี้ทั้งที่เรารู้จักมันมากว่า 23 ปีแล้ว ความรู้สึกของมนุษย์วัย 20 ปลายๆคนนี้ก็คือ เกมมันยากก็จริง แต่มันแฝงความง่ายเอาไว้ในตัว
ถ้าจะเล่นแบบดันทุรังเดินลุยแหลกมันก็มีแต่ตายกับตาย แต่หากเล่นแล้วจำ เล่นแล้วรู้จังหวะของศัตรูแต่ละตัวว่ามันมาจากไหน ไอเท็มจะลอยมาเมื่อไร เกมนี้จะหวานหมูทันที แต่ที่แน่ๆก็คือทำไมตอนผมเป็นผู้ใหญ่เล่นเกมคอนทร่าแล้วรู้สึกว่าบอสมันกระจอกจัง ยิงๆไม่ถึงนาทีก็ตายแล้ว แต่กับศัตรูลูกจ๊อกและอุปสรรคตามรายทางนี่ยังจะยากกว่าปราบบอสหลายเท่าตัว
Contra เป็นซีรีส์เกมจากค่าย Konami ที่นำเสนอในแนว "Run & Gun" ที่แปลให้เข้าใจง่ายก็คือแนว "วิ่งแล้วยิง" เน้นการลุยไปข้างหน้าแล้วยิงศัตรูไปเรื่อยๆ ไม่ต้องโดดโหม่งบล็อค ไม่ต้องแก้ปริศนา และไม่ต้องเข้าเมืองหาข่าวสาร หน้าที่ของท่านคือซัลโวลูกกระสุนและเอาตัวรอดจากดงศัตรูให้ได้เป็นพอ (คำว่า Run & Gun ยังใช้ในภาษาของบาสเก็ตบอล หมายถึงสไตล์การเล่นที่รวดเร็วมาก ใครเคยอ่านสแลมดั๊งค์น่าจะจำกันได้)
Contra ปรากฏตัวเป็นครั้งแรกในปีพ.ศ. 2530 บนระบบเกมอาเขตหยอดเหรียญ ซึ่งคำว่า Contra ที่เป็นชื่อเกมนี้มีความหมายถึงรางวัลเกียรติยศที่มอบให้กับทหารระดับสุดยอดซึ่งมีความสามารถเหนือทหารสามัญทั่วไป และยังมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติภารกิจที่เหนือกว่าการรบแบบกองโจรอีกด้วย ดังนั้น Contra จึงหมายถึงสุดยอดนักรบที่มาคนเดียวก็ฆ่าคนได้ทั้งกองทัพนั่นเอง ทีนี้คงทราบแล้วใช่้ไหมว่าทำไมจึงมีแค่พระเอกสองคนถูกส่งให้มารบกับศัตรูเป็นขโยง (ประหยัดงบ)
เกมตู้ Contra เปิดตัวให้เล่นกันในปีพ.ศ. 2530 ซึ่งไม่ได้มีการนำเข้ามาให้เล่นในเมืองไทย หลังจากเกมออกสู่ตลาดได้ได้ไม่กี่เดือน ก็เกิดเหตุ "Iran-Contra affair" ซึ่งเป็นเหตุการณ์อื้อฉาวเกี่ยวกับอเมริกาที่ซื้อขายอาวุธกับอิหร่าน แล้วเม็ดเงินส่วนนึงกลับถูกนำไปสนับสนุนกองทัพกบฏชาวนิคารากัวที่ชื่อว่า "Contra" ซึ่งดันมีชื่อตรงกับเกมนี้พอดิบพอดี ส่วนชื่อเพลงในฉากจบของเกมก็ถูกตั้งชื่อว่า "Sandinista" อันเป็นชื่อกองทัพศัตรูของกลุ่ม Contra ในโลกความเป็นจริง ดังนั้นจึงเชื่อได้ว่า Konami เอาไอเดียแรกเริ่มของเกมนี้มาจากเหตุการณ์จริงนั่นเอง
Contra ที่ชาวไทยคุ้นเคยกันมากที่สุด แน่นอนว่าต้องเป็นเกมภาคแรกของระบบ Famicom สมัยนั้นลูกเด็กเล็กแดงยังไม่มีแสงสีนอกบ้านเท่าในปัจจุบัน บ้านไหนมีฐานะหน่อยก็จะซื้อวิดีโอเกมให้ลูกหลานนั่งเล่นกันในบ้าน ซึ่งเล่นกันคนสองคนไม่พอต้องไปชวนญาติพี่น้องรวมทั้งเพื่อนฝูงในบริเวณใกล้เคียงให้มาลุ้นร่วมกัน ในปีพ.ศ. 2531 ยังถือว่าเป็นยุคทองของเครื่องเกม 8bits สีขาวแดงที่แล้วแต่จะเรียกกัน บางคนเรียก Famicom บางคนเรียก Family ก็แล้วแต่ว่าพื้นที่ไหนจะนิยมคำใด
เกมในยุค 8bits จะมีเอกลักษณ์ที่เด่นชัดคือ หลายๆเกมมักจะทำออกมาในแนวแอ็คชั่นเดินลุยด่านด้านข้าง มีโดดข้ามเหว มีเก็บของ เหตุก็มาจากการจั่วหัวของลุงหนวดมาริโอที่สร้างกระแสให้เกมแนว Action Platform ลุยด่านด้านข้างได้รับความนิยมมาก ค่ายเกมตอนนั้นก็นำโดย Nintendo, Capcom และ Konami ที่เป็นตัวหลักของการทำเกมเดินลุยด่าน ซึ่ง Contra เองก็เปิดตัวได้อย่างสวยหรู เมื่อประสบความสำเร็จอย่างมากในการทำให้คนรู้จักและยังตราติดตรึงใจมาจนถึงทุกวันนี้
เกมใดก็ตาม ที่สามารถเล่นได้พร้อมกันสองคน เกมนั้นจะได้รับความสนใจและถูกหยิบมาเล่นในหมู่เด็กๆอย่างมาก เพราะการเล่นสองคนพร้อมๆกันมันจะทวีความสนุกและได้ลุ้นได้เชียร์อย่างครื้นเครง บางเกมเล่นได้สองคนก็จริง แต่ดันสลับกันเล่นทีละตัว พอตายแล้วจึงเปลี่ยนให้อีกจอยเล่น (เช่นลุงหนวดเป็นต้น) เกมที่เล่นสองคนพร้อมกันก็อย่างเช่น Kunio, Double Dragon, Twin Bee และ Contra นี่เองที่เป็นลำดับต้นๆของการพูดถึง เรียกว่าเหมาะสำหรับการเอามาต้อนรับแขกเหรื่อที่มาเยี่ยมเยียน
ตอนเด็กๆเราไม่รู้จักหรอก ว่าพระเอกสองคนที่หน้าเหมือนอาร์โนลด์กับสตอลโลนเนี่ย ในเกมเค้ามีชื่อว่าอะไร เพราะเล่นตลับญี่ปุ่นภาษายุ่นปี่อ่านเนื้อหาไม่ออก ก็เหมาเอาว่านี่คือคนเหล็กกับแรมโบ้ละกัน ซึ่งถ้าค่ายเกมสมัยนี้เอาหน้าตารูปลักษณ์ของดารามาดีไซน์และขึ้นหน้าปกเกม รับรองว่าต้องมีคดีความฟ้องร้องกันแน่นอน เพราะทั้งท่าทางและหน้าตาดูยังไงมันก็ใช่ชัดเจน
แต่ในสมัย 20 กว่าปีก่อนยังไม่มีการตื่นตัวเรื่องลิขสิทธิ์มากมายเท่าปัจจุบัน ลองดูจากในภาพจะเห็นว่าการจัดวางองค์ประกอบนี่เนียนมาก ส่วนใหญ่ Konami จะเอาโปสเตอร์หนังหลายๆเรื่องที่ทั้งสองคนแสดงมาวาดและดัดแปลง ใครบอกว่าญี่ปุ่นไม่เคยลอกชาติอื่นอาจจะต้องคิดใหม่นะครับ อิอิ
ความแตกต่างของ Contra ภาคแรกใน Famicom นั้นมีถึงสามแบบ เวอร์ชั่นของแท้และดั้งเดิมจริงๆต้องเป็นญี่ปุ่นแน่นอน ตัวโลโก้ตอนเข้าเกมจะต้องเป็นอักษรคันจิสามตัวที่อ่านว่า "คอนโทะร่า" พร้อมมีเปลวเพลิงอยู่ข้างใน พอเข้าเกมก็จะมีเนื้อเรื่องเกริ่นนำ และมีการแสดงฉากแผนที่ของเสตจต่างๆ ส่วนฉากจบเกมจะมีให้เห็นตอนพระเอกหนีขึ้นฮ.ก่อนที่เกาะจะระเบิดตูม และพอเราเล่นใหม่อีกครั้งหลังจบเกมก็จะเจอศัตรูที่ยากขึ้นกว่าเดิม รวมทั้งสูตรฟัง BGM ในเกมด้วยการกด A B Select Start พร้อมกัน
ทั้งหมดที่ว่ามานี้ล้วนถูกตัดออกไป เมื่อนำเกมเข้ามาขายในอเมริกา เพราะว่ากระบวนการผลิตตลับเกมของโซน NTSC กับ PAL นั้นต่างกัน ดังนั้นบางท่านที่สงสัยว่าทำไม Contra บางตลับถึงไม่มีฉากไตเติล แล้วอันนี้มันเก๊หรือเปล่า ก็ขอให้ทราบว่าที่บอกว่าปลอมนั้นที่จริงก็คือเวอร์ชั่นมะกันนั่นเอง
นอกจากนี้ Contra ยังถูกเปลี่ยนชื่อเกมให้เป็น "Probotector" เมื่อส่งไปขายในยุโรปและออสเตรเลีย แถมยังเปลี่ยนทั้งตัวเอกและเหล่าศัตรูในเกมที่เป็นทหารให้กลายเป็นหุ่นยนต์แทน ดูจากรูปร่างหน้าตาแล้วก็คล้ายคลึงกับการ์ตูนโรบอทญี่ปุ่นเรื่อง "แพทเลเบอร์" ซึ่งอยู่ในยุคเดียวกันอย่างไม่ผิดเพี้ยน
เหตุที่เค้าต้องเปลี่ยนตัวละครให้เป็นหุ่นยนต์เพราะตอนนั้นมีการแบนสื่อที่รุนแรงสำหรับเด็ก ยิ่งเกมนี้เป็นการทำสงครามและยิงปืนด้วยมนุษย์อย่างโจ่งแจ้ง เค้าจึงเลี่ยงด้วยการเปลี่ยนให้เป็นหุ่นยนต์จะได้ดูน่ารักกว่าเดิมหน่อย (มั้ง)
นอกจากนี้ Contra ยังมีอีกชื่อนึงว่า "Gryzor" อันเป็นชื่อเกมในเวอร์ชั่นเครื่องรุ่นดึกโซนฝรั่งอย่างเช่น Amiga และระบบ DOS ของคอมพิวเตอร์รุ่นแรกๆนั่นเอง สรุปแล้วเกมนี้มีด้วยกันทั้งหมด 4 เวอร์ชั่นซึ่งถือว่าเยอะจน Street Fighter IV ยังต้องอายม้วนต้วน