เมื่อปีก่อน (2012) เกิดภาวะ วิกฤต ยูโรโซน (Euro Crisis) ขึ้นในกลุ่มประเทศโซนยุโรป ที่ใช้เงินสกุลยูโร มันเริ่มต้นมาจากภาวะการล้มละลายของ กรีซ ตามมาด้วยกลุ่มประเทศใกล้เคียงที่ต่างพังพาบทางการเงินไปพร้อมๆกัน ประดุจโดมิโน
แล้วมันก็ลุกลามกันไปทั่วทั้งยูโรโซน
จากวิกฤตข้างต้น สเปนเองที่ปัญหาภายในของตัวเองอยู่แล้วในระบบการเงินภาคธนาคาร สภาพเศรษฐกิจฝืดเคือง มีการนำเข้ามากกว่าการส่งออก ปัญหาการว่างงานที่มีเปอร์เซนต์เพิ่มสูงทุกปี พอเจอกับวิกฤตยูโรโซนเข้าไป สเปนเลยประสบกับภาวะ ฟองสบู่ทันที จนแทบจะล้มตามรอยกรีซไปเลยทีเดียว แต่เนื่องจาก EU ได้พิจารณาแล้วว่า ขนาดเศรษฐกิจสเปนใหญ่เกินกว่าจะปล่อยให้ล้มได้ และหากสเปนล้มอาจเกิดความเสียหายที่รุนแรงกว่าเดิมในระยะยาว เยอรมันและฝรั่งเศสต้องเข้าไปช่วยอุ้มสภาพเศรษฐกิจไว้ สเปนจึงสามารถหายใจหายคอต่อได้ด้วยความไม่แข็งแรงนัก
สเปนพบกับวิกฤตทางการเงินอย่างรุนแรง กระทบกับธุรกิจภายในประเทศแทบทุกอย่าง แน่นอนว่าลมหายใจของประเทศแบบกิจฟุตบอล La Liga เองก็เช่นเดียวกัน ...
คุณอาจจะไม่ได้อยากรู้เรื่องที่มาที่ไปของวิกฤตเศรษฐกิจอะไรนี่นัก
เอาเป็นว่าเราเข้าเรื่องแล้วกัน
ในบรรดาสโมสรฟุตบอลที่ "ร่ำรวย" 20 อันดับแรกของโลก มีสโมสรฟุตบอลจาก La Liga เพียง 2 ทีม โดยมาจาก Premiere leagues ถึง 7 ทีม, 5 ทีมจาก Serie A , 4 ทีมจาก Bundes liga และอีก 2 ทีมจาก League 1
แต่ในส่วนของ 2 อันดับแรกที่มี "รายรับ" (รายรับคนละอันกับร่ำรวยนะคะ) มากที่สุด กลับเป็นของ La Ligaทั้ง 2 ทีม ได้แก่ Real Madrid อันดับ 1 และตามมาด้วย Barcelona ...
ในปีนี้ Real Madrid สามารถแซงหน้า Manchester Uinted เป็นผลสำเร็จ ขึ้นแท่น "สโมสรที่รวยที่สุดในโลก" แทนที่ แมนยูฯ ที่ครองตำแหน่งนี้มาตั้งแต่ปี 2004 จากการจัดอันดับของ Forbes
ภาพจาก Goal.com | UPEDATE 13.05.2013
หลายคนบอกว่า Real Madrid เป็นทีมที่ร่ำรวย แต่บ้าคลั่งจนถึงขั้นโง่ ที่เสียเงินมากมาย กับการทุ่มซื้อนักเตะในราคามหาศาลมาร่วมทีม ยังไม่นับภาระค่าเหนื่อยของบรรดาสตาร์ทั้งหลายที่นับปียิ่งเพิ่มขึ้นไม่มีลดอีก และ แม้จะเจอพิษเศรษฐกิจที่กระทบทั้งภูมิภาค แต่ทั้ง Real Madrid และ Barcelona ก็ยังขนเงินซื้อนักเตะด้วยราคาโหดสัสกันเป็นว่าเล่น สโมสรพวกนี้ไปเอาเงินมาจากไหนกัน
ค่าขายเสื้อ? ค่าตั๋ว? ค่าสปอนเซอร์? ค่าลิขสิทธิ์? ค่าเงินรางวัล?
มันก็ทั้งหมดนั่นแหละ
ปีที่ผ่านมา Real Madrid ทำยอด Income สูงสุดเป็นประวัติการณ์ทำลายสถิติเดิมอีกครั้ง ด้วยการผ่านตัวเลข 500 ล้านยูโร ไปแบบชิลๆ และพวกเขาทำสถิตินี้มาได้ ถึง 8 ปีแล้ว ซึ่งเกิดในยุคของ Florentino Pérez ทั้งสิ้น ..
ทั้ง 2 ทีม มีรายได้มาจากไหนบ้าง
ภาพจาก Goal.com
พวกเขามีรายรับมหาศาล ไม่มีหนี้เลยหรือไร?
แน่นอนว่าพวกเขามีรายรับมหาศาล แต่ที่มหาศาลไม่แพ้กันก็คือ "หนี้"
รวยมาก ก็หนี้มาก
ในช่วงที่สเปนอ่วมอรทัยจากวิกฤตซับไพรม์ (Subprime Crisis) ที่เกิดจากอเมริกา มาตั้งแต่ช่วงปี 2010-2011 ยังมาเจอสึนามิกระหน่ำจากกรีซเอฟเฟค ในวิกฤตยูโรโซนอีกในปี 2012 ยอดทีมดังจาก La Liga ที่ยังมีเงินถุงเงินถัง แทบไม่สนวิกฤตที่เกิดขึ้นใน "La Liga" หรืออาจจะสนแต่มีแผนอื่นๆรองรับที่ดีกว่าทีมอื่นๆในลีกส์เดียวกัน
พวกเขายังคงจ่ายเบี้ยซื้อตัวนักเตะเสริมทัพด้วยราคา 2 หลักที่ชวนซู้ดปากกันเหมือนเดิม ขณะที่ทีมรองๆกลับเลือกที่จะปล่อยสตาร์ของทีมออกไปในราคาสูงเพื่อปลดหนี้สินมากกว่าซื้อตัวนักเตะราคาแพง
โคตรทีม มหาเศรษฐี บ้าทำลายสถิติซื้อขายแบบ Real Marid จ่ายเงิน 33 ล้านปอนด์เพื่อดึงตัว Luka Modrić กองกลางจอมขยันแห่ง Tottenham Hotspur ที่กำลังเนื้อหอมสุดๆใน Premiere leauge มาซบรัง ซึ่งขณะนั้นพวกเขามีบัญชีหนี้สินติดลบอยู่เป็น
อันดับ 1 ใน La Liga คือ 589 ล้านยูโร หรือ 773 ล้านเหรียญ
ขณะที่ Barcelona เองก็เสริมทัพด้วยการซื้อตัว Alex Song จาก Arsenal และ Jordi Alba จาก Valencia ในราคา 12 ล้านปอนด์และ 16 ล้านปอนด์ ตามลำดับ ซึ่งในปีนั้นพวกเขามีหนี้สินอยู่ ที่
578 ล้านยูโร หรือ 756 ล้านเหรียญ
และทีมร่วมเมืองของทีมเศรษฐี Real Madrid แบบ Atletico Madrid ก็ได้ Radamel Falcao จาก FC Proto ในราคาที่ทำร้ายจิตใจคนสเปนเหลือเกิน คือ 41 ล้านปอนด์ และ Arta Turan จาก Galatasaray ในราคา 11 ล้านปอนด์ ขณะที่หนี้สินของสโมสรมารองเป็น
อันดับ 3 ที่ 514 ล้านยูโร หรือ 675 ล้านเหรียญ
แต่ในปีเดียวกัน แอตฯมาดริดก็ปล่อยดาวรุ่งของทีมไป 2 คนเพื่อหาเงินสำรองไว้แล้ว นั่นคือ David de Gea ไป Manchester Uinted ที่ราคา 17 ล้่านปอนด์ และ Sergio Agüero ไป Manchester City ที่ 39 ล้านปอนด์
Valencia ที่เคยมีรายรับสูงสุดในลีกส์อยู่ในอันดับต้นๆมาตลอด ก็เสียหลักจากพิษเศรษฐกิจ จนมีหนี้บานงอกเงยไม่แพ้กัน จึงต้องขายนักเตะดาวดังของทีมเพื่อเอามาจ่ายหนี้สิน บาเลนเซียที่ประสบปัญหาทางการเงินมาระยะหนึ่งแล้ว
โดยทีมตัดสินใจ เริ่มขายดาวดังของทีมในปี 2011 พวกเขาปล่อยตัว David Silva ไป Manchester City ด้วยราคา 25 ล้านปอนด์ และ David Villa ให้ไปอยู่ทีมยอดตารางแบบ Barcelona ที่ราคา 35 ล้านปอนด์ และ Juan Mata ไป Chelsea ในราคา 23 ล้านปอนด์ ทำให้พวกเขาปลดหนี้สิน
เหลือเพียง 382 ล้านยูโรเท่านั้น
แต่ ...
"หนี้สิน" ในธุรกิจสโมสรฟุตบอล จะนิยามแบบหนี้สินแบบปกติไม่ได้
ในวงแคบ เมื่อพูดถึง
หนี้ เราอาจแค่หมายถึง "หนี้สินกับธนาคาร" แต่ในมุมกว้างเราหมายถึง "หนี้สิ้นทั้งหมด"
ซึ่ง Football club debt หรือ หนี้ของสโมสรฟุตบอล จะเป็นแบบหลังคือ จะนับรวมถึงภาระค่าใช้จ่ายทางการเงินทั้งหมด ตั้งแต่
ภาษีเงินได้ : ภาษีที่ต้องจ่ายตามปกติกับธนาคาร
การจ่ายหนี้แก่เจ้าหนี้ : การชำระหนี้ค่าเช่าต่างๆ เช่น ค่าเช่าไฟฟ้า
ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย : มีหนี้แล้วแต่ยังไม่ชำระ เช่น เงินเดือนพนักงาน หรือ โบนัสพนักงาน
ค่าใช้จ่ายค้างจ่ายอื่นๆ : ค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยยังไม่มีการได้รับใบแจ้งหนี้
การประกันการสูญเสียในอนาคต : การเรียกร้องทางกฏหมายในกรณีต่างๆ
รายได้ล่วงหน้าที่รอการชำระคืน : ได้เงินล่วงหน้ามาแล้ว รอการตอบแทนด้วยวิธีอื่น เช่น การขายตั๋วปี
เมื่อสื่อฯพูดถึง "หนี้" ในสโมสรฟุตบอล มันจะหมายถึงค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเงินทั้งหมด
นั่นทำให้ทำไมเราจึงมองว่า แต่ละสโมสรช่างมีหนี้มากมายมหาศาลเหลือเกิน ซึ่งกรณีนี้ เราต้องดูที่รายรับของสโมสรและยอดกำไรในแต่ละปีด้วยเช่นกัน
ภาพจาก The Swissramble | UPDATE 30.05.2012
ซึ่งหากเปรียบเทียบด้าน "รายได้" และ "หนี้" ของทั้ง Real Madrid และ Barcelona แล้วจะพบว่า มันไม่ใช่ตัวเลขที่อันตรายแต่อย่างใด ในการตีข่าวของสื่อมวลชนส่วนใหญ่มักจะใช้ Debt ที่มาจาก "หนี้รวม" ทั้งหมดเพื่อมองสภาพการณ์อย่างเลวร้ายที่สุด ซึ่งหากใช้หลักการเดียวกันนี้กับอีก 2 สโมสรแห่งอังกฤษอย่าง Manchester United และ Arsenal มันจะเป็น
"เรื่องเลวร้ายจริงๆ" ทันที เพราะหนี้ของสโมสร Manchester United ดอกเบี้ยเพิ่มพูน แต่สโมสรกำลังขาดทุน ต่างจาก 2 สโมสรหัวตารางในสเปนที่พวกเขายังฟันกำไรอื้อซ่า แม้จะไม่สามารถสร้างผลงานที่ดีนักในเกมส์ฟุตบอลถ้วยยุโรป (UEFA Champion Leauge) ก็ตาม ขณะที่ทีมจากอังกฤษหลายทีมทำผลงานได้แย่กว่าในหลายๆปีหลัง นั่นเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ หุ้นของหลายๆสโมสรตก และ ผลกำไรลดลงในที่สุด ..
ภาพจาก The Swissramble | UPDATE 30.05.2012
แต่ใน La Liga เอง ก็มีการแบ่งแยกชนชั้นชัดเจน พวกที่รวย ก็จะยิ่งโคตรรวย ส่วนพวกที่จน ก็จะยิ่งโคตรจน
ใน 30 อันดับสโมสรที่ร่ำรวยของโลก ยังคงมีแค่ Real Madrid และ Barcelona ที่รั้งอันดับท๊อป นอกนั้นทีมอื่นๆจากสเปนก็ไม่เห็นแม้แต่เงาบนชาร์ตนี้
สรุปกันแบบกำปั้นทุบดิน La Liga นั้นไม่ได้แกล้งรวย และ พวกเขาก็ไม่ได้รวยด้วย หากเราพิจารณาความรวยจากการกว้านซื้อนักเตะด้วยราคาแพงระยับล่ะก็ นั่นเป็นส่วนหนึ่งของ "การจัดการทางการเงิน" และ "การลงทุน" เพื่อผลกำไรของสโมสร เนื่องจากพวกเขา "ย่ำแย่ทางการเงิน" จริงๆ จึงต้อมยอมจ่ายเงิน "มาก" ขนาดนั้น เพื่อ "สร้างผลงาน" ที่จะตามมาด้วย ผลกำไรทางธุรกิจอีกมากมายในอนาคต ...
เนื่องจากความสำเร็จจาก 2 ทีมที่สามารถทำสถิติรายรับมากมายมหาศาล ขณะที่ยอดหนี้จะบานเบอะเป็นอันดับต้นๆ แต่การลงทุนระยะยาวของสปอนเซอร์ต่อทั้ง 2 สโมสรนี้ ยังโคตรสดใส "คู่แค้นแสนรัก" คู่นี้ เลยยังคงยิ้มกริ่ม ทำตัวเป็นทุ่นลอยพ้นน้ำ แทบไม่สะเทืิอนกับคลื่นที่กำลังสาดซัดทั้งลีกส์อยู่
ก็คงจะมีเพียงแค่พวกเขา 2 ทีม Real Madrid และ Barcelona เท่านั้นแหละ
... ที่ "รวย" และ "ไม่รู้เรื่อง" อะไร กับใครเค้าเลย ...
... รวยไม่รู้เรื่องจริงๆ ...
- POPROCK -
... เจาะบัญชี La Liga แกล้งรวย หรือ รวยจริง ? ...
แล้วมันก็ลุกลามกันไปทั่วทั้งยูโรโซน
จากวิกฤตข้างต้น สเปนเองที่ปัญหาภายในของตัวเองอยู่แล้วในระบบการเงินภาคธนาคาร สภาพเศรษฐกิจฝืดเคือง มีการนำเข้ามากกว่าการส่งออก ปัญหาการว่างงานที่มีเปอร์เซนต์เพิ่มสูงทุกปี พอเจอกับวิกฤตยูโรโซนเข้าไป สเปนเลยประสบกับภาวะ ฟองสบู่ทันที จนแทบจะล้มตามรอยกรีซไปเลยทีเดียว แต่เนื่องจาก EU ได้พิจารณาแล้วว่า ขนาดเศรษฐกิจสเปนใหญ่เกินกว่าจะปล่อยให้ล้มได้ และหากสเปนล้มอาจเกิดความเสียหายที่รุนแรงกว่าเดิมในระยะยาว เยอรมันและฝรั่งเศสต้องเข้าไปช่วยอุ้มสภาพเศรษฐกิจไว้ สเปนจึงสามารถหายใจหายคอต่อได้ด้วยความไม่แข็งแรงนัก
สเปนพบกับวิกฤตทางการเงินอย่างรุนแรง กระทบกับธุรกิจภายในประเทศแทบทุกอย่าง แน่นอนว่าลมหายใจของประเทศแบบกิจฟุตบอล La Liga เองก็เช่นเดียวกัน ...
คุณอาจจะไม่ได้อยากรู้เรื่องที่มาที่ไปของวิกฤตเศรษฐกิจอะไรนี่นัก
เอาเป็นว่าเราเข้าเรื่องแล้วกัน
ในบรรดาสโมสรฟุตบอลที่ "ร่ำรวย" 20 อันดับแรกของโลก มีสโมสรฟุตบอลจาก La Liga เพียง 2 ทีม โดยมาจาก Premiere leagues ถึง 7 ทีม, 5 ทีมจาก Serie A , 4 ทีมจาก Bundes liga และอีก 2 ทีมจาก League 1
แต่ในส่วนของ 2 อันดับแรกที่มี "รายรับ" (รายรับคนละอันกับร่ำรวยนะคะ) มากที่สุด กลับเป็นของ La Ligaทั้ง 2 ทีม ได้แก่ Real Madrid อันดับ 1 และตามมาด้วย Barcelona ...
ในปีนี้ Real Madrid สามารถแซงหน้า Manchester Uinted เป็นผลสำเร็จ ขึ้นแท่น "สโมสรที่รวยที่สุดในโลก" แทนที่ แมนยูฯ ที่ครองตำแหน่งนี้มาตั้งแต่ปี 2004 จากการจัดอันดับของ Forbes
ภาพจาก Goal.com | UPEDATE 13.05.2013
หลายคนบอกว่า Real Madrid เป็นทีมที่ร่ำรวย แต่บ้าคลั่งจนถึงขั้นโง่ ที่เสียเงินมากมาย กับการทุ่มซื้อนักเตะในราคามหาศาลมาร่วมทีม ยังไม่นับภาระค่าเหนื่อยของบรรดาสตาร์ทั้งหลายที่นับปียิ่งเพิ่มขึ้นไม่มีลดอีก และ แม้จะเจอพิษเศรษฐกิจที่กระทบทั้งภูมิภาค แต่ทั้ง Real Madrid และ Barcelona ก็ยังขนเงินซื้อนักเตะด้วยราคาโหดสัสกันเป็นว่าเล่น สโมสรพวกนี้ไปเอาเงินมาจากไหนกัน
ค่าขายเสื้อ? ค่าตั๋ว? ค่าสปอนเซอร์? ค่าลิขสิทธิ์? ค่าเงินรางวัล?
มันก็ทั้งหมดนั่นแหละ
ปีที่ผ่านมา Real Madrid ทำยอด Income สูงสุดเป็นประวัติการณ์ทำลายสถิติเดิมอีกครั้ง ด้วยการผ่านตัวเลข 500 ล้านยูโร ไปแบบชิลๆ และพวกเขาทำสถิตินี้มาได้ ถึง 8 ปีแล้ว ซึ่งเกิดในยุคของ Florentino Pérez ทั้งสิ้น ..
ทั้ง 2 ทีม มีรายได้มาจากไหนบ้าง
ภาพจาก Goal.com
พวกเขามีรายรับมหาศาล ไม่มีหนี้เลยหรือไร?
แน่นอนว่าพวกเขามีรายรับมหาศาล แต่ที่มหาศาลไม่แพ้กันก็คือ "หนี้"
รวยมาก ก็หนี้มาก
ในช่วงที่สเปนอ่วมอรทัยจากวิกฤตซับไพรม์ (Subprime Crisis) ที่เกิดจากอเมริกา มาตั้งแต่ช่วงปี 2010-2011 ยังมาเจอสึนามิกระหน่ำจากกรีซเอฟเฟค ในวิกฤตยูโรโซนอีกในปี 2012 ยอดทีมดังจาก La Liga ที่ยังมีเงินถุงเงินถัง แทบไม่สนวิกฤตที่เกิดขึ้นใน "La Liga" หรืออาจจะสนแต่มีแผนอื่นๆรองรับที่ดีกว่าทีมอื่นๆในลีกส์เดียวกัน
พวกเขายังคงจ่ายเบี้ยซื้อตัวนักเตะเสริมทัพด้วยราคา 2 หลักที่ชวนซู้ดปากกันเหมือนเดิม ขณะที่ทีมรองๆกลับเลือกที่จะปล่อยสตาร์ของทีมออกไปในราคาสูงเพื่อปลดหนี้สินมากกว่าซื้อตัวนักเตะราคาแพง
โคตรทีม มหาเศรษฐี บ้าทำลายสถิติซื้อขายแบบ Real Marid จ่ายเงิน 33 ล้านปอนด์เพื่อดึงตัว Luka Modrić กองกลางจอมขยันแห่ง Tottenham Hotspur ที่กำลังเนื้อหอมสุดๆใน Premiere leauge มาซบรัง ซึ่งขณะนั้นพวกเขามีบัญชีหนี้สินติดลบอยู่เป็น อันดับ 1 ใน La Liga คือ 589 ล้านยูโร หรือ 773 ล้านเหรียญ
ขณะที่ Barcelona เองก็เสริมทัพด้วยการซื้อตัว Alex Song จาก Arsenal และ Jordi Alba จาก Valencia ในราคา 12 ล้านปอนด์และ 16 ล้านปอนด์ ตามลำดับ ซึ่งในปีนั้นพวกเขามีหนี้สินอยู่ ที่ 578 ล้านยูโร หรือ 756 ล้านเหรียญ
และทีมร่วมเมืองของทีมเศรษฐี Real Madrid แบบ Atletico Madrid ก็ได้ Radamel Falcao จาก FC Proto ในราคาที่ทำร้ายจิตใจคนสเปนเหลือเกิน คือ 41 ล้านปอนด์ และ Arta Turan จาก Galatasaray ในราคา 11 ล้านปอนด์ ขณะที่หนี้สินของสโมสรมารองเป็นอันดับ 3 ที่ 514 ล้านยูโร หรือ 675 ล้านเหรียญ
แต่ในปีเดียวกัน แอตฯมาดริดก็ปล่อยดาวรุ่งของทีมไป 2 คนเพื่อหาเงินสำรองไว้แล้ว นั่นคือ David de Gea ไป Manchester Uinted ที่ราคา 17 ล้่านปอนด์ และ Sergio Agüero ไป Manchester City ที่ 39 ล้านปอนด์
Valencia ที่เคยมีรายรับสูงสุดในลีกส์อยู่ในอันดับต้นๆมาตลอด ก็เสียหลักจากพิษเศรษฐกิจ จนมีหนี้บานงอกเงยไม่แพ้กัน จึงต้องขายนักเตะดาวดังของทีมเพื่อเอามาจ่ายหนี้สิน บาเลนเซียที่ประสบปัญหาทางการเงินมาระยะหนึ่งแล้ว
โดยทีมตัดสินใจ เริ่มขายดาวดังของทีมในปี 2011 พวกเขาปล่อยตัว David Silva ไป Manchester City ด้วยราคา 25 ล้านปอนด์ และ David Villa ให้ไปอยู่ทีมยอดตารางแบบ Barcelona ที่ราคา 35 ล้านปอนด์ และ Juan Mata ไป Chelsea ในราคา 23 ล้านปอนด์ ทำให้พวกเขาปลดหนี้สิน เหลือเพียง 382 ล้านยูโรเท่านั้น
แต่ ... "หนี้สิน" ในธุรกิจสโมสรฟุตบอล จะนิยามแบบหนี้สินแบบปกติไม่ได้
ในวงแคบ เมื่อพูดถึง หนี้ เราอาจแค่หมายถึง "หนี้สินกับธนาคาร" แต่ในมุมกว้างเราหมายถึง "หนี้สิ้นทั้งหมด"
ซึ่ง Football club debt หรือ หนี้ของสโมสรฟุตบอล จะเป็นแบบหลังคือ จะนับรวมถึงภาระค่าใช้จ่ายทางการเงินทั้งหมด ตั้งแต่
ภาษีเงินได้ : ภาษีที่ต้องจ่ายตามปกติกับธนาคาร
การจ่ายหนี้แก่เจ้าหนี้ : การชำระหนี้ค่าเช่าต่างๆ เช่น ค่าเช่าไฟฟ้า
ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย : มีหนี้แล้วแต่ยังไม่ชำระ เช่น เงินเดือนพนักงาน หรือ โบนัสพนักงาน
ค่าใช้จ่ายค้างจ่ายอื่นๆ : ค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยยังไม่มีการได้รับใบแจ้งหนี้
การประกันการสูญเสียในอนาคต : การเรียกร้องทางกฏหมายในกรณีต่างๆ
รายได้ล่วงหน้าที่รอการชำระคืน : ได้เงินล่วงหน้ามาแล้ว รอการตอบแทนด้วยวิธีอื่น เช่น การขายตั๋วปี
เมื่อสื่อฯพูดถึง "หนี้" ในสโมสรฟุตบอล มันจะหมายถึงค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเงินทั้งหมด
นั่นทำให้ทำไมเราจึงมองว่า แต่ละสโมสรช่างมีหนี้มากมายมหาศาลเหลือเกิน ซึ่งกรณีนี้ เราต้องดูที่รายรับของสโมสรและยอดกำไรในแต่ละปีด้วยเช่นกัน
ภาพจาก The Swissramble | UPDATE 30.05.2012
ซึ่งหากเปรียบเทียบด้าน "รายได้" และ "หนี้" ของทั้ง Real Madrid และ Barcelona แล้วจะพบว่า มันไม่ใช่ตัวเลขที่อันตรายแต่อย่างใด ในการตีข่าวของสื่อมวลชนส่วนใหญ่มักจะใช้ Debt ที่มาจาก "หนี้รวม" ทั้งหมดเพื่อมองสภาพการณ์อย่างเลวร้ายที่สุด ซึ่งหากใช้หลักการเดียวกันนี้กับอีก 2 สโมสรแห่งอังกฤษอย่าง Manchester United และ Arsenal มันจะเป็น "เรื่องเลวร้ายจริงๆ" ทันที เพราะหนี้ของสโมสร Manchester United ดอกเบี้ยเพิ่มพูน แต่สโมสรกำลังขาดทุน ต่างจาก 2 สโมสรหัวตารางในสเปนที่พวกเขายังฟันกำไรอื้อซ่า แม้จะไม่สามารถสร้างผลงานที่ดีนักในเกมส์ฟุตบอลถ้วยยุโรป (UEFA Champion Leauge) ก็ตาม ขณะที่ทีมจากอังกฤษหลายทีมทำผลงานได้แย่กว่าในหลายๆปีหลัง นั่นเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ หุ้นของหลายๆสโมสรตก และ ผลกำไรลดลงในที่สุด ..
ภาพจาก The Swissramble | UPDATE 30.05.2012
แต่ใน La Liga เอง ก็มีการแบ่งแยกชนชั้นชัดเจน พวกที่รวย ก็จะยิ่งโคตรรวย ส่วนพวกที่จน ก็จะยิ่งโคตรจน
ใน 30 อันดับสโมสรที่ร่ำรวยของโลก ยังคงมีแค่ Real Madrid และ Barcelona ที่รั้งอันดับท๊อป นอกนั้นทีมอื่นๆจากสเปนก็ไม่เห็นแม้แต่เงาบนชาร์ตนี้
สรุปกันแบบกำปั้นทุบดิน La Liga นั้นไม่ได้แกล้งรวย และ พวกเขาก็ไม่ได้รวยด้วย หากเราพิจารณาความรวยจากการกว้านซื้อนักเตะด้วยราคาแพงระยับล่ะก็ นั่นเป็นส่วนหนึ่งของ "การจัดการทางการเงิน" และ "การลงทุน" เพื่อผลกำไรของสโมสร เนื่องจากพวกเขา "ย่ำแย่ทางการเงิน" จริงๆ จึงต้อมยอมจ่ายเงิน "มาก" ขนาดนั้น เพื่อ "สร้างผลงาน" ที่จะตามมาด้วย ผลกำไรทางธุรกิจอีกมากมายในอนาคต ...
เนื่องจากความสำเร็จจาก 2 ทีมที่สามารถทำสถิติรายรับมากมายมหาศาล ขณะที่ยอดหนี้จะบานเบอะเป็นอันดับต้นๆ แต่การลงทุนระยะยาวของสปอนเซอร์ต่อทั้ง 2 สโมสรนี้ ยังโคตรสดใส "คู่แค้นแสนรัก" คู่นี้ เลยยังคงยิ้มกริ่ม ทำตัวเป็นทุ่นลอยพ้นน้ำ แทบไม่สะเทืิอนกับคลื่นที่กำลังสาดซัดทั้งลีกส์อยู่
ก็คงจะมีเพียงแค่พวกเขา 2 ทีม Real Madrid และ Barcelona เท่านั้นแหละ
... ที่ "รวย" และ "ไม่รู้เรื่อง" อะไร กับใครเค้าเลย ...
... รวยไม่รู้เรื่องจริงๆ ...
- POPROCK -