คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 9
จขกท. ลาออกวันที่ 10 มิ.ย. ปีปฏิทินนั้น และได้งานทำเริ่มงานวันที่ 1 กรฎาคม ของปีปฏิทินนั้น ให้ไปขึ้นทะเบียนว่างงานรักษาและใช้สิทธิ์ของเราครับ โดยไปขึ้นทะเบียนว่างงานกับ สนง.จัดหางาน ได้ทุกเขตพื้นที่ใน กทม. และ ทุกจังหวัด ทั่วประเทศ แล้วแต่สะดวกที่ไหนครับ โดยต้องไปขึ้นทะเบียนว่างงานนับจากวันที่ลาออกภายใน 30 วันครับ ใน 30 วันนี้ไม่ว่าเราจะไปขึ้นทะเบียนว่างงานวันไหน (แต่ต้องขึ้นทะเบียนว่างงานภายใน 30 วันนี้) ทาง ปกส. จะนับจากวันที่เราลาออกไปอีก 7 วัน แล้วเริ่มคิดคำนวณและจ่ายเงินชดเชยกรณีว่างงานให้เรา จากวันที่ 8 เป็นต้นไปครับ ในกรณีของ จขกท. จะเริ่มนับจาก 10 มิ.ย. + ไปอีก 7 วัน = ตรงกับวันที่ 17 มิ.ย. ซึ่งถ้านับวันที่ลาออก วันที่ 10 ม.ย. ด้วย ก็ต้อง ลบออก 1 วัน = (10 + 7) - 1 = ตรงกับวันที่ 16 มิ.ย. ครับ โดย ปกส. จะเริ่มคิดคำนวณและจ่ายเงินชดเชยกรณีว่างงานให้เรานับจากวันที่ 16 มิ.ย. (วันที่ 8) เป็นต้นไป จนถึง วันที่ก่อนเราได้งานหรือเริ่มงาน ซึ่งในที่นี้ก็คือก่อนวันที่ 1 กรกฎาคม (วันที่ได้งานหรือเริ่มงานใหม่) แสดงว่านับจาก 16 มิ.ย. ถึง 30 มิ.ย. รวม 30 - 16 = 14 + 1 = 15 วัน (นับวันที่ 16 มิ.ย. ด้วยจึงบวก 1 วันเพิ่มเข้ามา)
ฉะนั้น 15 วัน ที่ว่างงานนี้คำนวณเงินชดเชยได้ดังนี้ (อันนี้ผมคิดให้ดูกรณี งด. >= 15,000 ขึ้นไปนะครับ ถ้า งด. < 15,000 (14,999 ลงไปจนถึงต่ำสุดที่ 1,650 ก็ให้เอายอดเงินเดือนที่ได้นั้นไปคิดแทน 15,000 นะครับ) )
ปกส. จะคิดคำนวณเงินชดเชยกรณีว่างงาน กรณีลาออก นี้ในอัตรา ร้อยละ 30 ของฐานเงินเดือนล่าสุดสูงสุด ไปเป็นเวลา 90 วัน
กรณีนี้ คือ กรณีลาออกเองนะครับ ที่ไม่ใช่ถูกไล่ออก , จ้างให้ออก หรือเลิกจ้างเนื่องด้วยเหตุผล เลิกกิจการ
การคำนวณแบบที่ 1 คิดคำนวณแบบ 9 เดือน -- > ( (9 x 15000 ) x (30/100) ) / 270 = 150 ต่อวัน - ถ้าก่อนว่างงานผมส่งเงินสบทบไป >= 9 เดือนขึ้นไปในปีปฎิทินนั้นจะนำจำนวนเดือน 9 เดือนมาคิดหาเงินที่จะได้รับกรณีว่างงาน ต่อ 1 วัน
การคำนวณแบบที่ 2 คิดคำนวณแบบ 3 เดือน -- > ( (3 x 15000 ) x (30/100) ) / 90 = 150 ต่อวัน - ถ้าก่อนว่างงานผมส่งเงินสบทบไป < 9 เดือนลงมาในปีปฎิทินนั้นจะนำจำนวนเดือน 3 เดือนยอดสูงสุด มาคิดหาเงินที่จะได้รับกรณีว่างงาน ต่อ 1 วัน
** ไม่ว่าจะใช้การคำนวณแบบที่ 1 หรือแบบที่ 2 ก็มีค่าเท่ากันครับ แต่ในกรณีนี้ผมจะใช้การคำนวณแบบที่ 2 เป็นตัวอย่างนะครับ จะได้
= 15 วัน x (( (3 x 15000 ) x (30/100) ) / 90)
= 15 วัน x 150 บาทต่อวัน
= 2,250.00 บาท
เพราะฉะนั้น จขกท. จะได้รับเงินชดเชยกรณีว่างงานทั้งหมด 15 วัน ๆ ละ 150 บาท รวมทั้งหมด 2,250.00 บาทถ้วน ครับ
หมายเหตุ : เมื่อขึ้นทะเบียนว่างงานแล้ว สนง.เขตพื้นที่นั้น ๆ หรือ จังหวัดนั้น ๆ จะทำและให้ใบนัดรายงานตัวเรามาและให้เราไปรายงานตัว 3 ครั้ง ถ้ากรณี จขกท. ก็ไม่ต้องไปรายงานตัวเลยสักครั้ง เพราะได้งานทำก่อนจะถึงวันที่รายงานตัวครั้งที่ 1 ด้วยซ้ำ ให้รอนายจ้างใหม่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันใหม่ ตามมารตา 33 กับ ปกส. ครับ ไม่ต้องทำอะไร และหลังจากนายจ้างใหม่ขึ้นทะเบียนฯให้เราแล้ว ปกส. จะคิดคำนวณและจ่ายเงินชดเชยกรณีว่างงานให้เราภายใน 5-7 วันทำการ นับจากวันที่นายจ้างใหม่ขึ้นทะเบียนฯ ให้ครับ
ส่วนรายงานตัวครั้งที่ 2-3 ก็ไม่ต้องแล้วเหมือนกันครับเพราะได้งานทำแล้ว
...SPPPP
ฉะนั้น 15 วัน ที่ว่างงานนี้คำนวณเงินชดเชยได้ดังนี้ (อันนี้ผมคิดให้ดูกรณี งด. >= 15,000 ขึ้นไปนะครับ ถ้า งด. < 15,000 (14,999 ลงไปจนถึงต่ำสุดที่ 1,650 ก็ให้เอายอดเงินเดือนที่ได้นั้นไปคิดแทน 15,000 นะครับ) )
ปกส. จะคิดคำนวณเงินชดเชยกรณีว่างงาน กรณีลาออก นี้ในอัตรา ร้อยละ 30 ของฐานเงินเดือนล่าสุดสูงสุด ไปเป็นเวลา 90 วัน
กรณีนี้ คือ กรณีลาออกเองนะครับ ที่ไม่ใช่ถูกไล่ออก , จ้างให้ออก หรือเลิกจ้างเนื่องด้วยเหตุผล เลิกกิจการ
การคำนวณแบบที่ 1 คิดคำนวณแบบ 9 เดือน -- > ( (9 x 15000 ) x (30/100) ) / 270 = 150 ต่อวัน - ถ้าก่อนว่างงานผมส่งเงินสบทบไป >= 9 เดือนขึ้นไปในปีปฎิทินนั้นจะนำจำนวนเดือน 9 เดือนมาคิดหาเงินที่จะได้รับกรณีว่างงาน ต่อ 1 วัน
การคำนวณแบบที่ 2 คิดคำนวณแบบ 3 เดือน -- > ( (3 x 15000 ) x (30/100) ) / 90 = 150 ต่อวัน - ถ้าก่อนว่างงานผมส่งเงินสบทบไป < 9 เดือนลงมาในปีปฎิทินนั้นจะนำจำนวนเดือน 3 เดือนยอดสูงสุด มาคิดหาเงินที่จะได้รับกรณีว่างงาน ต่อ 1 วัน
** ไม่ว่าจะใช้การคำนวณแบบที่ 1 หรือแบบที่ 2 ก็มีค่าเท่ากันครับ แต่ในกรณีนี้ผมจะใช้การคำนวณแบบที่ 2 เป็นตัวอย่างนะครับ จะได้
= 15 วัน x (( (3 x 15000 ) x (30/100) ) / 90)
= 15 วัน x 150 บาทต่อวัน
= 2,250.00 บาท
เพราะฉะนั้น จขกท. จะได้รับเงินชดเชยกรณีว่างงานทั้งหมด 15 วัน ๆ ละ 150 บาท รวมทั้งหมด 2,250.00 บาทถ้วน ครับ
หมายเหตุ : เมื่อขึ้นทะเบียนว่างงานแล้ว สนง.เขตพื้นที่นั้น ๆ หรือ จังหวัดนั้น ๆ จะทำและให้ใบนัดรายงานตัวเรามาและให้เราไปรายงานตัว 3 ครั้ง ถ้ากรณี จขกท. ก็ไม่ต้องไปรายงานตัวเลยสักครั้ง เพราะได้งานทำก่อนจะถึงวันที่รายงานตัวครั้งที่ 1 ด้วยซ้ำ ให้รอนายจ้างใหม่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันใหม่ ตามมารตา 33 กับ ปกส. ครับ ไม่ต้องทำอะไร และหลังจากนายจ้างใหม่ขึ้นทะเบียนฯให้เราแล้ว ปกส. จะคิดคำนวณและจ่ายเงินชดเชยกรณีว่างงานให้เราภายใน 5-7 วันทำการ นับจากวันที่นายจ้างใหม่ขึ้นทะเบียนฯ ให้ครับ
ส่วนรายงานตัวครั้งที่ 2-3 ก็ไม่ต้องแล้วเหมือนกันครับเพราะได้งานทำแล้ว
...SPPPP
แสดงความคิดเห็น
ออกจากงานแล้ว ได้งานใหม่ภายในเดือนเดียวกัน ต้องไปแจ้งว่างงานหรือเปล่า
มีคนบอกให้ไปแจ้งขึ้นทะเบียนที่กรมแรงงานเพื่อขอเงินชดเชย เผื่อ กรณีที่ใหม่ไม่เวิร์คด้วย มีคนรู้จักเค้าก็ไปแจ้งไว้ แล้วก็ลางานครึ่งวันเพื่อไปรายงานตัว เค้าก็ได้รับเงินชดเชย มา 1 เดือน
แต่จขทก กลับคิดว่า ที่ใหม่เราก็เซนต์สัญญาเริ่มงานแล้ว ไปแจ้งกรณีว่างงานก็คงไม่ได้รับเงินชดเชยหรือเปล่า? ถ้าเราไปขึ้นทะเบียนว่างงานวันนี้ ก็ไปรายงานตัวอีกที วันที่ 20 เดือน หน้า ต้องหาเหตุลางานเพื่อไปรายงานตัว และบริษัทใหม่เค้าก็น่าจะไปยื่นประกันสังคมให้แล้วด้วย กรณีแบบนี้จะได้เงินชดเชยหรือเปล่าคะ? สรุปว่าว่างงาน 20 วัน เงินชดเชยก็คงจะประมาณ 5000 บาท ในฐานะ มนุษย์เงินเดือน เงินก้อนนี้ก็มากอยู่เหมือนกัน
มีใครเคยมีประสบการณ์ที่ขึ้นทะเบียนว่างงานไปแล้ว แล้วได้งานภายในเดือนเดียวกันหรือเปล่าคะ? กรณีแบบนี้ทำอย่างไรดี
ขอบคุณค่ะ