ฤดูกาลหน้านี้ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ทีมแชมป์พรีเมียร์ ลีก จะลงเล่นในชุดเหย้าตัวใหม่ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากประวัติศาสตร์อันเกรียงไกรของสโมสร รวมถึงมรดกที่สืบทอดมาจากอุตสาหกรรมท้องถิ่น
เสื้อเหย้าตัวใหม่ของแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด จะมีการนำปกคอเสื้อสีดำกลับมาใช้อีกครั้ง ซึ่งปกคอเสื้อแบบนี้เคยถูก เอริค คันโตน่า นำมาใส่แบบตั้งขึ้นในช่วงที่เขาไล่ล่าแชมป์กับสโมสรในยุค 1990
ด้านในของปกคอเสื้อนั้นจะมีลายตารางกิงแฮมสลับสีเทา และสีดำ ซึ่งลายแบบนี้ถูกนำมาใช้เป็นครั้งแรกในเสื้อเหย้าของทีมเมื่อฤดูกาลก่อน มันเป็นการสื่อถึงประวัติศาสตร์อุตสาหกรรมของเมืองแมนเชสเตอร์ โดยในช่วงศตวรรษที่ 18 นั้นสิ่งทอประเภทผ้าฝ้ายคือสินค้าขึ้นชื่อของเมือง และครั้งหนึ่งมันก็ถูกผลิตออกมาในลายตารางสุดคลาสสิคนี้
บริเวณปกคอเสื้อจะมีกระดุมติดไว้ 3 เม็ดที่ด้านหน้า และอีก 1 เม็ดที่ด้านหลัง เป็นการสื่อถึงสไตล์อันโดดเด่นของเมือง ที่ขอบของเสื้อทั้ง 2 ด้านก็ยังมีการใช้ลายตารางกิงแฮมสลับสีดำ-เทาแบบเดียวกับที่อยู่ใต้ปกคอเสื้อด้วย
สำหรับกางเกงของชุดเหย้านี้ก็จะเป็นสีขาวที่มีแถบสีดำพาดขอบล่างด้านหลัง ส่วนถุงเท้านั้นเป็นสีดำ โดยมีแถบสีแดง 2 แถบคาดล้อมรอบแถบสีขาว พร้อมกันนี้ยังมีลายผ้าพันคอแบบดั้งเดิมของแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ปรากฏให้เห็นที่ด้านหลังของถุงเท้าด้วย
เสื้อแข่งตัวนี้มาจากการออกแบบตามสไตล์ของไนกี้ ทำด้วยความประณีต และภาคภูมิใจด้วยเทคโนโลยีต่างๆ ที่จะช่วยเสริมสมรรถภาพให้กับผู้เล่น เสื้อตัวนี้ทำจากวัสดุโพลีเอสเตอร์ที่นำกลับมารีไซเคิ่ล ตามแนวทางของไนกี้ที่ต้องการผลิตชุดแข่งที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งเสื้อและกางเกงของชุดแข่งแต่ละชุดนั้นจะมาจากขวดพลาสติกรีไซเคิ่ล 13 ขวด
สำหรับกระบวนการผลิตนั้น ขวดพลาสติกทั้งหมดจะถูกนำมาบดเป็นชิ้นเล็กๆ จากนั้นก็นำมาหลอมจนออกมาเป็นเส้นด้ายที่สามารถนำมาทอเป็นผ้าได้ นับเป็นการลดพลังงานการผลิตถึง 30 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับกระบวนการผลิตโพลีเอสเตอร์แบบทั่วไป นับตั้งแต่ปี 2010 ไนกี้ได้เปลี่ยนขวดพลาสติกมาใช้เป็นโพลีเอสเตอร์แบบรีไซเคิ่ลมากกว่า 1.1 พันล้านขวดเลยทีเดียว
เสื้อแข่งตัวนี้มีน้ำหนักแค่ 150 กรัมเท่านั้น ถือว่าเบาลงจากเสื้อแข่งรุ่นก่อนของไนกี้ถึง 23 เปอร์เซ็นต์ โดยมีการตัดเย็บที่ทำให้เสื้อมีความแข็งแรงขึ้น 20 เปอร์เซ็นต์ ด้วยรูปแบบการตัดเย็บที่ถูกพัฒนาให้ดีขึ้น เนื้อผ้ายังคงใช้เทคโนโลยี Dri-FIT เพื่อระบายเหงื่อจากร่างกาย ซึ่งจะทำให้ผู้สวมใส่รู้สึกเย็นสบายและตัวแห้งอยู่ตลอด
ในพื้นที่ระบายอากาศ มีการใช้เลเซอร์เจาะเป็นรูเล็กๆ บริเวณใต้แขนเสื้อของทั้ง 2 ด้าน เช่นเดียวกับบริเวณแถบเอวของกางเกงด้วย เพื่อเสริมสร้างความเย็นสบาย ผืนตาข่ายที่ด้านหลังก็ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการระบายอากาศด้วยเช่นกัน
เพื่อการเสริมสร้างคุณสมบัติสูงสุด ไนกี้ยังได้ใช้เทคโนโลยี 3D สแกนร่างกายของนักเตะชั้นนำของโลกเพื่อทำเสื้อให้เข้ารูปมากที่สุด เสื้อตัวนี้ยังมีการติด T-bars เพื่อเพิ่มความคงทนในบริเวณที่การตัดเย็บมาบรรจบกันอีกด้วย การเชื่อมเนื้อผ้าที่ด้านในนั้นช่วยให้มันเป็นชุดแข่งที่มีความพิเศษมากขึ้น พร้อมกันนี้ยังเพิ่มความสะดวกสบายในการสวมใส่อีกด้วย
credit : www.redarmyfc.com โดย Sir KeaNo
[บทความผีแดง 2013-05-24] รีวิวชุดเหย้าแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด 2013/14
ฤดูกาลหน้านี้ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ทีมแชมป์พรีเมียร์ ลีก จะลงเล่นในชุดเหย้าตัวใหม่ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากประวัติศาสตร์อันเกรียงไกรของสโมสร รวมถึงมรดกที่สืบทอดมาจากอุตสาหกรรมท้องถิ่น
เสื้อเหย้าตัวใหม่ของแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด จะมีการนำปกคอเสื้อสีดำกลับมาใช้อีกครั้ง ซึ่งปกคอเสื้อแบบนี้เคยถูก เอริค คันโตน่า นำมาใส่แบบตั้งขึ้นในช่วงที่เขาไล่ล่าแชมป์กับสโมสรในยุค 1990
ด้านในของปกคอเสื้อนั้นจะมีลายตารางกิงแฮมสลับสีเทา และสีดำ ซึ่งลายแบบนี้ถูกนำมาใช้เป็นครั้งแรกในเสื้อเหย้าของทีมเมื่อฤดูกาลก่อน มันเป็นการสื่อถึงประวัติศาสตร์อุตสาหกรรมของเมืองแมนเชสเตอร์ โดยในช่วงศตวรรษที่ 18 นั้นสิ่งทอประเภทผ้าฝ้ายคือสินค้าขึ้นชื่อของเมือง และครั้งหนึ่งมันก็ถูกผลิตออกมาในลายตารางสุดคลาสสิคนี้
บริเวณปกคอเสื้อจะมีกระดุมติดไว้ 3 เม็ดที่ด้านหน้า และอีก 1 เม็ดที่ด้านหลัง เป็นการสื่อถึงสไตล์อันโดดเด่นของเมือง ที่ขอบของเสื้อทั้ง 2 ด้านก็ยังมีการใช้ลายตารางกิงแฮมสลับสีดำ-เทาแบบเดียวกับที่อยู่ใต้ปกคอเสื้อด้วย
สำหรับกางเกงของชุดเหย้านี้ก็จะเป็นสีขาวที่มีแถบสีดำพาดขอบล่างด้านหลัง ส่วนถุงเท้านั้นเป็นสีดำ โดยมีแถบสีแดง 2 แถบคาดล้อมรอบแถบสีขาว พร้อมกันนี้ยังมีลายผ้าพันคอแบบดั้งเดิมของแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ปรากฏให้เห็นที่ด้านหลังของถุงเท้าด้วย
เสื้อแข่งตัวนี้มาจากการออกแบบตามสไตล์ของไนกี้ ทำด้วยความประณีต และภาคภูมิใจด้วยเทคโนโลยีต่างๆ ที่จะช่วยเสริมสมรรถภาพให้กับผู้เล่น เสื้อตัวนี้ทำจากวัสดุโพลีเอสเตอร์ที่นำกลับมารีไซเคิ่ล ตามแนวทางของไนกี้ที่ต้องการผลิตชุดแข่งที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งเสื้อและกางเกงของชุดแข่งแต่ละชุดนั้นจะมาจากขวดพลาสติกรีไซเคิ่ล 13 ขวด
สำหรับกระบวนการผลิตนั้น ขวดพลาสติกทั้งหมดจะถูกนำมาบดเป็นชิ้นเล็กๆ จากนั้นก็นำมาหลอมจนออกมาเป็นเส้นด้ายที่สามารถนำมาทอเป็นผ้าได้ นับเป็นการลดพลังงานการผลิตถึง 30 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับกระบวนการผลิตโพลีเอสเตอร์แบบทั่วไป นับตั้งแต่ปี 2010 ไนกี้ได้เปลี่ยนขวดพลาสติกมาใช้เป็นโพลีเอสเตอร์แบบรีไซเคิ่ลมากกว่า 1.1 พันล้านขวดเลยทีเดียว
เสื้อแข่งตัวนี้มีน้ำหนักแค่ 150 กรัมเท่านั้น ถือว่าเบาลงจากเสื้อแข่งรุ่นก่อนของไนกี้ถึง 23 เปอร์เซ็นต์ โดยมีการตัดเย็บที่ทำให้เสื้อมีความแข็งแรงขึ้น 20 เปอร์เซ็นต์ ด้วยรูปแบบการตัดเย็บที่ถูกพัฒนาให้ดีขึ้น เนื้อผ้ายังคงใช้เทคโนโลยี Dri-FIT เพื่อระบายเหงื่อจากร่างกาย ซึ่งจะทำให้ผู้สวมใส่รู้สึกเย็นสบายและตัวแห้งอยู่ตลอด
ในพื้นที่ระบายอากาศ มีการใช้เลเซอร์เจาะเป็นรูเล็กๆ บริเวณใต้แขนเสื้อของทั้ง 2 ด้าน เช่นเดียวกับบริเวณแถบเอวของกางเกงด้วย เพื่อเสริมสร้างความเย็นสบาย ผืนตาข่ายที่ด้านหลังก็ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการระบายอากาศด้วยเช่นกัน
เพื่อการเสริมสร้างคุณสมบัติสูงสุด ไนกี้ยังได้ใช้เทคโนโลยี 3D สแกนร่างกายของนักเตะชั้นนำของโลกเพื่อทำเสื้อให้เข้ารูปมากที่สุด เสื้อตัวนี้ยังมีการติด T-bars เพื่อเพิ่มความคงทนในบริเวณที่การตัดเย็บมาบรรจบกันอีกด้วย การเชื่อมเนื้อผ้าที่ด้านในนั้นช่วยให้มันเป็นชุดแข่งที่มีความพิเศษมากขึ้น พร้อมกันนี้ยังเพิ่มความสะดวกสบายในการสวมใส่อีกด้วย
credit : www.redarmyfc.com โดย Sir KeaNo