จวก “ใบเตย อาร์สยาม” ใช้เรือนร่าง-ท่าเต้น สร้างจุดขายหากินเชิงธุรกิจ ส่งผลภาพลักษณ์เพลงลูกทุ่งเสื่อม รองอธิบดี สวธ.ห่วงเยาวชนเลียนแบบ ทำศิลปวัฒนธรรมชาติเพี้ยน เตรียมล้อมคอกขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญา
วันนี้ (18 มิ.ย.) ที่โรงเรียนขามแก่นนคร จ.ขอนแก่น มีการจัดประกวดดนตรีและการแสดงพื้นบ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประจำปี 2556 ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี นายดำรงค์ ทองสม รองอธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กล่าวว่า กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ได้คัดเลือกดนตรีและการแสดงพื้นบ้านที่ใกล้จะสูญหายมาทำการแข่งขัน ใน 4 ภูมิภาคทั่วประเทศ ได้แก่ ลิเกฮูลู โนรา รองเง็ง สล้อซอซึง มังคละ แตรวง กลองยาว วงปี่พาทย์ไม้แข็ง พิณ แคน โปงลาง และกันตรึม เพื่อปกป้องวัฒนธรรม ภูมิปัญญาดั้งเดิมเอาไว้ ไม่ให้สูญหาย นอกจากนี้จะมีการรวบรวมองค์ความรู้ ภูมิปัญญาพื้นบ้าน เพื่อขึ้นทะเบียน มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม และป้องกันการลอกเลียนแบบทางวัฒนธรรมไปใช้ในทางไม่เหมาะสม ตลอดจนให้เยาวชน ประชาชนทั่วไป ได้ช่วยอนุรักษ์ สืบสาน วัฒนธรรม ก่อนที่จะสูญหายไปในอนาคต
นายดำรงค์ กล่าวว่า สิ่งที่น่าห่วงอย่างยิ่ง ในขณะนี้ก็คือได้มีการนำการแสดงและดนตรีพื้นบ้านไปใช้ในทางที่ไม่เหมาะสม ในงานเทศกาลท้องถิ่น โดยใช้การประยุกต์เพื่อให้เข้ากับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป และท้องถิ่นที่นำการแสดงไปโชว์ ซึ่งบางคนอาจจะมองว่าเหมาะสม เพราะ เป็นการพัฒนาทางวัฒนธรรม แต่บางคนอาจจะมองว่าไม่เหมาะสม เห็นได้ชัดเจน จากกรณี นักร้องสาวชื่อดัง ใบเตย อาร์สยาม ที่ได้มีการนำเพลงลูกทุ่งมาสร้างจุดขายให้ตัวเอง เป็นศิลปินที่ทำอย่างไรก็ได้ให้ตนเองมีชื่อเสียง ตนมองว่า เป็นการหากินในเชิงธุรกิจมากเกินไป โดยไม่สนใจศิลปวัฒนธรรมดั้งเดิมของเพลงลูกทุ่ง อีกทั้งมีการสร้างภาพลักษณ์ให้ตัวเองดูดีอยู่ตลอดเวลาในขณะออกสื่อ แต่การแสดงออก กลับตรงกันข้าม ใช้ร่างกาย ท่าเต้น ดึงดูดให้คนสนใจเพลง มากกว่าการขายเนื้อหาและไม่รักษาวัฒนธรรมที่ดีของของชาติ
นายดำรงค์ กล่าวว่า อยากฝากไปยังผู้ประกอบธุรกิจวงการการแสดง และวงการเพลง ว่า ไม่อยากให้มองแต่ผลประโยชน์ ทางธุรกิจมากเกินไป แต่ควรคำนึงถึงการรักษาศิลปวัฒนธรรมของชาติ ที่บรรพบุรุษสั่งสมมาแต่โบราณเอาไว้ และควรมีความรับผิดชอบต่อสังคมด้วย ไม่ใช่คิดหาจุดขายเพื่อเรียกเรตติ้งให้ศิลปินเท่านั้น
“คุณต้องยอมว่าขณะนี้ การเลียนแบบค่านิยม และพฤติกรรมของ ดารา นักร้องที่ชื่นชอบมีอยู่มาก โดยเฉพาะเด็กและเยาวชน มีการซึมซับจากสื่อต่างๆ และนำมาเป็นต้นแบบ เช่น การนุ่งกางเกงขาสั้นมากๆ เสมอหู การเลียนแบบท่าเต้นโชว์เรือนร่างแล้วปล่อยคลิปตามยูทิวบ์ ตามนักร้องสาวใบเตย จนเกิดเป็นการเสื่อมเสีย และ มีส่วนทำให้เป็นต้นเหตุของปัญหาสังคมที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามต่อไปเมื่อมีการขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม เราจะต้องให้คำแนะนำ และเชิญผู้ผลิตเนื้อหาของการแสดงมาทำความเข้าใจ ก่อนที่จะมีการนำเสนอ เพื่อไม่ให้เกิดการเบี่ยงเบนทางวัฒนธรรม” นายดำรงค์ กล่าว
ข่าวจาก : ASTVผู้จัดการออนไลน์
http://www.manager.co.th/QOL/Viewnews.aspx?NewsID=9560000073721
จวก “ใบเตย” ใช้เรือนร่าง ท่าเต้น ทำภาพลักษณ์ลูกทุ่งเสื่อม
จวก “ใบเตย อาร์สยาม” ใช้เรือนร่าง-ท่าเต้น สร้างจุดขายหากินเชิงธุรกิจ ส่งผลภาพลักษณ์เพลงลูกทุ่งเสื่อม รองอธิบดี สวธ.ห่วงเยาวชนเลียนแบบ ทำศิลปวัฒนธรรมชาติเพี้ยน เตรียมล้อมคอกขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญา
วันนี้ (18 มิ.ย.) ที่โรงเรียนขามแก่นนคร จ.ขอนแก่น มีการจัดประกวดดนตรีและการแสดงพื้นบ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประจำปี 2556 ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี นายดำรงค์ ทองสม รองอธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กล่าวว่า กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ได้คัดเลือกดนตรีและการแสดงพื้นบ้านที่ใกล้จะสูญหายมาทำการแข่งขัน ใน 4 ภูมิภาคทั่วประเทศ ได้แก่ ลิเกฮูลู โนรา รองเง็ง สล้อซอซึง มังคละ แตรวง กลองยาว วงปี่พาทย์ไม้แข็ง พิณ แคน โปงลาง และกันตรึม เพื่อปกป้องวัฒนธรรม ภูมิปัญญาดั้งเดิมเอาไว้ ไม่ให้สูญหาย นอกจากนี้จะมีการรวบรวมองค์ความรู้ ภูมิปัญญาพื้นบ้าน เพื่อขึ้นทะเบียน มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม และป้องกันการลอกเลียนแบบทางวัฒนธรรมไปใช้ในทางไม่เหมาะสม ตลอดจนให้เยาวชน ประชาชนทั่วไป ได้ช่วยอนุรักษ์ สืบสาน วัฒนธรรม ก่อนที่จะสูญหายไปในอนาคต
นายดำรงค์ กล่าวว่า สิ่งที่น่าห่วงอย่างยิ่ง ในขณะนี้ก็คือได้มีการนำการแสดงและดนตรีพื้นบ้านไปใช้ในทางที่ไม่เหมาะสม ในงานเทศกาลท้องถิ่น โดยใช้การประยุกต์เพื่อให้เข้ากับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป และท้องถิ่นที่นำการแสดงไปโชว์ ซึ่งบางคนอาจจะมองว่าเหมาะสม เพราะ เป็นการพัฒนาทางวัฒนธรรม แต่บางคนอาจจะมองว่าไม่เหมาะสม เห็นได้ชัดเจน จากกรณี นักร้องสาวชื่อดัง ใบเตย อาร์สยาม ที่ได้มีการนำเพลงลูกทุ่งมาสร้างจุดขายให้ตัวเอง เป็นศิลปินที่ทำอย่างไรก็ได้ให้ตนเองมีชื่อเสียง ตนมองว่า เป็นการหากินในเชิงธุรกิจมากเกินไป โดยไม่สนใจศิลปวัฒนธรรมดั้งเดิมของเพลงลูกทุ่ง อีกทั้งมีการสร้างภาพลักษณ์ให้ตัวเองดูดีอยู่ตลอดเวลาในขณะออกสื่อ แต่การแสดงออก กลับตรงกันข้าม ใช้ร่างกาย ท่าเต้น ดึงดูดให้คนสนใจเพลง มากกว่าการขายเนื้อหาและไม่รักษาวัฒนธรรมที่ดีของของชาติ
นายดำรงค์ กล่าวว่า อยากฝากไปยังผู้ประกอบธุรกิจวงการการแสดง และวงการเพลง ว่า ไม่อยากให้มองแต่ผลประโยชน์ ทางธุรกิจมากเกินไป แต่ควรคำนึงถึงการรักษาศิลปวัฒนธรรมของชาติ ที่บรรพบุรุษสั่งสมมาแต่โบราณเอาไว้ และควรมีความรับผิดชอบต่อสังคมด้วย ไม่ใช่คิดหาจุดขายเพื่อเรียกเรตติ้งให้ศิลปินเท่านั้น
“คุณต้องยอมว่าขณะนี้ การเลียนแบบค่านิยม และพฤติกรรมของ ดารา นักร้องที่ชื่นชอบมีอยู่มาก โดยเฉพาะเด็กและเยาวชน มีการซึมซับจากสื่อต่างๆ และนำมาเป็นต้นแบบ เช่น การนุ่งกางเกงขาสั้นมากๆ เสมอหู การเลียนแบบท่าเต้นโชว์เรือนร่างแล้วปล่อยคลิปตามยูทิวบ์ ตามนักร้องสาวใบเตย จนเกิดเป็นการเสื่อมเสีย และ มีส่วนทำให้เป็นต้นเหตุของปัญหาสังคมที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามต่อไปเมื่อมีการขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม เราจะต้องให้คำแนะนำ และเชิญผู้ผลิตเนื้อหาของการแสดงมาทำความเข้าใจ ก่อนที่จะมีการนำเสนอ เพื่อไม่ให้เกิดการเบี่ยงเบนทางวัฒนธรรม” นายดำรงค์ กล่าว
ข่าวจาก : ASTVผู้จัดการออนไลน์
http://www.manager.co.th/QOL/Viewnews.aspx?NewsID=9560000073721