เอเจนซี--เทียนเหอ2 (Tianhe-2) ขึ้นแท่นอันดับ 1 ในการจัดอันดับระบบคอมพิวเตอร์ที่เร็วที่สุดในโลก 500 อันดับแรกครั้งที่ 41 ด้วยประสิทธิภาพในการประมวลผล 33.86 petaflop ตามมาตรฐาน Linpack โดยมีความเร็วในการคำนวณ เท่ากับ 54,900 ล้านครั้ง/วินาที
การประชุมซุปเปอร์คอมพิวเตอร์นานาชาติ (International Supercomputing Conference) แถลงผลการจัดอันดับฯดังกล่าวในวันจันทร์ (17 มิ.ย.) ระหว่างพิธีเปิดการประชุมประจำปี 2013 จัดขึ้นที่เมือง ไลพ์ซิก ประเทศเยอรมนี ทั้งนี้ การจัดอันดับ TOP500 ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์โลก มีขึ้นสองปีครั้ง
เทียนเหอ 2 (天河 2/Tianhe 2 หรือ Milky Way-2) พัฒนาโดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีเพื่อการปกป้องแห่งชาติจีน (China’s National University of Defense Technology) จะถูกติดตั้งและปฏิบัติการที่ศูนย์ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ (National Supercomputer Center) นครก่วงโจว มณฑลก่วงตง หรือกวางตุ้ง ภายในปลายปีนี้ นับเป็นความสำเร็จที่น่าประหลาดใจ เนื่องจากเทียนเหอ 2 สามารถเข้าประจำการปฏิบัติการได้เร็วกว่ากำหนดที่คาดหมายไว้ 2 ปี
“เทียนเหอ 2” ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ที่ได้รับการยอมรับว่ามีระบบปฏิบัติการที่เร็วที่สุดในโลก โดยมีอัตราการคำนวณสูงสุดถึง 5.49 เพตาฟล็อป มีจุดเด่นห้าประการ คือ ประสิทธิภาพสูงด้วยอัตรารวดเร็วทำสถิติใหม่ของโลก ประหยัดพลังงานถึงระดับชั้นนำของโลก ระบบไม่ซับซ้อน ครอบคลุมทุกการใช้งาน และต้นทุนการผลิตคุ้มค่า
ปฏิบัติการประมวลผลภายใน 1 ชั่วโมงของเทียนเหอ 2 นี้ เทียบเท่ากับการคำนวณด้วยเครื่องคำนวณในเวลาเดียวกันของคน 1,300 ล้านคน เป็นเวลา 1,000 ปี
สำหรับซุปเปอร์คอมพิวเตอร์อันดับสองของโลก ได้แก่ Titan ของบริษัท Cray ติดตั้งอยู่ที่ศูนย์ทดลอง Oak Ridge National Laboratory ของสำนักงานพลังงานแห่งสหรัฐอเมริกา โดยตกจากอันดับ 1 ในการจัดอันดับครั้งก่อนหน้า Titan
ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์อันดับสาม ได้แก่ Sequoia ของ IBM ติดตั้งอยู่ที่ Lawrence Livermore National Laboratory ของสำนักงานพลังงานสหรัฐอเมริกา โดยร่วงลงไปหนึ่งอันดับจากการจัดอับดับครั้งก่อนเช่นกัน
ส่วนซุปเปอร์คอมพิวเตอร์อันอับสี่ ได้แก่ “K computer” ของ Fujitsu แห่งแดนปลาดิบ ติดตั้งอยู่ที่ RIKEN Advanced Institute for Computational Science (AICS) ในโกเบ ประเทศญี่ปุน
ทั้งนี้ การจัดอันดับ TOP500 รวบรวมโดย Hans Meuer แห่ง University of Mannheim ประเทศเยอรมนี Erich Strohmaier และ Horst Simon แห่ง Lawrence Berkeley National Laboratory และ Jack Dongarra แห่ง University of Tennessee ใน นอกซ์วิลล์ รัฐเทนเนสซี สหรัฐอเมริกา
ทั้งนี้ ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ระดับเพตาฟล็อปหรือพันล้านล้านคำสั่งต่อวินาทีนั้น มักถูกนำไปใช้ในงานที่ต้องการระบบคอมพิวเตอร์ที่มีความสามารถในการประมวลผลสูงเป็นพิเศษ เช่น ด้านการพยากรณ์อากาศ การวิจัยนิวเคลียร์ การทหาร และการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ เป็นต้น
“เทียนเหอ 2" คว้าแชมป์ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์เร็วที่สุดในโลก ในทำเนียบ 'Top500'
การประชุมซุปเปอร์คอมพิวเตอร์นานาชาติ (International Supercomputing Conference) แถลงผลการจัดอันดับฯดังกล่าวในวันจันทร์ (17 มิ.ย.) ระหว่างพิธีเปิดการประชุมประจำปี 2013 จัดขึ้นที่เมือง ไลพ์ซิก ประเทศเยอรมนี ทั้งนี้ การจัดอันดับ TOP500 ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์โลก มีขึ้นสองปีครั้ง
เทียนเหอ 2 (天河 2/Tianhe 2 หรือ Milky Way-2) พัฒนาโดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีเพื่อการปกป้องแห่งชาติจีน (China’s National University of Defense Technology) จะถูกติดตั้งและปฏิบัติการที่ศูนย์ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ (National Supercomputer Center) นครก่วงโจว มณฑลก่วงตง หรือกวางตุ้ง ภายในปลายปีนี้ นับเป็นความสำเร็จที่น่าประหลาดใจ เนื่องจากเทียนเหอ 2 สามารถเข้าประจำการปฏิบัติการได้เร็วกว่ากำหนดที่คาดหมายไว้ 2 ปี
“เทียนเหอ 2” ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ที่ได้รับการยอมรับว่ามีระบบปฏิบัติการที่เร็วที่สุดในโลก โดยมีอัตราการคำนวณสูงสุดถึง 5.49 เพตาฟล็อป มีจุดเด่นห้าประการ คือ ประสิทธิภาพสูงด้วยอัตรารวดเร็วทำสถิติใหม่ของโลก ประหยัดพลังงานถึงระดับชั้นนำของโลก ระบบไม่ซับซ้อน ครอบคลุมทุกการใช้งาน และต้นทุนการผลิตคุ้มค่า
ปฏิบัติการประมวลผลภายใน 1 ชั่วโมงของเทียนเหอ 2 นี้ เทียบเท่ากับการคำนวณด้วยเครื่องคำนวณในเวลาเดียวกันของคน 1,300 ล้านคน เป็นเวลา 1,000 ปี
สำหรับซุปเปอร์คอมพิวเตอร์อันดับสองของโลก ได้แก่ Titan ของบริษัท Cray ติดตั้งอยู่ที่ศูนย์ทดลอง Oak Ridge National Laboratory ของสำนักงานพลังงานแห่งสหรัฐอเมริกา โดยตกจากอันดับ 1 ในการจัดอันดับครั้งก่อนหน้า Titan
ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์อันดับสาม ได้แก่ Sequoia ของ IBM ติดตั้งอยู่ที่ Lawrence Livermore National Laboratory ของสำนักงานพลังงานสหรัฐอเมริกา โดยร่วงลงไปหนึ่งอันดับจากการจัดอับดับครั้งก่อนเช่นกัน
ส่วนซุปเปอร์คอมพิวเตอร์อันอับสี่ ได้แก่ “K computer” ของ Fujitsu แห่งแดนปลาดิบ ติดตั้งอยู่ที่ RIKEN Advanced Institute for Computational Science (AICS) ในโกเบ ประเทศญี่ปุน
ทั้งนี้ การจัดอันดับ TOP500 รวบรวมโดย Hans Meuer แห่ง University of Mannheim ประเทศเยอรมนี Erich Strohmaier และ Horst Simon แห่ง Lawrence Berkeley National Laboratory และ Jack Dongarra แห่ง University of Tennessee ใน นอกซ์วิลล์ รัฐเทนเนสซี สหรัฐอเมริกา
ทั้งนี้ ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ระดับเพตาฟล็อปหรือพันล้านล้านคำสั่งต่อวินาทีนั้น มักถูกนำไปใช้ในงานที่ต้องการระบบคอมพิวเตอร์ที่มีความสามารถในการประมวลผลสูงเป็นพิเศษ เช่น ด้านการพยากรณ์อากาศ การวิจัยนิวเคลียร์ การทหาร และการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ เป็นต้น