คนที่จบคณะวิศวกรรมศาสร์สมควรเรียกตัวเองว่า วิศกร หรือเปล่า ?

ส่วนตัวเห็นว่าไม่เพราะควรจะเรียกว่าคนจบวิศวะเท่านั้น เพราะวิศวะเดี๋ยวนี้เปิดกันเกร่อ คุณภาพก็หลากหลาย งานในเมืองไทยนั้นตำแหน่งที่ทำงานด้านวิศวกรจริงๆมีน้อย บางทีตำแหน่งใน JD เขียนวิศวกรแต่ จริงๆไปทำงานอะไรก็ไม่รู้ เห็นพวกมากมายชอบโชว์หญิง จบวิศวะ เรียกตัวเองว่าเป็นวิศวกร แต่ทำงานจริงๆเป็นเซลลขายของ 555+


วิศวกรจริงๆก็คือคนที่ทำงานเป็นวิศวกร ไม่ควรจะใช้เรียกทุกคนที่จบวิศวะ
เราไม่เรียกคนที่จบแพทย์ศาสตร์แต่ไปเทรดหุ้นว่าแพทย์
เช่นกัน เราไม่เรียกคนจบวิศวกรรมว่าวิศวกร เหมือนเมืองไทยยังไม่ค่อยเข้าใจเรื่องนี้


ที่สำคัญเพราะคนจบวิศวะบางคนถอดตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองยังไม่เป็นเลย


นี่เรื่องจริง
แก้ไขข้อความเมื่อ

สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 8
ต้องขออนุญาต ขออธิบายแบบนี้ครับ

จขกท. ตำแหน่งวิศวกร คุณสมบัติคือต้องจบวิศวกรรม ผมไม่เคยเห็นคนที่จบคณะวิทย์ คณะเกษตรมาทำงานในตำแหน่งนี้เลย
จริงอยู่คนที่จบวิศวะ หลายคนที่ไม่ได้เอาดีทางด้านนี้แต่ศาสตร์การคิด วิเคราะห์ การคิดลำดับขั้นตอน กระทั้งการวางแผนงาน ถูกสอดแทรกอยู่ในรายวิชาต่างๆ ไม่แปลกเลยที่หลายๆคนที่จบวิศวะ จะนำไปต่อยอด หรือนำไปปรับใช้กับสายอาชีพต่างๆ เศรษฐศาสตร์ หรือสายวิเคราะห์ด้านการเงินในธนาคาร

กระทั้งอาชีพเซลที่ จขกท.กล่าวถึง ผมไม่ได้ทำอาชีพเซล แต่อยู่ในสายวิศวะ เพื่อนที่ทำงานเซล ตำแหน่งที่รับ บริษัทก็ระบุชัดเจนว่าต้องมีความรู้ในด้านวิศวกรรม ในกรณีที่ลูกค้าต้องการจะปรึกษาเรื่องชิ้นงาน หรือแม้กระทั้งระบบต่างๆ โรงปูนที่รับวิศวกรเข้าไปเป็นเซลก็มีลักษณะงานคล้ายๆกัน

อาชีพเซลแม้จะมีลักษณะงานขายของก็จริงแต่ คนทั้งบริษัทฝากความหวังไว้กับตำแหน่งนี้มากเพราะรายรับจะมาจากตำแหน่งนี้โดยตรง

ตรรกะแปลกๆแบบนี้บ่งบอกได้เป็นอย่างดีว่า จขกท. นั้นไม่ได้เรียนมาในสายวิศวกรรมโดยสิ้นเชิง และโดยส่วนใหญ่สายวิศวะ อิจฉาคนที่ไปสายทำเซลใจจะขาด สายนี้ทำเงินได้เยอะมากๆๆ(ที่ไม่กล้าออกไปทำเองเพราะมองว่ากลัวจะไม่ก้าวหน้า)

พหุนามดีกรีสอง--ผมมองว่าไม่ได้จำเป็นต่อการทำงานเลยครับ อยากรู้อะไรกดเครื่องคิดเลข อินทิเกรตสัก 10ชั้น ยังได้เลย จะติดตัวแปรตั้งแต่ a-z ก็ยังแก้ได้ แต่ชีวิตจริงไม่มีใครมานั่งจำวิธีคิดหรอกครับ อยากรู้จริงๆก็เปิดหนังสือดู
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่