สวัสดีครับ นับเป็นรีวิวที่ใช้เวลาเขียนนานมาก เล่นเอาเหนื่อยเลยครับ หลังจากที่ผมได้ใช้ Tascam DR-100 มาเกือบสองปีเรียกได้ว่ารู้จักกันค่อนข้างดี จึงมีเรื่องให้เขียนถึงอยู่เยอะ ดังนั้นก่อนที่จะได้อ่านรีวิว DR-100 ผมขอเกริ่นนำก่อนดีกว่าว่าผมได้มันมายังไง
หลังจากที่ผมได้เริ่มใช้ Recorder ในการฟังเพลง (ซึ่งตัวปัจจุบันที่ใช้อยู่คือ Roland R-05) ผมก็ได้ลองฟังหลายๆ ยี่ห้อไปเรื่อย ทั้ง Zoom H1 , Kenwood K7 , Sony UX-512 , Roland R09 , Tascam DR-07 , Tascam DR-05 , Sony PCM-M10
วันหนึ่งผมได้เข้ากรุงเทพ (นานๆ ครั้ง) เลยนัดกับคุณ วิท (wicbbl) ซึ่งแกบอกว่ามี Recoder หลายๆ ตัวให้ผมลอง ตัวที่ผมอยากลองคือ Roland R09-HR แกบอกว่ามี Tascam DR-1 และ Tascam DR-100 ด้วย ผมไม่ได้สนสองตัวนี้เลย กะไปฟังลองดูเฉยๆ เพราะโดยส่วนตัวแล้วชอบสไตล์เสียงของ Roland มากกว่า (ผมว่า Tascam มันคมไป)
พอไปพบคุณวิทก็ได้ลองฟัง Roland R09-HR และก็ได้ลอง Tascam DR-1 ซึ่งทั้งสองตัวก็เสียงดี แต่ก็ไม่ได้ดีเกิน Roland R05 ของผมมากมายแต่อย่างใด แล้วสุดท้ายก็ได้ลอง DR-100 ต้องขอบอกก่อนว่าขนาดค่อนข้างใหญ่มาก ใหญ่ที่สุดในเครื่องบันทึกเสียงพกพาที่ผมเคยเห็นเลยมั้ง มีขนาดพอๆ กับ Ipod สัก 2 ตัวครึ่งได้มั้ง หนาเป็นนิ้ว และอีกอย่างที่ผมไม่ชอบคือมันค่อนข้างกินแบต แต่พอได้ฟังเสียงเท่านั้น อึ้งไปเลยครับ
ถามซื้อต่อจากคุณวิทน่าจะ 4 - 5 ครั้งได้ อยากได้มากๆ (ราคาราวหมื่นต้นๆ ครับ) คุณวิทไม่ขายให้ ทำเอาผมหลอนจำทางกลับโคราชไม่ได้เลย 555 วันนั้นผมยังมีงานอีกหลายอย่าง แต่ก็ทำแบบใจลอย ในใจคิดถึงแต่เสียงของเจ้า DR-100 เท่านั้น พร้อมรำพึงรำพันเราเคยฟังเสียงแบบนี้จากที่ไหนหนอ เครื่องเสียงราคาเท่าไร ลำโพงราคาเท่าไรหนอจึงจะได้เสียงแบบนี้
จากที่เคยภูมิใจกับ Roland R-05 มากๆ กลายเป็นเฉยๆ ไปเลยเมื่อได้ฟัง DR-100 โทรไปหาเพื่อนๆ หลายคนมาก ทุกคนพูดเป็นเสียงเดียวกันมันขนาดนั้นเลยเหรอ ผมก็ตอบไม่ถูก ไม่เคยเป็น
กลับมาบ้าน ปกติผมจะใช้ CD Player Panasonic SL-J905 กับ Roland R-05 เป็นเครื่องเล่นประจำตัว กลายเป็นว่าฟังไม่เพราะไปเลยทีเดียว สมองคอยแต่จะคิดถึงเรื่อง DR-100 แล้วเช็คว่ามีที่ไหนขายบ้าง อยากได้มากๆ อยากได้เดี๋ยวนี้ 555 โทรไปทั้งกล่อม ทั้งขู่คุณวิท 3 วันติดๆ ในวันที่สามนั่นเอง คุณวิทก็ใจอ่อน (หรือรำคาญไม่รู้ 555) ขายให้ผม
ตกลงขายกันตอนบ่ายสอง ผมขับรถจากโคราชไปหาแกตอนสองทุ่ม (ผมต้องรอปิดบ้านก่อนตอนห้าโมงเย็น) ไปจ่ายเงินและรับเองกับมือเลยครับ แล้วในที่สุด Tascam DR-100 ก็ได้มาอยู่ในมือผมและรีวิวให้เพื่อนๆ อ่านกันครับ 555
---------------------------------------------------------------
เมื่อได้รับมาแล้วก็มาแกะกล่องกันดีกว่า
กล่องค่อนข้างใหญ่ครับ ขนาดพอๆ กับกล่องไปรษณีย์ขนาด ง.
แกะออกมาด้านในมีอุปกรณ์ดังนี้
1. ตัวเครื่อง DR-100
2. แบตลิเทียม
3. รีโมท
4. รางใส่รีโมท
5. สายต่อรีโมท
6. สาย USB
7. Mem SD Card 2 Gb.
8. Winscreen (ฟองน้ำกันลมสำหรับไมค์)
9. ถุงผ้า
10. สมุดคู่มือ
เนื่องจากเป็นตัว Top Tascam จัดเต็มครับ เรียกว่าเปิดกล่องก็ทำงานได้เลย จะขาดก็แต่ Adapter ซึ่งเป็นรุ่น P520 (5V. 2A.) สามารถสั่งซื้อเพิ่มได้ หรือว่าจะใช้ Adapter ของ Sony PSP ก็ได้ (5V. 1.5A.) ผมก็ใช้ของ Sony PSP ครับ โดย Adapter จะชาร์จเฉพาะแบตลิเทียมเท่านั้นนะครับ ไม่ชาร์จถ่าน AA
---------------------------------------------------------------
เอาล่ะเกริ่นมาเยอะแล้ว มาเริ่มรีวิวกันดีกว่า
1) ลักษณะภายนอก
Tascam DR-100 มีขนาดค่อนข้างใหญ่ เมื่อเทียบกับเครื่องเล่นทั่วๆ ไป หรือแม้แต่จะเทียบกับ Recorder ด้วยกันก็ยังถือว่าใหญ่กว่า มีขนาด กว้าง x ยาว x สูง 8.05 x 15.1 x 3.5 ซม. และน้ำหนัก 290 กรัม ไม่รวมแบต เรียกว่าเป็นขนาดถือได้เต็มๆ มือเลยครับ (ขนาดพอๆ กับเกมส์บอยรุ่นเก่าเลยครับ) ตัวบอดี้ทำจากวัสดุคาร์บอนไฟเบอร์ (คล้ายๆ กับปืนลม) มีน้ำหนักเบาแต่แข็งแรงครับ พื้นผิวสีดำขรุขระ (ผมชอบแบบนี้เพราะมันจะไม่ทิ้งคราบรอยนิ้วมือเหมือนแบบผิวมัน) หน้าจอมีไฟ Back light สีส้ม รองรับหน่วยความจำ SD Card ได้ถึง 32 GB. สามารถใส่ได้ทั้งแบตลิเทียม และถ่าน AA
แบตลิเทียมขนาด 1800 mAh ใช้งานได้ราวๆ 3 ชม. ส่วนถ่าน AA 2500 mAh ใช้งานได้ราวๆ 1 ชม. เท่านั้น ค่อนข้างกินไฟทีเดียว สามารถใช้แบตทั้งสองพร้อมกันได้ สามารถตั้งได้ว่าจะให้แบตตัวใดเป็นแบตเตอรี่หลัก เมื่อใช้ในส่วนแบตหลักหมดเครื่องก็จะมาใช้แบตสำรองทันที
ที่จะต้องมีแบตหลักแบตสำรองเพราะว่าในกรณีที่เราบันทึกเสียงอยู่ ถ้าแบตลิเทียมหมดเครื่องจะกลับมาใช้ถ่าน AA ในขณะนั้นเราสามารถถอดเปลี่ยนแบตลิเทียมชุดใหม่ได้โดยที่เครื่องไม่ดับ ทำให้บันทึกเสียงได้ต่อเนื่องโดยไม่พลาดการบันทึกที่สำคัญ (โปรมั่กๆ 555)
ด้านบนมีช่องเสียบ SD Card ไมค์ซ้ายขวา จุดรับสัญญาณรีโมท (อินฟาเรด) และลำโพง (ซึ่งเสียงเบามาก)
ด้านซ้าย (ไล่จากซ้ายไปขวา) เริ่มจากช่องต่อ USB (ไม่สามารถชาร์จไฟได้นะครับ) ช่องต่อ Adapter เพื่อชาร์จไฟ ปุ่มเปิดปิด ปุ่ม Hold ปุ่มหมุน Volume สำหรับหูฟัง ช่องหูฟัง Line in - out
ด้านขวามีปุ่มหมุนปรับ Volume ไมค์ซ้ายขวา ด้านนอกเป็นไมค์ขวา ด้านในเป็นไมค์ซ้าย และช่องใส่แบตลิเทียม
ด้านล่างมีช่องต่อไมค์โครโฟน XLR ซ้าย ขวา และช่องต่อสายรีโมท (รีโมทใช้ได้ 2 แบบคือแบบไร้สาย กับมีสาย โดยใช้รีโมทตัวเดียวกัน เหตุผลที่มีสองแบบเพราะว่าแบบไร้สายจะยิงสัญญาณเข้าด้านบน แต่ถ้าเราถือตัวเครื่องแล้วหันไมค์ไปทางเสียงหรือคนที่เราจะไปสัมภาษณ์ด้านบนจะกลายเป็นจุดอับสัญญาณไปทันที จึงต้องทำให้สามารถต่อรีโมททางด้านหลังได้นั่นเอง โดยในชุดจะมีตัวกล่องและสายรีโมทแถมมาให้ด้วย โปรจริงๆ 555)
ด้านหน้ามีหน้าจออยู่ด้านบน ส่วนด้านล่างมีปุ่มมากมาย แต่ส่วนใหญ่ใช้เพื่อการบันทึก ก็จะมีที่เราใช้บ่อยๆ คือปุ่มเล่น ปุ่มหยุด เดินหน้า ถอยหลัง ปุ่มเมนู และคลิกวิลที่อยู่ข้างๆ จะคอยทำหน้าที่เลื่อนขึ้นเลื่อนลง หรือใช้กรอเพลง ส่วนปุ่มในคลิกวิลตรงกลางคือปุ่ม Enter
ด้านบนคลิกวิลจะมีปุ่มเลือก Input โดย DR-100 จะมี Input 4 อย่างให้เลือกคือ 1.Line in 2.ไมค์ด้านบน (Uni) 3.ไมค์รูเล็กๆ ที่อยู่ด้านหน้า (ข้างๆ คำว่า Tascam) (Omi) 4.ไมค์นอกที่ต่อจากช่อง XLR (xlr)
ด้านหลังมีปุ่มสำหรับตั้ง Gain ปุ่มเปิดปิดการจ่ายไฟสำหรับไมค์ (Phantom power) ปุ่มตั้ง Limiter ปุ่มเปิดปิดเสียงลำโพง ด้านล่างจะมีช่องล็อคขาตั้ง และช่องใส่ถ่าน AA 2 ก้อน
---------------------------------------------------------------
2) ไฟล์ที่รองรับ
Tascam DR-100 รองรับไฟล์ 2 แบบ คือ MP3 และ Wave โดยรองรับไฟล์ MP3 ทุกแบบทุกบิตเรต
ส่วนไฟล์ Wave รองรับตั้งแต่ 16 bit 44.1 kHz - 24 bit 96 kHz แต่เนื่องจากว่า Firmware ตัวเดิมรองรับไฟล์สูงสุดได้แค่ 24 bit 48 kHz จึงมีการออก Firmware ตัวใหม่เพื่อให้สามารถเล่นไฟล์ 24 bit 96 kHz ได้ (Tascam DR-100 สามารถ Up Firmware ได้ และรุ่นใหม่ๆ ก็ Up Firmware มาให้เรียบร้อยแล้ว) แต่เวลาจะเล่นไฟล์ 24 bit 96 kHZ จะต้องเข้าสู่ HS mode เสียก่อน
การเข้าสู่ HS Mode ทำได้โดยเมื่อเปิดเครื่องให้กดปุ่มเปิด (Power) พร้อมกับปุ่ม Enter (ปุ่มตรงกลางคลิกวิล) พร้อมกัน พอเปิดเครื่องจะมีหน้าจอให้เลือก ถ้าเราเลือก HS mode ก็จะสามารถเล่นไฟล์ 24 bit 96 kHz ได้ แต่จะเล่น mp3 ไม่ได้ แต่ถ้าเราปิด HS mode เราจะเล่น mp3 ได้ แต่จะเล่นไฟล์สูงสุดได้แค่ 24 bit 48 kHz ตรงนี้ก็แล้วแต่การใช้งานครับ
---------------------------------------------------------------
3) หน้าจอ และฟังก์ชันการใช้งาน
หน้าจอมีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับตัวเครื่อง (มีขนาดประมาณ 1 นิ้ว x 2 นิ้ว) แต่ก็สามารถแสดงรายละเอียดได้อย่างครบถ้วน (แสดงข้อมูลได้ราวๆ 4 บรรทัด) มี back light สีส้ม สามารถตั้งระยะเวลาเปิดปิดได้ ไม่สามารถอ่านภาษาไทยได้ แต่สามารถเล่นได้โดยแสดงเป็นเครื่องหมายคำถามแทน
SD Card ที่จะนำมาใช้กับ Tascam DR-100 จะต้องนำมา Format ที่ตัวเครื่องเสียก่อน ซึ่งจะมีการสร้าง Folder ขึ้นมา 2 Folder คือ Music และ Utility ให้เรานำเพลงใส่ใน Folder Music ได้เลย โดยเราสามารถใส่เป็น Sub Folder ได้ (Folder Music จะเหมือนกับ Folder root) หรือจะให้มีแยกย่อยใน Folder ก็ได้ตามสะดวก
เหตุผลหนึ่งที่ SD Card จะต้อง Format ที่ตัวเครื่องเสียก่อนเพราะว่าตัวเครื่องจะสร้างไฟล์มาไฟล์หนึ่งที่จะเก็บข้อมูลสุดท้ายที่เราเล่นเอาไว้ เมื่อเราเล่นถึงเพลงไหนหรือเปิดเพลงไหนอยู่แล้วเราปิดเครื่องพอเปิดเครื่อง เครื่องก็จะกลับมาที่เพลงนั้น ต่อให้ถอดแบตออกทั้งหมด หรือเอาเมมไปใส่เครื่องอื่น (ในตระกูล Tascam) ก็ยังจำเพลงสุดท้ายที่เล่นได้
แต่ตรงนี้ก็มีข้อเสีย ถ้าไฟล์ที่ว่า Error มันก็จะฟ้องว่า Memory ใช้ไม่ได้ต้อง Format ใหม่เท่านั้น เซ็งจริงๆ 555
อีกฟังก์ชันที่ดี (ในตระกูล Tascam มีแต่ตัวนี้เท่านั้น) แต่ไม่เกี่ยวข้องกับการฟังเพลงแต่เป็นฟังก์ชันสำหรับการบันทึก นั่นคือฟังก์ชัน Overdub
Overdub แปลว่าเขียนทับ คือการที่เราบันทึกเสียงลงไปในไฟล์เดิมได้เลย ยกตัวอย่างเช่น
ผมบันทึกเสียงกลองก่อน ผมนำเสียงกลองที่บันทึกมาเปิดเล่น (ฟังโดยใส่หูฟัง) ผมสามารถเล่นเบสทับลงไปได้เลย ผมก็จะได้ไฟล์ที่มีเสียงกลองและเบสมาหนึ่งไฟล์
ผมนำไฟล์ที่บันทึกกลองและเบสมาเล่น แล้วก็เล่นกีตาร์ทับ ผมก็จะได้ไฟล์ที่มีเสียงกลอง เบส กีตาร์
ถ้าผมจะเล่นอะไรเพิ่ม (เช่น เปียโน คอรัส หรือเสียงร้อง) ผมก็นำมา Overdub ได้เลย จนในที่สุดก็สำเร็จเป็นเพลง
คล้ายๆ กับระบบ Multitrack แต่ระบบ Multitrack จะมีหลายๆ Track เราสามารถแก้เป็น Track ได้ แต่ระบบ Overdub พอ Overdub แล้วก็จะไม่สามารถแก้เฉพาะ Track ได้ แน่นอนว่า Overdub จะสู้ Multitrack ไม่ได้ แต่ก็ทำให้เราสามารถทำเพลงง่ายๆ เองได้โดยไม่ยุ่งยากซับซ้อน DR-100 รองรับ Overdub ไม่จำกัดครับ คือจะท
[CR] === รีวิว Tascam DR-100 Recorder / Player ===
สวัสดีครับ นับเป็นรีวิวที่ใช้เวลาเขียนนานมาก เล่นเอาเหนื่อยเลยครับ หลังจากที่ผมได้ใช้ Tascam DR-100 มาเกือบสองปีเรียกได้ว่ารู้จักกันค่อนข้างดี จึงมีเรื่องให้เขียนถึงอยู่เยอะ ดังนั้นก่อนที่จะได้อ่านรีวิว DR-100 ผมขอเกริ่นนำก่อนดีกว่าว่าผมได้มันมายังไง
หลังจากที่ผมได้เริ่มใช้ Recorder ในการฟังเพลง (ซึ่งตัวปัจจุบันที่ใช้อยู่คือ Roland R-05) ผมก็ได้ลองฟังหลายๆ ยี่ห้อไปเรื่อย ทั้ง Zoom H1 , Kenwood K7 , Sony UX-512 , Roland R09 , Tascam DR-07 , Tascam DR-05 , Sony PCM-M10
วันหนึ่งผมได้เข้ากรุงเทพ (นานๆ ครั้ง) เลยนัดกับคุณ วิท (wicbbl) ซึ่งแกบอกว่ามี Recoder หลายๆ ตัวให้ผมลอง ตัวที่ผมอยากลองคือ Roland R09-HR แกบอกว่ามี Tascam DR-1 และ Tascam DR-100 ด้วย ผมไม่ได้สนสองตัวนี้เลย กะไปฟังลองดูเฉยๆ เพราะโดยส่วนตัวแล้วชอบสไตล์เสียงของ Roland มากกว่า (ผมว่า Tascam มันคมไป)
พอไปพบคุณวิทก็ได้ลองฟัง Roland R09-HR และก็ได้ลอง Tascam DR-1 ซึ่งทั้งสองตัวก็เสียงดี แต่ก็ไม่ได้ดีเกิน Roland R05 ของผมมากมายแต่อย่างใด แล้วสุดท้ายก็ได้ลอง DR-100 ต้องขอบอกก่อนว่าขนาดค่อนข้างใหญ่มาก ใหญ่ที่สุดในเครื่องบันทึกเสียงพกพาที่ผมเคยเห็นเลยมั้ง มีขนาดพอๆ กับ Ipod สัก 2 ตัวครึ่งได้มั้ง หนาเป็นนิ้ว และอีกอย่างที่ผมไม่ชอบคือมันค่อนข้างกินแบต แต่พอได้ฟังเสียงเท่านั้น อึ้งไปเลยครับ
ถามซื้อต่อจากคุณวิทน่าจะ 4 - 5 ครั้งได้ อยากได้มากๆ (ราคาราวหมื่นต้นๆ ครับ) คุณวิทไม่ขายให้ ทำเอาผมหลอนจำทางกลับโคราชไม่ได้เลย 555 วันนั้นผมยังมีงานอีกหลายอย่าง แต่ก็ทำแบบใจลอย ในใจคิดถึงแต่เสียงของเจ้า DR-100 เท่านั้น พร้อมรำพึงรำพันเราเคยฟังเสียงแบบนี้จากที่ไหนหนอ เครื่องเสียงราคาเท่าไร ลำโพงราคาเท่าไรหนอจึงจะได้เสียงแบบนี้
จากที่เคยภูมิใจกับ Roland R-05 มากๆ กลายเป็นเฉยๆ ไปเลยเมื่อได้ฟัง DR-100 โทรไปหาเพื่อนๆ หลายคนมาก ทุกคนพูดเป็นเสียงเดียวกันมันขนาดนั้นเลยเหรอ ผมก็ตอบไม่ถูก ไม่เคยเป็น
กลับมาบ้าน ปกติผมจะใช้ CD Player Panasonic SL-J905 กับ Roland R-05 เป็นเครื่องเล่นประจำตัว กลายเป็นว่าฟังไม่เพราะไปเลยทีเดียว สมองคอยแต่จะคิดถึงเรื่อง DR-100 แล้วเช็คว่ามีที่ไหนขายบ้าง อยากได้มากๆ อยากได้เดี๋ยวนี้ 555 โทรไปทั้งกล่อม ทั้งขู่คุณวิท 3 วันติดๆ ในวันที่สามนั่นเอง คุณวิทก็ใจอ่อน (หรือรำคาญไม่รู้ 555) ขายให้ผม
ตกลงขายกันตอนบ่ายสอง ผมขับรถจากโคราชไปหาแกตอนสองทุ่ม (ผมต้องรอปิดบ้านก่อนตอนห้าโมงเย็น) ไปจ่ายเงินและรับเองกับมือเลยครับ แล้วในที่สุด Tascam DR-100 ก็ได้มาอยู่ในมือผมและรีวิวให้เพื่อนๆ อ่านกันครับ 555
---------------------------------------------------------------
เมื่อได้รับมาแล้วก็มาแกะกล่องกันดีกว่า
กล่องค่อนข้างใหญ่ครับ ขนาดพอๆ กับกล่องไปรษณีย์ขนาด ง.
แกะออกมาด้านในมีอุปกรณ์ดังนี้
1. ตัวเครื่อง DR-100
2. แบตลิเทียม
3. รีโมท
4. รางใส่รีโมท
5. สายต่อรีโมท
6. สาย USB
7. Mem SD Card 2 Gb.
8. Winscreen (ฟองน้ำกันลมสำหรับไมค์)
9. ถุงผ้า
10. สมุดคู่มือ
เนื่องจากเป็นตัว Top Tascam จัดเต็มครับ เรียกว่าเปิดกล่องก็ทำงานได้เลย จะขาดก็แต่ Adapter ซึ่งเป็นรุ่น P520 (5V. 2A.) สามารถสั่งซื้อเพิ่มได้ หรือว่าจะใช้ Adapter ของ Sony PSP ก็ได้ (5V. 1.5A.) ผมก็ใช้ของ Sony PSP ครับ โดย Adapter จะชาร์จเฉพาะแบตลิเทียมเท่านั้นนะครับ ไม่ชาร์จถ่าน AA
---------------------------------------------------------------
เอาล่ะเกริ่นมาเยอะแล้ว มาเริ่มรีวิวกันดีกว่า
1) ลักษณะภายนอก
Tascam DR-100 มีขนาดค่อนข้างใหญ่ เมื่อเทียบกับเครื่องเล่นทั่วๆ ไป หรือแม้แต่จะเทียบกับ Recorder ด้วยกันก็ยังถือว่าใหญ่กว่า มีขนาด กว้าง x ยาว x สูง 8.05 x 15.1 x 3.5 ซม. และน้ำหนัก 290 กรัม ไม่รวมแบต เรียกว่าเป็นขนาดถือได้เต็มๆ มือเลยครับ (ขนาดพอๆ กับเกมส์บอยรุ่นเก่าเลยครับ) ตัวบอดี้ทำจากวัสดุคาร์บอนไฟเบอร์ (คล้ายๆ กับปืนลม) มีน้ำหนักเบาแต่แข็งแรงครับ พื้นผิวสีดำขรุขระ (ผมชอบแบบนี้เพราะมันจะไม่ทิ้งคราบรอยนิ้วมือเหมือนแบบผิวมัน) หน้าจอมีไฟ Back light สีส้ม รองรับหน่วยความจำ SD Card ได้ถึง 32 GB. สามารถใส่ได้ทั้งแบตลิเทียม และถ่าน AA
แบตลิเทียมขนาด 1800 mAh ใช้งานได้ราวๆ 3 ชม. ส่วนถ่าน AA 2500 mAh ใช้งานได้ราวๆ 1 ชม. เท่านั้น ค่อนข้างกินไฟทีเดียว สามารถใช้แบตทั้งสองพร้อมกันได้ สามารถตั้งได้ว่าจะให้แบตตัวใดเป็นแบตเตอรี่หลัก เมื่อใช้ในส่วนแบตหลักหมดเครื่องก็จะมาใช้แบตสำรองทันที
ที่จะต้องมีแบตหลักแบตสำรองเพราะว่าในกรณีที่เราบันทึกเสียงอยู่ ถ้าแบตลิเทียมหมดเครื่องจะกลับมาใช้ถ่าน AA ในขณะนั้นเราสามารถถอดเปลี่ยนแบตลิเทียมชุดใหม่ได้โดยที่เครื่องไม่ดับ ทำให้บันทึกเสียงได้ต่อเนื่องโดยไม่พลาดการบันทึกที่สำคัญ (โปรมั่กๆ 555)
ด้านบนมีช่องเสียบ SD Card ไมค์ซ้ายขวา จุดรับสัญญาณรีโมท (อินฟาเรด) และลำโพง (ซึ่งเสียงเบามาก)
ด้านซ้าย (ไล่จากซ้ายไปขวา) เริ่มจากช่องต่อ USB (ไม่สามารถชาร์จไฟได้นะครับ) ช่องต่อ Adapter เพื่อชาร์จไฟ ปุ่มเปิดปิด ปุ่ม Hold ปุ่มหมุน Volume สำหรับหูฟัง ช่องหูฟัง Line in - out
ด้านขวามีปุ่มหมุนปรับ Volume ไมค์ซ้ายขวา ด้านนอกเป็นไมค์ขวา ด้านในเป็นไมค์ซ้าย และช่องใส่แบตลิเทียม
ด้านล่างมีช่องต่อไมค์โครโฟน XLR ซ้าย ขวา และช่องต่อสายรีโมท (รีโมทใช้ได้ 2 แบบคือแบบไร้สาย กับมีสาย โดยใช้รีโมทตัวเดียวกัน เหตุผลที่มีสองแบบเพราะว่าแบบไร้สายจะยิงสัญญาณเข้าด้านบน แต่ถ้าเราถือตัวเครื่องแล้วหันไมค์ไปทางเสียงหรือคนที่เราจะไปสัมภาษณ์ด้านบนจะกลายเป็นจุดอับสัญญาณไปทันที จึงต้องทำให้สามารถต่อรีโมททางด้านหลังได้นั่นเอง โดยในชุดจะมีตัวกล่องและสายรีโมทแถมมาให้ด้วย โปรจริงๆ 555)
ด้านหน้ามีหน้าจออยู่ด้านบน ส่วนด้านล่างมีปุ่มมากมาย แต่ส่วนใหญ่ใช้เพื่อการบันทึก ก็จะมีที่เราใช้บ่อยๆ คือปุ่มเล่น ปุ่มหยุด เดินหน้า ถอยหลัง ปุ่มเมนู และคลิกวิลที่อยู่ข้างๆ จะคอยทำหน้าที่เลื่อนขึ้นเลื่อนลง หรือใช้กรอเพลง ส่วนปุ่มในคลิกวิลตรงกลางคือปุ่ม Enter
ด้านบนคลิกวิลจะมีปุ่มเลือก Input โดย DR-100 จะมี Input 4 อย่างให้เลือกคือ 1.Line in 2.ไมค์ด้านบน (Uni) 3.ไมค์รูเล็กๆ ที่อยู่ด้านหน้า (ข้างๆ คำว่า Tascam) (Omi) 4.ไมค์นอกที่ต่อจากช่อง XLR (xlr)
ด้านหลังมีปุ่มสำหรับตั้ง Gain ปุ่มเปิดปิดการจ่ายไฟสำหรับไมค์ (Phantom power) ปุ่มตั้ง Limiter ปุ่มเปิดปิดเสียงลำโพง ด้านล่างจะมีช่องล็อคขาตั้ง และช่องใส่ถ่าน AA 2 ก้อน
---------------------------------------------------------------
2) ไฟล์ที่รองรับ
Tascam DR-100 รองรับไฟล์ 2 แบบ คือ MP3 และ Wave โดยรองรับไฟล์ MP3 ทุกแบบทุกบิตเรต
ส่วนไฟล์ Wave รองรับตั้งแต่ 16 bit 44.1 kHz - 24 bit 96 kHz แต่เนื่องจากว่า Firmware ตัวเดิมรองรับไฟล์สูงสุดได้แค่ 24 bit 48 kHz จึงมีการออก Firmware ตัวใหม่เพื่อให้สามารถเล่นไฟล์ 24 bit 96 kHz ได้ (Tascam DR-100 สามารถ Up Firmware ได้ และรุ่นใหม่ๆ ก็ Up Firmware มาให้เรียบร้อยแล้ว) แต่เวลาจะเล่นไฟล์ 24 bit 96 kHZ จะต้องเข้าสู่ HS mode เสียก่อน
การเข้าสู่ HS Mode ทำได้โดยเมื่อเปิดเครื่องให้กดปุ่มเปิด (Power) พร้อมกับปุ่ม Enter (ปุ่มตรงกลางคลิกวิล) พร้อมกัน พอเปิดเครื่องจะมีหน้าจอให้เลือก ถ้าเราเลือก HS mode ก็จะสามารถเล่นไฟล์ 24 bit 96 kHz ได้ แต่จะเล่น mp3 ไม่ได้ แต่ถ้าเราปิด HS mode เราจะเล่น mp3 ได้ แต่จะเล่นไฟล์สูงสุดได้แค่ 24 bit 48 kHz ตรงนี้ก็แล้วแต่การใช้งานครับ
---------------------------------------------------------------
3) หน้าจอ และฟังก์ชันการใช้งาน
หน้าจอมีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับตัวเครื่อง (มีขนาดประมาณ 1 นิ้ว x 2 นิ้ว) แต่ก็สามารถแสดงรายละเอียดได้อย่างครบถ้วน (แสดงข้อมูลได้ราวๆ 4 บรรทัด) มี back light สีส้ม สามารถตั้งระยะเวลาเปิดปิดได้ ไม่สามารถอ่านภาษาไทยได้ แต่สามารถเล่นได้โดยแสดงเป็นเครื่องหมายคำถามแทน
SD Card ที่จะนำมาใช้กับ Tascam DR-100 จะต้องนำมา Format ที่ตัวเครื่องเสียก่อน ซึ่งจะมีการสร้าง Folder ขึ้นมา 2 Folder คือ Music และ Utility ให้เรานำเพลงใส่ใน Folder Music ได้เลย โดยเราสามารถใส่เป็น Sub Folder ได้ (Folder Music จะเหมือนกับ Folder root) หรือจะให้มีแยกย่อยใน Folder ก็ได้ตามสะดวก
เหตุผลหนึ่งที่ SD Card จะต้อง Format ที่ตัวเครื่องเสียก่อนเพราะว่าตัวเครื่องจะสร้างไฟล์มาไฟล์หนึ่งที่จะเก็บข้อมูลสุดท้ายที่เราเล่นเอาไว้ เมื่อเราเล่นถึงเพลงไหนหรือเปิดเพลงไหนอยู่แล้วเราปิดเครื่องพอเปิดเครื่อง เครื่องก็จะกลับมาที่เพลงนั้น ต่อให้ถอดแบตออกทั้งหมด หรือเอาเมมไปใส่เครื่องอื่น (ในตระกูล Tascam) ก็ยังจำเพลงสุดท้ายที่เล่นได้
แต่ตรงนี้ก็มีข้อเสีย ถ้าไฟล์ที่ว่า Error มันก็จะฟ้องว่า Memory ใช้ไม่ได้ต้อง Format ใหม่เท่านั้น เซ็งจริงๆ 555
อีกฟังก์ชันที่ดี (ในตระกูล Tascam มีแต่ตัวนี้เท่านั้น) แต่ไม่เกี่ยวข้องกับการฟังเพลงแต่เป็นฟังก์ชันสำหรับการบันทึก นั่นคือฟังก์ชัน Overdub
Overdub แปลว่าเขียนทับ คือการที่เราบันทึกเสียงลงไปในไฟล์เดิมได้เลย ยกตัวอย่างเช่น
ผมบันทึกเสียงกลองก่อน ผมนำเสียงกลองที่บันทึกมาเปิดเล่น (ฟังโดยใส่หูฟัง) ผมสามารถเล่นเบสทับลงไปได้เลย ผมก็จะได้ไฟล์ที่มีเสียงกลองและเบสมาหนึ่งไฟล์
ผมนำไฟล์ที่บันทึกกลองและเบสมาเล่น แล้วก็เล่นกีตาร์ทับ ผมก็จะได้ไฟล์ที่มีเสียงกลอง เบส กีตาร์
ถ้าผมจะเล่นอะไรเพิ่ม (เช่น เปียโน คอรัส หรือเสียงร้อง) ผมก็นำมา Overdub ได้เลย จนในที่สุดก็สำเร็จเป็นเพลง
คล้ายๆ กับระบบ Multitrack แต่ระบบ Multitrack จะมีหลายๆ Track เราสามารถแก้เป็น Track ได้ แต่ระบบ Overdub พอ Overdub แล้วก็จะไม่สามารถแก้เฉพาะ Track ได้ แน่นอนว่า Overdub จะสู้ Multitrack ไม่ได้ แต่ก็ทำให้เราสามารถทำเพลงง่ายๆ เองได้โดยไม่ยุ่งยากซับซ้อน DR-100 รองรับ Overdub ไม่จำกัดครับ คือจะท