จริงๆ แล้ว รถเมล์ทั้งหลาย ไม่อยากลาก ( จอดแช่ป้าย ) หรือรับ ผดส. จนแทบไม่มีที่หายใจหรอกครับ
แต่ที่ต้องทำแบบนั้น เพราะความเสถียรของรายได้มันไม่มี OK ชม. เร่งด่วนตอนเช้าๆ กับตอนเย็นๆ ตรงนี้ละนาทีทอง ใครๆ ก็อยากได้
แต่ช่วงกลางวัน หรือช่วงดึก บอกเลยว่าบางสายน่าสงสารมาก ผมขึ้นรถช่วงนี้ บางครั้งจากต้นสายถึงสุดสาย มี ผดส. ขึ้นๆ ลงๆ ไม่ถึง 20 คน
อีกข้อมูลที่น่าสนใจ
วันก่อนมี พนง.ขับรถ + กระเ๋ป๋า ปรึกษากันว่าจะจัดการกับรถสายเดียวกันอีกคันหนึ่ง ( ทำนองหมั่นไส้ คงมีเรื่องกันมาก่อนแล้ว ) ด้วยการแซงหน้าไปแย่งรับ ผดส. ใน ทุกๆ ป้าย ก่อนที่รถคู่อริจะไปถึง เพราะถ้าทำแบบนี้ได้ รถของคู่อริก็จะวิ่งฟรีในเที่ยวนั้น ไม่มีรายได้จากส่วนแบ่งค่าตั๋ว
นี่แหละครับสาเหตุที่เขาต้องทำ ไม่ทำก็ไม่มีกิน
บางคนบอก ขสมก. ไม่ทำ..ครับ ขสมก. ไม่ต้องทำก็ได้ครับ เพราะปีๆ หนึ่ง รัฐไทยต้องเจียดเงินก้อนหนึ่ง ไว้อุดหนุน ขสมก. โดยเฉพาะ ( ขสมก. ก็ขาดทุนทุกปีไม่ต่างกับ รฟท. ) ทำให้ ขสมก. ไม่ต้องดิ้นรนมาก เมื่อไม่ดิ้นรนมาก ก็เลยไม่ต้องทำพฤติกรรมแบบที่รถร่วมทำกัน ( เรียกว่าถ้าเทียบกันแล้ว คนขับ + กระเป๋าของ ขสมก. ที่ทำแบบรถร่วม มีน้อยมาก นานๆ ผมจะเจอสักที )
ถ้าลอง ขสมก. ไม่มีเงินอุดหนุนแบบเอกชนสิครับ ผมว่า กทม. คงกลายเป็นสนามแข่งรถเมล์แน่นอน ( ทุกวันนี้รถร่วมก็แข่งกันอยู่แล้ว เพียงแต่ ขสมก. ยังไม่มาร่วมด้วย )
แล้วไปถามสาเหตุว่าทำไม? เขาบอกว่าไม่อยากลงทุนมาก ลงทุนไปก็ไม่คุ้ม เพราะคนไทยนิยมซื้อรถ แถมไม่มีการควบคุมการนำรถมาวิ่งในเมือง อย่างสหรัฐอเมริกา แม้จะส่งเสริมให้คนซื้อรถ แต่เขาเน้นให้วิ่งนอกเมือง ( เพราะประเทศเขาใหญ่มาก ขับรถข้ามมลรัฐเป็นเรื่องปกติ ) แต่ในเมืองนี่เขี้ยวกันสุดๆ จอดรถในที่สาธารณะยังมีค่าจอดเป็นนาที อย่างไรก็ตามระบบขนส่งมวลชนในเมืองเขาค่อนข้างดี อย่างน้อยๆ ก็มีรถไฟใต้ดินไปมาได้ทั่วเมือง คนทั่วไปจึงไม่อยากนำรถเ้ข้าเมืองกัน
ยิ่งตอนนี้รถยนต์หาซื้อง่าย ( สารพัดโปรโมชั่นจากผู้ขาย + นโยบายรถคันแรก ) ขณะเดียวกันผู้ประกอบการรถร่วม มองว่า BTS หรือรถไฟใต้ดินเป็นคู่แข่ง ยิ่งทำให้ไม่อยากลงทุนไปกันใหญ่
เนี่ยแหละ ยิ่งสาวปัญหาให้ลึก แล้วจะรู้ว่าทำไม กทม. หรือประเทศไทยเราถึงเป็นแบบนี้?
ปล.อีกอย่างหนึ่ง รากของปัญหาเลยคือ
"เราไม่เคยวางรากฐานด้านงานวิจัยและพัฒนา" ( รู้กันไหมว่างบวิจัยของไทยเรา ทุกหน่วยงานมีไม่ถึง 1% ของงบประมาณทั้ง ปท. แต่ประเทศมหาอำนาจทั้งหลาย เขาให้ความสำคัญกับงานวิจัยและพัฒนามาก ) เอะอะๆ เราเน้นจัดซื้อจัดจ้างอย่างเดียว
เช่นตอนนี้เรื่องรถไฟความเร็วสูง มีผู้วิเคราะห์ว่าประเทศที่มีรถไฟความเร็วสูงแล้วไม่ขาดทุน คือประเทศที่มีเทคโนโลยีดังกล่าวในครอบครอง ( ผลิตและซ่อมบำรุงเองได้ เช่นสหรัฐอเมริกา เยอรมัน ญี่ปุ่น ฯลฯ ) ทำให้ไม่ต้องไปพึ่งพาการซ่อมบำรุงจากที่อื่น ซึ่งของพวกนี้ซ่อมทีค่าใช้จ่ายไม่ใช่ถูกๆ เลยไม่อยากจะให้สร้างกัน เพราะกลัวไม่คุ้มกับจำนวน ผดส. เมื่อเทียบกับเครื่องบินที่วันนี้สายการบิน low cost มีบทบาทมาก คนทำงานโรงงานหรือ office ที่เก็บเงินไว้กลับบ้านช่วงปีใหม่ - สงกรานต์ด้วย low cost ก็มีพอสมควร
นี่แสดงถึงความอ่อนแอของบ้านเราอย่างเห็นได้ชัดอีกเรื่องเลย
รู้กันไหม? ทำไมรถเมล์ต้องจอดแช่ป้าย - รับคนเกินความจุของรถ?
แต่ที่ต้องทำแบบนั้น เพราะความเสถียรของรายได้มันไม่มี OK ชม. เร่งด่วนตอนเช้าๆ กับตอนเย็นๆ ตรงนี้ละนาทีทอง ใครๆ ก็อยากได้
แต่ช่วงกลางวัน หรือช่วงดึก บอกเลยว่าบางสายน่าสงสารมาก ผมขึ้นรถช่วงนี้ บางครั้งจากต้นสายถึงสุดสาย มี ผดส. ขึ้นๆ ลงๆ ไม่ถึง 20 คน
อีกข้อมูลที่น่าสนใจ วันก่อนมี พนง.ขับรถ + กระเ๋ป๋า ปรึกษากันว่าจะจัดการกับรถสายเดียวกันอีกคันหนึ่ง ( ทำนองหมั่นไส้ คงมีเรื่องกันมาก่อนแล้ว ) ด้วยการแซงหน้าไปแย่งรับ ผดส. ใน ทุกๆ ป้าย ก่อนที่รถคู่อริจะไปถึง เพราะถ้าทำแบบนี้ได้ รถของคู่อริก็จะวิ่งฟรีในเที่ยวนั้น ไม่มีรายได้จากส่วนแบ่งค่าตั๋ว
นี่แหละครับสาเหตุที่เขาต้องทำ ไม่ทำก็ไม่มีกิน
บางคนบอก ขสมก. ไม่ทำ..ครับ ขสมก. ไม่ต้องทำก็ได้ครับ เพราะปีๆ หนึ่ง รัฐไทยต้องเจียดเงินก้อนหนึ่ง ไว้อุดหนุน ขสมก. โดยเฉพาะ ( ขสมก. ก็ขาดทุนทุกปีไม่ต่างกับ รฟท. ) ทำให้ ขสมก. ไม่ต้องดิ้นรนมาก เมื่อไม่ดิ้นรนมาก ก็เลยไม่ต้องทำพฤติกรรมแบบที่รถร่วมทำกัน ( เรียกว่าถ้าเทียบกันแล้ว คนขับ + กระเป๋าของ ขสมก. ที่ทำแบบรถร่วม มีน้อยมาก นานๆ ผมจะเจอสักที )
ถ้าลอง ขสมก. ไม่มีเงินอุดหนุนแบบเอกชนสิครับ ผมว่า กทม. คงกลายเป็นสนามแข่งรถเมล์แน่นอน ( ทุกวันนี้รถร่วมก็แข่งกันอยู่แล้ว เพียงแต่ ขสมก. ยังไม่มาร่วมด้วย )
แล้วไปถามสาเหตุว่าทำไม? เขาบอกว่าไม่อยากลงทุนมาก ลงทุนไปก็ไม่คุ้ม เพราะคนไทยนิยมซื้อรถ แถมไม่มีการควบคุมการนำรถมาวิ่งในเมือง อย่างสหรัฐอเมริกา แม้จะส่งเสริมให้คนซื้อรถ แต่เขาเน้นให้วิ่งนอกเมือง ( เพราะประเทศเขาใหญ่มาก ขับรถข้ามมลรัฐเป็นเรื่องปกติ ) แต่ในเมืองนี่เขี้ยวกันสุดๆ จอดรถในที่สาธารณะยังมีค่าจอดเป็นนาที อย่างไรก็ตามระบบขนส่งมวลชนในเมืองเขาค่อนข้างดี อย่างน้อยๆ ก็มีรถไฟใต้ดินไปมาได้ทั่วเมือง คนทั่วไปจึงไม่อยากนำรถเ้ข้าเมืองกัน
ยิ่งตอนนี้รถยนต์หาซื้อง่าย ( สารพัดโปรโมชั่นจากผู้ขาย + นโยบายรถคันแรก ) ขณะเดียวกันผู้ประกอบการรถร่วม มองว่า BTS หรือรถไฟใต้ดินเป็นคู่แข่ง ยิ่งทำให้ไม่อยากลงทุนไปกันใหญ่
เนี่ยแหละ ยิ่งสาวปัญหาให้ลึก แล้วจะรู้ว่าทำไม กทม. หรือประเทศไทยเราถึงเป็นแบบนี้?
ปล.อีกอย่างหนึ่ง รากของปัญหาเลยคือ "เราไม่เคยวางรากฐานด้านงานวิจัยและพัฒนา" ( รู้กันไหมว่างบวิจัยของไทยเรา ทุกหน่วยงานมีไม่ถึง 1% ของงบประมาณทั้ง ปท. แต่ประเทศมหาอำนาจทั้งหลาย เขาให้ความสำคัญกับงานวิจัยและพัฒนามาก ) เอะอะๆ เราเน้นจัดซื้อจัดจ้างอย่างเดียว
เช่นตอนนี้เรื่องรถไฟความเร็วสูง มีผู้วิเคราะห์ว่าประเทศที่มีรถไฟความเร็วสูงแล้วไม่ขาดทุน คือประเทศที่มีเทคโนโลยีดังกล่าวในครอบครอง ( ผลิตและซ่อมบำรุงเองได้ เช่นสหรัฐอเมริกา เยอรมัน ญี่ปุ่น ฯลฯ ) ทำให้ไม่ต้องไปพึ่งพาการซ่อมบำรุงจากที่อื่น ซึ่งของพวกนี้ซ่อมทีค่าใช้จ่ายไม่ใช่ถูกๆ เลยไม่อยากจะให้สร้างกัน เพราะกลัวไม่คุ้มกับจำนวน ผดส. เมื่อเทียบกับเครื่องบินที่วันนี้สายการบิน low cost มีบทบาทมาก คนทำงานโรงงานหรือ office ที่เก็บเงินไว้กลับบ้านช่วงปีใหม่ - สงกรานต์ด้วย low cost ก็มีพอสมควร
นี่แสดงถึงความอ่อนแอของบ้านเราอย่างเห็นได้ชัดอีกเรื่องเลย