ใช้โทรศัพท์ตอนฝนตกฟ้าร้อง จะโดนฟ้าผ่ามั้ยคะ

มีโอกาสมากน้อยแค่ไหน
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 3
การใช้โทรศัพท์ใกล้บริเวณที่เกิดฟ้าผ่า อาจเหนี่ยวนำให้แบตเตอรี่ลัดวงจรและเกิดระเบิดขึ้นได้ จึงทำให้เข้าใจผิดคิดว่าฟ้าผ่าลงมาเปรี้ยง! ซึ่งมีสิทธิ์เสียชีวิตทันที หรือเบาหน่อยก็ผิวหนังไหม้ตอนไฟฟ้าไหลผ่านขณะที่สัมผัสโลหะ พูดง่ายๆ ก็คือ ใช้โทรศัพท์ตอนฝนตกมีโอกาสเสียชีวิตหรือพิการได้ แต่เป็นผลข้างเคียงจากฟ้าผ่าทำให้เกิดการลัดวงจรจนระเบิด ไม่ใช่ฟ้าผ่าลงมาตรงๆ ที่มือถือตามที่เข้าใจ
ความคิดเห็นที่ 38
ความเห็นที่ 34 ตอบได้ชัดเจนที่สุดละ  ฟ้าผ่าจะเลือกผ่าสิ่งที่สูงที่สุดในบริเวณนั้น  ไม่เกี่ยวกับมือถือแต่อย่างใด  และไม่ต้องพูดถึงการเหนี่ยวนำเลย  มันคนละอันกันแล้วยกมายำรวมกัน

     ดังนั้นถ้าคุณอยู่ใต้อาคาร  ฟ้าจะไม่ผ่าคุณ  แต่ถ้าคุณออกไปยืนในที่โล่งแจ้ง  ต่อให้คุณคุยโทรศัพท์หรือไม่คุยโทรศัพท์  ฟ้าก็จะผ่าคุณ  เพราะคุณสูงที่สุดในบริเวณนั้น  ไม่ได้เกี่ยวกับโทรศัพท์  

     ตามจริงคุณต้องการรู้เกี่ยวกับไฟฟ้าคุณควรไปตั้งกระทู้ที่ห้องหว้ากอ  จะมีวิศวกรไฟฟ้าที่เก่งและรู้จริงมาตอบให้ครับ  เพราะถ้าคุณถามคนที่ไม่ใช่คนที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้าโดยตรง  คุณจะได้คำตอบแบบ  เราเคย...  คนที่เรารู้จักเคย...  หรือยกทฤษฎีมั่วๆมาจับแพะชนแกะ  สุดท้ายคุณจะได้คำตอบที่ผิดๆไป
ความคิดเห็นที่ 34
อาจารย์เจษฎา ได้อธิบายไว้แล้วครับ ลองอ่านดูครับ


" เรื่องนี้เป็นความเชื่อผิดๆ ที่คนไทยมีมานาน การใช้โทรศัพท์มือถือ และสัญญาณของมือถือนั้น ไม่ได้จะล่อฟ้าผ่าแต่อย่างไร เคยเขียนอธิบายเรื่องนี้ โดยยกข้อมูลของ สวทช มาให้ดูหลายทีแล้ว (https://www.nstda.or.th/th/nstda-knowledge/142-knowledges/5110 ) ว่า "มีปฏิบัติการจำลองสภาวะฟ้าผ่ากับโทรศัพท์มือถือ เพื่อพิสูจน์ว่าเป็นสื่อล่อฟ้าดังที่กล่าวอ้างหรือไม่ .....พบว่าฟ้าไม่ผ่าลงโทรศัพท์มือถือแต่อย่างใด และโทรศัพท์ทุกเครื่องยังสามารถใช้งานได้ตามปกติ"

จริงๆ แล้ว ฟ้าผ่า มักจะเกิดกับสิ่งที่อยู่สูง หรืออยู่โดดเด่นในบริเวณนั้น คนที่ไปยืนอยู่กลางทุ่งนา หรือหลบฝนใต้ต้นไม้ใหญ่ หรือขับรถไปกลางถนนหลวง จึงมักเสี่ยงถูกฟ้าผ่าได้ง่ายกว่าการหลบฝนอยู่ในอาคาร โดยไม่เกี่ยวกับว่ามีการใช้มือถือ หรือแม้แต่มีสร้อยทอง โลหะ ติดตัวอะไรก็ตามที่เชื่อๆ กัน "


https://www.facebook.com/OhISeebyAjarnJess/photos/a.220998438383217/222674831548911/?type=1&theater
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่