+ + + + + สอบถามเรื่องการคำนวณสินเชื่อ ธนาคารออมสินหน่อยครับ + + + + +

พอดีเพิ่งโอนคอนโดไปเมื่อวันศุกร์ แล้วคุยกับทางเจ้าหน้าที่แบงค์ เรื่องการโปะคอนโด ตามความเข้าใจของผม เงินที่เราจ่ายเกินค่างวด จะวิ่งไปตัดเงินต้นโดยอัตโนมัติ เช่นผมจ่ายค่างวดเดือนละ 11,000 บาท ต่อเดือน ถ้าผมเพิ่มการชำระค่างวดเป็นทุกเดือนละ 15,000-20,000 ส่วนต่าง 4,000 - 9,000 ก็จะวิ่งไปตัดเงินต้นเลย ทำให้ยอดเงินต้นเหลือน้อยลง มีผลทำให้ดอกลดลง

แต่จากการสอบถามทางจนท. แบงค์ออมสิน เค้าบอกว่า เงินที่เราชำระเกิน จะวิ่งไปตัดดอกก่อน เช่นผมจ่าย 15,000 จะเหลือส่วนต่าง 4,000 วิ่งไปตัดดอกเบี้ยของเดือนหน้า ผมก็งงว่า อ้าวทำไมไม่ตัดเงินต้นล่ะ แล้วสรุปอย่างนี้ ถ้าผมจะจ่ายซักเดือนละ 15,000-20,000 ผมควรจะจ่ายแบบไหนดีครับ

รอบตัดทุกวันที่ 7 ของทุกเดือน เห็นมีการบอกให้ชำระก่อนรอบตัด บางคนบอกให้ชำระหลังจากรอบตัด หลังชำระค่างวดไปแล้ว ค่อยมาจ่ายส่วนต่างเพิ่มถึงจะตัดต้น แต่กับของแบงค์นี้ ตกลงมันยังไงกันแน่ครับ แล้วผมควรจะแบ่งชำระยังไงดี ให้มันลดต้นได้เร็วที่สุดครับเม่าในกองไฟ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 5
ขอร่วมแสดงความคิดเห็นนะครับ
ไม่ได้มีความรู้มากนัก  ขอตอบเท่าที่ตอบได้  ส่วนที่ตอบไม่ได้ ก็อยากรู้เช่นกัน รอผู้รู้มาช่วยตอบ


วันที่เปิดบัญชีกู้  ..... XX/XX/255X            
*รอบตัดทุกวันที่ 7 ของทุกเดือน -->  ใช่วันที่เปิดบัญชีกู้ วันที่ 7  ?  (ถ้านับรอบเดือน 30 วัน)  
เช่น  7 เมษายน 2556 - 6 พฤษภาคม 2556  (30 วัน)

ยอดกู้  ................  X,XXX,XXX บาท
ยอดจ่ายค่างวดเดือนละ  .... 11,000 บาท/เดือน
ดอกเบี้ย ..............  X.XX % / ปี  
* เวลาคำนวณ ต้องแปลงเป็น  การคิดดอกเบี้ยรายวัน  =  ( % ต่อปี / 100 )  x  ( วัน / 365 )
วัน  ในที่นี้คือ  จำนวนวันในรอบที่มาจ่ายค่างวด  
เช่น  วันที่คุณมาจ่ายค่างวด  คือ  7 พฤษภาคม 2556
ดอกเบี้ยมันจะคิดในรอบ   7 เมษายน 2556 - 6 พฤษภาคม 2556  (30 วัน)
30 วัน ก็เอาไปแทนค่าในสูตรข้างต้น  มันก็จะออกมาเป็น  ดอกเบี้ยที่คิดเป็นรายวัน
คือ  ถ้าเรามาจ่ายค่างวดแต่ละเดือนไม่ตรงกัน หรือ แม้จะตรงวัน แต่มันก็มี เดือนที่มี 30 31 28 29 วัน
ก็อาจทำให้  ดอกเบี้ยที่จ่ายแต่ละงวดไม่ตรงกันได้ (กรณีที่จ่ายค่างวดเท่ากันทุกงวด)

ปัจจุบัน เงินต้นเหลืออยู่เท่าไร ?


ยอดจ่ายค่างวดเดือนละ  .... 11,000 บาท/เดือน
ถ้าเพิ่มการชำระค่างวดเป็นทุกเดือนละ 15,000 - 20,000 บาท  
ก.  ส่วนต่าง 4,000 - 9,000 บาท  ก็จะวิ่งไปตัดเงินต้นเลย ทำให้ยอดเงินต้นเหลือน้อยลง มีผลทำให้ดอกลดลง ? หรือ
ข.  ส่วนต่าง 4,000 - 9,000 บาท  เงินที่เราชำระเกิน จะวิ่งไปตัดดอกเบี้ยของเดือนหน้าก่อน
คำตอบ  วิธีคำนวณของ  ธ.ออมสิน  จะเป็น ข้อ ข.
... หากส่งเกินเงินงวด ก็คำนวณดอกเบี้ยอย่างปกติ แต่จะนำส่วนที่เกินไปตั้งบิลล่วงหน้า
ซึ่งในงวดต่อไป นำเงินส่วนเกินไปตั้งไว้เป็นดอกเบี้ยไว้ก่อน ที่่เหลือเป็นเงินต้น

ยกตัวอย่าง
วันที่เปิดบัญชีกู้ 07/09/2555
ยอด 1.9 ล้าน
ดอกเบี้ยคงที่ 3.45 % 3 ปี
งวดที่      วันที่ชำระ      จำนวนเงินที่ชำระ             เงินต้น           ดอกเบี้ย              
  1         27/9/2555         15000                  11408.22        3591.78
  2         31/10/2555       13400                  11800.00        1600.00
  3         30/11/2555       13400                    7330.63        6069.37
  4         27/12/2555       13400                    8078.14        5321.86
  5         29/1/2556         13400                    8629.04        4770.00

งวดที่ 1   คุณจ่ายค่างวด 15,000 บาท (ค่างวดจริงๆ 13,400 บาท)   จ่ายเกิน 1,600 บาท

งวดที่ 2   * 31/10/2555   27/09/2555 - 30/10/2555   (34วัน) ... ระบบจะยังไม่ได้คิดดอกเบี้ยของช่วงระยะเวลานี้
             แต่ระบบจะเอา ข้อมูลตัวเลขที่จ่ายเกิน 1,600 บาทในงวดที่แล้ว มาเป็น ดอกเบี้ยในงวดที่ 2  
             เมื่อหักกับเงินที่คุณจ่ายค่างวดที่ 2 (จ่ายค่างวดพอดี 13,400 บาท)  ก็จะเหลือเป็นเงินต้น 11,800 บาท

งวดที่ 3   ระบบจะคิดดอกเบี้ย ช่วงระยะเวลา 27/09/2555 - 30/10/2555   (34วัน)
             โดยคำนวณดอกเบี้ยจากยอดเงินต้นคงเหลือ จากงวดที่ 1 (ยอดเงินคงเหลือจากช่วงก่อนช่วงระยะเวลาที่คิดดอกเบี้ย)
             (ไม่ได้คิดจากงวดที่แล้ว ที่2)






Q : ถ้า จขกท อยากจะจ่ายซักเดือนละ 15,000 - 20,000 บาท (กรณีมีเงินเหลือ อยากโปะ  จ่ายเกินค่างวด)
จขกท ควรจะแบ่งชำระยังไงดี ให้มันลดต้นได้เร็วที่สุด?
- ให้ชำระก่อนรอบตัด
- ให้ชำระตรงรอบตัด
- ให้ชำระหลังจากรอบตัด  หลังชำระค่างวดไปแล้ว ค่อยมาจ่ายส่วนต่างเพิ่มถึงจะตัดต้น
- อื่นๆ (ระบุ) ............................

A : ..............  รอฟังจากผู้รู้ท่านอื่นๆ ต่อไป
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่