ข้อสงสัย เกิดขึ้น จากบทความนี้ ของ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
[166] มหาปเทส 4๑ (ที่อ้างอิงข้อใหญ่, หลักใหญ่สำหรับอ้างเพื่อสอบสวนเทียงเคียง หมวดที่ 1 ว่าด้วยหลักทั่วไป - great authorities; principal references or citations)
1. หากมีภิกษุกล่าวว่า ข้าพเจ้าได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาค ว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุสาสน์ (A monk might say: “Face to face with the Blessed One did I hear this; face to face with him did I receive this. This is the Doctrine, this is the Discipline, this is the Master's teaching.”)
2. หากมีภิกษุกล่าวว่า ในอาวาสชื่อโน้น มีสงฆ์อยู่ พร้อมด้วยพระเถระ พร้อมด้วยปาโมกข์ ข้าพเจ้าได้สดับรับมาเฉพาะหน้าสงฆ์นั้นว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุสาสน์ (A monk might say: “In such and such a monastery resides an Order together with an elder monk, together with a leader. Face to face with that Order did I hear this; . . .)
3. หากมีภิกษุกล่าวว่า ในอาวาสชื่อโน้น มีภิกษุผู้เป็นพระเถระอยู่จำนวนมาก เป็นพหูสูต ถึงอาคม (คือชำนาญในพุทธพจน์ทั้ง 5 นิกาย) ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา ข้าพเจ้าได้สดับรับมาเฉพาะหน้าพระเถระเหล่านั้นว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุสาสน์ (A monk might say: “In such and such a monastery reside a great number of elder monks, widely learned, versed in the Collections, experts on the Doctrine, experts on the Discipline, experts on the Summaries, In the presence of those monks did I hear this; . . .)
4. หากมีภิกษุกล่าวว่า ในอาวาสชื่อโน้น มีภิกษุผู้เป็นพระเถระอยู่รูปหนึ่ง เป็นพหูสูต ถึงอาคม ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา ข้าพเจ้าได้สดับรับมาเฉพาะหน้าพระเถระรูปนั้นว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุสาสน์ (A monk might say: “In such and such a monastery resides an elder monk of wide learning. . . .)
เธอทั้งหลาย ยังไม่พึงชื่นชม ยังไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของผู้นั้น พึงเรียนบทและพยัญชนะ (ทั้งข้อความและถ้อยคำ) เหล่านั้นให้ดีแล้ว พึงสอบดูในสูตรเทียบดูในวินัย (The words of that monk are neither to be welcomed nor scorned, the words and syllables thereof are to be studied thoroughly, laid beside the Discourses and compared with the Discipline.)
ก. ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้น สอบลงในสูตรก็ไม่ได้ เทียบเข้าในวินัยก็ไม่ได้ พึงลงสันนิษฐานว่า นี้มิใช่ดำรัสของพระผู้มีพระภาคแน่นอน ภิกษุนี้ (สงฆ์นั้นพระเถระเหล่านั้น พระเถระรูปนั้น) ถือไว้ผิด พึงทิ้งเสีย (If, when laid beside the Discourses and compared with the Discipline, these words and syllables lie not along with the Discourses and agree not with the Discipline then you nay come to the conclusion; Surely this is not the word of the Blessed One, and it has been wrongly grasped by that monk. Then reject it.)
ข. ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้น สอบลงในสูตรก็ได้ เทียบเข้าในวินัยก็ได้ พึงลงสันนิษฐานว่า นี้เป็นดำรัสของพระผู้มีพระภาคแน่แท้ ภิกษุนี้ (สงฆ์นั้น พระเถระเหล่านั้น พระเถระรูปนั้น) รับมาด้วยดี (If . . . they lie along with the Discourses and agree with the Discipline . . . Surely this is the word of the Blessed One . . .)
โดยสรุป คือ การยกข้ออ้างหรือหลักฐาน 4 (the four principal appeals to authority) คือ
1. พุทธาปเทส (ยกเอาพระพุทธเจ้าขึ้นอ้าง - the appeal to the Enlightened One as authority)
2. สังฆาปเทส (ยกเอาพระสงฆ์ขึ้นอ้าง - the appeal to a community of monks or an Order as authority)
3. สัมพหุลัตเถราปเทส (ยกเอาพระเถระจำนวนมากขึ้นอ้าง - the appeal to a number of elders as authority)
4. เอกเถราปเทส (ยกเอาพระเถระรูปหนึ่งขึ้นอ้าง - the appeal to a single elder as authority)
http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=166
เนื้อความ จาก พระไตรปิฎก เป็นดังนี้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ [๑๑๒] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ตามความพอพระทัยในบ้าน
ภัณฑคามแล้ว ตรัสเรียกท่านพระอานนท์มารับสั่งว่า มาไปกันเถิดอานนท์ เรา
จักไปยังบ้านหัตถีคาม อัมพคาม ชัมพุคาม และโภคนคร ท่านพระอานนท์ทูลรับ
พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว ฯ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่เสด็จถึงโภคนคร
แล้ว ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคประทับ ณ อานันทเจดีย์ ในโภคนครนั้น ณ ที่นั้น
พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง
มหาประเทศ ๔ เหล่านี้ พวกเธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้น
ทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังต่อไปนี้
[๑๑๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโส
ข้อนี้ข้าพเจ้าได้ฟังมา ได้รับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า นี้เป็นธรรม
นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสั่งสอนของพระศาสดา ดังนี้ พวกเธอไม่พึงชื่นชมไม่พึงคัดค้าน
คำกล่าวของภิกษุนั้น ครั้นแล้วพึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดี แล้วสอบสวน
ในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย ถ้าสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย
ลงในพระสูตรไม่ได้ เทียบเคียงในพระวินัยไม่ได้ พึงถึงความตกลงในข้อนี้ว่า
นี้มิใช่คำของพระผู้มีพระภาคแน่นอน และภิกษุนี้จำมาผิดแล้ว ดังนั้น พวกเธอพึง
ทิ้งคำกล่าวนั้นเสีย ถ้าเมื่อสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย ลงใน
พระสูตรได้ เทียบเคียงในพระวินัยได้ พึงถึงความตกลงในข้อนี้ว่า นี้เป็นคำ
สั่งสอนของพระผู้มีพระภาคแน่นอน และภิกษุนี้จำมาถูกต้องแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย
พวกเธอพึงทรงจำมหาประเทศข้อที่หนึ่งนี้ไว้ ฯ
[๑๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า
สงฆ์พร้อมทั้งพระเถระ พร้อมทั้งปาโมกข์ อยู่ในอาวาสโน้น ข้าพเจ้าได้ฟังมา
ได้รับมาเฉพาะหน้าสงฆ์นั้นว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสั่งสอนของ
พระศาสดา ดังนี้ พวกเธอไม่พึงชื่นชมไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของภิกษุนั้น ครั้นแล้ว
พึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดี แล้วสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียง
ในพระวินัย ถ้าเมื่อสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย ลงในพระสูตร
ไม่ได้ ลงในพระวินัยไม่ได้ พึงถึงความตกลงในข้อนี้ว่า นี้มิใช่คำสั่งสอนของ
พระผู้มีพระภาคแน่นอน และภิกษุสงฆ์นั้นจำมาผิดแล้ว ดังนั้น พวกเธอพึงทิ้ง
คำกล่าวนั้นเสีย ถ้าเมื่อสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย ลงในพระ
สูตรได้ เทียบเคียงในพระวินัยได้ พึงถึงความตกลงในข้อนี้ว่า นี้เป็นคำสั่งสอนของ
พระผู้มีพระภาคแน่นอน และภิกษุสงฆ์นั้นจำมาถูกต้องแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย
พวกเธอพึงทรงจำมหาประเทศข้อที่สองนี้ไว้ ฯ
[๑๑๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ภิกษุ
ผู้เป็นเถระมากรูปอยู่ในอาวาสโน้น เป็นพหูสูต มีอาคมอันมาถึงแล้ว เป็นผู้ทรงธรรม
ทรงวินัย ทรงมาติกา ข้าพเจ้าได้ฟังมา ได้รับมาเฉพาะหน้าพระเถระเหล่านั้นว่า นี้เป็น
ธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสั่งสอนของพระศาสดา ดังนี้ พวกเธอไม่พึงชื่นชม ไม่พึง
คัดค้านคำกล่าวของภิกษุนั้น ครั้นแล้ว พึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดี
แล้วสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย ถ้าเมื่อสอบสวนในพระสูตร
เทียบเคียงในพระวินัย ลงในพระสูตรไม่ได้ ลงในพระวินัยไม่ได้ พึงถึงความ
ตกลงในข้อนี้ว่านี้มิใช่คำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคแน่นอน และพระเถระเหล่านั้น
จำมาผิดแล้ว ดังนั้น พวกเธอพึงทิ้งคำกล่าวนั้นเสีย ถ้าเมื่อสอบสวนในพระสูตร
เทียบเคียงในพระวินัย ลงในพระสูตรได้ เทียบเคียงในพระวินัยได้ พึงถึงความตกลง
ในข้อนี้ว่า นี้เป็นคำของพระผู้มีพระภาคแน่นอน และพระเถระเหล่านั้น จำมาถูก
ต้องแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงทรงจำมหาประเทศข้อที่สามนี้ไว้ ฯ
[๑๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ภิกษุ
ผู้เป็นเถระอยู่ในอาวาสโน้น เป็นพหูสูต มีอาคมอันมาถึงแล้ว เป็นผู้ทรงธรรม ทรง
วินัย ทรงมาติกา ข้าพเจ้าได้ฟังมา ได้รับมาเฉพาะหน้าพระเถระนั้นว่า นี้เป็นธรรม
นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสั่งสอนของพระศาสดา ดังนี้ พวกเธอไม่พึงชื่นชม ไม่พึงคัดค้าน
คำกล่าวของภิกษุนั้น ครั้นแล้ว พึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดี แล้วสอบ
สวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย ถ้าเมื่อสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียง
ในพระวินัย ลงในพระสูตรไม่ได้ ลงในพระวินัยไม่ได้ พึงถึงความตกลงในข้อนี้ว่า
นี้มิใช่คำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคแน่นอน และพระเถระนั้นจำมาผิดแล้ว ดังนั้น
พวกเธอพึงทิ้งคำกล่าวนั้นเสีย ถ้าเมื่อสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย
ลงในพระสูตรได้ เทียบเคียงในพระวินัยได้ พึงถึงความตกลงในข้อนี้ว่า นี้เป็นคำของ
พระผู้มีพระภาคแน่นอน และพระเถระนั้นจำมาถูกต้องแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย
พวกเธอพึงทรงจำมหาประเทศข้อที่สี่นี้ไว้ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงทรงจำ
มหาประเทศทั้ง ๔ เหล่านี้ไว้ ฉะนี้แล ฯ
http://www.84000.org/tipitaka/read/?10/112-116
รอเธอโสด สรุปความได้ว่า
๑. ถ้ามีพระเถระกล่าวว่า ได้ฟังธรรมนี้มาจากพระพุทธเจ้า
อย่าเพิ่งเชื่อ ให้ตรวจสอบในพระสูตร พระวินัยก่อน
๒. ถ้ามีพระเถระหลายรูป กล่าวว่า ธรรมนี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า
อย่าเพิ่งเชื่อ ให้ตรวจสอบในพระสูตร พระวินัยก่อน
๓. ถ้ามีพระเถระผู้ป็นพหูสูตรมากรูป กล่าวว่า ธรรมนี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า
อย่าเพิ่งเชื่อ ให้ตรวจสอบในพระสูตร พระวินัยก่อน
๔. ถ้ามีพระเถระผู้ป็นพหูสูตร กล่าวว่า ธรรมนี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า
อย่าเพิ่งเชื่อ ให้ตรวจสอบในพระสูตร พระวินัยก่อน
ดังนั้น ใจความหลักจึงอยู่ที่
ให้นำคำสอนนั้นมาสอบทานกับพระสูตร พระวินัยก่อน ไม่ว่าผู้สอนจะเป็นใคร หรือมีมากรูปก็ตาม
แต่ท่าน พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) กลับสรุปในทำนอง ลำดับขั้นความน่าเชื่อถือ อย่างนี้ว่า
โดยสรุป คือ การยกข้ออ้างหรือหลักฐาน 4 (the four principal appeals to authority) คือ
1. พุทธาปเทส (ยกเอาพระพุทธเจ้าขึ้นอ้าง - the appeal to the Enlightened One as authority)
2. สังฆาปเทส (ยกเอาพระสงฆ์ขึ้นอ้าง - the appeal to a community of monks or an Order as authority)
3. สัมพหุลัตเถราปเทส (ยกเอาพระเถระจำนวนมากขึ้นอ้าง - the appeal to a number of elders as authority)
4. เอกเถราปเทส (ยกเอาพระเถระรูปหนึ่งขึ้นอ้าง - the appeal to a single elder as authority)
คำถามคือ ท่าน พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) สรุปผิด หรือเปล่า ??
หรือจะเป็น กุศโลบาย ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต ให้ลูกศิษย์ นำคำสอนของท่าน มาสอบทานกับ พระสูตร พระวินัย ?
ถามผู้รู้ มหาปเทส 4 - ท่าน พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) สรุปผิด หรือเปล่า ??
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=166
เนื้อความ จาก พระไตรปิฎก เป็นดังนี้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
http://www.84000.org/tipitaka/read/?10/112-116
รอเธอโสด สรุปความได้ว่า
๑. ถ้ามีพระเถระกล่าวว่า ได้ฟังธรรมนี้มาจากพระพุทธเจ้า อย่าเพิ่งเชื่อ ให้ตรวจสอบในพระสูตร พระวินัยก่อน
๒. ถ้ามีพระเถระหลายรูป กล่าวว่า ธรรมนี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า อย่าเพิ่งเชื่อ ให้ตรวจสอบในพระสูตร พระวินัยก่อน
๓. ถ้ามีพระเถระผู้ป็นพหูสูตรมากรูป กล่าวว่า ธรรมนี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า อย่าเพิ่งเชื่อ ให้ตรวจสอบในพระสูตร พระวินัยก่อน
๔. ถ้ามีพระเถระผู้ป็นพหูสูตร กล่าวว่า ธรรมนี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า อย่าเพิ่งเชื่อ ให้ตรวจสอบในพระสูตร พระวินัยก่อน
ดังนั้น ใจความหลักจึงอยู่ที่ ให้นำคำสอนนั้นมาสอบทานกับพระสูตร พระวินัยก่อน ไม่ว่าผู้สอนจะเป็นใคร หรือมีมากรูปก็ตาม
แต่ท่าน พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) กลับสรุปในทำนอง ลำดับขั้นความน่าเชื่อถือ อย่างนี้ว่า
โดยสรุป คือ การยกข้ออ้างหรือหลักฐาน 4 (the four principal appeals to authority) คือ
1. พุทธาปเทส (ยกเอาพระพุทธเจ้าขึ้นอ้าง - the appeal to the Enlightened One as authority)
2. สังฆาปเทส (ยกเอาพระสงฆ์ขึ้นอ้าง - the appeal to a community of monks or an Order as authority)
3. สัมพหุลัตเถราปเทส (ยกเอาพระเถระจำนวนมากขึ้นอ้าง - the appeal to a number of elders as authority)
4. เอกเถราปเทส (ยกเอาพระเถระรูปหนึ่งขึ้นอ้าง - the appeal to a single elder as authority)
คำถามคือ ท่าน พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) สรุปผิด หรือเปล่า ??
หรือจะเป็น กุศโลบาย ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต ให้ลูกศิษย์ นำคำสอนของท่าน มาสอบทานกับ พระสูตร พระวินัย ?