[เสียงคนวงนอก] Hummingbird : เรื่องของคนจน คนจร และความรุนแรง
โดย : TonyMao_NK51
E-Mail : tonymao_nk51@hotmail.com
FaceBook : TonyMao Nk
“เมืองใหญ่ยิ่งเจริญยิ่งขึ้นเท่าไหร่ มักจะเห็นคนเร่ร่อนเข้ามาอาศัยมากขึ้นเท่านั้น”
ผู้เขียนไม่รู้หรอกว่าใครเป็นผู้กล่าวประโยคนี้เป็นคนแรก รู้เพียงแต่ว่าคำกล่าวนี้เป็นจริงทุกประการ เพราะทุกๆ เมืองที่ด้านหนึ่งเศรษฐกิจขยายตัวแบบก้าวกระโดด เหนือเมืองอื่นๆ ในประเทศเดียวกัน สิ่งที่เกิดขึ้นคือเมืองดังกล่าวกลายเป็น
“นครแห่งความฝัน” ที่ผู้คนจากทั่วสารทิศต้องการเข้ามาแสวงหาโอกาส ซึ่งก็มีทั้งคนที่ประสบความสำเร็จ และคนที่ต้องพบกับความล้มเหลว ด้วยปัจจัยที่แตกต่างกันไป
แน่นอนว่าคนที่ล้มเหลว..ส่วนหนึ่งไม่มีบ้านให้กลับ หรืออีกส่วนหนึ่งมีบ้านให้กลับแต่ก็มีเหตุผลที่ไม่อาจกลับ พวกเขาใช้ชีวิตที่เหลืออย่างไร้จุดหมาย ไร้ความหวัง และไร้ที่อยู่ที่คนทั่วไปเรียกว่า
“บ้าน”
เกริ่นยาวมา 2 ย่อหน้า เดี๋ยวทุกท่านจะเข้าใจว่าสัปดาห์นี้ผู้เขียนจะมาบ่นเรื่องคนเร่ร่อนจรจัด ทั้งที่ขึ้นหัวไว้ว่าเป็นบทวิจารณ์ภาพยนตร์ ฉะนั้นกลับสู่เนื้อหากันเลยดีกว่า..ปลายสัปดาห์แรกของเดือนมิถุนายน 2013 ท่าทางวงการภาพยนตร์บ้านเราจะเงียบเหงามาก เพราะภาพยนตร์ที่คาดว่าจะเป็น
“หนังฟอร์มยักษ์” ประจำสัปดาห์ถูกทั้งนักวิจารณ์มืออาชีพและผู้ชมทั่วไป
“สับเละ” แบบไม่มีชิ้นดี ส่วนภาพยนตร์ฟอร์มเล็กอีก 2 เรื่อง เป็นหนังฝรั่ง 1 เรื่องและหนังไทยอีก 1 เรื่องก็ไม่ค่อยถูกพูดถึงเท่าไร ส่วนผู้เขียนเอง เมื่อดูจาก 3 ตัวเลือกแล้ว เนื่องจากงบน้อยมาก เลือกได้เพียงเรื่องเดียวเท่านั้น
หวยจึงมาออกที่
Hummingbird ( ถ้าฉายในสหรัฐอเมริกา จะใช้ชื่อว่า
Redemption ) เรื่องราวของอดีตทหารผ่านศึกที่มีปมบางอย่าง ทำให้ต้องมาเป็นคนเร่ร่อนอยู่กลางกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ที่ได้
“พี่โล้นคลั่ง” Jason Statham ดาราแอ็คชั่นที่หลายคนคุ้นเคยกันดีมารับบทนำดังกล่าว และว่ากันว่านี่ถือว่าเป็นการ
“ยกระดับไปอีกขั้น” ของเขา ( น่า..ขอล้อกับหนังใหม่ที่ของแกในปีหน้าหน่อย ที่ภาคล่าสุดโฆษณากันว่ายกระดับไปอีกขั้นเหมือนกัน และขณะนี้ก็กำลังโกยรายได้อย่างต่อเนื่องอีกต่างหาก ) ที่อยากให้ผู้ที่ติดตามผลงานมาตลอดรู้ว่า..พี่โล้นเราไม่ได้มีดีแค่การออกไปพะบู๊กับผู้ร้ายไปวันๆ เท่านั้น
เมื่อพูดถึงคนเร่ร่อนจรจัด หลายคนอาจจะคิดว่ามีแต่คนจนจากชนบท ที่เข้ามาแสวงหาโอกาสในเมืองใหญ่แล้วประสบกับความล้มเหลวจนไม่มีที่ไป แต่จริงๆ แล้ว หลายครั้งที่สื่อมวลชนก็ดี องค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) ก็ดี เข้าไปสำรวจ พูดคุยและศึกษาปัญหาของคนเหล่านี้ พบว่าคนเร่ร่อนหลายคนพื้นเพไม่ใช่คนยากจน บางคนเคยมีหน้าที่การงานระดับชนชั้นกลางขึ้นไป หรือบางคนเป็นลูกหลานของเศรษฐีใหญ่ก็มี แต่ด้วยความรู้สึกที่ว่า
“บ้านไม่ใช่สวรรค์ แต่มันเป็นนรก” จึงตัดสินใจหนีออกมาใช้ชีวิตข้างถนน ที่ถึงแม้จะอดมื้อกินมื้อ กินไม่ค่อยอิ่มนอนไม่ค่อยหลับ แต่ก็รู้สึกสบายใจมากกว่าที่จะอยู่อย่างสบายกาย แต่ไม่สบายใจที่บ้านเดิมของตน
แน่นอนว่าเรื่องแบบนี้คงไม่ได้มีเฉพาะประเทศไทยแน่ๆ ตรงกันข้ามในโลกตะวันตกน่าจะมีอะไรที่ซับซ้อนกว่า เพราะความหลากหลายของเชื้อชาติที่มากกว่า เนื่องจากอังกฤษเป็นประเทศโลกที่ 1 ที่ใครๆ ก็อยากไปอยู่ ( ไทยเรายังไงก็แค่โลกที่ 3 ) ในเรื่องเราจะเห็นการเล่นประเด็นผู้อพยพจากทั่วสารทิศเข้าไปแสวงหาโอกาสในเมืองใหญ่อย่างลอนดอน เช่นมีอย่างน้อย 2 ฉากที่กล้องจับภาพไปที่ร้านขายของร้านหนึ่ง ที่พนักงานหน้าร้านเป็นหญิงชาวมุสลิมมาจากตะวันออกกลางหรือไม่ก็ปากีสถาน ทั้ง 2 ฉากเป็นร้านเดียวกัน คนขายคนเดียวกัน ฉากนี้ไม่เกี่ยวอะไรกับเนื้อเรื่อง แต่เป็นการเล่าเรื่องผ่านภาพ แสดงให้เห็นความเป็นเมืองแห่งความหวังของลอนดอน ในสายตาคนจากชาติโลกที่ 3 ที่ต้องการเริ่มชีวิตใหม่ที่นี่
กลับมาที่อดีตทหารผ่านศึก ตัวเอกของเราที่ใช้ชื่อปลอมว่า
Joey Jones เนื่องจากหลบหนีการดำเนินคดีของศาลทหาร ในข้อหาบางอย่างที่ทำไว้สมัยไปรบในอัฟกานิสถาน เขากลายเป็นคนเร่ร่อนและมีเพื่อนสนิทชื่อ
Isabel หญิงสาวที่เป็นคนเร่ร่อนเช่นกัน ทั้ง 2 คนใช้ชีวิตข้างถนน นอนในลังกระดาษเก่าๆ เช่นคนเร่ร่อนทั่วไป จนวันหนึ่ง พวกเขาถูกอันธพาลเจ้าถิ่น ที่ชอบรีดไถเงินและยาจากคนข้างถนนเหล่านี้หาเรื่อง Joey สู้กับอันธพาลแล้วบอกให้ Isabel หนีไป ซึ่งจะด้วยบทหรืออะไรก็ช่าง ตัวเอกของเราในช่วงแรกๆ ไม่เหลือความเป็นทหารรบพิเศษแม้แต่น้อย เพราะถูกอัดจนสะบักสะบอมจากกุ๊ยปลายแถว แถมต้องหนีการตามล่าจนไปหลบในบ้านของผู้มีชื่อเสียงคนหนึ่ง ที่ช่วงนั้นไปทำธุระที่อื่นเป็นเวลาหลายเดือน ทำให้ Joey ใช้ที่นี่เป็นที่ฟื้นฟูร่างกายตัวเอง รวมทั้งหางานทำ
“อาชีพเก่าแก่ที่สุดของมนุษยชาติ คือนักฆ่ากับโสเภณี”
เช่นเดียวกัน ผู้เขียนก็ไม่รู้ว่าใครเป็นคนคิดประโยคนี้ขึ้น บางคนบอกว่าเป็น
“โกวเล้ง” นักเขียนนิยายนามกระเดื่องชาวฮ่องกง ที่มีผลงานแนวกำลังภายในมากมาย แต่บางคนบอกว่าคำกล่าวนี้เก่าแก่กว่านั้น ซึ่งก็ว่ากันไป อย่างไรก็ตาม ความคลาสสิกของทั้ง 2 อาชีพอยู่ที่เมื่อเราถามคนเหล่านี้ว่า..เหตุใดจึงเลือกทำงานที่เพื่อนมนุษย์ด้วยกันบอกว่าเป็นอาชีพที่
“ชั่วร้าย” พวกเขามักจะตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า
“เพราะความจน และไม่มีทางเลือก ไม่ทำก็อดตาย” ดังบทเพลงของศิลปินเพื่อชีวิตเขาว่าไว้
“ทอดถอนใจไม่คำนึง หวังวันหนึ่งให้ผ่านไป เพี่อพ่อแม่เป็นอยู่สบาย น้องหญิงชายได้เล่าเรียน” ( นางงามตู้กระจก – เทียรี่ เมฆวัฒนา )
“ข้ามความจนที่ฉันหนีหน้า ปากกัดตี-นถีบเรื่อยมา ตีรันฟันแทงแกร่งกล้า หนุ่มกระทง” ( มือปืน – พงษ์สิทธิ์ คำภีร์ )
( แน่นอนว่าก็มีทั้งจริงและเท็จ เพราะบางคนทำเพราะติดหนี้การพนัน บางคนทำเพราะติดยาเสพติด บางคนทำเพราะอยากได้เงินไปซื้อสินค้าฟุ่มเฟือย ก็มีให้เห็นตามข่าวเช่นกัน )
หนังพยายามเล่าเรื่องความรันทดของตัวละครทั้งสอง ขณะที่ Isabel ไปเป็นโสเภณี และส่งข้อความมาบอก Joey ว่าไม่ต้องเป็นห่วง ขอเก็บเงินสักพักแล้วจะกลับไปทางเหนือ ( แสดงว่า Isabel เป็นคนยากจนจากชนบท? ) Joey เริ่มงานใหม่เป็นพ่อครัวในร้านอาหารจีน แต่หลังจากที่ถูกเพื่อนร่วมงานในร้าน ขอให้ไปช่วยไล่ลูกค้าที่เมาแล้วกร่าง ( พี่โล้นของเราเริ่มกลับมาบู๊ได้แล้ว ) เขาได้ถูกชวนไปทำงานใหม่กับมาเฟียจีนที่คุมเขตดังกล่าว หลักๆ คือทวงหนี้ เก็บค่าคุ้มครอง และสู้กับแก๊งค์อื่นๆ ที่เข้ามาหากินล้ำถิ่น
แน่นอนว่า Joey ได้เงินส่วนแบ่งจากตรงนี้เป็นกอบเป็นกำ เขาได้เก็บเงินส่วนหนึ่งไว้ให้ภรรยาและลูก ( ที่ถูกเขาทอดทิ้งในช่วงหนีคดี และทางราชการยกเลิกการจ่ายสวัสดิการให้ ) กับอีกส่วนเอาไปซื้ออาหารและข้าวของที่จำเป็น สำหรับแจกจ่ายเพื่อนคนเร่ร่อน ผ่านทางแม่ชี
Cristina ที่ทำงานด้านสังคมสงเคราะห์ผู้ยากไร้มาตลอด
Jason Statham อย่างที่ทราบกันดีว่าเราจะคุ้นเคยกับเขาในบทแอ็คชั่นมันส์ๆ ในหนังที่ถล่มกันแบบวินาศสันตะโร ไม่ว่าจะเป็น Transporter 1 – 3 , Crank 1 - 2 หรือ Death Race 1 แต่ใน Hummingbird เราจะเห็นพี่โล้นแกบู๊น้อยมาก ( มีแค่ตามที่ตัดมาโฆษณานั่นแหละครับ ) ตรงกันข้ามสิ่งที่จะเห็นตลอดเรื่อง คือการแสดงสีหน้าท่าทาง ในการรับบท Joey Jones อดีตทหารที่กลายมาเป็นคนเร่ร่อน เพราะอดีตที่เจ็บปวดบางอย่าง ซึ่งผู้เขียนถือว่าทำได้ดีทีเดียว ( คล้ายกับ Jackie Chan ใน Shinjuku Incident ที่แสดงเป็นชาวจีนยากจน ที่อพยพไปทำงานในญี่ปุ่น และถูกชวนไปทำงานในแก๊งค์ยากุซ่า ซึ่งในเรื่องดังกล่าวเฉินหลงก็ไม่มีคิวบู๊เท่ๆ เหมือนกัน ตรงกันข้ามมีแต่ฉากที่แสดงถึงความรันทดของตัวเอกและเพื่อนผู้อพยพแทบทั้งเรื่อง ) เรียกว่าน่าจะลบคำสบประมาทผู้ชมหลายคน ที่มองว่าพี่โล้นของเราได้แต่พะบู๊ไปวันๆ เท่านั้น
Agata Buzek นักแสดงที่ชื่อไม่คุ้นหูคนทั่วไปมากนัก ( ผู้เขียนสารภาพด้วยอีกคนว่าไม่รู้จักเหมือนกัน ) ในบทแม่ชี Cristina ด้านหนึ่งเธอเป็นเหมือนแม่พระที่ช่วยเหลือคนเร่ร่อนผู้ตกทุกข์ได้ยาก และดูเหมือนจะเคร่งครัดในวินัยของเพศสมณะ แต่อีกด้านหนึ่ง เธอก็ยังมีความเป็นมนุษย์..มนุษย์ปุถุชนคนธรรมดาที่มีสิ่งที่อยากทำ เช่นการไปดูบัลเล่ย์ของคณะที่โด่งดังที่สุด ที่เธอใฝ่ฝันอยากจะไปชมมาตั้งแต่เมื่อครั้งยังเป็นเด็ก ซึ่งเธอก็ทำได้ดีกับบทที่ทั้งเรื่องจะแสดงให้เห็นถึง
“บทบาทที่ขัดแย้งกัน” ของตัวละครนี้
กล่าวโดยสรุป ถ้าใครคิดว่า Hummingbird เป็นภาพยนตร์แอ็คชั่น อัดกันหนักๆ บู๊กันวินาศสันตะโรไม่ต้องคิดมาก อันเป็นยี่ห้อ Jason Statham แล้วละก็ ขอบอกว่าคิดผิดอย่างแรง และไม่แนะนำให้ไปชม เพราะท่านอาจจะรู้สึกหงุดหงิดจนบ่นว่าเสียเงินไม่คุ้มค่า เพราะทั้งเรื่องมีฉากบู๊แค่ตามที่ตัดมาโฆษณาเท่านั้น ที่เหลือจะเป็นหนังชีวิต และการเล่าถึงความเป็นไปของสังคมคนเร่ร่อนในการเอาชีวิตรอด และการลงลึกไปถึงปมในใจของตัวเอกทั้ง 2 เท่านั้น
แต่ถ้าใครชอบหนังที่เนื้อหาหนักๆ ที่ว่าด้วยความรันทดของคน ทั้งจากปัญหาภายนอกคือความยากจน ความเหลื่อมล้ำในสังคม หรือปัญหาภายใน คือปมในใจของตัวละครเอง รวมถึงอยากพิสูจน์การโปรโมทหนังที่ว่าพี่โล้นของเรามีพัฒนาการทางการแสดงมากขึ้น ( และเรื่องนี้เป็นเรื่องแรก ที่ผู้เขียนคิดว่ามีฉากพี่โล้นแกยิ้ม และหัวเราะอย่างสบายใจเหมือนคนทั่วๆ ไป ) ผู้เขียนว่า OK ครับ ไปชมกันได้
แล้วพบกันใหม่ครับ
………………….
ปล.ฝากเพลงประกอบหนังเรื่องนี้นะครับ
Malka Moma ( เพลงพื้นบ้านของชาวบัลแกเรีย ว่าด้วยการขอพรของหญิงสาว )
[เสียงคนวงนอก] Hummingbird : เรื่องของคนจน คนจร และความรุนแรง
โดย : TonyMao_NK51
E-Mail : tonymao_nk51@hotmail.com
FaceBook : TonyMao Nk
“เมืองใหญ่ยิ่งเจริญยิ่งขึ้นเท่าไหร่ มักจะเห็นคนเร่ร่อนเข้ามาอาศัยมากขึ้นเท่านั้น”
ผู้เขียนไม่รู้หรอกว่าใครเป็นผู้กล่าวประโยคนี้เป็นคนแรก รู้เพียงแต่ว่าคำกล่าวนี้เป็นจริงทุกประการ เพราะทุกๆ เมืองที่ด้านหนึ่งเศรษฐกิจขยายตัวแบบก้าวกระโดด เหนือเมืองอื่นๆ ในประเทศเดียวกัน สิ่งที่เกิดขึ้นคือเมืองดังกล่าวกลายเป็น “นครแห่งความฝัน” ที่ผู้คนจากทั่วสารทิศต้องการเข้ามาแสวงหาโอกาส ซึ่งก็มีทั้งคนที่ประสบความสำเร็จ และคนที่ต้องพบกับความล้มเหลว ด้วยปัจจัยที่แตกต่างกันไป
แน่นอนว่าคนที่ล้มเหลว..ส่วนหนึ่งไม่มีบ้านให้กลับ หรืออีกส่วนหนึ่งมีบ้านให้กลับแต่ก็มีเหตุผลที่ไม่อาจกลับ พวกเขาใช้ชีวิตที่เหลืออย่างไร้จุดหมาย ไร้ความหวัง และไร้ที่อยู่ที่คนทั่วไปเรียกว่า “บ้าน”
เกริ่นยาวมา 2 ย่อหน้า เดี๋ยวทุกท่านจะเข้าใจว่าสัปดาห์นี้ผู้เขียนจะมาบ่นเรื่องคนเร่ร่อนจรจัด ทั้งที่ขึ้นหัวไว้ว่าเป็นบทวิจารณ์ภาพยนตร์ ฉะนั้นกลับสู่เนื้อหากันเลยดีกว่า..ปลายสัปดาห์แรกของเดือนมิถุนายน 2013 ท่าทางวงการภาพยนตร์บ้านเราจะเงียบเหงามาก เพราะภาพยนตร์ที่คาดว่าจะเป็น “หนังฟอร์มยักษ์” ประจำสัปดาห์ถูกทั้งนักวิจารณ์มืออาชีพและผู้ชมทั่วไป “สับเละ” แบบไม่มีชิ้นดี ส่วนภาพยนตร์ฟอร์มเล็กอีก 2 เรื่อง เป็นหนังฝรั่ง 1 เรื่องและหนังไทยอีก 1 เรื่องก็ไม่ค่อยถูกพูดถึงเท่าไร ส่วนผู้เขียนเอง เมื่อดูจาก 3 ตัวเลือกแล้ว เนื่องจากงบน้อยมาก เลือกได้เพียงเรื่องเดียวเท่านั้น
หวยจึงมาออกที่ Hummingbird ( ถ้าฉายในสหรัฐอเมริกา จะใช้ชื่อว่า Redemption ) เรื่องราวของอดีตทหารผ่านศึกที่มีปมบางอย่าง ทำให้ต้องมาเป็นคนเร่ร่อนอยู่กลางกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ที่ได้ “พี่โล้นคลั่ง” Jason Statham ดาราแอ็คชั่นที่หลายคนคุ้นเคยกันดีมารับบทนำดังกล่าว และว่ากันว่านี่ถือว่าเป็นการ “ยกระดับไปอีกขั้น” ของเขา ( น่า..ขอล้อกับหนังใหม่ที่ของแกในปีหน้าหน่อย ที่ภาคล่าสุดโฆษณากันว่ายกระดับไปอีกขั้นเหมือนกัน และขณะนี้ก็กำลังโกยรายได้อย่างต่อเนื่องอีกต่างหาก ) ที่อยากให้ผู้ที่ติดตามผลงานมาตลอดรู้ว่า..พี่โล้นเราไม่ได้มีดีแค่การออกไปพะบู๊กับผู้ร้ายไปวันๆ เท่านั้น
เมื่อพูดถึงคนเร่ร่อนจรจัด หลายคนอาจจะคิดว่ามีแต่คนจนจากชนบท ที่เข้ามาแสวงหาโอกาสในเมืองใหญ่แล้วประสบกับความล้มเหลวจนไม่มีที่ไป แต่จริงๆ แล้ว หลายครั้งที่สื่อมวลชนก็ดี องค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) ก็ดี เข้าไปสำรวจ พูดคุยและศึกษาปัญหาของคนเหล่านี้ พบว่าคนเร่ร่อนหลายคนพื้นเพไม่ใช่คนยากจน บางคนเคยมีหน้าที่การงานระดับชนชั้นกลางขึ้นไป หรือบางคนเป็นลูกหลานของเศรษฐีใหญ่ก็มี แต่ด้วยความรู้สึกที่ว่า “บ้านไม่ใช่สวรรค์ แต่มันเป็นนรก” จึงตัดสินใจหนีออกมาใช้ชีวิตข้างถนน ที่ถึงแม้จะอดมื้อกินมื้อ กินไม่ค่อยอิ่มนอนไม่ค่อยหลับ แต่ก็รู้สึกสบายใจมากกว่าที่จะอยู่อย่างสบายกาย แต่ไม่สบายใจที่บ้านเดิมของตน
แน่นอนว่าเรื่องแบบนี้คงไม่ได้มีเฉพาะประเทศไทยแน่ๆ ตรงกันข้ามในโลกตะวันตกน่าจะมีอะไรที่ซับซ้อนกว่า เพราะความหลากหลายของเชื้อชาติที่มากกว่า เนื่องจากอังกฤษเป็นประเทศโลกที่ 1 ที่ใครๆ ก็อยากไปอยู่ ( ไทยเรายังไงก็แค่โลกที่ 3 ) ในเรื่องเราจะเห็นการเล่นประเด็นผู้อพยพจากทั่วสารทิศเข้าไปแสวงหาโอกาสในเมืองใหญ่อย่างลอนดอน เช่นมีอย่างน้อย 2 ฉากที่กล้องจับภาพไปที่ร้านขายของร้านหนึ่ง ที่พนักงานหน้าร้านเป็นหญิงชาวมุสลิมมาจากตะวันออกกลางหรือไม่ก็ปากีสถาน ทั้ง 2 ฉากเป็นร้านเดียวกัน คนขายคนเดียวกัน ฉากนี้ไม่เกี่ยวอะไรกับเนื้อเรื่อง แต่เป็นการเล่าเรื่องผ่านภาพ แสดงให้เห็นความเป็นเมืองแห่งความหวังของลอนดอน ในสายตาคนจากชาติโลกที่ 3 ที่ต้องการเริ่มชีวิตใหม่ที่นี่
กลับมาที่อดีตทหารผ่านศึก ตัวเอกของเราที่ใช้ชื่อปลอมว่า Joey Jones เนื่องจากหลบหนีการดำเนินคดีของศาลทหาร ในข้อหาบางอย่างที่ทำไว้สมัยไปรบในอัฟกานิสถาน เขากลายเป็นคนเร่ร่อนและมีเพื่อนสนิทชื่อ Isabel หญิงสาวที่เป็นคนเร่ร่อนเช่นกัน ทั้ง 2 คนใช้ชีวิตข้างถนน นอนในลังกระดาษเก่าๆ เช่นคนเร่ร่อนทั่วไป จนวันหนึ่ง พวกเขาถูกอันธพาลเจ้าถิ่น ที่ชอบรีดไถเงินและยาจากคนข้างถนนเหล่านี้หาเรื่อง Joey สู้กับอันธพาลแล้วบอกให้ Isabel หนีไป ซึ่งจะด้วยบทหรืออะไรก็ช่าง ตัวเอกของเราในช่วงแรกๆ ไม่เหลือความเป็นทหารรบพิเศษแม้แต่น้อย เพราะถูกอัดจนสะบักสะบอมจากกุ๊ยปลายแถว แถมต้องหนีการตามล่าจนไปหลบในบ้านของผู้มีชื่อเสียงคนหนึ่ง ที่ช่วงนั้นไปทำธุระที่อื่นเป็นเวลาหลายเดือน ทำให้ Joey ใช้ที่นี่เป็นที่ฟื้นฟูร่างกายตัวเอง รวมทั้งหางานทำ
“อาชีพเก่าแก่ที่สุดของมนุษยชาติ คือนักฆ่ากับโสเภณี”
เช่นเดียวกัน ผู้เขียนก็ไม่รู้ว่าใครเป็นคนคิดประโยคนี้ขึ้น บางคนบอกว่าเป็น “โกวเล้ง” นักเขียนนิยายนามกระเดื่องชาวฮ่องกง ที่มีผลงานแนวกำลังภายในมากมาย แต่บางคนบอกว่าคำกล่าวนี้เก่าแก่กว่านั้น ซึ่งก็ว่ากันไป อย่างไรก็ตาม ความคลาสสิกของทั้ง 2 อาชีพอยู่ที่เมื่อเราถามคนเหล่านี้ว่า..เหตุใดจึงเลือกทำงานที่เพื่อนมนุษย์ด้วยกันบอกว่าเป็นอาชีพที่ “ชั่วร้าย” พวกเขามักจะตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า “เพราะความจน และไม่มีทางเลือก ไม่ทำก็อดตาย” ดังบทเพลงของศิลปินเพื่อชีวิตเขาว่าไว้
“ทอดถอนใจไม่คำนึง หวังวันหนึ่งให้ผ่านไป เพี่อพ่อแม่เป็นอยู่สบาย น้องหญิงชายได้เล่าเรียน” ( นางงามตู้กระจก – เทียรี่ เมฆวัฒนา )
“ข้ามความจนที่ฉันหนีหน้า ปากกัดตี-นถีบเรื่อยมา ตีรันฟันแทงแกร่งกล้า หนุ่มกระทง” ( มือปืน – พงษ์สิทธิ์ คำภีร์ )
( แน่นอนว่าก็มีทั้งจริงและเท็จ เพราะบางคนทำเพราะติดหนี้การพนัน บางคนทำเพราะติดยาเสพติด บางคนทำเพราะอยากได้เงินไปซื้อสินค้าฟุ่มเฟือย ก็มีให้เห็นตามข่าวเช่นกัน )
หนังพยายามเล่าเรื่องความรันทดของตัวละครทั้งสอง ขณะที่ Isabel ไปเป็นโสเภณี และส่งข้อความมาบอก Joey ว่าไม่ต้องเป็นห่วง ขอเก็บเงินสักพักแล้วจะกลับไปทางเหนือ ( แสดงว่า Isabel เป็นคนยากจนจากชนบท? ) Joey เริ่มงานใหม่เป็นพ่อครัวในร้านอาหารจีน แต่หลังจากที่ถูกเพื่อนร่วมงานในร้าน ขอให้ไปช่วยไล่ลูกค้าที่เมาแล้วกร่าง ( พี่โล้นของเราเริ่มกลับมาบู๊ได้แล้ว ) เขาได้ถูกชวนไปทำงานใหม่กับมาเฟียจีนที่คุมเขตดังกล่าว หลักๆ คือทวงหนี้ เก็บค่าคุ้มครอง และสู้กับแก๊งค์อื่นๆ ที่เข้ามาหากินล้ำถิ่น
แน่นอนว่า Joey ได้เงินส่วนแบ่งจากตรงนี้เป็นกอบเป็นกำ เขาได้เก็บเงินส่วนหนึ่งไว้ให้ภรรยาและลูก ( ที่ถูกเขาทอดทิ้งในช่วงหนีคดี และทางราชการยกเลิกการจ่ายสวัสดิการให้ ) กับอีกส่วนเอาไปซื้ออาหารและข้าวของที่จำเป็น สำหรับแจกจ่ายเพื่อนคนเร่ร่อน ผ่านทางแม่ชี Cristina ที่ทำงานด้านสังคมสงเคราะห์ผู้ยากไร้มาตลอด
Jason Statham อย่างที่ทราบกันดีว่าเราจะคุ้นเคยกับเขาในบทแอ็คชั่นมันส์ๆ ในหนังที่ถล่มกันแบบวินาศสันตะโร ไม่ว่าจะเป็น Transporter 1 – 3 , Crank 1 - 2 หรือ Death Race 1 แต่ใน Hummingbird เราจะเห็นพี่โล้นแกบู๊น้อยมาก ( มีแค่ตามที่ตัดมาโฆษณานั่นแหละครับ ) ตรงกันข้ามสิ่งที่จะเห็นตลอดเรื่อง คือการแสดงสีหน้าท่าทาง ในการรับบท Joey Jones อดีตทหารที่กลายมาเป็นคนเร่ร่อน เพราะอดีตที่เจ็บปวดบางอย่าง ซึ่งผู้เขียนถือว่าทำได้ดีทีเดียว ( คล้ายกับ Jackie Chan ใน Shinjuku Incident ที่แสดงเป็นชาวจีนยากจน ที่อพยพไปทำงานในญี่ปุ่น และถูกชวนไปทำงานในแก๊งค์ยากุซ่า ซึ่งในเรื่องดังกล่าวเฉินหลงก็ไม่มีคิวบู๊เท่ๆ เหมือนกัน ตรงกันข้ามมีแต่ฉากที่แสดงถึงความรันทดของตัวเอกและเพื่อนผู้อพยพแทบทั้งเรื่อง ) เรียกว่าน่าจะลบคำสบประมาทผู้ชมหลายคน ที่มองว่าพี่โล้นของเราได้แต่พะบู๊ไปวันๆ เท่านั้น
Agata Buzek นักแสดงที่ชื่อไม่คุ้นหูคนทั่วไปมากนัก ( ผู้เขียนสารภาพด้วยอีกคนว่าไม่รู้จักเหมือนกัน ) ในบทแม่ชี Cristina ด้านหนึ่งเธอเป็นเหมือนแม่พระที่ช่วยเหลือคนเร่ร่อนผู้ตกทุกข์ได้ยาก และดูเหมือนจะเคร่งครัดในวินัยของเพศสมณะ แต่อีกด้านหนึ่ง เธอก็ยังมีความเป็นมนุษย์..มนุษย์ปุถุชนคนธรรมดาที่มีสิ่งที่อยากทำ เช่นการไปดูบัลเล่ย์ของคณะที่โด่งดังที่สุด ที่เธอใฝ่ฝันอยากจะไปชมมาตั้งแต่เมื่อครั้งยังเป็นเด็ก ซึ่งเธอก็ทำได้ดีกับบทที่ทั้งเรื่องจะแสดงให้เห็นถึง “บทบาทที่ขัดแย้งกัน” ของตัวละครนี้
กล่าวโดยสรุป ถ้าใครคิดว่า Hummingbird เป็นภาพยนตร์แอ็คชั่น อัดกันหนักๆ บู๊กันวินาศสันตะโรไม่ต้องคิดมาก อันเป็นยี่ห้อ Jason Statham แล้วละก็ ขอบอกว่าคิดผิดอย่างแรง และไม่แนะนำให้ไปชม เพราะท่านอาจจะรู้สึกหงุดหงิดจนบ่นว่าเสียเงินไม่คุ้มค่า เพราะทั้งเรื่องมีฉากบู๊แค่ตามที่ตัดมาโฆษณาเท่านั้น ที่เหลือจะเป็นหนังชีวิต และการเล่าถึงความเป็นไปของสังคมคนเร่ร่อนในการเอาชีวิตรอด และการลงลึกไปถึงปมในใจของตัวเอกทั้ง 2 เท่านั้น
แต่ถ้าใครชอบหนังที่เนื้อหาหนักๆ ที่ว่าด้วยความรันทดของคน ทั้งจากปัญหาภายนอกคือความยากจน ความเหลื่อมล้ำในสังคม หรือปัญหาภายใน คือปมในใจของตัวละครเอง รวมถึงอยากพิสูจน์การโปรโมทหนังที่ว่าพี่โล้นของเรามีพัฒนาการทางการแสดงมากขึ้น ( และเรื่องนี้เป็นเรื่องแรก ที่ผู้เขียนคิดว่ามีฉากพี่โล้นแกยิ้ม และหัวเราะอย่างสบายใจเหมือนคนทั่วๆ ไป ) ผู้เขียนว่า OK ครับ ไปชมกันได้
แล้วพบกันใหม่ครับ
………………….
ปล.ฝากเพลงประกอบหนังเรื่องนี้นะครับ
Malka Moma ( เพลงพื้นบ้านของชาวบัลแกเรีย ว่าด้วยการขอพรของหญิงสาว )