ตั้งแต่ทีแรก ผมก็เชื่อของผมอย่างนั้นมาตั้งแต่เฟอร์กี้ประกาศ retire ว่าจะต้องมีผลกระทบต่อความเป็นแฟนผีของแฟนบอลหลายต่อหลายคน
ส่วนหนึ่ง อาจจะเพราะผมเคยเห็นคนที่เชียร์ลิเวอร์พูลแล้วเปลี่ยนใจ หรือลดใจลง เพราะผลงานตกต่ำ (กว่าที่เคยเป็น) ลงมารวมถึงการที่โค้ชเปลี่ยนเป็นคนที่ผลงานยังไม่การันตีความสำเร็จ อย่างเช่น ร๊อดเจอร์ด้วย (ของปีศาจแดง ก็คือ มอยส์)
ตอนนั้น ผมก็คิดไว้ว่า นอกจากแฟนบอลปีศาจแดงจะลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ จนกว่าจะเชื่อมั่นในผลงานของมอยส์จึงอาจจะหันกลับมาเชียร์เหมือนเก่า
เช่นเดียวกับการซื้อตัว big name ที่แน่นอนว่า ความดึงดูดใจย่อมลดลง เห็นได้ชัดจากซีซั่นก่อนที่ RVP ตัดสินใจเลือกแมนฯยู แทนที่จะไปแมนฯซิตี้ ที่ดูเหมือนจะได้รายได้มากกว่า (แต่จ่ายเงินให้อาเซน่อลเท่ากัน) เป็นเพราะเขาเชื่อว่า เฟอร์กี้พาทีมและเขาประสบความสำเร็จในระยะยาวได้มากกว่า มันชินี่และแมนฯซิตี้
ซึ่งอาจเป็นปัญหานึงที่ทำไมบาซ่าปีก่อนถึงซื้อบิ๊กเนมไม่ได้เลย เพราะเปลี่ยนตัวโค้ชเป็นลูกน้องของเป๊ปซึ่งยังไม่เคยพิสูจน์ฝีมือมาก่อน
และปลายซีซั่นนี้ ก็ไม่แน่ว่าจะซื้อเนย์มาร์ได้ ถ้าไม่ใช่เพราะติโต้ทำผลงานในลีกได้ดีเหนือกว่าที่หลายๆ คนคิดว่าเขาเป็นเพียงผู้ช่วยเป๊ปเท่านั้น โดยนำห่างรีล มาดริคแต่ต้นซีซั่น และใน UCL ก็เข้าถึงรอบ 4 ทีทมนุดท้าย นอกจากความชอบโดยส่วนตัวของเนย์มาร์ต่อบาซ่าแล้ว
และจะต้องเป็นปัญหาให้มอยส์ปวดหัวในช่วงนี้จนกระทั่งปิดตลาดฯ การซื้อขายในช่วงแรกแน่ๆ
ผมยังคิดไปอีกว่าการที่ EPL ถูกประมูลแพงอย่างเป็นประวัติศาสตร์นั้น ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะเฟอร์กี้ด้วย (ไม่ว่าจะประมูลโดยอังกฤษ หรือ ยุโรป, อเมริกา, จีน, เกาหลีใต้, ญี่ปุ่น หรือไทยก็ตาม - เพราะความเป็นจริง พรีเมียร์ลีกเองก็เติบโตพร้อมกับเฟอร์กี้และแมนฯยู จนแยกได้ยากว่า เพราะพรีเมียร์ แมนฯยูจึงประสบความสำเร็จทางการเงินอย่างสูง หรือว่าตรงข้าม)
ดังนั้น เมื่อเฟอร์กี้ประกาศ retire ก็มีผลทำให้ราคาหุ้นใน NYSE (ตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ค) ลดลงทันที แต่ที่ยังคง stable ไม่ตกต่ำต่อนั้นเป็นเพราะการขายโฆษณาได้ราคาสูงซึ่งจะมีผลจากซีซั่นหน้าไปจนถึง 3-5 ปี (แล้วแต่สัญญากับแต่ละสปอนเซอร์) จากผลงานของเดวิด กิลล์ CEO และความกว้างขวางในตลาดอเมริกาของตระกูลเกลเซอร์ที่เป็นเจ้าของทีมอเมริกันฟุตบอลเท็มบาเบย์ บัคคาเนียด้วย และความสำเร็จของสโมสรอันเนื่องจากการคุมทีมของเฟอร์กี้
แต่แน่นอนว่า ถ้าผลงานของสโมสรตกต่ำลงบ้าง รายได้ก็จะลดลงจากค่าจำหน่ายตั๋วเข้าชม ค่าสูจิบัตร และค่าแบ่งลิขสิทธ์ของการถ่ายทอดสด ซึ่งผมเชื่อว่าตอนนี้มีหลายคนที่ถือหุ้นแมนฯยูจำนวนมาก (เช่น จอร์จ โซรอส) ได้เริ่มขายหุ้นของแมนฯยูออก เพื่อลดความเสี่ยงลงบ้างแล้ว
รวมถึงยอดขายของสื่อต่างๆ ในไทย เช่น นสพ.สตาร์ซอคเกอร์,นสพ.สตาร์ซอคเกอร์รายสัปดาห์, แฟนผี project ฯลฯ และจำนวนคนเสพข่าวสาร online เช่น soccersuck, goal.com/th, siamsport รวมถึง pantip - ห้องศุภฯ ด้วย
ในต่างประเทศ โดยเฉพาะอเมริกา, จีน, ญี่ปุ้น, เกาหลีใต้ และ อินเดีย ผลกระทบที่มีต่อสื่อยิ่งมีมากขึ้นตามจำนวนประชากรของกลุ่มแฟนบอลที่ไม่ได้ยึดมั่นกับทีมใดทีมหนึ่งด้วยความเป็นสถาบัน แต่เชียร์เนื่องมาจากความสำเร็จ
ต่อให้มอยส์เข้ามาสามารถสร้างสรรค์ประสบความสำเร็จโดยเร็ว แต่มอยส์ก็ไม่ใช่คนที่ดึงดูดใจแฟนบอลเหมือนเฟอร์กี้ ป๋าของพวกเราเป็นคนที่มีทั้งพระเดช พระคุณ, การอาละวาดต่อสื่อ (มอยส์มีแต่อาละวาดต่อลูกทีม) ต่อกรรมการ, ความมีอารมณ์ขัน และอีกหลายๆ อย่างที่ดึงดูดใจแฟนบอลได้เป็นอย่างดี (ถ้าเป็นผู้หญิงก็ต้องเรียกว่า sex appeal แต่ผู้ชายคงเรียกว่า ‘ภาพลักษณ์’ กระมัง ?)
เรื่องนี้แหล่ะ ที่มอยส์ยังมีไม่ได้ครึ่งของเฟอร์กี้ (และคงเป็นเช่นนี้ยากที่จะทำได้แม้แต่ใกล้เคียง) … ส่วนฝีมือการคุมทีม ต้องมาวัดกันระยะยาวพอควร (3-5 ปี)
จนกระทั่งผมมาแน่ใจจากที่คุณช่อคูณอธิบายถึงธุรกิจของสโมสรฟุตบอลอย่างบาเยิร์นและดอร์ทมุนด์ในกระทู้ :
[กระทู้สโมสรเยอรมัน 2013-05-25] บาเยิร์น ดอร์ทมุนด์ – คู่แข่งผลประโยชน์ทางธุรกิจ (ข้อเขียนของคุณช่อคูณ พลอากาศเอกเจษฐา วิจารณ์ (ประธานที่ปรึกษาสโมสรแอร์ฟอร์ซ ยูไนเต้ด) กูรูฟุตบอลเยอรมันเมืองไทย คู่กับคุณ ก.ป้อหล่วน)
http://ppantip.com/topic/30526937
การศึกษาของมหาวิยาลัย EBS แฟนบอล 1 ใน 4 ของยุโรปนอกจากชอบสโมสรในประเทศตัวเองแล้ว ยังมีชอบสโมสรโปรดในต่างแดนด้วย ที่เยอะเป็นพิเศษคือ แฟนบอลในเอเชียและอเมริกาเหนือ แฟนกลุ่มนี้ มีรักหนสองได้ ไม่ได้ผูกมัดแบบซื่อสัตย์ แต่เฝ้าติดตามความสำเร็จ, สตาร์ และความหวือหวา
ซึ่งเป็นอุปนิสัยของคนทั่วโลก พลพรรคปีศาจแดง โดยเฉพาะยิ่ง ผู้มีอายุเยาว์ที่เติบโตมาพร้อมกับความสำเร็จที่เฟอร์กี้นำมามอมให้โดยตลอด
เมื่อเฟอร์กี้ retire ก็เป็นเรื่องธรรมดาที่จะเริ่มด้วยจำนวนหนึ่งรอดูฝีมือขงเดวิด มอยส์ก่อน
ถ้าเล่นได้ดีแต่ช่วงแรกๆ ก็พร้อมจะกระโดดเข้าเชียร์
แต่ถ้าผ่านไปสัก 2-3 เดือนแล้ว สถานการณ์เริ่มไม่ค่อยดีอย่างต่อเนื่อง การสูญเสียแฟนบอลจำนวนมากจากทั่วโลก เป็นเรื่องที่สามารถคาดเดาได้ล่วงหน้าได้ (เพราะมอยส์ไม่ใช่เฟอร์กี้ ที่หลังจากที่สโมสรมีคะแนนตามหลัง แต่พอกลางฤดูกาล ป๋าก็มักจะสามารถทำคะแนนตีตื้นกลับขึ้นมาเป็นจ่าฝูงและเป็นแชมป์ได้ในที่สุดอยู่บ่อยๆ)
และเมื่อ CTH มาลดค่า package ดู EPL จากเดิมประกาศว่า เดือนนึงไม่เกิน 1,000 บาท โดยลดลง 100 บาทเป็น 899 บาทต่อเดือน (ยังไม่นับการลดราคาอีกถ้าจ่าย 10 เดือน, 18 เดือน, 24 เดือน (True ก็ทำมานานแล้วกับ Gold Package ขึ้นไป ที่จ่าย 12 เดือนได้ดูฟรี 1 เดือน)
การลดลงรายได้ราว 100 บาทต่อเดือน ถ้านับกับจำนวน 10 ล้านครัวเรือนที่ CTH ทำ projection ก็นับเป็นจำนวนมหาศาล
แต่ผู้บริหารและผู้ถือหุ้น CTH ที่บางท่านเป็นผู้บริหารสื่อด้วย (ไทยรัฐ) เขารู้ดีว่าการขายของนั้น ถ้าขาด 'จุดขาย - ในที่นี้คือภาพลักษณ์ของป๋า' ก็ต้อง ‘ลดราคา’ สถานณ์เดียว
แต่ถึงแม้ทาง CTH จะคิดไวทำไว แก้เกมที่ว่าการขาด ‘ภาพลักษณ์’ ที่เฟอร์กี้มีผลต่อความนิยมในการดูพรีเมียร์ลีก แต่ผลก็อาจไม่เป็นอย่างที่คาด เพราะคงมีแฟนผีหลายคนที่ขอดูผลงานของมอยส์ก่อน ค่อยตัดสินใจซื้อ package หรือซื้อ package ระยะสั้น (ถึงจะได้การลดราคาน้อยก็ตาม เพราะสำหรับพวกเขาและครอบครัวอาจจะไม่คุ้มก็ได้ รวมถึงค่าสูญเสียโอกาสจากการลงทุนของเงินที่จ่ายไปก่อน)
นอกจากนั้น ผมยังสงสัยอีกด้วยว่า ถ้าข่าวเฟอร์กี้ retire ออกมาก่อนตอนซื้อบัตร การขายบัตรดูแมนฯยูคงจะไม่สามารถขายได้ถล่มทลายถึงขนาดนี้ ที่เพียงครึ่งวันแรกก็เต็มแล้ว (ที่เหลือที่โผล่มาเป็นระยะ คาดว่าเป็นการปล่อยให้บัตรเครดิตเด้ง ของบรรดานักเก็งกำไรเป็นส่วนใหญ่)
แน่นอนว่า ผมไม่ใช่ผู้ทำงาน หรือ เรียนด้านเศรษฐศาสตร์มาโดยตรง … แต่ผมเชื่อว่า ผมคิดไม่ผิดหรอกครับ … ช่วงต้นซีซั่นนี้ ก็พอจะดูได้ว่าจำนวนแฟนแมนฯยูจะยังคงเยอะเท่าเดิมหรือไม่
หมายเหตุ : สำหรับผมแล้ว ผมเชียร์แมนฯยูตั้งแต่ปี 1985 ก่อนเฟอร์กี้คุมทีม รวมกับเวลาที่กว่าเฟอร์กี้จะเริ่มประสบความสำเร็จก็กว่า 5 ปี ดังนั้น สำหรับผม เรื่องการซื้อ package ระยะยาวของ CTH เป็นเรื่องที่ ‘ต้อง’ ทำอยู่แล้ว และผมจะเริ่มติดต่อ CTH ภายใน 1-2 วันนี่แหล่ะครับ
ในราคาที่คุ้มที่สุด (ซื้อระยะยาว ราคาถูก อาจไม่จำเป็นว่าคุ้มที่สุดเสมอไป)
และผมก็ไม่คิดว่าเป็นความผิดของผู้ที่เลิกเชียร์ปีศาจแดงด้วย เพราะรสนิยมของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ปัจจัยที่ทำให้เกิดรสนิยมก็ไม่เหมือนกัน การยึดมั่นการเชียร์สโมสรจนเป็นสถาบัน อาจฟังดูดี แต่สำหรับคนสมัยใหม่ ที่นิยม 'อาหารจานด่วน' การที่ผูกพันมากเกินไปกับสโมสรใดสโมสรหนึ่ง มันไม่ใช่ 'นิสัย' ของคนรุ่นใหม่ในสมัยนี้เช่นกัน
สำหรับบางท่านที่คิดเห็นไม่ตรงกับผมว่า มูลค่าที่ประมูลลิขสิทธิ์พรีเมียร์ลีกได้ส่วนหนึ่ง (และใหญ่ๆ ด้วย) เพราะเฟอร์กี้นั้น ขอยกตัวอย่างที่บอกไว้แล้ว คือ นักเตะที่เลือกแมนฯยู เพราะมีเฟอร์กี้นั้น มีอยู่เป็นจำนวนมาก เช่นเดียวกับที่สื่อที่ซื้อลิขสิทธิ์ EPL ก็เพราะมีคนที่ดึงดูดใจคือเฟอร์กี้นั่นเอง
หลายคนอาจบอกว่าผมจับแพะชนแกะเรื่องความสำคัญของเฟอร์กี้กับ EPL จะบอกว่า ถ้าคุณศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง brand, รายได้, กำไรของสโมสรปีศาจแดงในยุคของ กับ brand และรายได้ค่าลิขสิทธิ์ของ EPL จะพบว่า มันสอดคล้องกันจนน่าประหลาดใจเลยทีเดียว ... แต่แน่หล่ะ เฟอร์กี้ไม่ได้มีอิทธิพลต่อ EPL 100% แต่ก็มีอิทธิพลไม่น้อยเลยหล่ะ
[’ค่าภาพลักษณ์ป๋า’] เฟอร์กี้ retire ทำให้มีแฟนผีจำนวนหนึ่งรอดูผลงานของมอยส์ & รายได้ของสโมสรและสื่อลดลง & CTH ลด
ส่วนหนึ่ง อาจจะเพราะผมเคยเห็นคนที่เชียร์ลิเวอร์พูลแล้วเปลี่ยนใจ หรือลดใจลง เพราะผลงานตกต่ำ (กว่าที่เคยเป็น) ลงมารวมถึงการที่โค้ชเปลี่ยนเป็นคนที่ผลงานยังไม่การันตีความสำเร็จ อย่างเช่น ร๊อดเจอร์ด้วย (ของปีศาจแดง ก็คือ มอยส์)
ตอนนั้น ผมก็คิดไว้ว่า นอกจากแฟนบอลปีศาจแดงจะลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ จนกว่าจะเชื่อมั่นในผลงานของมอยส์จึงอาจจะหันกลับมาเชียร์เหมือนเก่า
เช่นเดียวกับการซื้อตัว big name ที่แน่นอนว่า ความดึงดูดใจย่อมลดลง เห็นได้ชัดจากซีซั่นก่อนที่ RVP ตัดสินใจเลือกแมนฯยู แทนที่จะไปแมนฯซิตี้ ที่ดูเหมือนจะได้รายได้มากกว่า (แต่จ่ายเงินให้อาเซน่อลเท่ากัน) เป็นเพราะเขาเชื่อว่า เฟอร์กี้พาทีมและเขาประสบความสำเร็จในระยะยาวได้มากกว่า มันชินี่และแมนฯซิตี้
ซึ่งอาจเป็นปัญหานึงที่ทำไมบาซ่าปีก่อนถึงซื้อบิ๊กเนมไม่ได้เลย เพราะเปลี่ยนตัวโค้ชเป็นลูกน้องของเป๊ปซึ่งยังไม่เคยพิสูจน์ฝีมือมาก่อน
และปลายซีซั่นนี้ ก็ไม่แน่ว่าจะซื้อเนย์มาร์ได้ ถ้าไม่ใช่เพราะติโต้ทำผลงานในลีกได้ดีเหนือกว่าที่หลายๆ คนคิดว่าเขาเป็นเพียงผู้ช่วยเป๊ปเท่านั้น โดยนำห่างรีล มาดริคแต่ต้นซีซั่น และใน UCL ก็เข้าถึงรอบ 4 ทีทมนุดท้าย นอกจากความชอบโดยส่วนตัวของเนย์มาร์ต่อบาซ่าแล้ว
และจะต้องเป็นปัญหาให้มอยส์ปวดหัวในช่วงนี้จนกระทั่งปิดตลาดฯ การซื้อขายในช่วงแรกแน่ๆ
ผมยังคิดไปอีกว่าการที่ EPL ถูกประมูลแพงอย่างเป็นประวัติศาสตร์นั้น ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะเฟอร์กี้ด้วย (ไม่ว่าจะประมูลโดยอังกฤษ หรือ ยุโรป, อเมริกา, จีน, เกาหลีใต้, ญี่ปุ่น หรือไทยก็ตาม - เพราะความเป็นจริง พรีเมียร์ลีกเองก็เติบโตพร้อมกับเฟอร์กี้และแมนฯยู จนแยกได้ยากว่า เพราะพรีเมียร์ แมนฯยูจึงประสบความสำเร็จทางการเงินอย่างสูง หรือว่าตรงข้าม)
ดังนั้น เมื่อเฟอร์กี้ประกาศ retire ก็มีผลทำให้ราคาหุ้นใน NYSE (ตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ค) ลดลงทันที แต่ที่ยังคง stable ไม่ตกต่ำต่อนั้นเป็นเพราะการขายโฆษณาได้ราคาสูงซึ่งจะมีผลจากซีซั่นหน้าไปจนถึง 3-5 ปี (แล้วแต่สัญญากับแต่ละสปอนเซอร์) จากผลงานของเดวิด กิลล์ CEO และความกว้างขวางในตลาดอเมริกาของตระกูลเกลเซอร์ที่เป็นเจ้าของทีมอเมริกันฟุตบอลเท็มบาเบย์ บัคคาเนียด้วย และความสำเร็จของสโมสรอันเนื่องจากการคุมทีมของเฟอร์กี้
แต่แน่นอนว่า ถ้าผลงานของสโมสรตกต่ำลงบ้าง รายได้ก็จะลดลงจากค่าจำหน่ายตั๋วเข้าชม ค่าสูจิบัตร และค่าแบ่งลิขสิทธ์ของการถ่ายทอดสด ซึ่งผมเชื่อว่าตอนนี้มีหลายคนที่ถือหุ้นแมนฯยูจำนวนมาก (เช่น จอร์จ โซรอส) ได้เริ่มขายหุ้นของแมนฯยูออก เพื่อลดความเสี่ยงลงบ้างแล้ว
รวมถึงยอดขายของสื่อต่างๆ ในไทย เช่น นสพ.สตาร์ซอคเกอร์,นสพ.สตาร์ซอคเกอร์รายสัปดาห์, แฟนผี project ฯลฯ และจำนวนคนเสพข่าวสาร online เช่น soccersuck, goal.com/th, siamsport รวมถึง pantip - ห้องศุภฯ ด้วย
ในต่างประเทศ โดยเฉพาะอเมริกา, จีน, ญี่ปุ้น, เกาหลีใต้ และ อินเดีย ผลกระทบที่มีต่อสื่อยิ่งมีมากขึ้นตามจำนวนประชากรของกลุ่มแฟนบอลที่ไม่ได้ยึดมั่นกับทีมใดทีมหนึ่งด้วยความเป็นสถาบัน แต่เชียร์เนื่องมาจากความสำเร็จ
ต่อให้มอยส์เข้ามาสามารถสร้างสรรค์ประสบความสำเร็จโดยเร็ว แต่มอยส์ก็ไม่ใช่คนที่ดึงดูดใจแฟนบอลเหมือนเฟอร์กี้ ป๋าของพวกเราเป็นคนที่มีทั้งพระเดช พระคุณ, การอาละวาดต่อสื่อ (มอยส์มีแต่อาละวาดต่อลูกทีม) ต่อกรรมการ, ความมีอารมณ์ขัน และอีกหลายๆ อย่างที่ดึงดูดใจแฟนบอลได้เป็นอย่างดี (ถ้าเป็นผู้หญิงก็ต้องเรียกว่า sex appeal แต่ผู้ชายคงเรียกว่า ‘ภาพลักษณ์’ กระมัง ?)
เรื่องนี้แหล่ะ ที่มอยส์ยังมีไม่ได้ครึ่งของเฟอร์กี้ (และคงเป็นเช่นนี้ยากที่จะทำได้แม้แต่ใกล้เคียง) … ส่วนฝีมือการคุมทีม ต้องมาวัดกันระยะยาวพอควร (3-5 ปี)
จนกระทั่งผมมาแน่ใจจากที่คุณช่อคูณอธิบายถึงธุรกิจของสโมสรฟุตบอลอย่างบาเยิร์นและดอร์ทมุนด์ในกระทู้ :
[กระทู้สโมสรเยอรมัน 2013-05-25] บาเยิร์น ดอร์ทมุนด์ – คู่แข่งผลประโยชน์ทางธุรกิจ (ข้อเขียนของคุณช่อคูณ พลอากาศเอกเจษฐา วิจารณ์ (ประธานที่ปรึกษาสโมสรแอร์ฟอร์ซ ยูไนเต้ด) กูรูฟุตบอลเยอรมันเมืองไทย คู่กับคุณ ก.ป้อหล่วน)
http://ppantip.com/topic/30526937
การศึกษาของมหาวิยาลัย EBS แฟนบอล 1 ใน 4 ของยุโรปนอกจากชอบสโมสรในประเทศตัวเองแล้ว ยังมีชอบสโมสรโปรดในต่างแดนด้วย ที่เยอะเป็นพิเศษคือ แฟนบอลในเอเชียและอเมริกาเหนือ แฟนกลุ่มนี้ มีรักหนสองได้ ไม่ได้ผูกมัดแบบซื่อสัตย์ แต่เฝ้าติดตามความสำเร็จ, สตาร์ และความหวือหวา
ซึ่งเป็นอุปนิสัยของคนทั่วโลก พลพรรคปีศาจแดง โดยเฉพาะยิ่ง ผู้มีอายุเยาว์ที่เติบโตมาพร้อมกับความสำเร็จที่เฟอร์กี้นำมามอมให้โดยตลอด
เมื่อเฟอร์กี้ retire ก็เป็นเรื่องธรรมดาที่จะเริ่มด้วยจำนวนหนึ่งรอดูฝีมือขงเดวิด มอยส์ก่อน
ถ้าเล่นได้ดีแต่ช่วงแรกๆ ก็พร้อมจะกระโดดเข้าเชียร์
แต่ถ้าผ่านไปสัก 2-3 เดือนแล้ว สถานการณ์เริ่มไม่ค่อยดีอย่างต่อเนื่อง การสูญเสียแฟนบอลจำนวนมากจากทั่วโลก เป็นเรื่องที่สามารถคาดเดาได้ล่วงหน้าได้ (เพราะมอยส์ไม่ใช่เฟอร์กี้ ที่หลังจากที่สโมสรมีคะแนนตามหลัง แต่พอกลางฤดูกาล ป๋าก็มักจะสามารถทำคะแนนตีตื้นกลับขึ้นมาเป็นจ่าฝูงและเป็นแชมป์ได้ในที่สุดอยู่บ่อยๆ)
และเมื่อ CTH มาลดค่า package ดู EPL จากเดิมประกาศว่า เดือนนึงไม่เกิน 1,000 บาท โดยลดลง 100 บาทเป็น 899 บาทต่อเดือน (ยังไม่นับการลดราคาอีกถ้าจ่าย 10 เดือน, 18 เดือน, 24 เดือน (True ก็ทำมานานแล้วกับ Gold Package ขึ้นไป ที่จ่าย 12 เดือนได้ดูฟรี 1 เดือน)
การลดลงรายได้ราว 100 บาทต่อเดือน ถ้านับกับจำนวน 10 ล้านครัวเรือนที่ CTH ทำ projection ก็นับเป็นจำนวนมหาศาล
แต่ผู้บริหารและผู้ถือหุ้น CTH ที่บางท่านเป็นผู้บริหารสื่อด้วย (ไทยรัฐ) เขารู้ดีว่าการขายของนั้น ถ้าขาด 'จุดขาย - ในที่นี้คือภาพลักษณ์ของป๋า' ก็ต้อง ‘ลดราคา’ สถานณ์เดียว
แต่ถึงแม้ทาง CTH จะคิดไวทำไว แก้เกมที่ว่าการขาด ‘ภาพลักษณ์’ ที่เฟอร์กี้มีผลต่อความนิยมในการดูพรีเมียร์ลีก แต่ผลก็อาจไม่เป็นอย่างที่คาด เพราะคงมีแฟนผีหลายคนที่ขอดูผลงานของมอยส์ก่อน ค่อยตัดสินใจซื้อ package หรือซื้อ package ระยะสั้น (ถึงจะได้การลดราคาน้อยก็ตาม เพราะสำหรับพวกเขาและครอบครัวอาจจะไม่คุ้มก็ได้ รวมถึงค่าสูญเสียโอกาสจากการลงทุนของเงินที่จ่ายไปก่อน)
นอกจากนั้น ผมยังสงสัยอีกด้วยว่า ถ้าข่าวเฟอร์กี้ retire ออกมาก่อนตอนซื้อบัตร การขายบัตรดูแมนฯยูคงจะไม่สามารถขายได้ถล่มทลายถึงขนาดนี้ ที่เพียงครึ่งวันแรกก็เต็มแล้ว (ที่เหลือที่โผล่มาเป็นระยะ คาดว่าเป็นการปล่อยให้บัตรเครดิตเด้ง ของบรรดานักเก็งกำไรเป็นส่วนใหญ่)
แน่นอนว่า ผมไม่ใช่ผู้ทำงาน หรือ เรียนด้านเศรษฐศาสตร์มาโดยตรง … แต่ผมเชื่อว่า ผมคิดไม่ผิดหรอกครับ … ช่วงต้นซีซั่นนี้ ก็พอจะดูได้ว่าจำนวนแฟนแมนฯยูจะยังคงเยอะเท่าเดิมหรือไม่
หมายเหตุ : สำหรับผมแล้ว ผมเชียร์แมนฯยูตั้งแต่ปี 1985 ก่อนเฟอร์กี้คุมทีม รวมกับเวลาที่กว่าเฟอร์กี้จะเริ่มประสบความสำเร็จก็กว่า 5 ปี ดังนั้น สำหรับผม เรื่องการซื้อ package ระยะยาวของ CTH เป็นเรื่องที่ ‘ต้อง’ ทำอยู่แล้ว และผมจะเริ่มติดต่อ CTH ภายใน 1-2 วันนี่แหล่ะครับ
ในราคาที่คุ้มที่สุด (ซื้อระยะยาว ราคาถูก อาจไม่จำเป็นว่าคุ้มที่สุดเสมอไป)
และผมก็ไม่คิดว่าเป็นความผิดของผู้ที่เลิกเชียร์ปีศาจแดงด้วย เพราะรสนิยมของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ปัจจัยที่ทำให้เกิดรสนิยมก็ไม่เหมือนกัน การยึดมั่นการเชียร์สโมสรจนเป็นสถาบัน อาจฟังดูดี แต่สำหรับคนสมัยใหม่ ที่นิยม 'อาหารจานด่วน' การที่ผูกพันมากเกินไปกับสโมสรใดสโมสรหนึ่ง มันไม่ใช่ 'นิสัย' ของคนรุ่นใหม่ในสมัยนี้เช่นกัน
สำหรับบางท่านที่คิดเห็นไม่ตรงกับผมว่า มูลค่าที่ประมูลลิขสิทธิ์พรีเมียร์ลีกได้ส่วนหนึ่ง (และใหญ่ๆ ด้วย) เพราะเฟอร์กี้นั้น ขอยกตัวอย่างที่บอกไว้แล้ว คือ นักเตะที่เลือกแมนฯยู เพราะมีเฟอร์กี้นั้น มีอยู่เป็นจำนวนมาก เช่นเดียวกับที่สื่อที่ซื้อลิขสิทธิ์ EPL ก็เพราะมีคนที่ดึงดูดใจคือเฟอร์กี้นั่นเอง
หลายคนอาจบอกว่าผมจับแพะชนแกะเรื่องความสำคัญของเฟอร์กี้กับ EPL จะบอกว่า ถ้าคุณศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง brand, รายได้, กำไรของสโมสรปีศาจแดงในยุคของ กับ brand และรายได้ค่าลิขสิทธิ์ของ EPL จะพบว่า มันสอดคล้องกันจนน่าประหลาดใจเลยทีเดียว ... แต่แน่หล่ะ เฟอร์กี้ไม่ได้มีอิทธิพลต่อ EPL 100% แต่ก็มีอิทธิพลไม่น้อยเลยหล่ะ