จากคนชอบงานศิลปะ แต่วาดรูปไม่เป็น
อยากเปิดอู่ซ่อมรถ แต่อายุ 46 ก็ยังขับรถไม่ได้
สิ่งเดียวที่ ปิ๊ก-ฌาณฉลาด ทวีทรัพย์ ได้ทำจาก "ความอยาก" คือการเป็นอาร์ตติสต์ แมนเนจ
"ตั้งแต่เด็ก เวลาอ่านหนังสือพิมพ์ปุ๊บจะรู้เลยว่า เขาพยายามบอกอะไรกับเรา"
เริ่มจากหน้าบันเทิงที่บัณฑิตคณะรัฐศาสตร์ ม.รามคำแหง คนนี้สนใจเมื่อราว 10 ปีก่อน
จากนั้นก็เข้าไปในส่วนหนึ่งของ "การบอก" เหล่านั้น ด้วยการเป็นผู้จัดการให้ จ๊อบ-นิธิ สมุทรโคจร, วิกกี้-สุนิสา เจทท์, วุ้นเส้น-วิริฒิพา ภักดีประสงค์, ขวัญ-อุษามณี ไวทยานนท์ และอีกหลายคน
ก่อนจะไปสนใจเรื่องกีฬา และพาตัวไปทำงานกับปิยะพงษ์ ผิวอ่อน เรื่องการศึกษากับจุฬาวิชาการ, เรื่องสิ่งแวดล้อม นำเครื่องบินไปทิ้งทะเลเพื่อเป็นปะการังเทียม กระทั่งไปสู่เรื่องการเมือง โดยเป็น 1 ทีมเชื่อมั่นประเทศไทย สมัยนายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
จากนั้นชีวิตกลับสู่วงการบันเทิงอีกครั้ง โดยเปิด บริษัทมีตา ทาเลนต์ แมเนจเมนต์ เฟ้นหาคนมาเป็นนักร้อง นักแสดง เมื่อต้นปี 2555 แล้วก็นำพาเจมส์-จิรายุ ตั้งศรีสุข นักแสดงคนแรกในสังกัดเข้ามาอยู่ในหัวใจผู้คน
"ถ้าถามว่าผมมีวิธีการยังไง ผมตอบไม่ได้" ยังไม่ทันถาม ฌาณฉลาดซึ่งดูดีและมีมาดเท่ก็ชิงออกตัว
ก่อนเสริม "เพราะผมทำทุกอย่างตามสัญชาตญาณ"
เล่าด้วยว่า ก่อนหน้านี้เขากับทีมอีก 3-4 คน ออกตระเวนคัดคนจากทุกภาคของประเทศ ยกเว้นภาคใต้ ซึ่ง "ถูกจำกัดด้วยสำเนียง" โดยจากรูปถ่ายนับพันใบ เขาคัดไว้ 330 คนที่ดูโดดเด่น จากนั้นก็บุกไปหา จนสุดท้ายก็เลือกไว้ 24 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนต่างจังหวัด
"ดูเทรนด์เลย ยุคสมัยนี้คนซึ่งจะเป็นที่ชื่นชอบมักมาจากต่างจังหวัด เพราะเป็นสังคมที่เขาต้องการฮีโร่ที่อยู่ข้างๆ อาจจะเป็นคนที่นั่งอยู่ข้างๆ เขา เข้าถึงได้ ไม่ใช่ลูกคนรวย"
โดยนอกจากเจมส์แล้ว ผู้ชาย 11 คนกับผู้หญิงอีก 12 คนที่เหลือ ก็มีอาทิ นักมวยที่แววด้านการแสดงฉายแสง, สาวลูกครึ่งไทย-เวียดนามที่หุ่นดี และร้องเพลงเพราะเหลือใจ รวมถึงผู้ชายอีกคนที่รับประกันได้ว่าหล่อกว่า เจมส์ จิรายุ
อย่างเจมส์ "ผมเลือกเพราะเขาทำอะไรก็ได้ ร้องเพลงได้ เต้นได้ แอ๊กติ้งได้ แต่ยังไม่มีอะไรโดดเด่น อยากรู้ว่าเราจะพัฒนาให้กลายเป็นหงส์ได้ไหม"
บอกอีกว่า "ผมไม่ได้เก่งหรอก แต่สิ่งที่ผมมีคือสัญชาตญาณ แล้วถ้าชอบคนสักคน ผมอยากพัฒนาเขา แล้วจะไม่เสียใจเลยไม่ว่าเขาจะดังหรือไม่ เพราะอย่างน้อยผมก็ได้ทำในสิ่งที่ต้องทำและควรทำ"
นั่นคือให้ทั้งความรู้ที่จะมาใช้ในวงการ และให้ความคิดในเรื่องต่างๆ
ส่วนใครจะไปได้แค่ไหน นั่นแล้วแต่สิ่งที่ติดตัวมา
"เพราะวัตถุดิบที่ดีเท่านั้น ถึงจะนำไปทำสิ่งที่ดีได้"
"เพชรที่ประดับอยู่บนมงกุฎของกษัตริย์ ก็ต้องไม่ใช่เพชรธรรมดา"
ดังนั้น ถ้าจะพูดถึงความสำเร็จของเจมส์ "ผมจึงเป็นแค่ส่วนที่เล็กที่สุดในความสำเร็จนั้น"
เขายังเล่าถึงการทำงานในฐานะผู้จัดการกับดาราว่าสำหรับเขาไม่มี"กฎ"ระหว่างกัน
"ผมแค่บอก ว่าเมื่อคุณทำอย่างนี้ ผลจะเป็นอย่างนี้ ถ้าคุณอยากเป็นที่ชื่นชอบ มีอะไรบ้างที่จะต้องกดดันตัวเอง แล้วบีบคั้นเอาสิ่งที่ดีที่สุด ที่คนอื่นจะชื่นชม เชิดชู แล้วเอาอย่างได้"
"ซึ่งผมขอบคุณเขานะ ที่ทุ่มเท"
"มีวันหนึ่งถ่ายรักสุดฤทธิ์ ซีนอารมณ์ 19 ซีน เขาเดินมาที่รถ เข่าอ่อน ทรุดลงไปนั่ง แล้วบอกผมพยุงตัวเองขึ้นไม่ไหว"
เจมส์ไม่รู้ว่าตัวเองเป็นอะไร เขาก็ไม่ทราบ จนสมรักษ์ ณรงค์วิชัย แห่งช่อง 3 บอกว่า นี่คืออาการของคนที่ใช้พลังจนหมด พอจบงานปุ๊บ เลยไม่ไหว
"ผมบอกสู้นะ อย่าย่อท้อ เขาก็ว่าเขาจะทำงานอย่างหนัก เพื่อจะได้เก็บไว้เป็นเรื่องเล่าสำหรับรุ่นต่อๆ ไปที่จะเข้ามาในวงการ ว่าเขาไม่ได้มันมาอย่างง่ายดาย อีกทั้งไม่อยากให้คนที่มอบงานให้รู้สึกว่าเลือกคนผิด"
นอกจากตัวเขาแล้ว ฌาณฉลาดยังเล่าว่า มีอีกหลายคนมากที่ทำงานกับเจมส์ ไม่ว่าจะเป็นนักกฎหมาย คนดูแลเรื่องโฆษณา คนดูเรื่องพีอาร์ เรื่องเสื้อผ้าออกงาน รวมไปถึงคนที่มาเป็นผู้ช่วยส่วนตัว ซึ่งทุกๆ คน "ล้วนแล้วแต่มีบทบาทสำคัญ"
"แน่นอนสุดท้ายผมเป็นคนตัดสินใจเลือก แล้วมาพรีเซ็นต์ให้เจมส์ดูว่าจะเลือกอะไร เหมือนงาน ที่ถามความสมัครใจเขาเป็นสิ่งแรก"
"แต่ไม่ใช่ทุกเรื่อง"
"บางเรื่องไม่สมเหตุสมผลก็จะบอก ว่ามันมาอาศัยชื่อเสียง ใช้ความดังเรียกสื่อ ก็ไม่ใช่"
นี่เองอาจเป็นที่มาของกระแสวิจารณ์เรื่องการไม่รับงานอีเวนต์
"จริงๆ มีเรื่องกรอบของเวลาด้วย เพราะเรียนหนังสือกับละครก็ 7 วัน แล้วเรายังรับหนังมาอีกเรื่อง"
คือ "ไทม์ไลน์ จดหมายความทรงจำ" ของนนทรีย์ นิมิบุตร
ทั้งยังมีละคร "รักสุดฤทธิ์" ที่กำลังถ่าย
แต่ละสิ่งที่รับไว้ ต้องใช้เวลาทั้งเพื่อถ่ายทำ ทั้งที่ต้องเรียนรู้
อย่าง "รักสุดฤทธิ์" ที่ต้องเรียนยิงปืน กับขี่มอเตอร์ไซค์บิ๊กไบค์ให้ออกมา "ท่าสวย" เพื่อจะได้ดูดีในจอ
บางงานที่ต้องร้องเพลง ก็ต้องจัดเวลาเรียนเพื่อร้องกับเต้น
ด้วยไม่ได้ต้องการแค่ "ร้องได้" แต่อยากให้ "ดีเลย"
"แล้วคิดดูแล้วกัน ถ้าคนที่สนใจกับทุกเรื่อง ทุกรายละเอียดที่ทำ มันควรจะเป็นยังไง"
ด้วยเหตุนี้ยามที่ไม่มีการถ่ายหรือโปรแกรมการฝึก เขาจึงอยากให้เจมส์ใช้เวลาในห้องเรียนที่คณะบริหารธุรกิจ ม.รังสิต ตามที่ควรจะเป็น ส่วนอีเวนต์นั้นไว้ให้ทุกอย่างเหมาะค่อยรับ คงยังไม่สาย
"เรามองลองเทอม เขาเองก็อยากอยู่เป็น 10 ปี ผลประโยชน์เราก็อยากได้ละ แต่จะทำยังไงได้"
ฌาณฉลาดซึ่งต้องรับโทรศัพท์วันละราว 100 สาย ในเรื่องที่เกี่ยวกับนักแสดงคนนี้ รวมถึงต้องใช้เวลาวันละหลายชั่วโมง เพื่อประชุมทุกเรื่องที่เกี่ยวกับตัวเจมส์บอกด้วยว่า ถ้าจะให้เปรียบ เขาก็คงเป็นเหมือนคนเพาะชำกล้าไม้
"ถ้าต้นไหนโดดเด่น ก็จะเลือกช้อนเอาต้นนั้นไปวางในที่ๆ ถูกต้อง แดดถึง น้ำถึง อาหารถึง"
"แล้วผมก็เป็นอาร์ตดีลเลอร์"
ที่จะค้นหาผู้มีความสามารถทางศาสตร์ของความบันเทิง
"ณวันเริ่มต้นผมกับเจมส์คุยกันว่าเราอยากมีที่ยืนในวงการอาจเป็นที่แค่ 2 ขาจะยืนได้ โดยข้างซ้ายเป็นของเจมส์ ข้างขวาเป็นของผม แล้วเราจะยืนกอดคอกัน จนกว่าวันหนึ่งจะมีที่ให้เรา 2 คนยืนเคียงข้างกัน"
"วันนี้มีที่ให้เจมส์แล้ว ผมก็อยากให้มีที่ๆ ผมจะยืนโดยไม่ต้องเบียดให้น้องยกขาข้างหนึ่งตลอดเวลา"
"ซึ่งจะเป็นอย่างนั้นได้ เมื่อผมมีคนอื่นๆ โผล่มา แล้วได้รับการยอมรับ ทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค"
ความสำเร็จของเจมส์
"ต้องยกความดีความชอบให้สถานี ที่อยากสร้างซีรีส์ที่มีความร่วมสมัยให้คนอีกวัยหนึ่งได้ดู"
"กับให้ผู้สร้าง คนเขียนบท ผู้กำกับ"
"เจมส์ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ต้องยกความดีความชอบให้ แม้จะเป็นส่วนที่น้อยนิดที่สุด เป็นแค่ฟันเฟืองอันหนึ่ง แล้วไม่ได้เป็นฟันเฟืองทองคำด้วย เพราะบทนี้ใครมาสวมก็ได้"
"แต่เขาทุ่มเท และนี่คือสิ่งที่เขาสมควรได้รับ"
"นี่ผมไม่ได้ถ่อมตนนะ แต่มองในฐานะคนในอุตสาหกรรมนี้จริงๆ เพราะทุกตัวละครเขาล้วนทุ่มเท เราถึงควรเห็นอกเห็นใจกันและกันในการเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจ"
"และเจมส์เขาเข้าใจเรื่องนี้เป็นอย่างดี"
เป็นผู้จัดการดารา
"สำหรับคนที่จะเป็น คุณต้องเห็นแล้วรู้ว่าหน้าตาแบบไหนเป็นพระเอกได้"
"ถ้าอ่านนิยายมาสัก 100 เรื่อง คนที่คุณเห็นเป็นได้สักกี่เรื่อง"
"ถ้าเขามานั่งอยู่ตรงหน้า พูดคุย ตา จมูก ปาก รอยยิ้ม วิธีการพูดเป็นยังไง ยังเป็นได้อีกกี่เปอร์เซ็นต์"
"เวลาเขาพูด คุณลองหันหน้าไปข้างนอก ให้เสียงเขากระทบแก้วหูคุณตรงๆ แล้วเขายังเป็นได้อีกกี่เปอร์เซ็นต์"
"ถ้าทำอย่างนี้แล้วเขายังเหลือ 30% อย่าละสายตาจากเขา"
นี่คือ "เบื้องต้น" ที่ฌาณฉลาดแนะนำ
"ความจริงยังมีกระบวนการคัดกรองอีก คือถ้าเขาเปี่ยนลุค แต่งหน้า ทาปาก เปลี่ยนชุด มีผู้ชำนาญการที่วางบุคลิกเขาให้เป็นอย่างอื่นได้ เขาจะเป็นได้ไหม"
"ทักษะที่เขามี มากพอจะสร้างความเชื่อมั่นว่าถ้าเขาไปรับบทเป็นอีกคนหนึ่ง จะเป็นได้ไหม"
"ถ้ารู้สึกว่าน่าจะได้ คุยกับเขาเลยว่าขออนุญาตเป็นผู้จัดการ ประสานงานส่งรูปไปตามสถานีโทรทัศน์ก็ได้ โมเดลลิ่งก็ได้ ผู้จัดการดาราคนอื่นก็ได้"
"แต่คุณยังขอเป็นผู้จัดการของคนนั้นอยู่"
ที่มา : นสพ.มติชน
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1370233267
"คนเพาะชำ-อาร์ตดีลเลอร์" ผู้เห็นแวว "เจมส์ จิ"
จากคนชอบงานศิลปะ แต่วาดรูปไม่เป็น
อยากเปิดอู่ซ่อมรถ แต่อายุ 46 ก็ยังขับรถไม่ได้
สิ่งเดียวที่ ปิ๊ก-ฌาณฉลาด ทวีทรัพย์ ได้ทำจาก "ความอยาก" คือการเป็นอาร์ตติสต์ แมนเนจ
"ตั้งแต่เด็ก เวลาอ่านหนังสือพิมพ์ปุ๊บจะรู้เลยว่า เขาพยายามบอกอะไรกับเรา"
เริ่มจากหน้าบันเทิงที่บัณฑิตคณะรัฐศาสตร์ ม.รามคำแหง คนนี้สนใจเมื่อราว 10 ปีก่อน
จากนั้นก็เข้าไปในส่วนหนึ่งของ "การบอก" เหล่านั้น ด้วยการเป็นผู้จัดการให้ จ๊อบ-นิธิ สมุทรโคจร, วิกกี้-สุนิสา เจทท์, วุ้นเส้น-วิริฒิพา ภักดีประสงค์, ขวัญ-อุษามณี ไวทยานนท์ และอีกหลายคน
ก่อนจะไปสนใจเรื่องกีฬา และพาตัวไปทำงานกับปิยะพงษ์ ผิวอ่อน เรื่องการศึกษากับจุฬาวิชาการ, เรื่องสิ่งแวดล้อม นำเครื่องบินไปทิ้งทะเลเพื่อเป็นปะการังเทียม กระทั่งไปสู่เรื่องการเมือง โดยเป็น 1 ทีมเชื่อมั่นประเทศไทย สมัยนายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
จากนั้นชีวิตกลับสู่วงการบันเทิงอีกครั้ง โดยเปิด บริษัทมีตา ทาเลนต์ แมเนจเมนต์ เฟ้นหาคนมาเป็นนักร้อง นักแสดง เมื่อต้นปี 2555 แล้วก็นำพาเจมส์-จิรายุ ตั้งศรีสุข นักแสดงคนแรกในสังกัดเข้ามาอยู่ในหัวใจผู้คน
"ถ้าถามว่าผมมีวิธีการยังไง ผมตอบไม่ได้" ยังไม่ทันถาม ฌาณฉลาดซึ่งดูดีและมีมาดเท่ก็ชิงออกตัว
ก่อนเสริม "เพราะผมทำทุกอย่างตามสัญชาตญาณ"
เล่าด้วยว่า ก่อนหน้านี้เขากับทีมอีก 3-4 คน ออกตระเวนคัดคนจากทุกภาคของประเทศ ยกเว้นภาคใต้ ซึ่ง "ถูกจำกัดด้วยสำเนียง" โดยจากรูปถ่ายนับพันใบ เขาคัดไว้ 330 คนที่ดูโดดเด่น จากนั้นก็บุกไปหา จนสุดท้ายก็เลือกไว้ 24 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนต่างจังหวัด
"ดูเทรนด์เลย ยุคสมัยนี้คนซึ่งจะเป็นที่ชื่นชอบมักมาจากต่างจังหวัด เพราะเป็นสังคมที่เขาต้องการฮีโร่ที่อยู่ข้างๆ อาจจะเป็นคนที่นั่งอยู่ข้างๆ เขา เข้าถึงได้ ไม่ใช่ลูกคนรวย"
โดยนอกจากเจมส์แล้ว ผู้ชาย 11 คนกับผู้หญิงอีก 12 คนที่เหลือ ก็มีอาทิ นักมวยที่แววด้านการแสดงฉายแสง, สาวลูกครึ่งไทย-เวียดนามที่หุ่นดี และร้องเพลงเพราะเหลือใจ รวมถึงผู้ชายอีกคนที่รับประกันได้ว่าหล่อกว่า เจมส์ จิรายุ
อย่างเจมส์ "ผมเลือกเพราะเขาทำอะไรก็ได้ ร้องเพลงได้ เต้นได้ แอ๊กติ้งได้ แต่ยังไม่มีอะไรโดดเด่น อยากรู้ว่าเราจะพัฒนาให้กลายเป็นหงส์ได้ไหม"
บอกอีกว่า "ผมไม่ได้เก่งหรอก แต่สิ่งที่ผมมีคือสัญชาตญาณ แล้วถ้าชอบคนสักคน ผมอยากพัฒนาเขา แล้วจะไม่เสียใจเลยไม่ว่าเขาจะดังหรือไม่ เพราะอย่างน้อยผมก็ได้ทำในสิ่งที่ต้องทำและควรทำ"
นั่นคือให้ทั้งความรู้ที่จะมาใช้ในวงการ และให้ความคิดในเรื่องต่างๆ
ส่วนใครจะไปได้แค่ไหน นั่นแล้วแต่สิ่งที่ติดตัวมา
"เพราะวัตถุดิบที่ดีเท่านั้น ถึงจะนำไปทำสิ่งที่ดีได้"
"เพชรที่ประดับอยู่บนมงกุฎของกษัตริย์ ก็ต้องไม่ใช่เพชรธรรมดา"
ดังนั้น ถ้าจะพูดถึงความสำเร็จของเจมส์ "ผมจึงเป็นแค่ส่วนที่เล็กที่สุดในความสำเร็จนั้น"
เขายังเล่าถึงการทำงานในฐานะผู้จัดการกับดาราว่าสำหรับเขาไม่มี"กฎ"ระหว่างกัน
"ผมแค่บอก ว่าเมื่อคุณทำอย่างนี้ ผลจะเป็นอย่างนี้ ถ้าคุณอยากเป็นที่ชื่นชอบ มีอะไรบ้างที่จะต้องกดดันตัวเอง แล้วบีบคั้นเอาสิ่งที่ดีที่สุด ที่คนอื่นจะชื่นชม เชิดชู แล้วเอาอย่างได้"
"ซึ่งผมขอบคุณเขานะ ที่ทุ่มเท"
"มีวันหนึ่งถ่ายรักสุดฤทธิ์ ซีนอารมณ์ 19 ซีน เขาเดินมาที่รถ เข่าอ่อน ทรุดลงไปนั่ง แล้วบอกผมพยุงตัวเองขึ้นไม่ไหว"
เจมส์ไม่รู้ว่าตัวเองเป็นอะไร เขาก็ไม่ทราบ จนสมรักษ์ ณรงค์วิชัย แห่งช่อง 3 บอกว่า นี่คืออาการของคนที่ใช้พลังจนหมด พอจบงานปุ๊บ เลยไม่ไหว
"ผมบอกสู้นะ อย่าย่อท้อ เขาก็ว่าเขาจะทำงานอย่างหนัก เพื่อจะได้เก็บไว้เป็นเรื่องเล่าสำหรับรุ่นต่อๆ ไปที่จะเข้ามาในวงการ ว่าเขาไม่ได้มันมาอย่างง่ายดาย อีกทั้งไม่อยากให้คนที่มอบงานให้รู้สึกว่าเลือกคนผิด"
นอกจากตัวเขาแล้ว ฌาณฉลาดยังเล่าว่า มีอีกหลายคนมากที่ทำงานกับเจมส์ ไม่ว่าจะเป็นนักกฎหมาย คนดูแลเรื่องโฆษณา คนดูเรื่องพีอาร์ เรื่องเสื้อผ้าออกงาน รวมไปถึงคนที่มาเป็นผู้ช่วยส่วนตัว ซึ่งทุกๆ คน "ล้วนแล้วแต่มีบทบาทสำคัญ"
"แน่นอนสุดท้ายผมเป็นคนตัดสินใจเลือก แล้วมาพรีเซ็นต์ให้เจมส์ดูว่าจะเลือกอะไร เหมือนงาน ที่ถามความสมัครใจเขาเป็นสิ่งแรก"
"แต่ไม่ใช่ทุกเรื่อง"
"บางเรื่องไม่สมเหตุสมผลก็จะบอก ว่ามันมาอาศัยชื่อเสียง ใช้ความดังเรียกสื่อ ก็ไม่ใช่"
นี่เองอาจเป็นที่มาของกระแสวิจารณ์เรื่องการไม่รับงานอีเวนต์
"จริงๆ มีเรื่องกรอบของเวลาด้วย เพราะเรียนหนังสือกับละครก็ 7 วัน แล้วเรายังรับหนังมาอีกเรื่อง"
คือ "ไทม์ไลน์ จดหมายความทรงจำ" ของนนทรีย์ นิมิบุตร
ทั้งยังมีละคร "รักสุดฤทธิ์" ที่กำลังถ่าย
แต่ละสิ่งที่รับไว้ ต้องใช้เวลาทั้งเพื่อถ่ายทำ ทั้งที่ต้องเรียนรู้
อย่าง "รักสุดฤทธิ์" ที่ต้องเรียนยิงปืน กับขี่มอเตอร์ไซค์บิ๊กไบค์ให้ออกมา "ท่าสวย" เพื่อจะได้ดูดีในจอ
บางงานที่ต้องร้องเพลง ก็ต้องจัดเวลาเรียนเพื่อร้องกับเต้น
ด้วยไม่ได้ต้องการแค่ "ร้องได้" แต่อยากให้ "ดีเลย"
"แล้วคิดดูแล้วกัน ถ้าคนที่สนใจกับทุกเรื่อง ทุกรายละเอียดที่ทำ มันควรจะเป็นยังไง"
ด้วยเหตุนี้ยามที่ไม่มีการถ่ายหรือโปรแกรมการฝึก เขาจึงอยากให้เจมส์ใช้เวลาในห้องเรียนที่คณะบริหารธุรกิจ ม.รังสิต ตามที่ควรจะเป็น ส่วนอีเวนต์นั้นไว้ให้ทุกอย่างเหมาะค่อยรับ คงยังไม่สาย
"เรามองลองเทอม เขาเองก็อยากอยู่เป็น 10 ปี ผลประโยชน์เราก็อยากได้ละ แต่จะทำยังไงได้"
ฌาณฉลาดซึ่งต้องรับโทรศัพท์วันละราว 100 สาย ในเรื่องที่เกี่ยวกับนักแสดงคนนี้ รวมถึงต้องใช้เวลาวันละหลายชั่วโมง เพื่อประชุมทุกเรื่องที่เกี่ยวกับตัวเจมส์บอกด้วยว่า ถ้าจะให้เปรียบ เขาก็คงเป็นเหมือนคนเพาะชำกล้าไม้
"ถ้าต้นไหนโดดเด่น ก็จะเลือกช้อนเอาต้นนั้นไปวางในที่ๆ ถูกต้อง แดดถึง น้ำถึง อาหารถึง"
"แล้วผมก็เป็นอาร์ตดีลเลอร์"
ที่จะค้นหาผู้มีความสามารถทางศาสตร์ของความบันเทิง
"ณวันเริ่มต้นผมกับเจมส์คุยกันว่าเราอยากมีที่ยืนในวงการอาจเป็นที่แค่ 2 ขาจะยืนได้ โดยข้างซ้ายเป็นของเจมส์ ข้างขวาเป็นของผม แล้วเราจะยืนกอดคอกัน จนกว่าวันหนึ่งจะมีที่ให้เรา 2 คนยืนเคียงข้างกัน"
"วันนี้มีที่ให้เจมส์แล้ว ผมก็อยากให้มีที่ๆ ผมจะยืนโดยไม่ต้องเบียดให้น้องยกขาข้างหนึ่งตลอดเวลา"
"ซึ่งจะเป็นอย่างนั้นได้ เมื่อผมมีคนอื่นๆ โผล่มา แล้วได้รับการยอมรับ ทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค"
ความสำเร็จของเจมส์
"ต้องยกความดีความชอบให้สถานี ที่อยากสร้างซีรีส์ที่มีความร่วมสมัยให้คนอีกวัยหนึ่งได้ดู"
"กับให้ผู้สร้าง คนเขียนบท ผู้กำกับ"
"เจมส์ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ต้องยกความดีความชอบให้ แม้จะเป็นส่วนที่น้อยนิดที่สุด เป็นแค่ฟันเฟืองอันหนึ่ง แล้วไม่ได้เป็นฟันเฟืองทองคำด้วย เพราะบทนี้ใครมาสวมก็ได้"
"แต่เขาทุ่มเท และนี่คือสิ่งที่เขาสมควรได้รับ"
"นี่ผมไม่ได้ถ่อมตนนะ แต่มองในฐานะคนในอุตสาหกรรมนี้จริงๆ เพราะทุกตัวละครเขาล้วนทุ่มเท เราถึงควรเห็นอกเห็นใจกันและกันในการเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจ"
"และเจมส์เขาเข้าใจเรื่องนี้เป็นอย่างดี"
เป็นผู้จัดการดารา
"สำหรับคนที่จะเป็น คุณต้องเห็นแล้วรู้ว่าหน้าตาแบบไหนเป็นพระเอกได้"
"ถ้าอ่านนิยายมาสัก 100 เรื่อง คนที่คุณเห็นเป็นได้สักกี่เรื่อง"
"ถ้าเขามานั่งอยู่ตรงหน้า พูดคุย ตา จมูก ปาก รอยยิ้ม วิธีการพูดเป็นยังไง ยังเป็นได้อีกกี่เปอร์เซ็นต์"
"เวลาเขาพูด คุณลองหันหน้าไปข้างนอก ให้เสียงเขากระทบแก้วหูคุณตรงๆ แล้วเขายังเป็นได้อีกกี่เปอร์เซ็นต์"
"ถ้าทำอย่างนี้แล้วเขายังเหลือ 30% อย่าละสายตาจากเขา"
นี่คือ "เบื้องต้น" ที่ฌาณฉลาดแนะนำ
"ความจริงยังมีกระบวนการคัดกรองอีก คือถ้าเขาเปี่ยนลุค แต่งหน้า ทาปาก เปลี่ยนชุด มีผู้ชำนาญการที่วางบุคลิกเขาให้เป็นอย่างอื่นได้ เขาจะเป็นได้ไหม"
"ทักษะที่เขามี มากพอจะสร้างความเชื่อมั่นว่าถ้าเขาไปรับบทเป็นอีกคนหนึ่ง จะเป็นได้ไหม"
"ถ้ารู้สึกว่าน่าจะได้ คุยกับเขาเลยว่าขออนุญาตเป็นผู้จัดการ ประสานงานส่งรูปไปตามสถานีโทรทัศน์ก็ได้ โมเดลลิ่งก็ได้ ผู้จัดการดาราคนอื่นก็ได้"
"แต่คุณยังขอเป็นผู้จัดการของคนนั้นอยู่"
ที่มา : นสพ.มติชน
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1370233267