นายนพดล กรรณิกา ผอ.เอแบคโพลล์ ในฐานะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง ดูละครแล้วย้อนดูสังคมไทย กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปใน 17 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เพชรบุรี สระบุรี นครปฐม ชลบุรี กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ เชียงใหม่ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด นครราชสีมา เลย ขอนแก่น อุบลราชธานี นราธิวาส นครศรีธรรมราชและสงขลา จำนวนทั้งสิ้น 1,985 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 23 - 31 พฤษภาคม ที่ผ่านมา โดยใช้การเลือกตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น ที่สุ่มเลือกจังหวัด อำเภอ ตำบล ชุมชน ครัวเรือน และประชาชนที่ตอบแบบสอบถามระดับครัวเรือน โดยมีช่วงความคลาดเคลื่อนบวกลบร้อยละ 7 พบว่า
ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 62.2 รู้จัก คุณชายพุฒิภัทร ในละครเรื่องสุภาพบุรุษจุฑาเทพ ในขณะที่ร้อยละ 37.8 ไม่รู้จัก โดยส่วนใหญ่ในกลุ่มคนที่รู้จักหรือร้อยละ 96.3 อยากเห็นผู้คนในสังคมไทยมีความเป็นสุภาพบุรุษ สุภาพสตรี ในขณะที่เพียงร้อยละ 3.7 เท่านั้นที่ไม่อยากเห็น โดยส่วนใหญ่หรือร้อยละ 84.1 ระบุประทับใจในลักษณะตัวละครคุณชายพุฒิภัทร คือ ความสุภาพ ไม่แบ่งชนชั้นทางสังคม ในขณะที่รองลงไปคือ ร้อยละ 73.9 คือการช่วยเหลือคนไข้ ผู้ป่วยยากไร้และความรู้จักหน้าที่ ร้อยละ 73.2 ระบุ สิ่งที่ประทับใจคือ การเข้าถึงคนยากคนจน และร้อยละ 73.2 เช่นกันระบุความมีเหตุมีผล ร้อยละ 72.5 ระบุความกล้าหาญเสียสละ ในขณะที่ร้อยละ 67.4 ระบุความไม่กลัวเกรงอิทธิพล และร้อยละ 60.1 ระบุความรักที่มีต่อนางเอก ตามลำดับ
ที่น่าสนใจคือ เมื่อถามถึง สิ่งที่อยากเห็น “ผู้ชาย” ในสังคมไทยแสดงออกต่อผู้อื่น พบความสอดคล้องกับลักษณะของตัวละครคุณชายพุฒิภัทรในอันดับแรก คือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 79.6 ระบุความสุภาพ ไม่แบ่งชนชั้นทางสังคม แต่ที่รองลงไปคือ ร้อยละ 72.4 ระบุความกล้าหาญเสียสละ ร้อยละ 71.1 ระบุความรู้จักหน้าที่ ร้อยละ 69.8 ระบุความมีเหตุมีผล ร้อยละ 65.8 ระบุการช่วยเหลือคนไข้ ผู้ป่วยยากไร้ ร้อยละ 61.8 ระบุการเข้าถึงคนยากคนจน ร้อยละ 53.3 ระบุ ความไม่กลัวเกรงอิทธิพล และร้อยละ 44.4 ระบุความรักที่มีต่อนางเอก ตามลำดับ
เมื่อถามถึงการพบเห็นความเป็นสุภาพบุรุษของ ผู้ชายในสังคมไทยปัจจุบัน พบว่า น่าเป็นห่วงเพราะส่วนใหญ่หรือร้อยละ 76.7 ระบุพบเห็นน้อยถึง ไม่เคยเห็นเลย ในขณะที่ร้อยละ 23.3 ระบุเคยพบเห็นมาก ถึง มากที่สุด และที่น่าเป็นห่วงเช่นกัน คือ เมื่อถามถึงการพบเห็นความเป็นสุภาพสตรีของ ผู้หญิง ในสังคมไทยปัจจุบัน พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 69.6 ระบุพบเห็นน้อยถึงไม่เคยเห็นเลย
ที่น่าพิจารณาคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 91.8 ต้องการให้สถานีโทรทัศน์สร้างละครที่แสดงถึงความเป็นสุภาพบุรุษ สุภาพสตรีมากถึงมากที่สุด ในทางตรงกันข้าม ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 88.2 อยากดูละครที่มีความรุนแรง ทะเลาะตบตีกันน้อยถึงไม่อยากดูเลย มีเพียงร้อยละ 11.8 เท่านั้นที่อยากดูละครรุนแรงมากถึงมากที่สุด
ที่ผ่านมาผู้คนในสังคมมักจะวิพากษ์วิจารณ์ละครที่มีแต่การตบตีกันแย่งผัวแย่งเมียกัน และกลุ่มทุนผู้สร้างละครก็คิดว่า “ขายได้” โดยคิดว่ายิ่งถูกวิจารณ์ยิ่งได้รับความสนใจแต่ไม่คิดถึงความต้องการแท้จริงของสังคมว่า คนไทยส่วนใหญ่ต้องการความสงบสุข ความรื่นเริง อารมณ์ขัน ความเป็นสุภาพบุรุษ สุภาพสตรี และอยากเห็นสังคมแห่งความช่วยเหลือเกื้อกูลมีน้ำใจต่อกันมากกว่า และเห็นได้ว่าภาพยนตร์หรือรายการโทรทัศน์ที่สนุกสนานขบขันก็สามารถโกยรายได้มหาศาล และละครที่สร้างสรรค์ก็ทำให้เสียงวิพากษ์วิจารณ์เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น จึงเสนอให้ “ผู้สร้างละครเป็นผู้สร้างสรรค์” เปลี่ยนแปลงสังคมไทยและรักษาความดีความงามที่เป็นเอกลักษณ์น่าชื่นชมของนานาประเทศทั่วโลกเอาไว้ตลอดไป
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 48.5 เป็นชาย ร้อยละ 51.5 เป็นหญิง ตัวอย่างร้อยละ 4.6 อายุน้อยกว่า 20 ปี ร้อยละ 20.9 อายุระหว่าง 20--29 ปี ร้อยละ 19.8 อายุระหว่าง 30--39 ปี ร้อยละ 20.1 อายุระหว่าง 40--49 ปี และ ร้อยละ 34.6 อายุ 50 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 74.2 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 25.8 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ตัวอย่างร้อยละ 32.4 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 31.9 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 9.4 ระบุอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 8.3 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 7.2 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 7.8 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ ร้อยละ 3.0 ว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพ
ข่าวจาก : ข่าวสด
http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNM01ERTFPREF6T0E9PQ==&subcatid=
โพลชี้สังคมอยากเห็นชายไทยแสดงออกแบบ ‘คุณชายพุฒิภัทร’ ในละครสุภาพบุรุษจุฑาเทพ
นายนพดล กรรณิกา ผอ.เอแบคโพลล์ ในฐานะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง ดูละครแล้วย้อนดูสังคมไทย กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปใน 17 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เพชรบุรี สระบุรี นครปฐม ชลบุรี กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ เชียงใหม่ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด นครราชสีมา เลย ขอนแก่น อุบลราชธานี นราธิวาส นครศรีธรรมราชและสงขลา จำนวนทั้งสิ้น 1,985 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 23 - 31 พฤษภาคม ที่ผ่านมา โดยใช้การเลือกตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น ที่สุ่มเลือกจังหวัด อำเภอ ตำบล ชุมชน ครัวเรือน และประชาชนที่ตอบแบบสอบถามระดับครัวเรือน โดยมีช่วงความคลาดเคลื่อนบวกลบร้อยละ 7 พบว่า
ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 62.2 รู้จัก คุณชายพุฒิภัทร ในละครเรื่องสุภาพบุรุษจุฑาเทพ ในขณะที่ร้อยละ 37.8 ไม่รู้จัก โดยส่วนใหญ่ในกลุ่มคนที่รู้จักหรือร้อยละ 96.3 อยากเห็นผู้คนในสังคมไทยมีความเป็นสุภาพบุรุษ สุภาพสตรี ในขณะที่เพียงร้อยละ 3.7 เท่านั้นที่ไม่อยากเห็น โดยส่วนใหญ่หรือร้อยละ 84.1 ระบุประทับใจในลักษณะตัวละครคุณชายพุฒิภัทร คือ ความสุภาพ ไม่แบ่งชนชั้นทางสังคม ในขณะที่รองลงไปคือ ร้อยละ 73.9 คือการช่วยเหลือคนไข้ ผู้ป่วยยากไร้และความรู้จักหน้าที่ ร้อยละ 73.2 ระบุ สิ่งที่ประทับใจคือ การเข้าถึงคนยากคนจน และร้อยละ 73.2 เช่นกันระบุความมีเหตุมีผล ร้อยละ 72.5 ระบุความกล้าหาญเสียสละ ในขณะที่ร้อยละ 67.4 ระบุความไม่กลัวเกรงอิทธิพล และร้อยละ 60.1 ระบุความรักที่มีต่อนางเอก ตามลำดับ
ที่น่าสนใจคือ เมื่อถามถึง สิ่งที่อยากเห็น “ผู้ชาย” ในสังคมไทยแสดงออกต่อผู้อื่น พบความสอดคล้องกับลักษณะของตัวละครคุณชายพุฒิภัทรในอันดับแรก คือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 79.6 ระบุความสุภาพ ไม่แบ่งชนชั้นทางสังคม แต่ที่รองลงไปคือ ร้อยละ 72.4 ระบุความกล้าหาญเสียสละ ร้อยละ 71.1 ระบุความรู้จักหน้าที่ ร้อยละ 69.8 ระบุความมีเหตุมีผล ร้อยละ 65.8 ระบุการช่วยเหลือคนไข้ ผู้ป่วยยากไร้ ร้อยละ 61.8 ระบุการเข้าถึงคนยากคนจน ร้อยละ 53.3 ระบุ ความไม่กลัวเกรงอิทธิพล และร้อยละ 44.4 ระบุความรักที่มีต่อนางเอก ตามลำดับ
เมื่อถามถึงการพบเห็นความเป็นสุภาพบุรุษของ ผู้ชายในสังคมไทยปัจจุบัน พบว่า น่าเป็นห่วงเพราะส่วนใหญ่หรือร้อยละ 76.7 ระบุพบเห็นน้อยถึง ไม่เคยเห็นเลย ในขณะที่ร้อยละ 23.3 ระบุเคยพบเห็นมาก ถึง มากที่สุด และที่น่าเป็นห่วงเช่นกัน คือ เมื่อถามถึงการพบเห็นความเป็นสุภาพสตรีของ ผู้หญิง ในสังคมไทยปัจจุบัน พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 69.6 ระบุพบเห็นน้อยถึงไม่เคยเห็นเลย
ที่น่าพิจารณาคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 91.8 ต้องการให้สถานีโทรทัศน์สร้างละครที่แสดงถึงความเป็นสุภาพบุรุษ สุภาพสตรีมากถึงมากที่สุด ในทางตรงกันข้าม ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 88.2 อยากดูละครที่มีความรุนแรง ทะเลาะตบตีกันน้อยถึงไม่อยากดูเลย มีเพียงร้อยละ 11.8 เท่านั้นที่อยากดูละครรุนแรงมากถึงมากที่สุด
ที่ผ่านมาผู้คนในสังคมมักจะวิพากษ์วิจารณ์ละครที่มีแต่การตบตีกันแย่งผัวแย่งเมียกัน และกลุ่มทุนผู้สร้างละครก็คิดว่า “ขายได้” โดยคิดว่ายิ่งถูกวิจารณ์ยิ่งได้รับความสนใจแต่ไม่คิดถึงความต้องการแท้จริงของสังคมว่า คนไทยส่วนใหญ่ต้องการความสงบสุข ความรื่นเริง อารมณ์ขัน ความเป็นสุภาพบุรุษ สุภาพสตรี และอยากเห็นสังคมแห่งความช่วยเหลือเกื้อกูลมีน้ำใจต่อกันมากกว่า และเห็นได้ว่าภาพยนตร์หรือรายการโทรทัศน์ที่สนุกสนานขบขันก็สามารถโกยรายได้มหาศาล และละครที่สร้างสรรค์ก็ทำให้เสียงวิพากษ์วิจารณ์เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น จึงเสนอให้ “ผู้สร้างละครเป็นผู้สร้างสรรค์” เปลี่ยนแปลงสังคมไทยและรักษาความดีความงามที่เป็นเอกลักษณ์น่าชื่นชมของนานาประเทศทั่วโลกเอาไว้ตลอดไป
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 48.5 เป็นชาย ร้อยละ 51.5 เป็นหญิง ตัวอย่างร้อยละ 4.6 อายุน้อยกว่า 20 ปี ร้อยละ 20.9 อายุระหว่าง 20--29 ปี ร้อยละ 19.8 อายุระหว่าง 30--39 ปี ร้อยละ 20.1 อายุระหว่าง 40--49 ปี และ ร้อยละ 34.6 อายุ 50 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 74.2 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 25.8 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ตัวอย่างร้อยละ 32.4 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 31.9 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 9.4 ระบุอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 8.3 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 7.2 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 7.8 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ ร้อยละ 3.0 ว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพ
ข่าวจาก : ข่าวสด
http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNM01ERTFPREF6T0E9PQ==&subcatid=