ดอกไม้ของวณิพก
ในสายตาคนทั่วไป หนุ่มฉกรรจ์ที่นั่งอยู่ตรงหน้าร้านสะดวกซื้อผู้นี้ ก็มีหน้าตาหล่อเหลาไม่เบา ตาคม คิ้วเข้ม ปากเรียวแต่มีขอบปากขึ้นชัด เสียแต่ว่ารูปพรรณสัณฐานยามนั่งจมอยู่นั้น อยู่ในเสื้อผ้าที่มอมมอม อยู่บ้าง
หากแต่การเคลื่อนที่ไปข้างหน้าของชายหนุ่มต่างหาก ที่ดึงความสนใจของผู้ผ่านมาพบเห็น ด้วยการใช้สองมือป่ายพื้นไปข้างหน้าเพื่อดันกระดานไม้ขนาดใหญ่กว่าตัวเล็กน้อยให้เคลื่อนไปด้วยลูกล้อเล็กๆ สี่ล้อ
ชายหนุ่มปราศจากขาทั้งสองข้าง ไล่ตั้งแต่ ต้นขาลงไป ยังชีพด้วยการเป่าหีบเพลงปาก แลกเงิน ภาชนะรับเงินทำมาจากกล่องใส่ข้าวพลาสติกสีขาวขุ่น แอนดี้ นักข่าวสำนักข่างต่างประเทศเชื้อสายอินเดีย เฝ้ามองวณิพกผู้นี้ มาสองสามวันแล้ว หลังจากมีคำสั่งให้เขานำเสนอข่าวการชุมนุมใจกลางกรุงเทพฯ ที่กำลังเผ็ดร้อนขึ้นเรื่อยๆ ตามอุณหภูมิของอากาศอยู่ตอนนี้
เสียงผู้ชุมนุม โห่ฮา เมื่อถูกอก ถูกใจผู้ขึ้นไฮปาร์คบนเวที เสียงมือตบ ตีนตบ สารพัดสี ดังต่อเนื่องมาไม่ขาด แอนดี้ก็เริ่มงานของเขากับวณิพกหนุ่ม ด้วยการซื้อขนม ซื่อข้าวกล่องไปให้ในตอนค่ำๆ ทุกวันหลังจากเขากลับจากการเก็บภาพในที่ชุมนุม
ชายหนุ่มพิการขาตอบแทนด้วยการ เป่าหีบเพลงเป็นเพลง LOVE AT SUNDOWN ในเย็นวันที่สลายการชุมนุม นั้นเป็นยิ่งกว่าเหตุผลที่ทำให้ อ๋อม วางมือจาการจัดดอกไม้ให้ลูกค้า เสียงเพลงนี้ให้ทั้งชีวิตและการงานของอ๋อม เธอฟังมันเป็นพันครั้ง ในระหว่างที่เรียนศิลปะ ผู้พระราชนิพนธ์เพลงนี้เป็นผู้ที่อ๋อมเคารพเทิดทูนสุดชีวิต
ร้านเล็กๆ อยู่ห่างจากร้านสะดวกซื้อแค่สองห้องของเธอ ไม่อาจกั้นเสียงจากที่ชุมนุมได้เลย ในหลายหนที่เธอรู้สึกต่อต้านในคำเท็จจากตรงนั้น อดีตนักเรียนการฝีมือในวัง ที่กำลังไปได้ดีกับธุรกิจดอกไม้ ได้อาศัยภาพชายหนุ่มสองคน สองสัญชาติ สองสถานะ มีปฏิสัมพันธ์กันอย่างน่าชื่นชมตรงหน้าเธอนั้น เป็นจุดนำสายตา ให้มีสมาธิกับสิ่งดีงาม สดใส เหมือน ดอกไม้ของเธอ
ตอนเช้า ฝรั่งสองสามีภรรยาสูงอายุ มาอุดหนุนดอกไม้ช่อเล็กๆ ที่ร้าน สามีจ่ายเงินเสร็จ ก็มอบช่อดอกไม้เล็กๆ นั้นให้ภรรยาต่อหน้าเธออย่างไม่มีเขินอาย อ๋อมนึกนิยมความรักของคู่นี้ ฝ่ายภรรยาเมื่อได้รับดอกไม้แล้วก็ยิ้ม กอดแขนสามีเธออย่างรักใคร่ เธอวางหนังสือพิมพ์ไว้บนตู้กระจก ทำท่าว่าเธออ่านเสร็จแล้ว ฝากทิ้งด้วยประมาณนั้น
กรอบภาพเล็กๆ ในหนังสือพิมพ์ภาษอังกฤษ ฉบับวันที่ 3 กุมภาพันธ์ มีภาพหนุ่มพิการขา ชูป้ายกระดาษมีคำว่า No War- NO Mob เขาคือชายหนุ่มที่เธอคุ้นตาคนนั้นนั่นเอง ทหารผ่านศึกกับการชุมนุมเรียกร้อง ข้อความสั้นใต้ภาพมีความหมายแบบนั้น
ความชื่นชมในความรักของสองสามีภรรยาที่เป็นลูกค้าของเธอยังไม่จางหายดี ขอบตาเธอกลับรื้นด้วยหยาดน้ำใสๆ เมื่อหันออกไปมอง ก็เห็นหนุ่มพิการผู้นั้นกำลัง เป่าหีบเพลงปาก เพลง "ลาสาวแม่กลอง" ก็อวลเข้าไปในโสตประสาทเธอในนาทีนี้
อ๋อม หยิบดอกป๊อปปี้จากบนชั้นลงมาสองดอก แกะซองใสกลัดติดอกเสื้อเธอเอง 1 ดอก และคว้าหนังสือพิมพ์ฉบับนั้นเดินออกไปหน้าร้านสะดวกซื้อ
“อ๋อม ให้พี่ค่ะ” หญิงสาวทรุดตัวลงนั่งหน้าหนุ่มพิการ แล้วยื่นดอกไม้ประดิษฐ์ให้
ชายหนุ่มมีสีหน้างงงัน
“ขอบคุณครับ” ผมรับไว้ไม่ได้ ชายหนุ่มปฏิเสธ
“ไงพี่ก็เป็นทหารผ่านศึก รับไว้เถอะค่ะ” อ๋อม อ้อนวอน พร้อมชี้ให้ชายหนุ่มดูรูปตัวเองในหนังสือพิมพ์ วณิพกหนุ่มมองภาพ แล้วบอกกับหญิงสาวว่า
“ผมไม่ได้ไม่ได้เป็นทหารผ่านศึก ผมเป็นเหยื่อของสงคราม บ้านอยู่ชายแดน" วณิพกถอนหายใจ
"ทหารผ่านศึกนี่ต่างหาก ที่ทำผมเสียขา และไม่สามารถรักษาครอบครัวไว้ได้ เพราะลูกปืนใหญ่คืนนั้น”
เขาเงยหน้าสบตาหญิงสาว และเอามือขยับท่อนขาที่เหลืออยู่ 1 ใน 3 ของคนปกติ
“ผมไม่ได้พิการ เพราะข้าศึก แต่พิการเพราะความผิดพลาดของการสื่อสารและการชิงชังทำลายล้างกัน” ชายหนุ่มกล่าวก่อนมอง เม้าส์ออแกนในกระเป๋าเสื้อ
“น้องตากล้องฝรั่งใจดี เอาข้าวมาให้ผมกินทุกวัน ขนาดคุยกันไม่รู้เรื่องนะนี่”
วณิพกหนุ่มยิ้มน้อยๆ แต่อ๋อมรู้สึกว่าเสียหน้า ปนกับเสียใจหลายๆ อย่าง
“ชุมนุมเลิกแล้ว ไม่เห็นเขามาอีกเลย คุณเห็นเขาไหม เผื่อเขาจะมายื่นป้ายที่เขียนให้ผมถือ แล้ว ถ่ายรูปอีก”
หญิงสาวสั่นหน้า งุนงง สับสน ปนเป ในเรื่องจริง กับสิ่งที่เห็น น้ำตาเธอแห้งสนิท มือขวาเธอกำดอกป๊อปปี้แน่น
ดกไม้ของวณิพก
ในสายตาคนทั่วไป หนุ่มฉกรรจ์ที่นั่งอยู่ตรงหน้าร้านสะดวกซื้อผู้นี้ ก็มีหน้าตาหล่อเหลาไม่เบา ตาคม คิ้วเข้ม ปากเรียวแต่มีขอบปากขึ้นชัด เสียแต่ว่ารูปพรรณสัณฐานยามนั่งจมอยู่นั้น อยู่ในเสื้อผ้าที่มอมมอม อยู่บ้าง
หากแต่การเคลื่อนที่ไปข้างหน้าของชายหนุ่มต่างหาก ที่ดึงความสนใจของผู้ผ่านมาพบเห็น ด้วยการใช้สองมือป่ายพื้นไปข้างหน้าเพื่อดันกระดานไม้ขนาดใหญ่กว่าตัวเล็กน้อยให้เคลื่อนไปด้วยลูกล้อเล็กๆ สี่ล้อ
ชายหนุ่มปราศจากขาทั้งสองข้าง ไล่ตั้งแต่ ต้นขาลงไป ยังชีพด้วยการเป่าหีบเพลงปาก แลกเงิน ภาชนะรับเงินทำมาจากกล่องใส่ข้าวพลาสติกสีขาวขุ่น แอนดี้ นักข่าวสำนักข่างต่างประเทศเชื้อสายอินเดีย เฝ้ามองวณิพกผู้นี้ มาสองสามวันแล้ว หลังจากมีคำสั่งให้เขานำเสนอข่าวการชุมนุมใจกลางกรุงเทพฯ ที่กำลังเผ็ดร้อนขึ้นเรื่อยๆ ตามอุณหภูมิของอากาศอยู่ตอนนี้
เสียงผู้ชุมนุม โห่ฮา เมื่อถูกอก ถูกใจผู้ขึ้นไฮปาร์คบนเวที เสียงมือตบ ตีนตบ สารพัดสี ดังต่อเนื่องมาไม่ขาด แอนดี้ก็เริ่มงานของเขากับวณิพกหนุ่ม ด้วยการซื้อขนม ซื่อข้าวกล่องไปให้ในตอนค่ำๆ ทุกวันหลังจากเขากลับจากการเก็บภาพในที่ชุมนุม
ชายหนุ่มพิการขาตอบแทนด้วยการ เป่าหีบเพลงเป็นเพลง LOVE AT SUNDOWN ในเย็นวันที่สลายการชุมนุม นั้นเป็นยิ่งกว่าเหตุผลที่ทำให้ อ๋อม วางมือจาการจัดดอกไม้ให้ลูกค้า เสียงเพลงนี้ให้ทั้งชีวิตและการงานของอ๋อม เธอฟังมันเป็นพันครั้ง ในระหว่างที่เรียนศิลปะ ผู้พระราชนิพนธ์เพลงนี้เป็นผู้ที่อ๋อมเคารพเทิดทูนสุดชีวิต
ร้านเล็กๆ อยู่ห่างจากร้านสะดวกซื้อแค่สองห้องของเธอ ไม่อาจกั้นเสียงจากที่ชุมนุมได้เลย ในหลายหนที่เธอรู้สึกต่อต้านในคำเท็จจากตรงนั้น อดีตนักเรียนการฝีมือในวัง ที่กำลังไปได้ดีกับธุรกิจดอกไม้ ได้อาศัยภาพชายหนุ่มสองคน สองสัญชาติ สองสถานะ มีปฏิสัมพันธ์กันอย่างน่าชื่นชมตรงหน้าเธอนั้น เป็นจุดนำสายตา ให้มีสมาธิกับสิ่งดีงาม สดใส เหมือน ดอกไม้ของเธอ
ตอนเช้า ฝรั่งสองสามีภรรยาสูงอายุ มาอุดหนุนดอกไม้ช่อเล็กๆ ที่ร้าน สามีจ่ายเงินเสร็จ ก็มอบช่อดอกไม้เล็กๆ นั้นให้ภรรยาต่อหน้าเธออย่างไม่มีเขินอาย อ๋อมนึกนิยมความรักของคู่นี้ ฝ่ายภรรยาเมื่อได้รับดอกไม้แล้วก็ยิ้ม กอดแขนสามีเธออย่างรักใคร่ เธอวางหนังสือพิมพ์ไว้บนตู้กระจก ทำท่าว่าเธออ่านเสร็จแล้ว ฝากทิ้งด้วยประมาณนั้น
กรอบภาพเล็กๆ ในหนังสือพิมพ์ภาษอังกฤษ ฉบับวันที่ 3 กุมภาพันธ์ มีภาพหนุ่มพิการขา ชูป้ายกระดาษมีคำว่า No War- NO Mob เขาคือชายหนุ่มที่เธอคุ้นตาคนนั้นนั่นเอง ทหารผ่านศึกกับการชุมนุมเรียกร้อง ข้อความสั้นใต้ภาพมีความหมายแบบนั้น
ความชื่นชมในความรักของสองสามีภรรยาที่เป็นลูกค้าของเธอยังไม่จางหายดี ขอบตาเธอกลับรื้นด้วยหยาดน้ำใสๆ เมื่อหันออกไปมอง ก็เห็นหนุ่มพิการผู้นั้นกำลัง เป่าหีบเพลงปาก เพลง "ลาสาวแม่กลอง" ก็อวลเข้าไปในโสตประสาทเธอในนาทีนี้
อ๋อม หยิบดอกป๊อปปี้จากบนชั้นลงมาสองดอก แกะซองใสกลัดติดอกเสื้อเธอเอง 1 ดอก และคว้าหนังสือพิมพ์ฉบับนั้นเดินออกไปหน้าร้านสะดวกซื้อ
“อ๋อม ให้พี่ค่ะ” หญิงสาวทรุดตัวลงนั่งหน้าหนุ่มพิการ แล้วยื่นดอกไม้ประดิษฐ์ให้
ชายหนุ่มมีสีหน้างงงัน
“ขอบคุณครับ” ผมรับไว้ไม่ได้ ชายหนุ่มปฏิเสธ
“ไงพี่ก็เป็นทหารผ่านศึก รับไว้เถอะค่ะ” อ๋อม อ้อนวอน พร้อมชี้ให้ชายหนุ่มดูรูปตัวเองในหนังสือพิมพ์ วณิพกหนุ่มมองภาพ แล้วบอกกับหญิงสาวว่า
“ผมไม่ได้ไม่ได้เป็นทหารผ่านศึก ผมเป็นเหยื่อของสงคราม บ้านอยู่ชายแดน" วณิพกถอนหายใจ
"ทหารผ่านศึกนี่ต่างหาก ที่ทำผมเสียขา และไม่สามารถรักษาครอบครัวไว้ได้ เพราะลูกปืนใหญ่คืนนั้น”
เขาเงยหน้าสบตาหญิงสาว และเอามือขยับท่อนขาที่เหลืออยู่ 1 ใน 3 ของคนปกติ
“ผมไม่ได้พิการ เพราะข้าศึก แต่พิการเพราะความผิดพลาดของการสื่อสารและการชิงชังทำลายล้างกัน” ชายหนุ่มกล่าวก่อนมอง เม้าส์ออแกนในกระเป๋าเสื้อ
“น้องตากล้องฝรั่งใจดี เอาข้าวมาให้ผมกินทุกวัน ขนาดคุยกันไม่รู้เรื่องนะนี่”
วณิพกหนุ่มยิ้มน้อยๆ แต่อ๋อมรู้สึกว่าเสียหน้า ปนกับเสียใจหลายๆ อย่าง
“ชุมนุมเลิกแล้ว ไม่เห็นเขามาอีกเลย คุณเห็นเขาไหม เผื่อเขาจะมายื่นป้ายที่เขียนให้ผมถือ แล้ว ถ่ายรูปอีก”
หญิงสาวสั่นหน้า งุนงง สับสน ปนเป ในเรื่องจริง กับสิ่งที่เห็น น้ำตาเธอแห้งสนิท มือขวาเธอกำดอกป๊อปปี้แน่น