เกิดข้อผิดพลาดบางอย่าง
สวัสดีวันพฤหัสครับท่านสุภาพสตรีและน้าๆชาวห้องกล้องทุกท่าน หลังจากว่างเว้นไป 1 สัปดาห์สำหรับกระทู้วิเคราะห์วิจารณ์ภาพถ่าย เพื่อหลีกทางให้กระทู้แนะนำตัวชาวห้องกล้อง วันนี้ก็กลับมาประจำที่แล้วครับ ช่วงนี้เจ้าของกระทู้กล่าวคือน้าเป็ดติดภารกิจสลิดโท๊ะมากมาย เลยขอคุยกันสั้นๆก่อนจะวิเคราะห์วิจารณ์ภาพถ่ายกันนะครับ วันนี้เราจะพูดถึงสิ่งที่น่าปวดหัวสำหรับมือใหม่หัดกดชัตเตอร์ แต่เป็นสิ่งที่ถ้าเข้าใจแล้ว จะทำให้เราถ่ายภาพได้สนุกขึ้น กว่าตอนที่ไม่รู้ไม่เข้าใจประมาณ 18.9 ริกเตอร์เลยทีเดียว ที่กล่าวมาและจะกล่าวถึงนั้นคือ Exposure Exposure พูดกันแบบภาษาเป็ดๆก็คือ ปริมาณแสงในภาพถ่าย ภาพนั้นๆ ถ้าภาพนั้นสว่างไป เราเรียกว่า Overexposure และภาพที่มืดไป เราเรียกว่า underexposure วิธีสังเกตก็คือภาพที่สว่างไป ก็จะสูญเสียรายละเอียดในส่วนที่สว่างของภาพ คือขาวโพลนหลุดโลกไปเลย ภาพที่มืดไปก็ ตรงกันข้ามนะครับ พูดกันง่ายๆคือ ส่่วนของภาพที่ควรมีรายละเอียด กลับขาดรายละเอียดตรงนั้นไป นั่นเอง งานของเราคือ ควบคุมความพอดีของแสงในภาพถ่ายของเรา "เราจะควบคุมมันได้อย่างไรคะ?" เด็กหญิงจุ๊บแจงถามขึ้นท่ามกลางฝูงชน เครื่องมือควบคุมปริมาณแสงในภาพถ่ายที่กล้องถ่ายรูปในปัจจุบันใช้ มีอยู่สามอย่าง คือ 1.Shutter Speed คือระยะเวลาของการเปิดชัตเตอร์ให้แสงผ่านเข้ามาในภาพ ที่เราชอบเรียกกันว่าความเร็วชัตเตอร์นั่นแหละครับ (ด้วยรูรับแสงที่เท่ากัน)ยิ่งเปิดนาน ภาพยิ่งสว่าง เพราะปล่อยให้แสงผ่านเข้ามาในเซ็นเซอร์มาก 2.Aperture คือความกว้างหรือขนาดของรูรับแสงของเลนส์ (ในเวลาที่เท่ากัน )ยิ่งรูรับแสงกว้างยิ่งเปิดให้แสง ผ่านเข้ามาในภาพมากภาพก็จะยิ่งสว่างมากขึ้น เราเรียกเสนส์พวกนี้ว่าเลนส์ไวแสงนั่นเอง 3.ISO คือพลังพิเศษของตัวประมวลผลในกล้อง ที่จะไปขยายสัญญานแสงที่รับเข้ามา แม้เพียงเล็กน้อย ให้มากขึ้น ชัดขึ้น (ด้วยเวลาการเปิดชัตเตอร์ที่เท่ากันและรูรับแสงขนาดเดียวกัน) ยิ่งค่า ISO สูง ภาพจะยิ่งสว่าง ตัวแปรนี้ มีผลกระทบต่อภาพถ่ายเหมือนกันคือ ควบคุมปริมาณแสงในภาพถ่าย ยิ่งค่ามาก ยิ่งสว่างมาก ค่าน้อยค่าแคบ ยิ่งสว่างน้อยค่าเร็ว แต่เดี๋ยวก่อน ใน 3 อย่างนั้นแต่ละอย่าง ยังมีผลกระทบต่อภาพถ่ายอีก 1 อย่าง ที่ต้องกล่าวถึงนั่นคือ 1.ผลกระทบต่อภาพถ่ายลำดับที่ 2 ของ Shutter Speed คือ การหยุดความเคลื่อนไหว ของวัตถุในภาพ ยิ่งความเร็วชัตเตอร์มาก ยิ่งเหมาะกับการถ่ายภาพที่ตัวแบบมีการเคลื่อนที่เร็ว มีหน่วยเป็น 1/วินาที จนถึงเป็นชั่วโมงๆ 2.ผลกระทบต่อภาพถ่ายลำดับที่ 2 ของ Aperture คือ ระยะความคมชัดของวัตถุในภาพ หรือที่เราเรียกว่าระยะชัดลึก เมื่อวัตถุอยู่ในระยะเดียวกัน ยิ่งรูรับแสงกว้าง ระยะความชัดลึกของภาพ จะยิ่งลดลง รูรับแสงที่กว้าง จึงเหมาะกับการกำจัดฉากหลังที่ยุ่งเหยิงรกรุงรัง แย่งความน่าสนใจของตัวแบบ ของเราไป เราเรียกมันสั้นๆว่าค่า F สตอป 3.ผลกระทบต่อภาพถ่ายลำดับที่ 2 ของ ISO คือ สัญญานรบกวนที่เกิดขึ้นกับภาพถ่าย หรือที่เรารู้จักกันในนามของ นอยส์ นั่นเอง สำคัญมาก ห้ามมองข้ามห้ามลืม เครื่องมือทั้ง 3 อย่างนี้ ไม่ได้แยกหน้าที่กันทำงานเป็นเอกเทศ ทุกตัวมีความสัมพันธ์กัน มีผลกระทบถึงกันและกันใครใช้โหมด M ถ่ายภาพบ่อยๆจะเข้าใจ เราจะได้ภาพที่มี Exposure ที่สมบรณ์ตามที่เราต้องการก็ต่อเมื่อเราใช้เครื่องมือทั้ง 3 ให้มีความสัมพันธ์กัน เราจะใช้ Shutter Speed ที่เร็วจัดๆซึ่งแสงผ่านได้น้อย เพราะเปิดชัตเตอร์ปุ๊บ ปิดเลย ก็ต่อเมื่อเรามีเลนส์ที่มีรูรับแสงที่กว้างมาก มีรูใหญ่ เพื่อให้แสงผ่านเข้ามาได้มาก แสงมาก ถึงเปิดชัตเตอร์ไม่นาน เราก็จะได้แสงที่พอแล้ว ถูกไหมครับ ถามว่า ถ้ามีเลนส์คิท รูรับแสงกว้างเพียง F 3.5 แต่อยากใช้ความเร้วชัตเตอร์หยุดการเคลื่อนไหวรถแข่งซักคันทำยังไง? ทางเลือกสุดท้าย จึงเป็นหน้าที่ของ ISO ครับ อย่างที่บอกว่า ความสามารถของมันคือ ขยายแสงที่มีอยู่เล็กน้อย ให้มากขึ้นกว่าความเป็นจริง ทำให้ภาพสว่างขึ้น แต่ผลกระทบที่ 2 ที่ตามมาก็อย่างที่กล่าวไว้ ภาพของเราจะมีนอยส์ตามมา ซึ่งกล้องสมัยใหม่ มีระบบการกำจัดนอยส์ ที่ดีเยี่ยม ถ่ายด้วย ISO สูงๆได้สบายมาก นอกจากนี้โปรแกมกำจัดนอยส์โดยเฉพาะ ก็มีนะครับ สรุปว่า ก่อนถ่ายภาพ เราควรนึกติ๊ต่างก่อนว่าภาพนี้ต้องการแบบไหน? เช่น ต้องการหยุดการเคลื่อนไหวของตัวแบบ เราควรให้ความสำคัญกับความเร็วชัตเตอร์ เป็นอันดับแรกเรียกว่า การดีไซน์ภาพด้วยความเร็วชัตเตอร์ หากยังได้ความเร็วชัตเตอร์ที่ไม่พอ ควรปรับค่ารูรับแสงให้กว้างขึ้นเป็นลำดับต่อมา แต่หากต้องการระยะชัดของภาพ และการปรับค่า F หรือค่ารูรับแสงซึ่งจะมีผลต่อระยะชัดของภาพ จะทำให้ภาพที่ได้ ไม่ตรงตามต้องการ เราก็ควรเลือก ที่จะปรับค่า ISO ให้มากขึ้นแทน ซึ่งจะส่งผลให้เกิดนอยส์ในภาพ แต่ได้ระยะชัดที่ต้องการ อันนี้ ต้องชั่งน้ำหนักกันเอาเองครับ ค่าทั้ง 3 ค่านั้น มีเรื่องให้ต้องศึกษากันอีกพอสมควร กระทู้นี้กล่าวไว้โดยย่อเท่านั้นครับ ผู้ใดสนใจเพิ่มเติมแต่หาไม่เจอ ถามน้าๆในห้องนี้ได้ ใจดีทุกคนครับ อ้างอิง http://ppantip.com/topic/13072438 ขอเชิญส่งภาพร่วมสนุกกันนะครับ มีกติกาด้วยนะ ลองอ่านดูสิ [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ กติกาเบื้องต้น เป็นดังนี้ครับ 1. อัพโหลดภาพถ่ายลงในคอมเม้นต์ของกระทู้ท่านละไม่เกิน 3 ภาพ น่าจะกำลังดี จริงๆอยากจะให้ลงท่านละภาพก็พอ แนวไหนก็ได้ครับ ภาพที่ต้องการให้วิจารณ์ แปลว่า เป็นภาพที่เรายังไม่พอใจกับมัน ยังสงสัยใครรู้แต่ติดอยู่ที่ลูกกระเดือก คิดไม่ออกว่ามันขาดอะไร? หรือเป็นภาพที่พอใจแล้ว ก็ให้กำกับไว้ว่า พอใจแล้วครับภาพนี้ แต่อยากฟังความเห็นคนอื่น อันนี้เราถือว่าท่านใจกว้างและน่ารักทุกคน ที่กล้าเอาภาพถ่ายตัวเองมาลง 2.ใส่ข้อมูลภาพมาด้วย(ค่า F ค่า ISO ทำนองนี้ ) ถ้าอยากได้ข้อมูลทางเทคนิค ถ้าไม่รู้ว่าดูตรงไหน กดปุ่ม INFO ของกล้องตอนดูภาพ ปรกติมันจะอยู่ตรงนั้น ถ้าไม่ใส่ข้อมูลมา ถือว่าต้องการให้วิจารณ์องค์ประกอบภาพและสีสันนะครับ อย่าลืมบอกความรู้สึกต่อภาพของตัวเองนะครับ ชอบมันตรงไหน ยังไม่ชอบตรงไหน ยังสงสัยอะไร? อยากให้วิจารณ์อะไร เน้นเรื่องไหนเป็นพิเศษ บอกด้วยก็ดีว่าถ่ายกี่โมง ฤดูไหน ถ่ายจากไหน แหล่งกำเนิดแสงมาจากไหน ทางทิศใด ก่อนถ่ายคิดอะไร ตอนถ่ายเกิดอะไรขึ้น หลังถ่ายรู้สึกอย่างไร? อุปสรรคในการถ่ายภาพตอนนั้นมีอะไรบ้าง? ถ้าให้ถ่ายอีก จะถ่ายยังไงให้ดีขึ้น เป็นต้น 3.ผู้วิจารณ์จะเป็นใครก็ได้ โปรฯไม่โปรฯ ไม่เป็นไร รับมุมมองจากทุกคน ไม่ต้องกลัวปล่อยไก่ ไม่ต้องเกรงว่าจะเอามาพร้าวห้าวมาขายสวน ใครรู้เทคนิค พูดเรื่องเทคนิค ใครไม่อยากพูดเรื่องเทคนิค ก็พูดถึงอย่างอื่น กระทู้เป็นแนวเฮฮาไม่ยาขม ไม่มีผรุสวาท แรงที่สุดคือ "ไปถ่ายมาใหม่" ถ้า "เปลี่ยนคนถ่ายดีกว่านะ" อันนี้ถือว่าแรงไป พูดจากันดีๆ แม้กระทู้จะเป็นกระทู้ฝึกจิต แต่บางคนอาจจะจิตอ่อนไหว ชิงขายกล้องไปก่อนจะถ่ายเป็น หลักการวิจารณ์เบื้องต้น ขอให้วิจารณ์เรื่องต่อไปนี้เป็นหลักครับ - ความคมชัดของภาพ / ระยะชัดของภาพ (DOF) ภาพชัดหรือไม่ ชัดตรงไหน ชัดตรงนี้ดี หรือตรงนั้นชัดอีกนิดจะดีกว่า? - การควบคุมปริมาณแสงในภาพ ภาพมืดไป สว่างไป หรือพอดีแล้ว? - เทคนิคในการตกแต่งภาพหลังถ่าย แต่งแล้วแบบนี้ดีไหม หรือแต่งแบบนี้ดูหน่อย - จุดที่น่าสนใจในภาพ /การสื่อความหมายของภาพชัดเจน สมบูรณ์แล้วตามที่เจ้าของภาพมุ่งหวังหรือยังขาดอะไร? - สีของวัตถุในภาพ สีสันสมจริงหรือผิดธรรมชาติ โดยจงใจหรือไม่อย่างไร? - การเลือกมุมในการถ่ายภาพ มุมมองน่าสนใจหรือไม่อย่างไรในความคิดของผู้วิจารณ์? - องค์ประกอบภาพ การวางตำแหน่งของวัตถุต่างๆในภาพ ดีแล้วหรือยังขาดตรงไหน? - ความน่าดึงดูดใจของภาพ มองแล้วก่อให้เกิดความคิด ข้อคิด จินตนาการ ดูแล้วคล้อยตามอย่างไร? มีความสร้างสรรค์ มีความแปลกใหม่อย่างไรหรือไม่? ถ้าไม่แล้วคิดว่าน่าจะทำยังไงดีล่ะ? - อื่นๆ ตามแต่จะคิดออก ถ้าพูดไม่เก่งพิมพ์ช้าหรือกินข้าวอยู่พิมพ์ไม่ถนัด แต่ก็อยากพิมพ์ บอกแค่ว่า สีสันผมให้ 8 เต็ม 10 องค์ประกอบภาพผมให้ 5 เต็ม 10 ครับ อารมณ์ภาพกระแทกตับมาก เอาไป 10 เต็มครับ อะไรทำนองนี้
... ก ร ะ ทู้ ส่ ง ผ ล ง า น วิ จ า ร ณ์ ภ า พ ถ่ า ย ... ค รั้ ง ที่ 7.... ข อ เ ชิ ญ ร่ ว ม ส นุ ก ค รั บ ...
สวัสดีวันพฤหัสครับท่านสุภาพสตรีและน้าๆชาวห้องกล้องทุกท่าน
หลังจากว่างเว้นไป 1 สัปดาห์สำหรับกระทู้วิเคราะห์วิจารณ์ภาพถ่าย
เพื่อหลีกทางให้กระทู้แนะนำตัวชาวห้องกล้อง วันนี้ก็กลับมาประจำที่แล้วครับ
ช่วงนี้เจ้าของกระทู้กล่าวคือน้าเป็ดติดภารกิจสลิดโท๊ะมากมาย
เลยขอคุยกันสั้นๆก่อนจะวิเคราะห์วิจารณ์ภาพถ่ายกันนะครับ
วันนี้เราจะพูดถึงสิ่งที่น่าปวดหัวสำหรับมือใหม่หัดกดชัตเตอร์
แต่เป็นสิ่งที่ถ้าเข้าใจแล้ว จะทำให้เราถ่ายภาพได้สนุกขึ้น
กว่าตอนที่ไม่รู้ไม่เข้าใจประมาณ 18.9 ริกเตอร์เลยทีเดียว
ที่กล่าวมาและจะกล่าวถึงนั้นคือ
Exposure
Exposure พูดกันแบบภาษาเป็ดๆก็คือ ปริมาณแสงในภาพถ่าย ภาพนั้นๆ
ถ้าภาพนั้นสว่างไป เราเรียกว่า Overexposure และภาพที่มืดไป เราเรียกว่า underexposure
วิธีสังเกตก็คือภาพที่สว่างไป ก็จะสูญเสียรายละเอียดในส่วนที่สว่างของภาพ คือขาวโพลนหลุดโลกไปเลย
ภาพที่มืดไปก็ ตรงกันข้ามนะครับ พูดกันง่ายๆคือ ส่่วนของภาพที่ควรมีรายละเอียด กลับขาดรายละเอียดตรงนั้นไป
นั่นเอง
งานของเราคือ ควบคุมความพอดีของแสงในภาพถ่ายของเรา
"เราจะควบคุมมันได้อย่างไรคะ?" เด็กหญิงจุ๊บแจงถามขึ้นท่ามกลางฝูงชน
เครื่องมือควบคุมปริมาณแสงในภาพถ่ายที่กล้องถ่ายรูปในปัจจุบันใช้
มีอยู่สามอย่าง คือ
1.Shutter Speed คือระยะเวลาของการเปิดชัตเตอร์ให้แสงผ่านเข้ามาในภาพ
ที่เราชอบเรียกกันว่าความเร็วชัตเตอร์นั่นแหละครับ (ด้วยรูรับแสงที่เท่ากัน)ยิ่งเปิดนาน ภาพยิ่งสว่าง
เพราะปล่อยให้แสงผ่านเข้ามาในเซ็นเซอร์มาก
2.Aperture คือความกว้างหรือขนาดของรูรับแสงของเลนส์ (ในเวลาที่เท่ากัน )ยิ่งรูรับแสงกว้างยิ่งเปิดให้แสง
ผ่านเข้ามาในภาพมากภาพก็จะยิ่งสว่างมากขึ้น เราเรียกเสนส์พวกนี้ว่าเลนส์ไวแสงนั่นเอง
3.ISO คือพลังพิเศษของตัวประมวลผลในกล้อง ที่จะไปขยายสัญญานแสงที่รับเข้ามา
แม้เพียงเล็กน้อย ให้มากขึ้น ชัดขึ้น (ด้วยเวลาการเปิดชัตเตอร์ที่เท่ากันและรูรับแสงขนาดเดียวกัน)
ยิ่งค่า ISO สูง ภาพจะยิ่งสว่าง
ตัวแปรนี้ มีผลกระทบต่อภาพถ่ายเหมือนกันคือ ควบคุมปริมาณแสงในภาพถ่าย
ยิ่งค่ามาก ยิ่งสว่างมาก ค่าน้อยค่าแคบ ยิ่งสว่างน้อยค่าเร็ว
แต่เดี๋ยวก่อน ใน 3 อย่างนั้นแต่ละอย่าง ยังมีผลกระทบต่อภาพถ่ายอีก 1 อย่าง
ที่ต้องกล่าวถึงนั่นคือ
1.ผลกระทบต่อภาพถ่ายลำดับที่ 2 ของ Shutter Speed คือ การหยุดความเคลื่อนไหว
ของวัตถุในภาพ ยิ่งความเร็วชัตเตอร์มาก ยิ่งเหมาะกับการถ่ายภาพที่ตัวแบบมีการเคลื่อนที่เร็ว
มีหน่วยเป็น 1/วินาที จนถึงเป็นชั่วโมงๆ
2.ผลกระทบต่อภาพถ่ายลำดับที่ 2 ของ Aperture คือ ระยะความคมชัดของวัตถุในภาพ
หรือที่เราเรียกว่าระยะชัดลึก เมื่อวัตถุอยู่ในระยะเดียวกัน ยิ่งรูรับแสงกว้าง ระยะความชัดลึกของภาพ
จะยิ่งลดลง รูรับแสงที่กว้าง จึงเหมาะกับการกำจัดฉากหลังที่ยุ่งเหยิงรกรุงรัง แย่งความน่าสนใจของตัวแบบ
ของเราไป เราเรียกมันสั้นๆว่าค่า F สตอป
3.ผลกระทบต่อภาพถ่ายลำดับที่ 2 ของ ISO คือ สัญญานรบกวนที่เกิดขึ้นกับภาพถ่าย
หรือที่เรารู้จักกันในนามของ นอยส์ นั่นเอง
สำคัญมาก ห้ามมองข้ามห้ามลืม
เครื่องมือทั้ง 3 อย่างนี้ ไม่ได้แยกหน้าที่กันทำงานเป็นเอกเทศ
ทุกตัวมีความสัมพันธ์กัน มีผลกระทบถึงกันและกันใครใช้โหมด M ถ่ายภาพบ่อยๆจะเข้าใจ
เราจะได้ภาพที่มี Exposure ที่สมบรณ์ตามที่เราต้องการก็ต่อเมื่อเราใช้เครื่องมือทั้ง 3
ให้มีความสัมพันธ์กัน
เราจะใช้ Shutter Speed ที่เร็วจัดๆซึ่งแสงผ่านได้น้อย เพราะเปิดชัตเตอร์ปุ๊บ ปิดเลย
ก็ต่อเมื่อเรามีเลนส์ที่มีรูรับแสงที่กว้างมาก มีรูใหญ่ เพื่อให้แสงผ่านเข้ามาได้มาก แสงมาก ถึงเปิดชัตเตอร์ไม่นาน
เราก็จะได้แสงที่พอแล้ว ถูกไหมครับ
ถามว่า ถ้ามีเลนส์คิท รูรับแสงกว้างเพียง F 3.5
แต่อยากใช้ความเร้วชัตเตอร์หยุดการเคลื่อนไหวรถแข่งซักคันทำยังไง?
ทางเลือกสุดท้าย จึงเป็นหน้าที่ของ ISO ครับ อย่างที่บอกว่า ความสามารถของมันคือ
ขยายแสงที่มีอยู่เล็กน้อย ให้มากขึ้นกว่าความเป็นจริง ทำให้ภาพสว่างขึ้น แต่ผลกระทบที่ 2
ที่ตามมาก็อย่างที่กล่าวไว้ ภาพของเราจะมีนอยส์ตามมา ซึ่งกล้องสมัยใหม่ มีระบบการกำจัดนอยส์
ที่ดีเยี่ยม ถ่ายด้วย ISO สูงๆได้สบายมาก นอกจากนี้โปรแกมกำจัดนอยส์โดยเฉพาะ ก็มีนะครับ
สรุปว่า ก่อนถ่ายภาพ เราควรนึกติ๊ต่างก่อนว่าภาพนี้ต้องการแบบไหน?
เช่น ต้องการหยุดการเคลื่อนไหวของตัวแบบ เราควรให้ความสำคัญกับความเร็วชัตเตอร์
เป็นอันดับแรกเรียกว่า การดีไซน์ภาพด้วยความเร็วชัตเตอร์ หากยังได้ความเร็วชัตเตอร์ที่ไม่พอ
ควรปรับค่ารูรับแสงให้กว้างขึ้นเป็นลำดับต่อมา แต่หากต้องการระยะชัดของภาพ และการปรับค่า F
หรือค่ารูรับแสงซึ่งจะมีผลต่อระยะชัดของภาพ จะทำให้ภาพที่ได้ ไม่ตรงตามต้องการ เราก็ควรเลือก
ที่จะปรับค่า ISO ให้มากขึ้นแทน ซึ่งจะส่งผลให้เกิดนอยส์ในภาพ แต่ได้ระยะชัดที่ต้องการ
อันนี้ ต้องชั่งน้ำหนักกันเอาเองครับ
ค่าทั้ง 3 ค่านั้น
มีเรื่องให้ต้องศึกษากันอีกพอสมควร
กระทู้นี้กล่าวไว้โดยย่อเท่านั้นครับ
ผู้ใดสนใจเพิ่มเติมแต่หาไม่เจอ ถามน้าๆในห้องนี้ได้
ใจดีทุกคนครับ
อ้างอิง
http://ppantip.com/topic/13072438
ขอเชิญส่งภาพร่วมสนุกกันนะครับ
มีกติกาด้วยนะ ลองอ่านดูสิ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้