วันนี้ เพิ่งไปได้มาจาก กสิกร สาขาที่ใช้บริการประจำค่ะ
เจ้าหน้าที่ ที่สนิทกัน บอกว่า แต่ละสาขา ได้มาประมาณ สาขาละ 3 เล่ม
ดิฉัน ไปสอยมาได้ เล่มที่สาม พอดี ราคา ๓๖๙ บาทค่ะ
ที่น่าสนใจ เกี่ยวกับหนังสือเล่มนี้ คือ ผู้เขียน คือ คุณ บัณฑูร ล่ำซำ CEO ของธนาคารกสิกรไทย
ผู้บุกเบิกและแนะนำ แนวคิด re-engineering มาใช้เป็นรายแรก ๆ ของไทย
ดิฉันรู้สึกมานานแล้วว่า คุณบัณฑูร เป็นคนประเภท double-lives หรือ มีชีวิตสองด้าน (จริง ๆ อาจมากกว่านั้น)
คือ ประสบความสำเร็จในด้านงานบริหาร จัดการ ในวงการที่ต้องใช้เหตุผล ใช้หลักการสูง
เป็น commentator ที่ทุกคนเงี่ยหูฟัง เวลาออกมาวิพากษ์วิจารณ์อะไรต่อมิอะไรต่าง ๆ ในสังคม
แต่ขณะเดียวกัน ก็มีความสนใจในด้านศิลปวัฒนธรรม ดนตรี ทั้งเล่นแซคโซโฟน สีซอ
และที่สำคัญ ทำได้ดีจนน่าทึ่งสำหรับคนที่ไม่ได้ยึดด้านนี้เป็นอาชีพ
ก็เลยทำให้ต้องไปสอยเรื่องนี้มาอ่าน
ยังอ่านไม่จบนะคะ แต่พลิก ๆ อ่าน ๆ ดูไปหลายบทหลายตอน
ขอไม่เล่าเนื้อเรื่องนะคะ เดี๋ยวจะสปอยล์เนื้อหา
แต่ก็มีประเด็นเกี่ยวกับหนังสือเล่มนี้ มาขอแลกเปลี่ยนความคิดเห็นดังต่อไปนี้
1. ถ้าถามว่า สนุกไหม สละสลวยไหม เขียนได้ดีไหม
ต้องตอบง่าย ๆ สั้น ๆ แบบจริงใจเลยนะคะว่า สนุกค่ะ ส่วนสละสลวยไหม เขียนได้ดีไหม เดี๋ยวมาว่ากันต่อค่ะ
ลองอ่านคำนำดู ผู้เขียน ระบุว่า "นิยายเรื่องนี้ เป็นวิธีการสะท้อนความเป็นตัวตนของผม หลังจากที่ได้สั่งสมและเพาะบ่มมาครบหกสิบปี
ที่จะอ่านดูได้จากความคิดและการกระทำของตัวละครหลายตัวในเรื่องนั้นเอง"
ถ้าอ่าน ๆ ไปจะพบว่า คุณบัณฑูร ทำการ "ขอยืมปาก" ของตัวละครในเรื่อง แสดงออกถึง บุคลิก ทัศนคติ และความคิดเห็นของตนเองต่อประเด็นต่าง ๆ ในสังคม
บางเรื่อง ก็อาจจะพาดพิงแนว ๆ แซว ๆ ตัวเองหน่อย อ่านแล้วอมยิ้มเลยนะคะ
เช่น ตอนที่ ตัวเอกในเรื่อง คือ รุ้งราตรี กำลังจะไปเสนองานให้กับ ซีอีโอของธนาคารกสิกรไทย (ในนิยายระบุชื่อธนาคารเลยค่ะ)
คุณแม่ของนางเอก ก็บอกนางเอกว่า
"อ๋อ แม่จำได้แล้ว ธนาคารนี้เพิ่งจะออกภาพยนตร์โฆษณาใหม่ที่เป็นเรื่องรัก ๆ ใคร่ ๆ อะไรทำนองนี้แหละ เห็นเขาพูดกันว่า ซีอีโอคนนี้เขาเป็นคนโรแมนติก ถึงได้ยอมให้โฆษณาออกมาในแนวนี้ได้ แต่เอ...โฆษณาแนวอย่างนี้ ลูกว่ามันจะช่วยให้ธนาคารเขาขายสินค้าของเขาได้หรือ"
"หนูก็ไม่ทราบค่ะ แม่ แต่ถ้าเขาเป็นคนโรแมนติกจริง เขาคงไม่สนใจมั้งคะ ว่า โฆษณานั้น มันจะขายสินค้าได้หรือไม่ได้"
ช็อตนี้อมยิ้มนะคะ ช็อตต่อไปสำหรับอิชั้นขำก๊ากค่ะ
ตอนที่นางเอกรู้ว่า การนัดหมายถูกยกเลิก นางเอก คิดในใจว่า
"ไม่ค่อยอยากจะพบนักหรอก ซีอีอง ซีอีโอ โรแมนติคอะไรนี่ เผลอ ๆ มาทำตัวเป็นเฒ่าหัวงู พวกผู้บริหารชายนี่ไว้ใจไม่ค่อยได้"
แน่นอนค่ะ ความคิดเห็นแรง ๆ บางอย่างก็ถูกสอดแทรกมาในนิยายเช่น
ตอนนางเอกรำลึกถึง ตอนที่คุยกับพ่อ เรื่องวิกฤติเศรษฐกิจในปี 40
คุณพ่อนางเอก บอกว่า สาเหตุของวิกฤติครั้งนั้น เกิดจาก
"นักการเงินทั้งหลาย ใช้เท้าบริหารกิจการ
ส่วนธนาคารแห่งประเทศไทยก็ใช้เท้ากำกับดูแลระบบการเงินเหมือนกัน"
ความคิดเห็นหนัก ๆ เหล่านี้ จะอยู่ในภาคแจ้ง คือ ภาคปัจจุบัน
แต่ภาคเงานั้น
การบรรยายต่าง ๆ ในหลายบทหลายตอน บรรยายได้สวยงามนะคะ แบบหลับตาจินตนาการตามได้เลย
vivid ชัดเจน และเห็นภาพมาก
ดิฉันชอบตอนนี้ที่สุดค่ะ ที่บรรยายตอน นางพระญาแม่ท้าวคลอดลูก บรรยายได้อารมณ์เหมือนผู้เขียนเป็นหมอตำแยเลยนะคะ
... แม่ท้าวคำปินกรีดร้องเมื่อออกแรงเบ่งเป็นครั้งสุดท้ายก่อนพับไป ร่างของทารกนั้นลื่นหลุดมาสู่อุ้งมือของนางกู้
เมือกที่ฉาบตัวสะท้อนแสงเดือนเป็นเงาวับ...
คำว่า "เมือกที่ฉาบตัว" นี่เป็น detail ที่นึกภาพเด็กเกิดใหม่ได้ชัดเจนดีจริง ๆ
หรืออีกฉากที่ว่า
... นางพระญาแม่ท้าวคำปินประคองลูกน้อยแนบอุระ เปิดผ้าฮ้างอกให้ลูกได้ดื่มนมจากถัน แน่ะ ดูดนมจากถันไม่พอ ยังจับถันเล่นด้วย ...
บรรยายได้น่ารัก น่าเอ็นดูดีค่ะ
ถ้าจะมาพูดด้านเทคนิคการเขียน อื่น ๆ เช่น
การเชื่อมเรื่อง การร้อยเชื่อมตอนต่าง ๆ ให้เข้าหากันได้เนียนสนิทไร้รอยต่อ อันนี้ ยังไม่ค่อยดีนัก
การใช้คำ มีการใช้คำซ้ำมากเกินไปอยู่บางบท เช่น คำว่า "เพรียก" ในตอนเดียวกัน ใช้ซ้ำกันบ่อยเกินไป จนคำว่า "เพรียก" ลดความทรงพลังลง
บางครั้ง ก็มีความไม่เข้ากันอยู่บ้างของสำนวนที่ใช้ คือ ในภาคเดียวกันนี่แหละ บางตอน สำนวนก็เป็นทางการแบบงานเขียน ส่วนบางตอนก็ทันสมัยจน ดิฉันไม่คิดว่า คนวัยแซยิดจะใช้ หรือรู้จักคำพวกนี้ เช่นว่า การให้นางเอก คุยกับเพื่อนผ่านทางเฟซไทม์
สำหรับดิฉัน "ความไม่สมบูรณ์แบบ" ร้อยเปอร์เซ็นต์แบบนี้แหละ ให้อารมณ์ที่ "สด" มากของการเล่าเรื่อง
มันไม่ลื่นไหลไปทั้งหมด แต่บางตอน บางวรรค มันเป็นเพื่อนเล่าให้เพื่อนฟัง สด และ ได้อารมณ์ ดีค่ะ
2. เรื่องนี้ ไม่ว่า ผู้เขียนจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม โฆษณา โรงแรมน่านฟ้าพูคา ได้อย่างน่าไปเที่ยวมาก มีรายละเอียดชัดเจนกระทั่ง ใช้ผ้าปูยี่ห้ออะไร สบู่ยี่ห้ออะไร
ดิฉันอดคิดไม่ได้ว่า หนังสือเล่มนี้ บรรยายโรงแรมได้อย่างน่าสนใจ และน่าจะมีส่วนสำคัญยิ่งในการดึงดูดให้ลูกค้าได้ลองไปใช้บริการ มากยิ่งกว่า "อักขระลานนาโบราณ" ที่ผู้เขียน บรรยายในหนังสือ หน้า 35 ว่า
"ก็เถ้าแก่ (เจ้าของโรงแรม) เล่าให้ฟังว่า มีอาจารย์คนหนึ่งแนะนำ ถ้าใช้อักษรลานนาโบราณแล้ว จะสามารถดึงเอาพลังของเทาวดาที่อภิบาลรักษาอาณาจักรลานนาตะวันออกนี้ให้ลงมาช่วยให้กิจการของโรงแรม อีกทั้งบริษัทพูคาอื่น ๆ ด้วยให้เจริญรุ่งเรืองได้"
นิยายเรื่องนี้ละค้า ไม่ใช่อักขระลานนา ... ที่ทำให้ดิฉัน อยากลองไปพักห้อง "จินตกวี ทมยันตี" หรือ "ศรีอักษรา กฤษณา อโศกสิน" อย่างที่บรรยายไว้ถึงความเนี้ยบกริบของหนังสือดี ๆ หุ้มปกหนัง พร้อมด้วยลายเซ็นพิเศษในหนังสือสำหรับให้ผู้อ่านในห้องนี้เท่านั้น
ใครอ่านจบแล้วมีประเด็นอะไรขอเชิญ มาเล่าแลกเปลี่ยนกันนะคะ
ใครอ่าน สิเนหามนตาแห่งลานนา ของ คุณ บัณฑูร ล่ำซำกันบ้างแล้วคะ ?
เจ้าหน้าที่ ที่สนิทกัน บอกว่า แต่ละสาขา ได้มาประมาณ สาขาละ 3 เล่ม
ดิฉัน ไปสอยมาได้ เล่มที่สาม พอดี ราคา ๓๖๙ บาทค่ะ
ที่น่าสนใจ เกี่ยวกับหนังสือเล่มนี้ คือ ผู้เขียน คือ คุณ บัณฑูร ล่ำซำ CEO ของธนาคารกสิกรไทย
ผู้บุกเบิกและแนะนำ แนวคิด re-engineering มาใช้เป็นรายแรก ๆ ของไทย
ดิฉันรู้สึกมานานแล้วว่า คุณบัณฑูร เป็นคนประเภท double-lives หรือ มีชีวิตสองด้าน (จริง ๆ อาจมากกว่านั้น)
คือ ประสบความสำเร็จในด้านงานบริหาร จัดการ ในวงการที่ต้องใช้เหตุผล ใช้หลักการสูง
เป็น commentator ที่ทุกคนเงี่ยหูฟัง เวลาออกมาวิพากษ์วิจารณ์อะไรต่อมิอะไรต่าง ๆ ในสังคม
แต่ขณะเดียวกัน ก็มีความสนใจในด้านศิลปวัฒนธรรม ดนตรี ทั้งเล่นแซคโซโฟน สีซอ
และที่สำคัญ ทำได้ดีจนน่าทึ่งสำหรับคนที่ไม่ได้ยึดด้านนี้เป็นอาชีพ
ก็เลยทำให้ต้องไปสอยเรื่องนี้มาอ่าน
ยังอ่านไม่จบนะคะ แต่พลิก ๆ อ่าน ๆ ดูไปหลายบทหลายตอน
ขอไม่เล่าเนื้อเรื่องนะคะ เดี๋ยวจะสปอยล์เนื้อหา
แต่ก็มีประเด็นเกี่ยวกับหนังสือเล่มนี้ มาขอแลกเปลี่ยนความคิดเห็นดังต่อไปนี้
1. ถ้าถามว่า สนุกไหม สละสลวยไหม เขียนได้ดีไหม
ต้องตอบง่าย ๆ สั้น ๆ แบบจริงใจเลยนะคะว่า สนุกค่ะ ส่วนสละสลวยไหม เขียนได้ดีไหม เดี๋ยวมาว่ากันต่อค่ะ
ลองอ่านคำนำดู ผู้เขียน ระบุว่า "นิยายเรื่องนี้ เป็นวิธีการสะท้อนความเป็นตัวตนของผม หลังจากที่ได้สั่งสมและเพาะบ่มมาครบหกสิบปี
ที่จะอ่านดูได้จากความคิดและการกระทำของตัวละครหลายตัวในเรื่องนั้นเอง"
ถ้าอ่าน ๆ ไปจะพบว่า คุณบัณฑูร ทำการ "ขอยืมปาก" ของตัวละครในเรื่อง แสดงออกถึง บุคลิก ทัศนคติ และความคิดเห็นของตนเองต่อประเด็นต่าง ๆ ในสังคม
บางเรื่อง ก็อาจจะพาดพิงแนว ๆ แซว ๆ ตัวเองหน่อย อ่านแล้วอมยิ้มเลยนะคะ
เช่น ตอนที่ ตัวเอกในเรื่อง คือ รุ้งราตรี กำลังจะไปเสนองานให้กับ ซีอีโอของธนาคารกสิกรไทย (ในนิยายระบุชื่อธนาคารเลยค่ะ)
คุณแม่ของนางเอก ก็บอกนางเอกว่า
"อ๋อ แม่จำได้แล้ว ธนาคารนี้เพิ่งจะออกภาพยนตร์โฆษณาใหม่ที่เป็นเรื่องรัก ๆ ใคร่ ๆ อะไรทำนองนี้แหละ เห็นเขาพูดกันว่า ซีอีโอคนนี้เขาเป็นคนโรแมนติก ถึงได้ยอมให้โฆษณาออกมาในแนวนี้ได้ แต่เอ...โฆษณาแนวอย่างนี้ ลูกว่ามันจะช่วยให้ธนาคารเขาขายสินค้าของเขาได้หรือ"
"หนูก็ไม่ทราบค่ะ แม่ แต่ถ้าเขาเป็นคนโรแมนติกจริง เขาคงไม่สนใจมั้งคะ ว่า โฆษณานั้น มันจะขายสินค้าได้หรือไม่ได้"
ช็อตนี้อมยิ้มนะคะ ช็อตต่อไปสำหรับอิชั้นขำก๊ากค่ะ
ตอนที่นางเอกรู้ว่า การนัดหมายถูกยกเลิก นางเอก คิดในใจว่า
"ไม่ค่อยอยากจะพบนักหรอก ซีอีอง ซีอีโอ โรแมนติคอะไรนี่ เผลอ ๆ มาทำตัวเป็นเฒ่าหัวงู พวกผู้บริหารชายนี่ไว้ใจไม่ค่อยได้"
แน่นอนค่ะ ความคิดเห็นแรง ๆ บางอย่างก็ถูกสอดแทรกมาในนิยายเช่น
ตอนนางเอกรำลึกถึง ตอนที่คุยกับพ่อ เรื่องวิกฤติเศรษฐกิจในปี 40
คุณพ่อนางเอก บอกว่า สาเหตุของวิกฤติครั้งนั้น เกิดจาก
"นักการเงินทั้งหลาย ใช้เท้าบริหารกิจการ ส่วนธนาคารแห่งประเทศไทยก็ใช้เท้ากำกับดูแลระบบการเงินเหมือนกัน"
ความคิดเห็นหนัก ๆ เหล่านี้ จะอยู่ในภาคแจ้ง คือ ภาคปัจจุบัน
แต่ภาคเงานั้น
การบรรยายต่าง ๆ ในหลายบทหลายตอน บรรยายได้สวยงามนะคะ แบบหลับตาจินตนาการตามได้เลย
vivid ชัดเจน และเห็นภาพมาก
ดิฉันชอบตอนนี้ที่สุดค่ะ ที่บรรยายตอน นางพระญาแม่ท้าวคลอดลูก บรรยายได้อารมณ์เหมือนผู้เขียนเป็นหมอตำแยเลยนะคะ
... แม่ท้าวคำปินกรีดร้องเมื่อออกแรงเบ่งเป็นครั้งสุดท้ายก่อนพับไป ร่างของทารกนั้นลื่นหลุดมาสู่อุ้งมือของนางกู้
เมือกที่ฉาบตัวสะท้อนแสงเดือนเป็นเงาวับ...
คำว่า "เมือกที่ฉาบตัว" นี่เป็น detail ที่นึกภาพเด็กเกิดใหม่ได้ชัดเจนดีจริง ๆ
หรืออีกฉากที่ว่า
... นางพระญาแม่ท้าวคำปินประคองลูกน้อยแนบอุระ เปิดผ้าฮ้างอกให้ลูกได้ดื่มนมจากถัน แน่ะ ดูดนมจากถันไม่พอ ยังจับถันเล่นด้วย ...
บรรยายได้น่ารัก น่าเอ็นดูดีค่ะ
ถ้าจะมาพูดด้านเทคนิคการเขียน อื่น ๆ เช่น
การเชื่อมเรื่อง การร้อยเชื่อมตอนต่าง ๆ ให้เข้าหากันได้เนียนสนิทไร้รอยต่อ อันนี้ ยังไม่ค่อยดีนัก
การใช้คำ มีการใช้คำซ้ำมากเกินไปอยู่บางบท เช่น คำว่า "เพรียก" ในตอนเดียวกัน ใช้ซ้ำกันบ่อยเกินไป จนคำว่า "เพรียก" ลดความทรงพลังลง
บางครั้ง ก็มีความไม่เข้ากันอยู่บ้างของสำนวนที่ใช้ คือ ในภาคเดียวกันนี่แหละ บางตอน สำนวนก็เป็นทางการแบบงานเขียน ส่วนบางตอนก็ทันสมัยจน ดิฉันไม่คิดว่า คนวัยแซยิดจะใช้ หรือรู้จักคำพวกนี้ เช่นว่า การให้นางเอก คุยกับเพื่อนผ่านทางเฟซไทม์
สำหรับดิฉัน "ความไม่สมบูรณ์แบบ" ร้อยเปอร์เซ็นต์แบบนี้แหละ ให้อารมณ์ที่ "สด" มากของการเล่าเรื่อง
มันไม่ลื่นไหลไปทั้งหมด แต่บางตอน บางวรรค มันเป็นเพื่อนเล่าให้เพื่อนฟัง สด และ ได้อารมณ์ ดีค่ะ
2. เรื่องนี้ ไม่ว่า ผู้เขียนจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม โฆษณา โรงแรมน่านฟ้าพูคา ได้อย่างน่าไปเที่ยวมาก มีรายละเอียดชัดเจนกระทั่ง ใช้ผ้าปูยี่ห้ออะไร สบู่ยี่ห้ออะไร
ดิฉันอดคิดไม่ได้ว่า หนังสือเล่มนี้ บรรยายโรงแรมได้อย่างน่าสนใจ และน่าจะมีส่วนสำคัญยิ่งในการดึงดูดให้ลูกค้าได้ลองไปใช้บริการ มากยิ่งกว่า "อักขระลานนาโบราณ" ที่ผู้เขียน บรรยายในหนังสือ หน้า 35 ว่า
"ก็เถ้าแก่ (เจ้าของโรงแรม) เล่าให้ฟังว่า มีอาจารย์คนหนึ่งแนะนำ ถ้าใช้อักษรลานนาโบราณแล้ว จะสามารถดึงเอาพลังของเทาวดาที่อภิบาลรักษาอาณาจักรลานนาตะวันออกนี้ให้ลงมาช่วยให้กิจการของโรงแรม อีกทั้งบริษัทพูคาอื่น ๆ ด้วยให้เจริญรุ่งเรืองได้"
นิยายเรื่องนี้ละค้า ไม่ใช่อักขระลานนา ... ที่ทำให้ดิฉัน อยากลองไปพักห้อง "จินตกวี ทมยันตี" หรือ "ศรีอักษรา กฤษณา อโศกสิน" อย่างที่บรรยายไว้ถึงความเนี้ยบกริบของหนังสือดี ๆ หุ้มปกหนัง พร้อมด้วยลายเซ็นพิเศษในหนังสือสำหรับให้ผู้อ่านในห้องนี้เท่านั้น
ใครอ่านจบแล้วมีประเด็นอะไรขอเชิญ มาเล่าแลกเปลี่ยนกันนะคะ