แวววรรณ หงษ์วิวัฒน์ เจ้าของหนังสือ Wish us Luck ขอให้เราโชคดี
บันทึกการเดินทางโดยรถไฟจากลอนดอนถึงกรุงเทพฯ
อธิบายถึงตัวเองซึ่งอยู่ในช่วงเจเนอเรชั่นวายไว้ว่า
“เราไม่รู้ว่าจะทำอะไรดี เราชอบโน่นนิดนี่หน่อย เรารู้ว่าเราไม่ชอบอะไร แต่เราไม่รู้ว่าเราชอบอะไร”
เจเนอเรชั่นวาย คือ คนที่เกิดในช่วงปี พ.ศ. 2525 - 2542
(ข้อมูลจากกระทรวงมหาดไทย อ้างถึงโดยนิตยสาร Marketeer ฉบับ มิ.ย. 2552)
คนกลุ่มนี้เกิดมากับความเพียบพร้อม ทั้งการศึกษา สภาพสังคมที่เจริญ และเทคโนโลยีล้ำสมัย
เนื่องจากถูกเลี้ยงดูมาโดยพ่อแม่ที่ค่อนข้างประสบความสำเร็จในชีวิต
จึงไม่ต้องดิ้นรนเพื่อปากท้องมากนัก ทำให้เจนวายเป็นพวกมองโลกในแง่ดี
แต่ไม่ค่อยมีความอดทน อีกทั้งยังมีโลกส่วนตัวสูง
คนกลุ่มนี้จึงเปลี่ยนงานบ่อย และไม่ได้มองว่าเป็นเรื่องผิด
ปีแรกของการก้าวสู่โลกมนุษย์เงินเดือน เพื่อนร่วมรุ่นฉันเกิน 70%
ผ่านประสบการณ์ลาออกกันมาแล้วทั้งสิ้น ในวงสนทนาคืนวันศุกร์
ที่ร้านนั่งชิลล์แถวราชเทวี ฉันโยนคำถามเข้าไปกลางวง
ที่กำลังก่นด่าชีวิตการทำงานปีแรกกันอย่างเมามันว่า
"พวกแกว่าคนรุ่นเราความอดทนต่ำจริงไหม?"
เพื่อนฉันสวนกลับมาทันทีแบบไม่หยุดคิด "ทำไมเราต้องทนวะ"
เราถูกสอนมาตลอดว่าความอดทนเป็นเรื่องดีมิใช่หรือ
'อด' ทำสิ่งที่ชอบ 'ทน' ทำสิ่งที่ไม่ชอบ
เพื่อรอคอยดอกผลของความสำเร็จที่จะตอบแทนเราอย่างงดงาม
คำถามคือเราต้องทนไปอีกนานแค่ไหน
แล้วมีอะไรรับประกันไหมว่าสุดท้ายเราจะได้ในสิ่งที่ต้องการ
ทุกเช้าเมื่อตื่นนอน
ฉันมักเริ่มวันด้วยการไล่เรียงว่าวันนี้ต้องทำอะไรบ้าง
และฉันอยากลุกขึ้นไปทำสิ่งเหล่านั้นไหม
ถ้าเมื่อไหร่ที่คำตอบคือ 'ไม่' ชีวิตคงต้องมีการเปลี่ยนแปลง
นั่นจึงนำมาสู่การลาออกครั้งแรก...
ฉันตัดสินใจก้าวออกจากเขตความมั่นคงทางการเงิน
โดยที่ยังไม่รู้เลยว่าจะเดินไปทางไหนต่อ
ฉันหวาดหวั่นไม่มั่นใจสักนิดว่าจะเอาตัวรอดได้ด้วยทักษะแสนอ่อนด้อย
ประสบการณ์เท่าหางอึ่ง และพื้นฐานครอบครัวที่ไม่ได้พร้อมสนับสนุนมากนัก
วิชาการค้นหาตัวเอง กำลังยื่นบททดสอบมาให้อีกครั้ง
ฉันไม่มีทางเลือกอื่นใดนอกจากตะลุยมันไปให้สุดทาง
ถ้ายังไม่สามารถเลือกคำตอบที่ใช่ได้
บางทีก็อาจต้องค่อยๆ ตัดคำตอบที่ไม่ใช่ออกไปเรื่อยๆ
ภาณุ มณีวัฒนกุล นักเขียนและช่างภาพแนวสารคดีท่องเที่ยวรุ่นใหญ่
เคยให้สัมภาษณ์ไว้ในรายการเป็น อยู่ คือ ว่า
"การดำเนินชีวิตประจำวันไปในทางที่ไม่ชอบ
การจำเป็นต้องเสแสร้งเพื่ออะไรบางอย่างนั่นคือความเจ็บปวดที่สุด
เพราะทำไปเรื่อยๆ มันจะกลายเป็นความเคยชินที่ต้องทำอะไรที่ตัวเองไม่รัก
ไม่มีอะไรเจ็บปวดมากไปกว่านี้อีกแล้ว"
การมีโอกาสได้ทดลองทำอะไรหลายอย่าง และเข้าถึงข้อมูลข่าวสารอย่างง่ายดาย
กลายเป็นดาบสองคมที่ทำให้ชาวเจเนอเรชั่นวาย (วอด?) หลายคน
เกิดความลังเลไม่แน่ใจว่าตัวเองรักอะไรกันแน่
พวกเราจึงตบเท้าเข้าสู่สถานะฟรีแลนซ์กันเป็นว่าเล่น
ด้วยหวังว่าพื้นที่และเวลาที่กำหนดเองได้มากขึ้นจะทำให้เราตามหาอะไรบางอย่างเจอ
ชีวิตอิสระนอกออฟฟิศรอคอยฉันอยู่อีกไม่กี่วันข้างหน้า
โลกคงสวยงามดี ถ้าเราสามารถเกลี้ยกล่อมให้ตัวเองรู้สึกได้ว่า
ทุกอุปสรรคคือความท้าทาย แต่สำหรับการก้าวผ่านบางสถานการณ์ในชีวิต
เราจำใจต้องยอมรับว่าบางช่วงเวลานั้นโลกอาจไม่สวยงามนัก
“ก้าวผ่านมันมาให้ได้”
ภาพเลือนรางของตัวฉันเองในอนาคตกระซิบข้างหู
…หวังว่าเธอจะค่อยๆ ชัดเจนขึ้น
เมื่อฉันค้นพบเส้นทางที่เหมาะเจาะลงตัวกับใจอย่างแท้จริง
การลาออกครั้งแรก
บันทึกการเดินทางโดยรถไฟจากลอนดอนถึงกรุงเทพฯ
อธิบายถึงตัวเองซึ่งอยู่ในช่วงเจเนอเรชั่นวายไว้ว่า
“เราไม่รู้ว่าจะทำอะไรดี เราชอบโน่นนิดนี่หน่อย เรารู้ว่าเราไม่ชอบอะไร แต่เราไม่รู้ว่าเราชอบอะไร”
เจเนอเรชั่นวาย คือ คนที่เกิดในช่วงปี พ.ศ. 2525 - 2542
(ข้อมูลจากกระทรวงมหาดไทย อ้างถึงโดยนิตยสาร Marketeer ฉบับ มิ.ย. 2552)
คนกลุ่มนี้เกิดมากับความเพียบพร้อม ทั้งการศึกษา สภาพสังคมที่เจริญ และเทคโนโลยีล้ำสมัย
เนื่องจากถูกเลี้ยงดูมาโดยพ่อแม่ที่ค่อนข้างประสบความสำเร็จในชีวิต
จึงไม่ต้องดิ้นรนเพื่อปากท้องมากนัก ทำให้เจนวายเป็นพวกมองโลกในแง่ดี
แต่ไม่ค่อยมีความอดทน อีกทั้งยังมีโลกส่วนตัวสูง
คนกลุ่มนี้จึงเปลี่ยนงานบ่อย และไม่ได้มองว่าเป็นเรื่องผิด
ปีแรกของการก้าวสู่โลกมนุษย์เงินเดือน เพื่อนร่วมรุ่นฉันเกิน 70%
ผ่านประสบการณ์ลาออกกันมาแล้วทั้งสิ้น ในวงสนทนาคืนวันศุกร์
ที่ร้านนั่งชิลล์แถวราชเทวี ฉันโยนคำถามเข้าไปกลางวง
ที่กำลังก่นด่าชีวิตการทำงานปีแรกกันอย่างเมามันว่า
"พวกแกว่าคนรุ่นเราความอดทนต่ำจริงไหม?"
เพื่อนฉันสวนกลับมาทันทีแบบไม่หยุดคิด "ทำไมเราต้องทนวะ"
เราถูกสอนมาตลอดว่าความอดทนเป็นเรื่องดีมิใช่หรือ
'อด' ทำสิ่งที่ชอบ 'ทน' ทำสิ่งที่ไม่ชอบ
เพื่อรอคอยดอกผลของความสำเร็จที่จะตอบแทนเราอย่างงดงาม
คำถามคือเราต้องทนไปอีกนานแค่ไหน
แล้วมีอะไรรับประกันไหมว่าสุดท้ายเราจะได้ในสิ่งที่ต้องการ
ทุกเช้าเมื่อตื่นนอน
ฉันมักเริ่มวันด้วยการไล่เรียงว่าวันนี้ต้องทำอะไรบ้าง
และฉันอยากลุกขึ้นไปทำสิ่งเหล่านั้นไหม
ถ้าเมื่อไหร่ที่คำตอบคือ 'ไม่' ชีวิตคงต้องมีการเปลี่ยนแปลง
นั่นจึงนำมาสู่การลาออกครั้งแรก...
ฉันตัดสินใจก้าวออกจากเขตความมั่นคงทางการเงิน
โดยที่ยังไม่รู้เลยว่าจะเดินไปทางไหนต่อ
ฉันหวาดหวั่นไม่มั่นใจสักนิดว่าจะเอาตัวรอดได้ด้วยทักษะแสนอ่อนด้อย
ประสบการณ์เท่าหางอึ่ง และพื้นฐานครอบครัวที่ไม่ได้พร้อมสนับสนุนมากนัก
วิชาการค้นหาตัวเอง กำลังยื่นบททดสอบมาให้อีกครั้ง
ฉันไม่มีทางเลือกอื่นใดนอกจากตะลุยมันไปให้สุดทาง
ถ้ายังไม่สามารถเลือกคำตอบที่ใช่ได้
บางทีก็อาจต้องค่อยๆ ตัดคำตอบที่ไม่ใช่ออกไปเรื่อยๆ
ภาณุ มณีวัฒนกุล นักเขียนและช่างภาพแนวสารคดีท่องเที่ยวรุ่นใหญ่
เคยให้สัมภาษณ์ไว้ในรายการเป็น อยู่ คือ ว่า
"การดำเนินชีวิตประจำวันไปในทางที่ไม่ชอบ
การจำเป็นต้องเสแสร้งเพื่ออะไรบางอย่างนั่นคือความเจ็บปวดที่สุด
เพราะทำไปเรื่อยๆ มันจะกลายเป็นความเคยชินที่ต้องทำอะไรที่ตัวเองไม่รัก
ไม่มีอะไรเจ็บปวดมากไปกว่านี้อีกแล้ว"
การมีโอกาสได้ทดลองทำอะไรหลายอย่าง และเข้าถึงข้อมูลข่าวสารอย่างง่ายดาย
กลายเป็นดาบสองคมที่ทำให้ชาวเจเนอเรชั่นวาย (วอด?) หลายคน
เกิดความลังเลไม่แน่ใจว่าตัวเองรักอะไรกันแน่
พวกเราจึงตบเท้าเข้าสู่สถานะฟรีแลนซ์กันเป็นว่าเล่น
ด้วยหวังว่าพื้นที่และเวลาที่กำหนดเองได้มากขึ้นจะทำให้เราตามหาอะไรบางอย่างเจอ
ชีวิตอิสระนอกออฟฟิศรอคอยฉันอยู่อีกไม่กี่วันข้างหน้า
โลกคงสวยงามดี ถ้าเราสามารถเกลี้ยกล่อมให้ตัวเองรู้สึกได้ว่า
ทุกอุปสรรคคือความท้าทาย แต่สำหรับการก้าวผ่านบางสถานการณ์ในชีวิต
เราจำใจต้องยอมรับว่าบางช่วงเวลานั้นโลกอาจไม่สวยงามนัก
“ก้าวผ่านมันมาให้ได้”
ภาพเลือนรางของตัวฉันเองในอนาคตกระซิบข้างหู
…หวังว่าเธอจะค่อยๆ ชัดเจนขึ้น
เมื่อฉันค้นพบเส้นทางที่เหมาะเจาะลงตัวกับใจอย่างแท้จริง