สืบเนื่องมาจากเราเคยสืบค้นข้อมูลเรื่องการเรียนกศน.ในอินเตอร์เน็ตแต่ค้นพบว่าไม่ค่อยมีข้อมูล(ในวงใน)หรือรายละเอียดต่างๆมากเท่าไรนัก และเมื่อเราได้เข้ามาเรียนกศน.แล้ว จึงอยากบอกเล่ารายละเอียดในการเรียน บรรยากาศในการเรียน และอื่นๆ(เท่าที่เราจะนึกได้)
เราออกจากโรงเรียนเดิมตอนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ค่ะ เนื่องจากเราเป็นคล้ายๆ Social phobia กังวลเวลาอยู่ในที่ชุมชน กลัวที่จะต้องสนทนากับคนที่เราไม่รู้จัก ประหม่า และจะค่อนข้างวิตกกังวล คิดมากค่ะ ถ้ากังวลเรื่องไหนก็จะคิดแต่เรื่องนั้นซ้ำไปซ้ำมา และหยุดไม่ได้ ทั้งๆที่มันเป็นเรื่องเล็กๆน้อยๆ และปัจจุบันนี้ก็ยังคงเป็นอยู่โดยเฉพาะเรื่องคิดมากในเรื่องที่ไม่น่าคิด และหยุดไม่ได้ ส่วนเรื่องสังคมดีขึ้นบ้างแล้วแต่ก็ยังเป็นอยู่ในบางสถานการณ์ (ตอนสมัยนั้นหลังจากออกจากโรงเรียนเดิมเราก็คิดมากสุดๆเลยค่ะ หัวแทบระเบิด ทั้งเรื่องการใช้ชีวิตในสังคม เรื่องเสียงนินทาจากเพื่อนว่าเราออกเพราะติดเกมมั่ง ทั้งๆที่เราไม่เล่นเกมเลย หรือเรื่องที่ว่าเราเคยโดดเรียนไปนั่งอยู่ร้านก๋วยเตี๋ยวหน้าโรงเรียน(เพื่อ ???) ซึ่งเราไม่เคยโดดเรียนและความคิดนั้นไม่เคยอยู่ในหัวสมองของเราเลยแม้แต่น้อย เราเครียดมาก และหลับฝันร้ายเป็นเดือนๆเลย)
พอผ่านเวลาไปสักระยะหนึ่งและพ่อแม่ท่านเป็นคนผลักดันและคอยให้กำลังใจว่าต้องสู้นะ สู้ๆหน่อย และจริงๆเราก็ไม่อยากทิ้งการเรียนค่ะ คนในครอบครัวเราสอนเราเสมอว่า "อย่างอื่น สิ่งอื่นๆ คนอื่นเขาสามารถเอาไปจากเราได้ แต่การเรียน ความรู้ไม่มีใครพรากไปจากเราได้ เวลาป๊าม้าไม่อยู่จะได้ดูแลตัวเองได้ เรียนให้จบ จะได้มีงานดีๆทำ สามารถหาเลี้ยงตนเองได้" เพราะฉะนั้นสิ่งที่สำคัญที่สุดคือความรู้ เราก็เลยสมัครเรียนที่โรงเรียนอื่นใหม่ แต่ไปเรียนได้ไม่นานเราก็ไม่ไหวค่ะ และยิ่งเห็นเพื่อนเก่าจากโรงเรียนเดิมมาแถวโรงเรียนนี้บ่อยๆและมันมีอยู่ครั้งนึงที่เราเดินผ่าน(เดินผ่านแถวโรงเรียนใหม่)เด็กนักเรียนโรงเรียนเก่าที่เดินมาด้วยกันสองคน ซึ่งเราก็ไม่รู้จักเขาแต่ทราบเพราะว่าเห็นชุดนักเรียนแล้วเขาก็กระซิบกันเรื่องเรา ได้ยินชัดมากเลยค่ะ เราพยายามแล้วแต่ทนไม่ไหวกับเรื่องพวกนี้และอีกหลายๆเรื่อง(แต่เชื่อว่ายังพยายามไม่ถึงที่สุดและไม่อดทนมากพอ) เราก็เลยลาออกอีก แล้วก็ทิ้งร้างเป็นเวลาประมาณ 3 ปีกว่าๆ จนเราโตขึ้น มีความคิดเป็นผู้ใหญ่ขึ้น เห็นคนอื่นเติบโตและมีอนาคต แล้วเราก็เริ่มหันกลับมามองตนเองและที่สำคัญเราเป็นห่วงสัตว์เลี้ยงทั้งหลาย(เป็นห่วงมากกว่าตัวเราเองเสียด้วยซ้ำ)ในภายภาคหน้าว่าถ้าเราไม่มีงานทำ เราจะมีเงินมาเลี้ยงพวกเขาทั้งหมดเหรอ(เราเลี้ยงสัตว์เยอะมากค่ะ) เราก็เลยเริ่มหาทางที่จะกลับมาเรียนอีก และเราก็พลาดโอกาสการเรียนในระบบไปแล้ว จนหาข้อมูลไปๆมาๆ จนค้นพบว่ามี ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย หรือ เรียกย่อๆว่า กศน.
กศน. เป็นที่ๆเปิดโอกาสให้คนอย่างเราได้กลับไปเรียนอีกครั้ง และแรกเริ่มเรามีข้อมูลเกี่ยวกับกศน.น้อยมาก เรียกได้ว่าพอเข้าไปเรียนแล้วมึนตึบเลย เพราะมันแตกต่างจากการเรียนในระบบ แตกต่างอย่างไร กศน.นั้นแตกต่างทั้งเรื่องระบบในการสอน และสภาพของสังคม เมื่อเข้าไปทำให้เราต้องปรับตัวพอสมควร
เริ่มแรกเลยที่สภาพสังคม สังคมของกศน.จะมีคนหลายระดับ และหลากหลากมาก ในทุกๆด้าน ทั้งคนรวยมาก คนถานะปานกลาง คนที่ไม่มีโอกาสได้เรียน คนที่ในอดีตเคยเจอกับปัญหาและกลับตัวได้ อยากมาเรียนอีกครั้ง มีทั้งวัยรุ่น ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ และอื่นๆอีกมากมาย สิ่งที่เรารู้สึกไม่คุ้นชินคือการได้ยินคนพูดคำหยาบต่างๆนาๆ(ส่วนใหญ่เป็นวัยรุ่นที่จะพูด) เพราะโรงเรียนเดิมที่เราเติบโตมา สภาพแวดล้อมทางสังคมที่เราเจอมานั้น ไม่พูดคำหยาบเลยค่ะ เราก็ถูกปลูกฝัง ถูกสอนมาแบบนั้น จะมีน้อยคนนักที่พูดคำหยาบ (ไม่เฉพาะแต่สังคมของกศน.เพราะที่โรงเรียนที่สองของเราหลังจากที่เราลาออกจากโรงเรียนเดิมก็พูดกันเกลื่อนหรือแม้กระทั่งสังคมข้างนอกก็ตาม) แต่พอไปๆมาๆเราก็เราชิน แต่เราไม่พูดนะคะ คำหยาบเนี่ย(ไม่รู้สึกว่ามันแปลก แต่ก็ยังคงรู้สึกตะหงิดๆอยู่เล็กน้อย) หรือเข้าไปแล้วเจอเด็กวัยรุ่นบางคนสูบบุหรี่ หรือมีแฟน แต่งงานแล้ว มีลูกแล้ว เคยยุ่งกับสิ่งที่ไม่ดีทั้งหลายมาก่อน มันก็เป็นสังคมที่เราไม่เคยเจอเช่นกัน(เรารู้ว่ามันมีแต่ไม่เคยเจอกับตัว) หรือบางคนที่ บุคลิก การพูดการจาที่ค่อนข้างกระโชก โฮกฮาก(ดูเสมือนว่ากร่างเล็กน้อย) แต่เมื่อเราได้อยู่ไปสักพัก เริ่มรู้จักคนเหล่านั้น จริงๆเขาก็ไม่ได้ดูแย่หรือไม่น่าคบเหมือนที่เราคิดในตอนแรกหนิ เมื่อเรารู้จักนิสัยจริงๆของคนเหล่านั้นเราพบว่าส่วนใหญ่นิสัยดีค่ะ คบได้ๆ ไม่ใช่เด็กกศน.ทุกคนจะแย่เหมือนกันไปหมด เหมือนกับที่สังคมภายนอกมอง ทุกสังคมมีทั้งสีดำ สีขาว และสีเทา
สำหรับระบบการเรียนของกศน.นั้น เราเรียนที่ กศน.เขตทวีวัฒนา ค่ะ ซึ่งค่อนข้างโชคดีที่ กศน.เขตนี้ค่อนข้างมีคุณภาพเลยทีเดียวถ้าเทียบกับกศน.ในหลายๆที่ กศน.จะมีการแบ่งเป็นสามระดับชั้นคือ ประถม มัธยมต้น และมัธยมปลาย ปัจจุบันนี้เราเรียนอยู่ม.ต้นค่ะ เรียนได้เทอมนึงแล้ว ตอนนี้กำลังเรียนเทอมสองอยู่ ม.ต้นปกติจะต้องเรียน 4 เทอมค่ะ ม.ปลายก็เช่นเดียวกัน ต้องเรียน 4 เทอม ซึ่งก็คือ 2 ปี แต่เราเทียบโอนชั้น ม.ต้นมาเพราะเราเรียนม.1มาแล้ว จึงเหลือเรียนแค่ปีครึ่งหรือแค่ 3 เทอม ถ้าคนที่ออกตอนเรียนจบ ม.2 อาจเหลือแค่เรียน 1 ปีหรือ 2 เทอม ก็เป็นได้ สำหรับม.ปลายก็มีให้เทียบโอนเช่นกัน (แต่มันมีเรื่องตลกเกี่ยวกับเรื่องเทียบโอนอีก เดี๋ยวจะเล่าให้ฟังค่ะ)
[img]http://upic.me/i/qd/9wcge.png[/img]
ลักษณะของการเรียนกศน.คือเรียนอาทิตย์ละหนึ่งวันค่ะ เราเลือกเรียนวันพุธ เนื่องจากเป็นวันในกลางสัปดาห์(เกี่ยวอะไรเนี่ย ???) เรามีความรู้สึกว่าวันจันทร์ มันต้นสัปดาห์เกินไป ส่วนวันอาทิตย์คนเรียนเยอะเกินไปแถมมีแต่วัยรุ่นเป็นซะส่วนใหญ่(เราไม่ชอบวัยใกล้ๆกันหรือเด็กกว่าค่ะ เราคุยไม่รู้เรื่อง เราจะชอบเพื่อนที่โตกว่าค่ะ คุยรู้เรื่องมากกว่า ทั้งเพื่อน ทั้งพี่ สนิทของเราเลยรุ่นเดียวกับน้าเรา ^^) เวลาเรียนเข้าเรียน 9.00 น. และมียืนเข้าแถวโฮมรูมก่อนเข้าเรียนค่ะ และพอโฮมรูมเสร็จก็จะเซ็นต์เช็คชื่อ แล้วก็เข้าห้องเรียน ส่วนใหญ่ครูจะสอนก็ตามในหนังสือนั่นแหล่ะค่ะ ส่วนใหญ่ไม่มีอะไรมากไปกว่านั้น ให้เขียนกรต.(กรต.คือเขียนสรุปว่าวันนั้นเรียนวิชาอะไร มีเนื้อหาอย่างไรบ้าง ได้ประโยชน์จากมันอย่างไร สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันหรือวิชาอื่นๆได้อย่างไร และคนในห้องส่วนใหญ่ก็จะลอกกันค่ะ เพราะไม่จดเนื้อหาที่เรียนกัน) แล้วก็มีควิซให้ทำ(ควิซคือข้อสอบย่อยในแต่ละครั้งที่เรียน แต่จริงๆแล้วมันไม่เหมือนข้อสอบเลย เหมือนแบบฝึกหัดที่มีคะแนนให้ เพราะเด็กลอกกันตรึมมม!!! เราโดนคนขอลอกทุกครั้งค่ะ) แล้วก็จะสั่งงานให้ทำ เป็นใบงาน สั่งรายงานให้ทำ(สิ่งเหล่านี้แทบจะทุกงานเราก็โดนคนขอลอกค่ะ ยกเว้นประวัติส่วนตัว ฮ่ะๆ) และมีเวลาเรียนน้อยมาก เพราะฉะนั้นคุณต้องไปอ่านเองเป็นซะส่วนใหญ่ ซึ่งคุณต้องขยันค่ะ และปัญหาใหญ่คือ หนังสือเรียนไม่พอ ??? และหนังสือเป็นหนังสือยืมเรียน ไม่มีจำหน่าย(กรรม) ทางแก้ปัญหานี้ก็คือไปหาโหลดเอาในเน็ต หรือไม่ก็ยืมหนังสือแล้วไปถ่ายเอกสารเอา(เราทำทั้งสองอย่าง) บางทีต้องนั่งจับกลุ่มกันหลายคนและใช้หนังสือเล่มเดียวเรียน และก็เหมือนในระบบคือเราต้องจดๆๆๆและจด(เราชอบจด) เนื้อหาในหนังสือถ้าเทียบกับในระบบจะไม่แน่นเท่าค่ะ ทุกๆเทอมจะมีการทำโครงงานค่ะ ทั้งโครงงานเดี่ยวและกลุ่ม คุณครูจะย้ำเรื่องพวกนี้กับนักศึกษาบ่อยมากคือ ห้ามขาดเกินสี่ครั้ง ถ้าขาดเกินสี่ครั้ง = มส. (มส. หมายความว่าหมดสิทธิ์สอบค่ะ) ทำคะแนนกพช.ให้ครบ 100 ชั่วโมง(กพช. หมายความว่ากิจกรรมคุณภาพชีวิต ต้องไปทำกิจกรรมต่างๆที่ทางกศน.มีให้) และ ส่งงานให้ตรงเวลา(ส่วนใหญ่เด็กจะไม่ค่อยส่งงานค่ะ) พอตอนเที่ยงครูก็จะปล่อยให้ไปทานข้าว แล้วส่วนใหญ่ก็จะให้ขึ้นไปเรียนต่อ(แต่...เด็กบางกลุ่มมักจะไม่ขึ้นกันค่ะ พอปล่อยปุ๊ปก็หายจ๋อมม) มากสุดก็ปล่อยกลับบ้านประมาณ 3-4 โมงเย็นค่ะ
และสำหรับเราการเรียนจะลำบากขึ้นมานิดนึงตรงที่ว่าเราเป็นนักเรียนเทียบโอนค่ะ จากที่ประสบมาในเทอมแรก ถามใคร ใครก็มึน ว่าจริงๆแล้วเราต้องเรียนอย่างไร ไปๆมาๆก็สรุปได้ว่าเราต้องนั่งเรียนกับเพื่อนทั้งๆที่วิชานั้นเราเทียบโอนมาเรียบร้อยแล้วและแน่นอนว่ามีเกรดแล้ว ไม่ต้องสอบบบบ!!! (แล้วจะเรียนทำมายยยยย) เช่นวิชาสุขศึกษา-พลศึกษาเราเทียบโอนมาแล้ว มีเกรดแล้ว แต่ดั๊นต้องนั่งเรียนวิชานี้ในห้อง นั่งทำงานวิชานี้ และอื่นๆอีกสาม-สี่วิชาที่เทียบโอนมา และมันน่าตลกยิ่งขึ้นไปอีกตรงที่วิชาที่เราต้องสอบในบางวิชาเรากลับไม่ได้เรียนเพราะเด็กเทียบโอนเรียนวิชาบางวิชาเพิ่มเข้ามา ไม่เหมือนกับที่เด็กปกติเรียน เราก็จะได้รายงาน(สรุปหนังสือวิชานั้นๆที่เราต้องสอบและเราไม่ได้เรียนในห้อง)มาทำ ซึ่งเทอมที่แล้วยังไม่ค่อยหนักเพราะวิชาที่เราต้องอ่านเองล้วนๆ ไม่มีคนสอน และไปสอบ มีแค่วิชาเดียว [ (ทักษะการพัฒนาอาชีพ และเกรดออกมาค่อนข้างน่าพอใจคือ 3.5 (รอบแรกเราเขียนเกรดผิด) ] เทอมที่แล้วเราต้องสอบด้วยกัน 5 วิชา แบ่งเป็นวิชาหลัก 3 วิชา(เราไม่ได้ลงเรียนเองทางกศน.ลงเรียนให้) และวิชาเลือก 2 วิชา(ซึ่งวิชาเลือกเราก็ไม่ได้เลือกเองนะทางกศน.เลือกให้ ฮ่ะๆ) ผลสอบออกมาได้เกรดเฉลี่ย 3.60 (เหอะๆ ไม่น่าเชื่อ นึกว่าจะได้น้อยกว่านี้ ที่ได้ขนาดนี้น่าจะเป็นเพราะส่งงานครบทุกงานค่ะ เพราะยอมรับเลยว่าบางวิชาที่สอบไม่ค่อยได้ง่ะ อ่านแล้วไม่เข้าใจ เช่นพวกวิชาที่คาบเกี่ยวกับการบริหาร การจัดการ อะไรเทือกนั้น) ส่วนเทอมนี้เนี่ย ตายเลยดีกว่า แกล้งกันชัดๆน่ะ ทางกศน.(คาดว่าน่าจะเป็นครู) ลงเรียนให้เรา 8 วิชา ตายๆๆ ส่วนใหญ่ต้องอ่านเอง ไม่มีครูสอน แบ่งเป็นวิชาหลัก 4 วิชา มีคณิตรวมอยู่ด้วย ซึ่งจะมีครูจากข้างนอกมาสอนคณิตสามครั้ง แค่สามครั้ง!!! บ้าไปแล้ววว(3 ครั้งใครมันจะไปเรียนรู้เรื่องได้ทั้งเล่ม แค่ขนาดอังกฤษเทอมที่แล้วคนอื่นๆยังไม่ไหวกันเป็นแถบๆ อังกฤษนี่เราได้ค่ะ ข้อสอบง่ายมาก ส่วนเลขเราไม่เก่งเลยแต่เข้าไปอ่านหนังสือมาแล้ว ไม่ค่อยยากค่ะ ก็เลยคิดว่าน่าจะทำได้ค่ะ ขยันเป็นคำตอบเดียววว) และก็มีวิชาเลือก 4 วิชา ซึ่งความโหดร้ายมันอยู่ตรงที่วิชาที่เราเรียนเหมือนเพื่อน วิชาที่เราต้องสอบ วิชาที่จะมีครูสอนในห้องเรียน จะมีแค่ 3 วิชา !!! ที่เหลือ 5 วิชา อ่านเองงง
และมันยิ่งเลวร้ายลงไปอีกตรงที่เทอมนี้เรา...เป็นคนที่เรียนวิชาเยอะสุดในห้องงงง
การแต่งกายไปเรียน ให้ใส่ชุดนักศึกษาไปเรียนค่ะ สำหรับนักศึกษาหญิงขอให้ใส่กระโปรงให้เรียบร้อย เลยเข่ามาหน่อยนึง อย่าใส่สั้นมากนัก หรือไม่ก็ใส่เสื้อสีม่วงๆ(เสื้อของกศน.เขตทวีวัฒนา)ไปเรียน และที่สำคัญทั้งหญิงและชายอย่าใส่แตะมา
เหลือเรียนอีกแค่สองเทอม(รวมเทอมนี้)เราก็จะจบ ม.ต้นค่ะ แล้วจะไปสมัครพรีดีกรีของ ม.ราม เรียนควบไปกับม.ปลายของกศน. พอได้วุฒิม.6 เรียบร้อยแล้วก็จะโอนหน่วยกิตไปเรียนแบบปกติ(ที่ม.ราม) ถ้าเรียนรามจบเราคิดไว้ว่าคงจะไปต่อมหาลัยอื่นๆต่อ(อยากเรียนภาษาศาสตร์) ที่รามยังคงคิดไม่ออกว่าอยากเรียนอะไร อยากเรียนคณะอะไรที่เกี่ยวกับวิทย์(แต่ไม่เอาเลข ฮ่ะๆ) เราถนัดวิทย์ ชอบวิทย์ค่ะ แม่เราเชียร์ให้เรียนวิศวะคอม
ไม่ใช่แนวเราน่ะ
มาเล่าประสบการณ์การเรียน 'กศน.' (การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย) และก่อนที่จะมาเรียนกศน.
เราออกจากโรงเรียนเดิมตอนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ค่ะ เนื่องจากเราเป็นคล้ายๆ Social phobia กังวลเวลาอยู่ในที่ชุมชน กลัวที่จะต้องสนทนากับคนที่เราไม่รู้จัก ประหม่า และจะค่อนข้างวิตกกังวล คิดมากค่ะ ถ้ากังวลเรื่องไหนก็จะคิดแต่เรื่องนั้นซ้ำไปซ้ำมา และหยุดไม่ได้ ทั้งๆที่มันเป็นเรื่องเล็กๆน้อยๆ และปัจจุบันนี้ก็ยังคงเป็นอยู่โดยเฉพาะเรื่องคิดมากในเรื่องที่ไม่น่าคิด และหยุดไม่ได้ ส่วนเรื่องสังคมดีขึ้นบ้างแล้วแต่ก็ยังเป็นอยู่ในบางสถานการณ์ (ตอนสมัยนั้นหลังจากออกจากโรงเรียนเดิมเราก็คิดมากสุดๆเลยค่ะ หัวแทบระเบิด ทั้งเรื่องการใช้ชีวิตในสังคม เรื่องเสียงนินทาจากเพื่อนว่าเราออกเพราะติดเกมมั่ง ทั้งๆที่เราไม่เล่นเกมเลย หรือเรื่องที่ว่าเราเคยโดดเรียนไปนั่งอยู่ร้านก๋วยเตี๋ยวหน้าโรงเรียน(เพื่อ ???) ซึ่งเราไม่เคยโดดเรียนและความคิดนั้นไม่เคยอยู่ในหัวสมองของเราเลยแม้แต่น้อย เราเครียดมาก และหลับฝันร้ายเป็นเดือนๆเลย)
พอผ่านเวลาไปสักระยะหนึ่งและพ่อแม่ท่านเป็นคนผลักดันและคอยให้กำลังใจว่าต้องสู้นะ สู้ๆหน่อย และจริงๆเราก็ไม่อยากทิ้งการเรียนค่ะ คนในครอบครัวเราสอนเราเสมอว่า "อย่างอื่น สิ่งอื่นๆ คนอื่นเขาสามารถเอาไปจากเราได้ แต่การเรียน ความรู้ไม่มีใครพรากไปจากเราได้ เวลาป๊าม้าไม่อยู่จะได้ดูแลตัวเองได้ เรียนให้จบ จะได้มีงานดีๆทำ สามารถหาเลี้ยงตนเองได้" เพราะฉะนั้นสิ่งที่สำคัญที่สุดคือความรู้ เราก็เลยสมัครเรียนที่โรงเรียนอื่นใหม่ แต่ไปเรียนได้ไม่นานเราก็ไม่ไหวค่ะ และยิ่งเห็นเพื่อนเก่าจากโรงเรียนเดิมมาแถวโรงเรียนนี้บ่อยๆและมันมีอยู่ครั้งนึงที่เราเดินผ่าน(เดินผ่านแถวโรงเรียนใหม่)เด็กนักเรียนโรงเรียนเก่าที่เดินมาด้วยกันสองคน ซึ่งเราก็ไม่รู้จักเขาแต่ทราบเพราะว่าเห็นชุดนักเรียนแล้วเขาก็กระซิบกันเรื่องเรา ได้ยินชัดมากเลยค่ะ เราพยายามแล้วแต่ทนไม่ไหวกับเรื่องพวกนี้และอีกหลายๆเรื่อง(แต่เชื่อว่ายังพยายามไม่ถึงที่สุดและไม่อดทนมากพอ) เราก็เลยลาออกอีก แล้วก็ทิ้งร้างเป็นเวลาประมาณ 3 ปีกว่าๆ จนเราโตขึ้น มีความคิดเป็นผู้ใหญ่ขึ้น เห็นคนอื่นเติบโตและมีอนาคต แล้วเราก็เริ่มหันกลับมามองตนเองและที่สำคัญเราเป็นห่วงสัตว์เลี้ยงทั้งหลาย(เป็นห่วงมากกว่าตัวเราเองเสียด้วยซ้ำ)ในภายภาคหน้าว่าถ้าเราไม่มีงานทำ เราจะมีเงินมาเลี้ยงพวกเขาทั้งหมดเหรอ(เราเลี้ยงสัตว์เยอะมากค่ะ) เราก็เลยเริ่มหาทางที่จะกลับมาเรียนอีก และเราก็พลาดโอกาสการเรียนในระบบไปแล้ว จนหาข้อมูลไปๆมาๆ จนค้นพบว่ามี ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย หรือ เรียกย่อๆว่า กศน.
กศน. เป็นที่ๆเปิดโอกาสให้คนอย่างเราได้กลับไปเรียนอีกครั้ง และแรกเริ่มเรามีข้อมูลเกี่ยวกับกศน.น้อยมาก เรียกได้ว่าพอเข้าไปเรียนแล้วมึนตึบเลย เพราะมันแตกต่างจากการเรียนในระบบ แตกต่างอย่างไร กศน.นั้นแตกต่างทั้งเรื่องระบบในการสอน และสภาพของสังคม เมื่อเข้าไปทำให้เราต้องปรับตัวพอสมควร
เริ่มแรกเลยที่สภาพสังคม สังคมของกศน.จะมีคนหลายระดับ และหลากหลากมาก ในทุกๆด้าน ทั้งคนรวยมาก คนถานะปานกลาง คนที่ไม่มีโอกาสได้เรียน คนที่ในอดีตเคยเจอกับปัญหาและกลับตัวได้ อยากมาเรียนอีกครั้ง มีทั้งวัยรุ่น ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ และอื่นๆอีกมากมาย สิ่งที่เรารู้สึกไม่คุ้นชินคือการได้ยินคนพูดคำหยาบต่างๆนาๆ(ส่วนใหญ่เป็นวัยรุ่นที่จะพูด) เพราะโรงเรียนเดิมที่เราเติบโตมา สภาพแวดล้อมทางสังคมที่เราเจอมานั้น ไม่พูดคำหยาบเลยค่ะ เราก็ถูกปลูกฝัง ถูกสอนมาแบบนั้น จะมีน้อยคนนักที่พูดคำหยาบ (ไม่เฉพาะแต่สังคมของกศน.เพราะที่โรงเรียนที่สองของเราหลังจากที่เราลาออกจากโรงเรียนเดิมก็พูดกันเกลื่อนหรือแม้กระทั่งสังคมข้างนอกก็ตาม) แต่พอไปๆมาๆเราก็เราชิน แต่เราไม่พูดนะคะ คำหยาบเนี่ย(ไม่รู้สึกว่ามันแปลก แต่ก็ยังคงรู้สึกตะหงิดๆอยู่เล็กน้อย) หรือเข้าไปแล้วเจอเด็กวัยรุ่นบางคนสูบบุหรี่ หรือมีแฟน แต่งงานแล้ว มีลูกแล้ว เคยยุ่งกับสิ่งที่ไม่ดีทั้งหลายมาก่อน มันก็เป็นสังคมที่เราไม่เคยเจอเช่นกัน(เรารู้ว่ามันมีแต่ไม่เคยเจอกับตัว) หรือบางคนที่ บุคลิก การพูดการจาที่ค่อนข้างกระโชก โฮกฮาก(ดูเสมือนว่ากร่างเล็กน้อย) แต่เมื่อเราได้อยู่ไปสักพัก เริ่มรู้จักคนเหล่านั้น จริงๆเขาก็ไม่ได้ดูแย่หรือไม่น่าคบเหมือนที่เราคิดในตอนแรกหนิ เมื่อเรารู้จักนิสัยจริงๆของคนเหล่านั้นเราพบว่าส่วนใหญ่นิสัยดีค่ะ คบได้ๆ ไม่ใช่เด็กกศน.ทุกคนจะแย่เหมือนกันไปหมด เหมือนกับที่สังคมภายนอกมอง ทุกสังคมมีทั้งสีดำ สีขาว และสีเทา
สำหรับระบบการเรียนของกศน.นั้น เราเรียนที่ กศน.เขตทวีวัฒนา ค่ะ ซึ่งค่อนข้างโชคดีที่ กศน.เขตนี้ค่อนข้างมีคุณภาพเลยทีเดียวถ้าเทียบกับกศน.ในหลายๆที่ กศน.จะมีการแบ่งเป็นสามระดับชั้นคือ ประถม มัธยมต้น และมัธยมปลาย ปัจจุบันนี้เราเรียนอยู่ม.ต้นค่ะ เรียนได้เทอมนึงแล้ว ตอนนี้กำลังเรียนเทอมสองอยู่ ม.ต้นปกติจะต้องเรียน 4 เทอมค่ะ ม.ปลายก็เช่นเดียวกัน ต้องเรียน 4 เทอม ซึ่งก็คือ 2 ปี แต่เราเทียบโอนชั้น ม.ต้นมาเพราะเราเรียนม.1มาแล้ว จึงเหลือเรียนแค่ปีครึ่งหรือแค่ 3 เทอม ถ้าคนที่ออกตอนเรียนจบ ม.2 อาจเหลือแค่เรียน 1 ปีหรือ 2 เทอม ก็เป็นได้ สำหรับม.ปลายก็มีให้เทียบโอนเช่นกัน (แต่มันมีเรื่องตลกเกี่ยวกับเรื่องเทียบโอนอีก เดี๋ยวจะเล่าให้ฟังค่ะ)
[img]http://upic.me/i/qd/9wcge.png[/img]
ลักษณะของการเรียนกศน.คือเรียนอาทิตย์ละหนึ่งวันค่ะ เราเลือกเรียนวันพุธ เนื่องจากเป็นวันในกลางสัปดาห์(เกี่ยวอะไรเนี่ย ???) เรามีความรู้สึกว่าวันจันทร์ มันต้นสัปดาห์เกินไป ส่วนวันอาทิตย์คนเรียนเยอะเกินไปแถมมีแต่วัยรุ่นเป็นซะส่วนใหญ่(เราไม่ชอบวัยใกล้ๆกันหรือเด็กกว่าค่ะ เราคุยไม่รู้เรื่อง เราจะชอบเพื่อนที่โตกว่าค่ะ คุยรู้เรื่องมากกว่า ทั้งเพื่อน ทั้งพี่ สนิทของเราเลยรุ่นเดียวกับน้าเรา ^^) เวลาเรียนเข้าเรียน 9.00 น. และมียืนเข้าแถวโฮมรูมก่อนเข้าเรียนค่ะ และพอโฮมรูมเสร็จก็จะเซ็นต์เช็คชื่อ แล้วก็เข้าห้องเรียน ส่วนใหญ่ครูจะสอนก็ตามในหนังสือนั่นแหล่ะค่ะ ส่วนใหญ่ไม่มีอะไรมากไปกว่านั้น ให้เขียนกรต.(กรต.คือเขียนสรุปว่าวันนั้นเรียนวิชาอะไร มีเนื้อหาอย่างไรบ้าง ได้ประโยชน์จากมันอย่างไร สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันหรือวิชาอื่นๆได้อย่างไร และคนในห้องส่วนใหญ่ก็จะลอกกันค่ะ เพราะไม่จดเนื้อหาที่เรียนกัน) แล้วก็มีควิซให้ทำ(ควิซคือข้อสอบย่อยในแต่ละครั้งที่เรียน แต่จริงๆแล้วมันไม่เหมือนข้อสอบเลย เหมือนแบบฝึกหัดที่มีคะแนนให้ เพราะเด็กลอกกันตรึมมม!!! เราโดนคนขอลอกทุกครั้งค่ะ) แล้วก็จะสั่งงานให้ทำ เป็นใบงาน สั่งรายงานให้ทำ(สิ่งเหล่านี้แทบจะทุกงานเราก็โดนคนขอลอกค่ะ ยกเว้นประวัติส่วนตัว ฮ่ะๆ) และมีเวลาเรียนน้อยมาก เพราะฉะนั้นคุณต้องไปอ่านเองเป็นซะส่วนใหญ่ ซึ่งคุณต้องขยันค่ะ และปัญหาใหญ่คือ หนังสือเรียนไม่พอ ??? และหนังสือเป็นหนังสือยืมเรียน ไม่มีจำหน่าย(กรรม) ทางแก้ปัญหานี้ก็คือไปหาโหลดเอาในเน็ต หรือไม่ก็ยืมหนังสือแล้วไปถ่ายเอกสารเอา(เราทำทั้งสองอย่าง) บางทีต้องนั่งจับกลุ่มกันหลายคนและใช้หนังสือเล่มเดียวเรียน และก็เหมือนในระบบคือเราต้องจดๆๆๆและจด(เราชอบจด) เนื้อหาในหนังสือถ้าเทียบกับในระบบจะไม่แน่นเท่าค่ะ ทุกๆเทอมจะมีการทำโครงงานค่ะ ทั้งโครงงานเดี่ยวและกลุ่ม คุณครูจะย้ำเรื่องพวกนี้กับนักศึกษาบ่อยมากคือ ห้ามขาดเกินสี่ครั้ง ถ้าขาดเกินสี่ครั้ง = มส. (มส. หมายความว่าหมดสิทธิ์สอบค่ะ) ทำคะแนนกพช.ให้ครบ 100 ชั่วโมง(กพช. หมายความว่ากิจกรรมคุณภาพชีวิต ต้องไปทำกิจกรรมต่างๆที่ทางกศน.มีให้) และ ส่งงานให้ตรงเวลา(ส่วนใหญ่เด็กจะไม่ค่อยส่งงานค่ะ) พอตอนเที่ยงครูก็จะปล่อยให้ไปทานข้าว แล้วส่วนใหญ่ก็จะให้ขึ้นไปเรียนต่อ(แต่...เด็กบางกลุ่มมักจะไม่ขึ้นกันค่ะ พอปล่อยปุ๊ปก็หายจ๋อมม) มากสุดก็ปล่อยกลับบ้านประมาณ 3-4 โมงเย็นค่ะ
และสำหรับเราการเรียนจะลำบากขึ้นมานิดนึงตรงที่ว่าเราเป็นนักเรียนเทียบโอนค่ะ จากที่ประสบมาในเทอมแรก ถามใคร ใครก็มึน ว่าจริงๆแล้วเราต้องเรียนอย่างไร ไปๆมาๆก็สรุปได้ว่าเราต้องนั่งเรียนกับเพื่อนทั้งๆที่วิชานั้นเราเทียบโอนมาเรียบร้อยแล้วและแน่นอนว่ามีเกรดแล้ว ไม่ต้องสอบบบบ!!! (แล้วจะเรียนทำมายยยยย) เช่นวิชาสุขศึกษา-พลศึกษาเราเทียบโอนมาแล้ว มีเกรดแล้ว แต่ดั๊นต้องนั่งเรียนวิชานี้ในห้อง นั่งทำงานวิชานี้ และอื่นๆอีกสาม-สี่วิชาที่เทียบโอนมา และมันน่าตลกยิ่งขึ้นไปอีกตรงที่วิชาที่เราต้องสอบในบางวิชาเรากลับไม่ได้เรียนเพราะเด็กเทียบโอนเรียนวิชาบางวิชาเพิ่มเข้ามา ไม่เหมือนกับที่เด็กปกติเรียน เราก็จะได้รายงาน(สรุปหนังสือวิชานั้นๆที่เราต้องสอบและเราไม่ได้เรียนในห้อง)มาทำ ซึ่งเทอมที่แล้วยังไม่ค่อยหนักเพราะวิชาที่เราต้องอ่านเองล้วนๆ ไม่มีคนสอน และไปสอบ มีแค่วิชาเดียว [ (ทักษะการพัฒนาอาชีพ และเกรดออกมาค่อนข้างน่าพอใจคือ 3.5 (รอบแรกเราเขียนเกรดผิด) ] เทอมที่แล้วเราต้องสอบด้วยกัน 5 วิชา แบ่งเป็นวิชาหลัก 3 วิชา(เราไม่ได้ลงเรียนเองทางกศน.ลงเรียนให้) และวิชาเลือก 2 วิชา(ซึ่งวิชาเลือกเราก็ไม่ได้เลือกเองนะทางกศน.เลือกให้ ฮ่ะๆ) ผลสอบออกมาได้เกรดเฉลี่ย 3.60 (เหอะๆ ไม่น่าเชื่อ นึกว่าจะได้น้อยกว่านี้ ที่ได้ขนาดนี้น่าจะเป็นเพราะส่งงานครบทุกงานค่ะ เพราะยอมรับเลยว่าบางวิชาที่สอบไม่ค่อยได้ง่ะ อ่านแล้วไม่เข้าใจ เช่นพวกวิชาที่คาบเกี่ยวกับการบริหาร การจัดการ อะไรเทือกนั้น) ส่วนเทอมนี้เนี่ย ตายเลยดีกว่า แกล้งกันชัดๆน่ะ ทางกศน.(คาดว่าน่าจะเป็นครู) ลงเรียนให้เรา 8 วิชา ตายๆๆ ส่วนใหญ่ต้องอ่านเอง ไม่มีครูสอน แบ่งเป็นวิชาหลัก 4 วิชา มีคณิตรวมอยู่ด้วย ซึ่งจะมีครูจากข้างนอกมาสอนคณิตสามครั้ง แค่สามครั้ง!!! บ้าไปแล้ววว(3 ครั้งใครมันจะไปเรียนรู้เรื่องได้ทั้งเล่ม แค่ขนาดอังกฤษเทอมที่แล้วคนอื่นๆยังไม่ไหวกันเป็นแถบๆ อังกฤษนี่เราได้ค่ะ ข้อสอบง่ายมาก ส่วนเลขเราไม่เก่งเลยแต่เข้าไปอ่านหนังสือมาแล้ว ไม่ค่อยยากค่ะ ก็เลยคิดว่าน่าจะทำได้ค่ะ ขยันเป็นคำตอบเดียววว) และก็มีวิชาเลือก 4 วิชา ซึ่งความโหดร้ายมันอยู่ตรงที่วิชาที่เราเรียนเหมือนเพื่อน วิชาที่เราต้องสอบ วิชาที่จะมีครูสอนในห้องเรียน จะมีแค่ 3 วิชา !!! ที่เหลือ 5 วิชา อ่านเองงง และมันยิ่งเลวร้ายลงไปอีกตรงที่เทอมนี้เรา...เป็นคนที่เรียนวิชาเยอะสุดในห้องงงง
การแต่งกายไปเรียน ให้ใส่ชุดนักศึกษาไปเรียนค่ะ สำหรับนักศึกษาหญิงขอให้ใส่กระโปรงให้เรียบร้อย เลยเข่ามาหน่อยนึง อย่าใส่สั้นมากนัก หรือไม่ก็ใส่เสื้อสีม่วงๆ(เสื้อของกศน.เขตทวีวัฒนา)ไปเรียน และที่สำคัญทั้งหญิงและชายอย่าใส่แตะมา
เหลือเรียนอีกแค่สองเทอม(รวมเทอมนี้)เราก็จะจบ ม.ต้นค่ะ แล้วจะไปสมัครพรีดีกรีของ ม.ราม เรียนควบไปกับม.ปลายของกศน. พอได้วุฒิม.6 เรียบร้อยแล้วก็จะโอนหน่วยกิตไปเรียนแบบปกติ(ที่ม.ราม) ถ้าเรียนรามจบเราคิดไว้ว่าคงจะไปต่อมหาลัยอื่นๆต่อ(อยากเรียนภาษาศาสตร์) ที่รามยังคงคิดไม่ออกว่าอยากเรียนอะไร อยากเรียนคณะอะไรที่เกี่ยวกับวิทย์(แต่ไม่เอาเลข ฮ่ะๆ) เราถนัดวิทย์ ชอบวิทย์ค่ะ แม่เราเชียร์ให้เรียนวิศวะคอม ไม่ใช่แนวเราน่ะ