ผมไม่แน่ใจว่า พนักงานสอบสวน ทำอย่างนี้ถูกตามขั้นตอนหรือไม่ ?

มีเพื่อนมาสอบถามเรื่องกฏหมายกับผม ว่า เขาโดนตำรวจ โทรมาแจ้งข้อกล่าวหาว่า เขาลักทรัพย์  (สอบถามแล้วได้ความว่าเหตุเกิดก่อนที่ตำรวจจะโทรมาแจ้งข้อกล่าวหาประมาณ 1 เดือน ทรัพย์ที่ว่าเป็นทรัพย์คนอื่น แต่อยู่บนที่ดินของเขา  เขาคิดว่าทรัพย์นี้เป็นของเจ้าของที่ดินเดิม จึงตามให้เจ้าของที่ดินเดิมมาเอาออกไป ผ่านมาเกือบ 6 เดือน ยังไม่มาเอา  ก่อนเกิดเหตุ เขาได้โทรตามไปหลายรอบ เจ้าของที่ดินเดิมบอกทรัพย์เป็นของพี่ชายจะให้ พี่ชายเขามาขนออกไป ผ่านไปประมาณ 1 สัปดาห์ มีคนมาเอาของไป ตัวเขาอยู่ในวันเกิดเหตุ ไม่ได้ห้ามปราม เพราะคิดว่าเจ้าของให้มาขนออกไป)    ให้ไปพบที่โรงพัก  เขาบอกว่าไม่ได้ลัก ตำรวจบอกได้ไปสอบรวบรวมพยานในที่เกิดเหตุ มีคนเห็นว่าเขา เปิดประตู(บ้านตนเอง)ให้คนร้ายเอาของไป  จึงตั้งข้อหาเป็นผู้ร่วม/สนับสนุน ในการลักทรัพย์  ขอให้มาเคลียร์กับตำรวจที่โรงพัก   เขาไม่ไปเคลียร์เพราะไม่ได้ลัก เลยแสดงความบริสุทธิ์ขอให้ตำรวจออกหมายเรียก จะได้รู้ว่าใครกล่าวหาเขา ตำรวจออกหมายเรียก ผมเองได้ตรวจดูหมายเรียกแล้วพบว่า ระบุว่ามีการแจ้งความไว้ก่อนออกหมายเรียกเพียง 1 วัน   (ซึ่งแสดงว่าก่อนนั้นยังไม่ได้มีการแจ้งความลงบันทึกประจำวัน)
   คำถาม - อยากทราบว่า หากไม่มีการแจ้งความร้องทุกข์ พงส. สามารถทำคดีอาญาแผ่นดิน รวบรวบพยานหลักฐาน ได้เลยหรือไม่ครับ หรือว่ามีระเบียบสามารถให้ทำได้  (ผมลองค้น ๆ ดู จาก ป.วิอาญา ก็ยังหาคำตอบเทียบเคียงไม่ได้)

  ต่อมา เพื่อนผม ได้ไปตามหมายเรียก พงส.แจ้งข้อกล่าวหาว่าร่วมกับพวกลักทรัพย์  เพื่อนเลยขอดูว่าใครมาแจ้ง พอดูแล้วก็สงสัย เพราะไม่รู้จักหรือคุ้นเคย คนที่มาแจ้งความและอ้างว่าเป็นเจ้าของทรัพย์นั้นเลย  เพื่อนก็เลยถาม พงส.ไปว่า คนมาแจ้งเขาแสดงหลักฐานอะไรว่าเขาเป็นเจ้าของ  จนทำให้ พงส.มาแจ้งข้อกล่าวหาว่าเขาลักทรัพย์    
   พงส.ตอบ ผมไม่มีความจำเป็นต้องไปตรวจสอบว่าเขาเป็นเจ้าของหรือไม่ เพราะคนแจ้งก็ต้องรับผิดชอบในข้อความที่แจ้ง หากว่าสุดท้ายเขาไม่ใช่เจ้าของ และคุณไม่ได้เอาของของเขาไป คุณก็แจ้งข้อหาแจ้งความเท็จกับเขาได้  
เพื่อนผมแย้งว่า ในวันเกิดเหตุเขาอยู่ที่เกิดเหตุจริงๆ แต่ไม่ได้ขนของไป มีคนมาขนของไป และเขาก็แจ้งให้เจ้าของมาเอาของไปหลายรอบแล้ว และของก็อยู่ในที่ดินเขา ทำไมถึงแจ้งข้อหาลักทรัพย์กันได้ง่าย ๆ แบบนี้เลยเหรอ
   พงส. เมื่อมีคนมาแจ้งว่าของหาย และกล่าวหาว่าคุณเอาไป ผมก็ต้องเรียกคุณมาสอบ และแจ้งข้อกล่าวหา ส่งพิมพ์ลายนิ้วมือ   และหลังจากนั้นผมก็ทำสำนวนส่งอัยการ  ส่วนใครจะเป็นเจ้าคนแจ้งจะเป็นเจ้าของหรือไม่ ผมจะได้ให้เขาเอาหลักฐานมาให้ผมทีหลัง

   คำถาม - การแจ้งความอาญาข้อหาร่วมกันลักทรัพย์ ซึ่งเป็นข้อหาร้ายแรงพอสมควร พงส. ไม่จำเป็นเป็นต้องตรวจสอบก่อนเลยหรือว่า คนแจ้งเป็นเจ้าของจริง ๆ หรือเปล่า  ถึงสามารถแจ้งข้อหาลักทรัพย์แก่ผู้ถูกกล่าวหาได้  (สำหรับผมเห็นว่า น่าจะต้องมีหลักฐานเอกสารยืนยันว่าเป็นผู้เสียหายจริง ๆ และก็มีพยานแวดล้อมพอเชื่อได้พอสมควร จึงพอจะแจ้งข้อหาคนอื่นได้ ไม่งั้นบ้านเมืองคงจะวุ่นวายน่าดู  แต่ก็อยากทราบความเห็นท่านอื่น และข้อกฏหมายประกอบด้วยครับ)

---------------------------------------------------------
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
คดีอาญาแผ่นดิน ไม่ต้องร้องทุกข์ก่อนก็ได้ เพราะ ตร.มีอำนาจดำเนินการได้อยู่แล้ว
หรือมีเพียงแค่คำกล่าวโทษว่ามีผู้กระทำความผิด จะรู้ตัวหรือไม่ ก็ใช้ได้แล้ว
ดังนั้นการแจ้งความร้องทุกข์ก่อนเพียงหนึ่งวัน ย่อมทำได้
เพราะ กม.ไม่ได้กำหนดว่าต้องแจ้งก่อนออกหมายเรียกกี่วัน

ประเด็นที่ 2 คือ ผู้ต้องหากระทำผิดหรือไม่
เมื่อผู้ถูกล่าวหา ถูกกล่าวหาว่าได้กระทำผิด
หากผู้ถูกกล่าวหามิได้กระทำผิด ย่อมให้การปฏิเสธข้อหาตามที่ ตร.แจ้งและกล่าวหาเราได้
จากนั้นก็คงต้องว่ากันต่อไปในชั้นศาล

ประเด็นต่อมาคือ คนแจ้ง มีพยานหลักฐานอะไรถึงแจ้งว่าเราลักทรัพย์
จะเป็นการแจ้งเท็จจริงไม่...หรือ เป็นการแกล้งให้ได้รับโทษตามกฎหมายหรือไม่นั้น
คนแจ้งต้องรับผิดชอบในสิ่งที่เค้าแจ้งเอง
หากปรากฎว่าเค้าแจ้งด้วยความสุจริต แม้ว่าจะเป็นเท็จ ก็ไม่อาจเอาผิดฐานแจ้งความเท็จได้

สำหรับเพื่อนของคุณนั้น หากไม่ได้มีส่วนรู้เห็นเลย ก็ต้องต่อสู้คดี
ตร.ตั้งข้อหาเป็นผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดตาม ม.334 ประกอบ ม.86
เพื่อนคุณย่อมต่อสู้ได้ตาม ม.62 โดยต่อสู้ว่า เข้าใจว่าคนที่มาเอาของไปนั้น เป็นเจ้าของที่แท้จริง (สำคัญผิดว่าเป็นเจ้าของนั่นเอง)
เรื่องนี้สืบไม่ยากครับว่า อ้าง ม.62 มั่วๆหรือไม่ เพราะอยู่ที่การนำสืบและการหักล้างพยานโจทก์ครับ

ปล.ถ้าเป็นผม ผมสู้แนวนี้นะ เพราะแนวอื่นอ้างว่าไม่ได้ทำไม่ได้เลย เพราะมีคนเห็น
ประเด็นเรื่องบอกให้คนเอาไปหรือไม่ และ ยืนอยู่ช่วยบอกให้ขนไปหรือไม่ มันยุติแล้วว่า ทำแบบนั้นจริงๆ
จะมาอ้างว่าไม่ได้อยู่ ไม่ได้ยืน ไม่ได้ให้ขนไป คงฟังไม่ขึ้น ทางเดียวที่จะรอดคือ รับข้อเท็จจริงตรงนี้
แต่อ้างว่า สำคัญผิดในข้อเท้จจริง ตาม ม.62 ประกอบ ม.59 ว.3

ดอกไม้ดอกไม้
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 4
ถ้าตำรวจไม่กลั่นกรองก่อนจะดำเนินคดี ความยุติธรรมหายากมาก

คิดไหมคนบริสุทธิ์ต้องเทียววิ่งไปโรงไปศาลแบบไม่ได้อะไรเลย

ใครจะรับผิดชอบเวลาที่เขาเสียไป โอกาศการงานก็ต้องมาเสีย

ค่ารถค่ารา ค่าจ้างทนายอีก  แล้วต้องประกันตัวอีก เงินทั้งนั้น

ระบบยุติธรรม ตำรวจคือด่านแรกของความยุติธรรม ไม่ใช่สักแต่รอให้ศาลตัดสิน

ถ้าสักแต่ว่าคนมาแจ้ง แล้วทำสำนวนส่งฟ้องเท่านั้น ตำรวจไม่ต้องเรียนกฎหมาย

ให้เสียเวลาหรอก ที่วิชากฎหมายอาญาตำรวจต้องเรียน เพราะให้ใช้วิจารณะในการทำงาน

ไม่ใช่สักแต่ทำแบบไม่คิด

ตัวอย่างเรื่องเดือดร้อนมีให้เห็นมาก เช่น ครั้งนึงมีข่าวเอาบัตรประชาชนที่เก็บได้ไปเปิดโรงแรม

ค้างค่าโรงแรมที่ชลบุรี เจ้าของบัตรตัวจริงอยู่ กทม. ต้องเทียวไปแก้ข้อกล่าวหาวุ่นวาย

เวลาที่เสียไป ใครรับผิดชอบ

เมื่อเร็วๆนี้ ศายกฟ้องคดียาเสพติดที่ส่งทางไปรษณีย์ เพราะมีบัตรประจำตัวประชาชนเป็นหลักฐาน

จำเลยต้องออกจากงาน ต้องติดคุกเพราะไม่มีเงินประกันตัว  ลูกเมีย แม่ ลำบาก  ทั้งที่ข้อเท็จจริง

พนักงานสอบสวนไม่น่าจะตัดสินใจส่งให้อัยการฟ้องเลย เช่น หลักฐานการทำงานในวันเกิดเหตุมี

ต้นทางที่เชียงราย จำเลยทำงานอยู่ลาดพร้าว ใบสแกนนิ้วมือมี บุคคลก็ยืนยันว่าอยู่ที่ทำงานชัดเจน

บัตรที่พบก็หมดอายุบัตรไปแล้ว และมีการแจ้งบัตรหายนับแต่วันที่จำเลยทำบัตรหาย จนมาออกบัตรใหม่

ตำรวจยังส่งอัยการฟ้อง  เวลา 1 ปี 7  เดือนที่เขาเสียไปแบบมีรอยติดในใจจนตาย เงินเท่าไรจะชดใช้

เขาได้ ถ้าตำรวจมักง่าย ยุติธรรมจะมีให้แค่คนมีเงินประกันตัวมีเงินซื้อเวลาไปแก้ข้อกล่าวหาในชั้นศาลเท่านั้น

ส่วนคนจน รับสภาพไป เฮ่ออ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่