สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 11
ผมย้ำเรื่องนี้หลายครั้งแล้วว่า
1. ดุลยพินิจของเจ้าพนักงานตำรวจ (จราจร) ไม่ใช่กฎหมาย และใช้ดุลยพินิจในลักษณะของรุ่นพี่บอกต่อรุ่นน้องโดยที่รุ่นน้องก็ไม่ได้ศึกษาหาข้อเท็จจริงในตัวบท
2. จักรยานยนต์สามารถแซงขวาได้ เพราะ
2.1 บทบัญญัติที่กำหนดให้ต้องขับขี่ชิดซ้ายนั้นได้อยู่ใน ลักษณะ 3 หมวดที่ 1 ซึ่งเป็นหัวข้อ "การขับรถ" หมายถึงถ้าเป็นการขับขี่รถโดยทั่วไป ไม่มีสิ่งกีดขวาง รถคันหน้าไม่ขับช้า ไม่ใช่ทางเดินรถทางเดียว หรืออะไรก็ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 33 และมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบก ก็ให้ผู้ขับขี่ปฏิบัติตามบทบัญญัตินี้ คือ ขับขี่รถให้ชิดขอบทางด้านซ้ายสุด
2.2 ในกรณีที่เป็นการขับขี่เพื่อ "แซง" คันหน้า กฎหมายได้บัญญัติแยกหมวดออกมาโดยเฉพาะ โดยบัญญัติไว้ในลักษณะ 3 หมวดที่ 2 เรื่อง "การขับแซงและผ่านขึ้นหน้า" ซึ่งในหมวดนี้ทุกมาตราเป็นมาตราที่เกี่ยวกับการขับขี่เพื่อแซงคันหน้านั้น และไม่มีมาตราใดที่มีข้อห้ามจักรยานยนต์ในการแซงคันหน้าเลยแม้แต่มาตราเดียว เพียงแต่ได้กำหนดหลักเกณฑ์การแซงที่ถูกต้องปลอดภัยเอาไว้เท่านั้น ฉะนั้นกฎหมายจึงไม่ได้ห้ามจักรยานยนต์ในการแซงคันหน้า หากพฤติการณ์ขณะนั้นเป็นการแซงที่ถูกต้องก็ไม่เป็นความผิด
สรุปได้ว่า หากเป็นการขับขี่รถโดยทั่วๆ ไป คือ รถใช้ความเร็วสม่ำเสมอตามๆ กันมา ไม่มีสิ่งกีดขวาง รถคันหน้าไม่ขับช้า หรือพฤติการณ์ใดๆ ก็ตามที่กฎหมายอนุญาตให้ขับขวาได้ตามที่บัญญัติไว้ในหมวดที่ 1 ผู้ใช้รถใช้ถนนก็ต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติในหมวดที่ 1 คือขับในเลนซ้ายสุด
แต่ถ้ามีพฤติการณ์ที่กฎหมายอนุญาตให้สามารถขับขวาได้ ผู้ขับขี่ก็สามารถขับขวาได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการ "แซง" ที่กฎหมายบัญญัติแยกหมวดออกมาโดยเฉพาะ หากพฤติการณ์ของผู้ขับขี่ขณะนั้นคือแซง ก็ต้องนำบทบัญญัติในหมวดที่ 2 เรื่องการแซงมาบังคับใช้ ไม่ใช่ผู้ขับขี่กำลังแซง แต่ไปใช้บทบัญญัติในหมวดที่ 1 เรื่อง "การขับรถ" มาใช้ เพราะกฎหมายได้บัญญัติเอาไว้โดยเฉพาะแล้ว จะไปใช้บทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งได้อย่างไร? (แต่ส่วนตัวผมคิดว่าดุลยพินิจของตำรวจที่ทำตามๆ กันมาออกแนวจารีตประเพณีด้วยซ้ำ)
สุดท้ายนี้ ผมถึงได้ยกตัวอย่างไว้เสมอๆ ว่า ถ้ากฎหมายเป็นอย่างดุลยพินิจของเจ้าพนักงานจราจรจริง จักรยานยนต์จะ
- เลี้ยวขวาไม่ได้ เพราะการเลี้ยวขวาผู้ขับขี่ต้องชิดขวาแต่เนิ่นๆ
- กลับรถไม่ได้ เพราะการกลับรถผู้ขับขี่่ต้องชิดขวา
- ขึ้นสะพานข้ามแยกไม่ได้ เพราะสะพานข้ามแยกโดยมากอยู่เลนขวา
ซึ่งเป็นการกำหนดพฤติกรรมมนุษย์ที่ผิดธรรมชาติและไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง และแนวคิดของกฎหมายไม่ได้มีวัตถุประสงค์เช่นนั้น
กฎหมายมันเก่า หรือคนใช้ไม่พัฒนา ขอให้ลองพิจารณาดู....กฎหมายมันมีการแก้ไขเพิ่มเติมอยู่เรื่อยๆ ไม่สำคัญว่าตัวแม่บทมันจะร่างขึ้นในปีไหน อย่างประมวลกฎหมายอาญาเอง แต่เดิมคือ "กฎหมายลักษณะอาญา" และได้เปลี่ยนเป็นประมวลกฎหมายอาญาเมื่อ พ.ศ.2499 เก่ากว่า พรบ.จราจรทางบกถึง 23 ปี แต่บทบัญญัติของกฎหมายก็มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเพื่อให้สอดรับกับสภาพสังคม เพียงแต่กฎหมายอาญามันเก่าแต่ไม่มีปัญหาเพราะอะไร? เพราะคนใช้คือตุลาการ, ผู้พิพากษา ไม่ใช่เจ้าพนักงานตำรวจ
1. ดุลยพินิจของเจ้าพนักงานตำรวจ (จราจร) ไม่ใช่กฎหมาย และใช้ดุลยพินิจในลักษณะของรุ่นพี่บอกต่อรุ่นน้องโดยที่รุ่นน้องก็ไม่ได้ศึกษาหาข้อเท็จจริงในตัวบท
2. จักรยานยนต์สามารถแซงขวาได้ เพราะ
2.1 บทบัญญัติที่กำหนดให้ต้องขับขี่ชิดซ้ายนั้นได้อยู่ใน ลักษณะ 3 หมวดที่ 1 ซึ่งเป็นหัวข้อ "การขับรถ" หมายถึงถ้าเป็นการขับขี่รถโดยทั่วไป ไม่มีสิ่งกีดขวาง รถคันหน้าไม่ขับช้า ไม่ใช่ทางเดินรถทางเดียว หรืออะไรก็ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 33 และมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบก ก็ให้ผู้ขับขี่ปฏิบัติตามบทบัญญัตินี้ คือ ขับขี่รถให้ชิดขอบทางด้านซ้ายสุด
2.2 ในกรณีที่เป็นการขับขี่เพื่อ "แซง" คันหน้า กฎหมายได้บัญญัติแยกหมวดออกมาโดยเฉพาะ โดยบัญญัติไว้ในลักษณะ 3 หมวดที่ 2 เรื่อง "การขับแซงและผ่านขึ้นหน้า" ซึ่งในหมวดนี้ทุกมาตราเป็นมาตราที่เกี่ยวกับการขับขี่เพื่อแซงคันหน้านั้น และไม่มีมาตราใดที่มีข้อห้ามจักรยานยนต์ในการแซงคันหน้าเลยแม้แต่มาตราเดียว เพียงแต่ได้กำหนดหลักเกณฑ์การแซงที่ถูกต้องปลอดภัยเอาไว้เท่านั้น ฉะนั้นกฎหมายจึงไม่ได้ห้ามจักรยานยนต์ในการแซงคันหน้า หากพฤติการณ์ขณะนั้นเป็นการแซงที่ถูกต้องก็ไม่เป็นความผิด
สรุปได้ว่า หากเป็นการขับขี่รถโดยทั่วๆ ไป คือ รถใช้ความเร็วสม่ำเสมอตามๆ กันมา ไม่มีสิ่งกีดขวาง รถคันหน้าไม่ขับช้า หรือพฤติการณ์ใดๆ ก็ตามที่กฎหมายอนุญาตให้ขับขวาได้ตามที่บัญญัติไว้ในหมวดที่ 1 ผู้ใช้รถใช้ถนนก็ต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติในหมวดที่ 1 คือขับในเลนซ้ายสุด
แต่ถ้ามีพฤติการณ์ที่กฎหมายอนุญาตให้สามารถขับขวาได้ ผู้ขับขี่ก็สามารถขับขวาได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการ "แซง" ที่กฎหมายบัญญัติแยกหมวดออกมาโดยเฉพาะ หากพฤติการณ์ของผู้ขับขี่ขณะนั้นคือแซง ก็ต้องนำบทบัญญัติในหมวดที่ 2 เรื่องการแซงมาบังคับใช้ ไม่ใช่ผู้ขับขี่กำลังแซง แต่ไปใช้บทบัญญัติในหมวดที่ 1 เรื่อง "การขับรถ" มาใช้ เพราะกฎหมายได้บัญญัติเอาไว้โดยเฉพาะแล้ว จะไปใช้บทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งได้อย่างไร? (แต่ส่วนตัวผมคิดว่าดุลยพินิจของตำรวจที่ทำตามๆ กันมาออกแนวจารีตประเพณีด้วยซ้ำ)
สุดท้ายนี้ ผมถึงได้ยกตัวอย่างไว้เสมอๆ ว่า ถ้ากฎหมายเป็นอย่างดุลยพินิจของเจ้าพนักงานจราจรจริง จักรยานยนต์จะ
- เลี้ยวขวาไม่ได้ เพราะการเลี้ยวขวาผู้ขับขี่ต้องชิดขวาแต่เนิ่นๆ
- กลับรถไม่ได้ เพราะการกลับรถผู้ขับขี่่ต้องชิดขวา
- ขึ้นสะพานข้ามแยกไม่ได้ เพราะสะพานข้ามแยกโดยมากอยู่เลนขวา
ซึ่งเป็นการกำหนดพฤติกรรมมนุษย์ที่ผิดธรรมชาติและไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง และแนวคิดของกฎหมายไม่ได้มีวัตถุประสงค์เช่นนั้น
กฎหมายมันเก่า หรือคนใช้ไม่พัฒนา ขอให้ลองพิจารณาดู....กฎหมายมันมีการแก้ไขเพิ่มเติมอยู่เรื่อยๆ ไม่สำคัญว่าตัวแม่บทมันจะร่างขึ้นในปีไหน อย่างประมวลกฎหมายอาญาเอง แต่เดิมคือ "กฎหมายลักษณะอาญา" และได้เปลี่ยนเป็นประมวลกฎหมายอาญาเมื่อ พ.ศ.2499 เก่ากว่า พรบ.จราจรทางบกถึง 23 ปี แต่บทบัญญัติของกฎหมายก็มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเพื่อให้สอดรับกับสภาพสังคม เพียงแต่กฎหมายอาญามันเก่าแต่ไม่มีปัญหาเพราะอะไร? เพราะคนใช้คือตุลาการ, ผู้พิพากษา ไม่ใช่เจ้าพนักงานตำรวจ
แสดงความคิดเห็น
กฎจราจรไทยกับการต้องขี่มอเตอร์ไซค์ชิดซ้ายเท่านั้น
จุดที่รถเมลจอดและเป็นคิวปล่อยรถ จอดคันเดียวก็เต็มเลนแล้ว... ส่วนที่ลูกศรชี้คือจุดที่ตั้งด่าน
ระยะจากแยกไฟแดงแค่ 100 เมตร (แต่ห่างจากจุดรถเมลจอดไม่ถึง 10 เมตร)
ถ้าอ้างอิงตามข้อกฎหมายก็ตามนี้ครับ
มาตรา ๓๓ ในการขับรถ ผู้ขับขี่ต้องขับรถในทางเดินรถด้านซ้ายและต้องไม่ล้ำกึ่งกลางของทางเดินรถ เว้นแต่ในกรณีต่อไปนี้ ให้เดินทางขวาหรือล้ำกึ่งกลางของทางเดินรถได้
(๑) ด้านซ้ายของทางเดินรถมีสิ่งกีดขวางหรือถูกปิดการจราจร
(๒) ทางเดินรถนั้นเจ้าพนักงานจราจรกำหนดให้เป็นทางเดินรถทางเดียว
(๓) ทางเดินรถนั้นกว้างไม่ถึงหกเมตร
สอบใบขับขี่ในวีดีโอก็บอกว่าสามารถแซงได้แล้วให้กลับเข้าเลนซ้ายทันทีที่เข้าได้
งวดนี้ผมเองก็ยอมรับใบสั่งโดยดี แต่ก็บอกคุณตำรวจไปว่า ยังไงก็ช่วยไปจับพวกที่จอดเลนซ้ายตรงโน้นบ้างสิ ตำรวจตอบกลับมาว่า "ผมไม่จับหรอกผมจับตรงนี้แหละ รอพวกคุณทำผิด"
คิดว่ายังไงกันบ้างครับ...