CIMB Thai กับการปั้นแบรนด์ “ธนาคารอาเซียน”
กลยุทธ์ของ CIMB ถือว่าน่าสนใจและทำตลาดได้หวือหวาที่สุด โดยเฉพาะในช่วงที่กระแส “ประชาคมอาเซียน” กำลังมาแรงอย่างไม่หยุดยั้ง
CIMB ถือเป็นกลุ่มทุนธนาคารที่ใหญ่เป็นอันดับที่สองของประเทศมาเลเซีย (อันดับหนึ่งคือ Maybank) ปัจจุบัน CIMB Group ให้บริการใต้แบรนด์ CIMB ในประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ กัมพูชา และยังขยายมาให้บริการในอินโดนีเซียใต้แบรนด์ CIMB Niaga ส่วนของประเทศไทยหลังควบกิจการกับไทธนาคารแล้วก็ใช้ชื่อว่า CIMB Thai นอกจากนี้ยังมีแบรนด์ CIMB Islamic ที่ให้บริการธนาคารภายใต้กฎของศาสนาอิสลามด้วย (อ่านรายละเอียดที่เว็บไซต์ CIMB Thai)
จุดเด่นของ CIMB คือเครือข่ายที่ครอบคลุมกลุ่มประเทศอาเซียนที่มีพัฒนาการทางเศรษฐกิจสูง ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ รวมถึงสาขาในประเทศที่มีศักยภาพอย่างกัมพูชา การที่มีเครือข่ายใน 5 ประเทศของอาเซียน (แถมยังเป็นประเทศที่มีพรมแดนใกล้ชิดกันคืออยู่ในคาบสมุทรแหลมทอง-ช่องแคบมะละกา) ทำให้ CIMB ใช้จุดเด่นนี้สร้างแบรนด์ “ธนาคารแห่งอาเซียน” ขึ้นมาใต้สโลแกน ASEAN for You ดังจะเห็นได้จากโฆษณาหลายชิ้นของบริษัทที่สื่อสารข้อความนี้ออกมาโดยตลอดในช่วงหลัง
ส่วนกลยุทธทางการให้บริการที่จับต้องได้และน่าสนใจ คือการอาศัยประโยชน์ของเครือข่ายธนาคารในภูมิภาค สร้างจุดเด่นเหนือธนาคารคู่แข่งอื่นๆ โดยเปิดให้กดเงินสดจากตู้ ATM ข้ามกันโดยไม่คิดค่าธรรมเนียม
บริการนี้เริ่มเปิดตัวในเดือนกรกฎาคม 2553 โดย ผู้ถือบัตรเอทีเอ็มของกลุ่มธนาคาร ซีไอเอ็มบี ในการทำธุรกรรม ถอนเงินสดสกุลเงินต่างประเทศ ข้ามพรมแดน ใน 4 ประเทศ คือ มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และไทย โดยไม่คิดค่าธรรมเนียม และภายหลังได้เพิ่มประเทศกัมพูชาเข้ามาอีกประเทศหนึ่ง
นายสุภัค ศิวะรักษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในขณะนี้กลุ่มธนาคาร ซีไอเอ็มบี ได้เปิดให้บริการ CIMB ATM Regional Link ซึ่งเป็นบริการถอนเงินสดข้ามประเทศ ตลอดจนการเช็คสอบยอดบัญชีคงเหลือ โดยผู้ถือบัตรเอทีเอ็มของกลุ่มธนาคารซีไอเอ็มบี สามารถทำธุรกรรมทางการเงินข้ามพรมแดนได้ผ่านเครื่องเอทีเอ็ม 3,750 เครื่อง ใน 4 ประเทศของเครือข่ายสมาชิกกลุ่มธนาคาร ซีไอเอ็มบี ซึ่งประกอบด้วย ประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และประเทศไทย โดยไม่เสียค่าธรรมเนียมใดๆ
ยุทธศาสตร์ของ CIMB นั้นชัดเจนว่าต้องการจับกลุ่มนักธุรกิจหรือนักท่องเที่ยวที่เดินทางบ่อยๆ ในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งจะเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วสอดรับการเปิดเสรีอาเซียน นอกจากการกดเงินสดข้ามประเทศที่จับต้องได้แล้ว CIMB ยังพยายามผลักดันโครงการระดับภูมิภาคอื่นๆ เช่น
เปิดอบรมด้านการลงทุนในมาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ ให้กับนักธุรกิจชาวไทย
การสร้างระบบ Core Banking ร่วมกันของธนาคาร CIMB ในแต่ละประเทศ รวมถึงระบบธนาคารออนไลน์ระบบเดียวกันในแต่ละประเทศ
การก่อตั้งสถาบันวิจัย CIMB ASEAN หรือ CARI โดยมีสำนักงานใหญ่ที่จาการ์ตา
การให้ทุนการศึกษากับนักศึกษาใน 5 ประเทศ ที่ CIMB ดำเนินธุรกิจอยู่
ตัวอย่างยุทธศาสตร์ของ CIMB นั้นชัดเจนว่าต้องการใช้ประโยชน์จากเครือข่ายธุรกิจข้ามชาติของตัวเอง ซึ่งจะคล้ายๆ กับกลุ่มทุนโทรคมนาคมข้ามชาติ ที่เปิดให้โทรศัพท์ข้ามประเทศ (แต่ยังอยู่ในเครือข่ายของตัวเอง) โดยไม่ต้องเสียค่าโรมมิ่ง เพื่อสร้างจุดเด่นในสายตาผู้บริโภค
นอกจากนี้ CIMB ยังใช้ประโยชน์จากการเกาะกระแสประชาคมอาเซียนที่เห็นได้เด่นชัดว่าจะมาแรงในอนาคต ช่วงชิงภาพลักษณ์ของความเป็นธนาคารที่เน้นภูมิภาคอาเซียนก่อนคู่แข่ง และยังพยายามใช้ประโยชน์จากการประหยัดโดยขนาด (economy of scale) โดยใช้โครงสร้างพื้นฐานทางไอทีร่วมกัน เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายและลดความซับซ้อนของระบบไอทีในระยะยาวอีกด้วย
http://www.siamintelligence.com/asean-bank-cimb-uob-free-atm-fee/
CIMB Thai กับการปั้นแบรนด์ “ธนาคารอาเซียน"
กลยุทธ์ของ CIMB ถือว่าน่าสนใจและทำตลาดได้หวือหวาที่สุด โดยเฉพาะในช่วงที่กระแส “ประชาคมอาเซียน” กำลังมาแรงอย่างไม่หยุดยั้ง
CIMB ถือเป็นกลุ่มทุนธนาคารที่ใหญ่เป็นอันดับที่สองของประเทศมาเลเซีย (อันดับหนึ่งคือ Maybank) ปัจจุบัน CIMB Group ให้บริการใต้แบรนด์ CIMB ในประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ กัมพูชา และยังขยายมาให้บริการในอินโดนีเซียใต้แบรนด์ CIMB Niaga ส่วนของประเทศไทยหลังควบกิจการกับไทธนาคารแล้วก็ใช้ชื่อว่า CIMB Thai นอกจากนี้ยังมีแบรนด์ CIMB Islamic ที่ให้บริการธนาคารภายใต้กฎของศาสนาอิสลามด้วย (อ่านรายละเอียดที่เว็บไซต์ CIMB Thai)
จุดเด่นของ CIMB คือเครือข่ายที่ครอบคลุมกลุ่มประเทศอาเซียนที่มีพัฒนาการทางเศรษฐกิจสูง ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ รวมถึงสาขาในประเทศที่มีศักยภาพอย่างกัมพูชา การที่มีเครือข่ายใน 5 ประเทศของอาเซียน (แถมยังเป็นประเทศที่มีพรมแดนใกล้ชิดกันคืออยู่ในคาบสมุทรแหลมทอง-ช่องแคบมะละกา) ทำให้ CIMB ใช้จุดเด่นนี้สร้างแบรนด์ “ธนาคารแห่งอาเซียน” ขึ้นมาใต้สโลแกน ASEAN for You ดังจะเห็นได้จากโฆษณาหลายชิ้นของบริษัทที่สื่อสารข้อความนี้ออกมาโดยตลอดในช่วงหลัง
ส่วนกลยุทธทางการให้บริการที่จับต้องได้และน่าสนใจ คือการอาศัยประโยชน์ของเครือข่ายธนาคารในภูมิภาค สร้างจุดเด่นเหนือธนาคารคู่แข่งอื่นๆ โดยเปิดให้กดเงินสดจากตู้ ATM ข้ามกันโดยไม่คิดค่าธรรมเนียม
บริการนี้เริ่มเปิดตัวในเดือนกรกฎาคม 2553 โดย ผู้ถือบัตรเอทีเอ็มของกลุ่มธนาคาร ซีไอเอ็มบี ในการทำธุรกรรม ถอนเงินสดสกุลเงินต่างประเทศ ข้ามพรมแดน ใน 4 ประเทศ คือ มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และไทย โดยไม่คิดค่าธรรมเนียม และภายหลังได้เพิ่มประเทศกัมพูชาเข้ามาอีกประเทศหนึ่ง
นายสุภัค ศิวะรักษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในขณะนี้กลุ่มธนาคาร ซีไอเอ็มบี ได้เปิดให้บริการ CIMB ATM Regional Link ซึ่งเป็นบริการถอนเงินสดข้ามประเทศ ตลอดจนการเช็คสอบยอดบัญชีคงเหลือ โดยผู้ถือบัตรเอทีเอ็มของกลุ่มธนาคารซีไอเอ็มบี สามารถทำธุรกรรมทางการเงินข้ามพรมแดนได้ผ่านเครื่องเอทีเอ็ม 3,750 เครื่อง ใน 4 ประเทศของเครือข่ายสมาชิกกลุ่มธนาคาร ซีไอเอ็มบี ซึ่งประกอบด้วย ประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และประเทศไทย โดยไม่เสียค่าธรรมเนียมใดๆ
ยุทธศาสตร์ของ CIMB นั้นชัดเจนว่าต้องการจับกลุ่มนักธุรกิจหรือนักท่องเที่ยวที่เดินทางบ่อยๆ ในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งจะเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วสอดรับการเปิดเสรีอาเซียน นอกจากการกดเงินสดข้ามประเทศที่จับต้องได้แล้ว CIMB ยังพยายามผลักดันโครงการระดับภูมิภาคอื่นๆ เช่น
เปิดอบรมด้านการลงทุนในมาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ ให้กับนักธุรกิจชาวไทย
การสร้างระบบ Core Banking ร่วมกันของธนาคาร CIMB ในแต่ละประเทศ รวมถึงระบบธนาคารออนไลน์ระบบเดียวกันในแต่ละประเทศ
การก่อตั้งสถาบันวิจัย CIMB ASEAN หรือ CARI โดยมีสำนักงานใหญ่ที่จาการ์ตา
การให้ทุนการศึกษากับนักศึกษาใน 5 ประเทศ ที่ CIMB ดำเนินธุรกิจอยู่
ตัวอย่างยุทธศาสตร์ของ CIMB นั้นชัดเจนว่าต้องการใช้ประโยชน์จากเครือข่ายธุรกิจข้ามชาติของตัวเอง ซึ่งจะคล้ายๆ กับกลุ่มทุนโทรคมนาคมข้ามชาติ ที่เปิดให้โทรศัพท์ข้ามประเทศ (แต่ยังอยู่ในเครือข่ายของตัวเอง) โดยไม่ต้องเสียค่าโรมมิ่ง เพื่อสร้างจุดเด่นในสายตาผู้บริโภค
นอกจากนี้ CIMB ยังใช้ประโยชน์จากการเกาะกระแสประชาคมอาเซียนที่เห็นได้เด่นชัดว่าจะมาแรงในอนาคต ช่วงชิงภาพลักษณ์ของความเป็นธนาคารที่เน้นภูมิภาคอาเซียนก่อนคู่แข่ง และยังพยายามใช้ประโยชน์จากการประหยัดโดยขนาด (economy of scale) โดยใช้โครงสร้างพื้นฐานทางไอทีร่วมกัน เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายและลดความซับซ้อนของระบบไอทีในระยะยาวอีกด้วย
http://www.siamintelligence.com/asean-bank-cimb-uob-free-atm-fee/