*กำเนิดพระพุทธศาสนานิกายสยามวงศ์ในลังกา*
• ในรัชสมัย
พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ แห่งพระราชอาณาจักรสยาม พระองค์ได้เอาพระทัยใส่ในการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนามาก ทรงโปรดเกล้าฯให้สถาปนาสร้าง และบูรณะปฏิสังขรณ์ วัดวาอารามต่างๆ ตลอดรัชกาล
อีกทั้งทรงส่งเสริมให้มีการบวชเรียนพระภิกษสามเณร ทำนุบำรุงสนับสนุนในการศึกษาพระธรรมวินัย ทำให้พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองบนแผ่นดินอยุธยาเป็นอย่างยิ่ง กิตติศัพท์แห่งพระพุทธศาสนาแพร่หลายลือเลื่อง...และเลื่องลือไปถึงลังกาทวีป
พระพุทธศาสนาในลังกาสมัยนั้นกำลังเข้าสู่กาลเสื่อมถอย เนื่องด้วยเหตุปัจจัยที่สั่งสมต่อสมัยมายาวนาน ทั้งเหตุปัจจัยภายใน ได้แก่ การที่พระมหากษัตริย์ไม่เอาพระทัยใส่การพระศาสนา มีการศึกสงครามระหว่างกันและกัน เป็นต้น
อีกทั้งพระสงฆ์ในลังกาขณะนั้นก็ย่อหย่อนในพระธรรมวินัย ด้วยได้รับอิทธิพลจากลัทธิศาสนาอื่น ทำให้พระพุทธศาสนาเกิดการผิดเพี้ยน
ทั้งยังมีเหตุปัจจัยภายนอก ซึ่งได้แก่การล่าอาณานิคมของชนชาติที่มีอำนาจเหนือกว่าจากซีกโลกตะวันตก รุกรานทั้งแผ่นดินและศาสนา
พระเจ้าแผ่นดินลังกาในสมัยที่ตรงกับรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศคือ
"พระเจ้ากิตติศรีราชสิงหะ"
พระองค์เล็งเห็นถึงความเสื่อมถอยลงของพระศาสนา ทรงส่งคณะราชฑูตมาขอพระสงฆ์จากกรุงศรีอยุธยาไปช่วยอุปสมบทให้แก่กุลบุตรศรีลังกา
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศทรงเห็นสมควรให้การอนุเคราะห์ จึงมีพระบรมราชโองการให้จัดส่งพระสงฆ์ไปยังลังกาทวีป เป็นปฐมแต่นั้น ฯ
Credit : พระครูปลัดธนพล ธนพโล
http://mbukruphra.com/blog-930-155.html
*ลังกานิมนต์พระสงฆ์จากสยาม*
เมื่อ พ.ศ. 2294 (พ.ศ. 2293 ตามการนับแบบไทย) สามเณรผู้ใหญ่ชื่อ
*สามเณรสรณังกร* ได้ทูลขอให้
*พระเจ้ากิตติราชสิงหะ* กษัตริย์ลังกาในขณะนั้น ให้ส่งทูตมาขอนิมนต์พระสงฆ์จากเมืองไทย (กรุงศรีอยุธยา) ไปฟื้นฟูพระพุทธศาสนา ณ ลังกาทวีป
สมัยนั้นตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ แห่งกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าบรมโกศจึงได้ส่งพระสมณทูตไทยจำนวน 10 รูป
มีพระอุบาลีเถระ เป็นหัวหน้า เดินทางสู่ประเทศลังกา ทำการบรรพชาอุปสมบทแก่กุลบุตรชาวลังกาถึงสามพันคน ณ เมืองแคนดี้
*สามเณรสรณังกร* ซึ่งได้รับการอุปสมบทในครั้งนี้ ได้รับการสถาปนาจากกษัตริย์ลังกาให้เป็น
สมเด็จพระสังฆราช
จึงได้เกิดคณะสงฆ์นิกาย
สยามวงศ์ หรือ
อุบาลีวงศ์ ขึ้นในลังกา ต่อมาพระอุบาลีเถระถึงแก่อาพาธและได้มรณภาพในลังกา
ในเวลาต่อมา ในสมัยเดียวกันนั้น ได้มีสามเณรคณะหนึ่งเดินทางไปขอรับการอุปสมบทในประเทศพม่า แล้วกลับมาตั้งนิกาย “ อมรปุรนิกาย” ขึ้นในลังกา
อีกคณะหนึ่งได้เดินทางไปขออุปสมบทจากคณะสงฆ์เมืองมอญ กลับมาลังกาแล้วตั้งนิกาย “ รามัญนิกาย” ขึ้น
พุทธศาสนาในลังกาจึงได้มีนิกายเกิดขึ้น 3 นิกาย คือ 1.นิกายสยามวงศ์ หรืออุบาลีวงศ์ 2.นิกายอมรปุรนิกาย 3.นิกายรามัญ
นิกายทั้ง 3 ยังคงสืบทอดต่อมาจนถึงปัจจุบันนี้.
S-ref. http://th.wikipedia.org/wiki/ศาสนาพุทธในประเทศศรีลังกา
NOTE : จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ สยามได้รับประเพณี
พัดยศ สำหรับพระสงฆ์มาจากลังกา โดยกษัตริย์แห่งศรีลังกาในอดีตเป็นผู้เริ่มถวายสมณศักดิ์ และถวายพัดยศให้พระสงฆ์ สำหรับแสดงถึงสมณศักดิ์ที่ได้รับถวาย.
Credit : login sirivinit http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=vinitsiri&month=06-2010&date=21&group=5&gblog=102
สืบสานความสัมพันธ์ อยุธยา-ศรีลังกา @ "วิสาขบูชา-มหาพุทธานุภาพ"
*กำเนิดพระพุทธศาสนานิกายสยามวงศ์ในลังกา*
• ในรัชสมัย พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ แห่งพระราชอาณาจักรสยาม พระองค์ได้เอาพระทัยใส่ในการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนามาก ทรงโปรดเกล้าฯให้สถาปนาสร้าง และบูรณะปฏิสังขรณ์ วัดวาอารามต่างๆ ตลอดรัชกาล
อีกทั้งทรงส่งเสริมให้มีการบวชเรียนพระภิกษสามเณร ทำนุบำรุงสนับสนุนในการศึกษาพระธรรมวินัย ทำให้พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองบนแผ่นดินอยุธยาเป็นอย่างยิ่ง กิตติศัพท์แห่งพระพุทธศาสนาแพร่หลายลือเลื่อง...และเลื่องลือไปถึงลังกาทวีป
พระพุทธศาสนาในลังกาสมัยนั้นกำลังเข้าสู่กาลเสื่อมถอย เนื่องด้วยเหตุปัจจัยที่สั่งสมต่อสมัยมายาวนาน ทั้งเหตุปัจจัยภายใน ได้แก่ การที่พระมหากษัตริย์ไม่เอาพระทัยใส่การพระศาสนา มีการศึกสงครามระหว่างกันและกัน เป็นต้น
อีกทั้งพระสงฆ์ในลังกาขณะนั้นก็ย่อหย่อนในพระธรรมวินัย ด้วยได้รับอิทธิพลจากลัทธิศาสนาอื่น ทำให้พระพุทธศาสนาเกิดการผิดเพี้ยน
ทั้งยังมีเหตุปัจจัยภายนอก ซึ่งได้แก่การล่าอาณานิคมของชนชาติที่มีอำนาจเหนือกว่าจากซีกโลกตะวันตก รุกรานทั้งแผ่นดินและศาสนา
พระเจ้าแผ่นดินลังกาในสมัยที่ตรงกับรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศคือ "พระเจ้ากิตติศรีราชสิงหะ"
พระองค์เล็งเห็นถึงความเสื่อมถอยลงของพระศาสนา ทรงส่งคณะราชฑูตมาขอพระสงฆ์จากกรุงศรีอยุธยาไปช่วยอุปสมบทให้แก่กุลบุตรศรีลังกา
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศทรงเห็นสมควรให้การอนุเคราะห์ จึงมีพระบรมราชโองการให้จัดส่งพระสงฆ์ไปยังลังกาทวีป เป็นปฐมแต่นั้น ฯ
Credit : พระครูปลัดธนพล ธนพโล
http://mbukruphra.com/blog-930-155.html
*ลังกานิมนต์พระสงฆ์จากสยาม*
เมื่อ พ.ศ. 2294 (พ.ศ. 2293 ตามการนับแบบไทย) สามเณรผู้ใหญ่ชื่อ *สามเณรสรณังกร* ได้ทูลขอให้ *พระเจ้ากิตติราชสิงหะ* กษัตริย์ลังกาในขณะนั้น ให้ส่งทูตมาขอนิมนต์พระสงฆ์จากเมืองไทย (กรุงศรีอยุธยา) ไปฟื้นฟูพระพุทธศาสนา ณ ลังกาทวีป
สมัยนั้นตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ แห่งกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าบรมโกศจึงได้ส่งพระสมณทูตไทยจำนวน 10 รูป มีพระอุบาลีเถระ เป็นหัวหน้า เดินทางสู่ประเทศลังกา ทำการบรรพชาอุปสมบทแก่กุลบุตรชาวลังกาถึงสามพันคน ณ เมืองแคนดี้
*สามเณรสรณังกร* ซึ่งได้รับการอุปสมบทในครั้งนี้ ได้รับการสถาปนาจากกษัตริย์ลังกาให้เป็น สมเด็จพระสังฆราช
จึงได้เกิดคณะสงฆ์นิกาย สยามวงศ์ หรือ อุบาลีวงศ์ ขึ้นในลังกา ต่อมาพระอุบาลีเถระถึงแก่อาพาธและได้มรณภาพในลังกา
ในเวลาต่อมา ในสมัยเดียวกันนั้น ได้มีสามเณรคณะหนึ่งเดินทางไปขอรับการอุปสมบทในประเทศพม่า แล้วกลับมาตั้งนิกาย “ อมรปุรนิกาย” ขึ้นในลังกา
อีกคณะหนึ่งได้เดินทางไปขออุปสมบทจากคณะสงฆ์เมืองมอญ กลับมาลังกาแล้วตั้งนิกาย “ รามัญนิกาย” ขึ้น
พุทธศาสนาในลังกาจึงได้มีนิกายเกิดขึ้น 3 นิกาย คือ 1.นิกายสยามวงศ์ หรืออุบาลีวงศ์ 2.นิกายอมรปุรนิกาย 3.นิกายรามัญ
นิกายทั้ง 3 ยังคงสืบทอดต่อมาจนถึงปัจจุบันนี้.
S-ref. http://th.wikipedia.org/wiki/ศาสนาพุทธในประเทศศรีลังกา
NOTE : จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ สยามได้รับประเพณี พัดยศ สำหรับพระสงฆ์มาจากลังกา โดยกษัตริย์แห่งศรีลังกาในอดีตเป็นผู้เริ่มถวายสมณศักดิ์ และถวายพัดยศให้พระสงฆ์ สำหรับแสดงถึงสมณศักดิ์ที่ได้รับถวาย.
Credit : login sirivinit http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=vinitsiri&month=06-2010&date=21&group=5&gblog=102