เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา กูเกิล ได้แสดงให้เห็นถึงการค้นหาด้วยเสียงสนทนาในงานประชุม Google I/O ล่าสุด คุณสมบัติที่น่าตื่นเต้นดังกล่าวนี้ ได้ถูกนำมาจับลงเบราว์เซอร์ Chrome บนเวอร์ชั่นเดสก์ทอปแล้ว โดยผู้ใช้ที่กำลังมองหาวิธีการอื่นในการค้นหา จะต้องทำการปรับปรุงให้เป็นเวอร์ชั่น 27 ก่อน
โดยคุณสมบัตินี้ มีประสิทธิภาพดีกว่าการค้นหาเสียงของกูเกิลใน Chrome เวอร์ชั่นก่อน ซึ่งแทนที่จะอ่านคำสั่งแบบปกติ ด้วยการออกแบบสไตล์การค้นหาใหม่ที่เน้นการพูดที่เป็นธรรมชาติของมนุษย์มากขึ้น จะช่วยให้ระบบสามารถเข้าใจในภาษาอังกฤษได้อย่างกระจ่าง ทำให้การค้นหาสิ่งที่อยู่บนเว็บทำได้ง่ายกว่าที่เคย โดยการค้นหาด้วยเสียงสนทนาจะสามารถใช้งานได้โดยการไปที่หน้า Google.com และคลิกเลือกที่ไอคอนรูปไมโครโฟน ซึ่งจะมีการร้องขอการอนุญาตให้ใช้อุปกรณ์เชื่อมต่อ จากนั้นก็พร้อมแล้วสำหรับการใช้งาน โดยจากตรงนี้ ผู้ใช้จะสามารถพูดด้วยประโยคที่ง่าย เพื่อสื่อถึงสิ่งที่ต้องการจะค้นหาหรือถามคำถาม ซึ่งบางทีเพื่อให้ได้ผลลัพธ์บางอย่าง ระบบจะมีการถามตอบกลับมายังผู้ใช้ด้วย ยกตัวอย่างเช่น เมื่อมีการถามว่า "ทำอย่างไรถึงจะไปฟิลาเดลเฟียได้" กูเกิลก็จะบอกคุณถึงแผนที่ และแน่นอนจะมีการแสดงมันให้ได้ดูบนหน้าจอ หรือเมื่อมีการพูดประโยคง่ายๆว่า "Liberty Bell" กูเกิลก็จะแสดงผลลัพธ์สำหรับ Liberty Bell และพูดข้อความที่ตัดตอนสั้นๆมาจากวิกิพีเดีย โดยระบบยังจะมีการจดจำบริบทไว้ ซึ่งเมื่อผู้ใช้มีการถามต่อจากคำถามก่อนหน้า ระบบก็จะแสดงคำตอบที่เกี่ยวเนื่องจากคำถามก่อนมาด้วย อย่างเช่น เมื่อมีการถามว่า "บิล เกตส์ อายุเท่าไร?" และเมื่อพูดขึ้นว่า "ใครที่แต่งงานกับเขา?" ระบบก็จะเข้าใจในทันทีว่า เขาในที่นี้หมายถึง บิล เกตส์ นั่นเอง
ที่มา TechSpot
กูเกิล ซุ่ม เพิ่มการค้นหาด้วยเสียงสนทนาไปยัง Chrome 27
โดยคุณสมบัตินี้ มีประสิทธิภาพดีกว่าการค้นหาเสียงของกูเกิลใน Chrome เวอร์ชั่นก่อน ซึ่งแทนที่จะอ่านคำสั่งแบบปกติ ด้วยการออกแบบสไตล์การค้นหาใหม่ที่เน้นการพูดที่เป็นธรรมชาติของมนุษย์มากขึ้น จะช่วยให้ระบบสามารถเข้าใจในภาษาอังกฤษได้อย่างกระจ่าง ทำให้การค้นหาสิ่งที่อยู่บนเว็บทำได้ง่ายกว่าที่เคย โดยการค้นหาด้วยเสียงสนทนาจะสามารถใช้งานได้โดยการไปที่หน้า Google.com และคลิกเลือกที่ไอคอนรูปไมโครโฟน ซึ่งจะมีการร้องขอการอนุญาตให้ใช้อุปกรณ์เชื่อมต่อ จากนั้นก็พร้อมแล้วสำหรับการใช้งาน โดยจากตรงนี้ ผู้ใช้จะสามารถพูดด้วยประโยคที่ง่าย เพื่อสื่อถึงสิ่งที่ต้องการจะค้นหาหรือถามคำถาม ซึ่งบางทีเพื่อให้ได้ผลลัพธ์บางอย่าง ระบบจะมีการถามตอบกลับมายังผู้ใช้ด้วย ยกตัวอย่างเช่น เมื่อมีการถามว่า "ทำอย่างไรถึงจะไปฟิลาเดลเฟียได้" กูเกิลก็จะบอกคุณถึงแผนที่ และแน่นอนจะมีการแสดงมันให้ได้ดูบนหน้าจอ หรือเมื่อมีการพูดประโยคง่ายๆว่า "Liberty Bell" กูเกิลก็จะแสดงผลลัพธ์สำหรับ Liberty Bell และพูดข้อความที่ตัดตอนสั้นๆมาจากวิกิพีเดีย โดยระบบยังจะมีการจดจำบริบทไว้ ซึ่งเมื่อผู้ใช้มีการถามต่อจากคำถามก่อนหน้า ระบบก็จะแสดงคำตอบที่เกี่ยวเนื่องจากคำถามก่อนมาด้วย อย่างเช่น เมื่อมีการถามว่า "บิล เกตส์ อายุเท่าไร?" และเมื่อพูดขึ้นว่า "ใครที่แต่งงานกับเขา?" ระบบก็จะเข้าใจในทันทีว่า เขาในที่นี้หมายถึง บิล เกตส์ นั่นเอง
ที่มา TechSpot