เชื่อว่าหลายท่านคงคุ้นเคยกับการกู้ยืมเงิน บางท่านก็อาจจะเป็นผู้ให้กู้ ในขณะที่บางท่านก็ถนัดกับการเป็นผู้กู้ แต่ไม่ว่าท่านจะเป็นผู้ให้กู้หรือผู้กู้ นี่คือสิ่งที่ท่านควรรู้เกี่ยวกับสัญญากู้ยืมเงิน
1) การกู้ยืมเงินจำเป็นต้องทำสัญญาเสมอไปหรือไม่
กฎหมายกำหนดว่า การกุู้ยืมเงินเกินกว่า 2,000 บาท จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือจึงจะฟ้องร้องดำเนินคดีได้ ดังนั้นหากท่านให้ใครยืมเงินไปเกินกว่า 2,000 บาท ท่านจำเป็นต้องให้ผู้กู้ทำสัญญา มิเช่นนั้น ท่านจะฟ้องร้องดำเนินคดีกับผู้กู้ไม่ได้ (แม้ท่านจะมีพยานบุคคลรู้เห็นเป็นร้อยเป็นพันคนก็ตาม) แต่หากท่านให้ใครยืมเงินไปไม่เกิน 2,000 บาท แม้ท่านจะไม่ทำสัญญา ท่านก็สามารถฟ้องร้องดำเนินคดีกับผู้กู้ได้ แต่ทางที่ดี ไม่ว่าจะให้กู้ไปเท่าไร ทำสัญญาไว้เป็นดีที่สุด
2) สัญญากู้ยืมเงินจำเป็นต้องมีการคิดดอกเบี้ยกันทุกกรณีหรือไม่ และถ้าคิด คิดได้ไม่เกินเท่าไร
ปกติในการกู้ยืมเงิน ผู้ให้กู้จะคิดหรือไม่คิดดอกเบี้ยจากผู้กู้ก็ได้แล้วแต่จะตกลงกัน แต่ถ้าผู้ให้กู้ตกลงที่จะคิดดอกเบี้ย ผู้ให้กู้มีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้ไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี (ร้อยละ 1.25 ต่อเดือน) ถ้ามีการตกลงคิดดอกเบี้ยกันเกินกว่านั้น ในทางกฎหมายถือว่าดอกเบี้ยเป็นโมฆะ ผู้กู้ไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ยให้กับผู้ให้กู้ซักบาท มีหน้าที่จ่ายคืนเฉพาะเงินต้นเท่านั้น
3) ถ้าผู้กู้ไม่จ่ายเงินคืนให้กับผู้ให้กู้ ผู้กู้จะติดคุกหรือไม่
การผิดสัญญาเงินกู้เป็นความผิดทางแพ่ง ไม่ใช่ความผิดอาญา ผู้กู้ไม่มีทางติดคุก
4) ถ้าผู้กู้ผิดนัดไม่ชำระหนี้เงินกู้ ผู้ให้กู้จะต้องฟ้องผู้กู้ภายในกี่ปี
ภายใน 10 ปี หรือ 5 ปี นับแต่วันที่ผู้กู้ผิดนัดชำระหนี้ แล้วแต่กรณี
5) ถ้าผู้ให้กู้จะฟ้องผู้กู้ ผู้ให้กู้จะต้องเสียค่าธรรมเนียมในการฟ้องคดีหรือไม่
ผู้ให้กู้จะต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลในการฟ้องคดี
ถ้าฟ้องไม่เกิน 300,000 บาท เสียค่าธรรมเนียมศาล 1,000 บาท
ถ้าฟ้องเกิน 300,000 บาท เสียค่าธรรมเนียมศาลร้อยละ 2 แต่ไม่เกิน 200,000 บาท
เงินค่าธรรมเนียมศาลนี้ โดยปกติหากผู้ให้กู้ชนะคดี ศาลจะสั่งให้ผู้กู้ใช้คืนให้กับผู้ให้กู้ด้วย
เพิ่มเติมยังไงลองเมล์มาคุยกัน chitchaichinsunti@hotmail.com
ข้อควรรู้กับสัญญากู้ยืมเงิน
1) การกู้ยืมเงินจำเป็นต้องทำสัญญาเสมอไปหรือไม่
กฎหมายกำหนดว่า การกุู้ยืมเงินเกินกว่า 2,000 บาท จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือจึงจะฟ้องร้องดำเนินคดีได้ ดังนั้นหากท่านให้ใครยืมเงินไปเกินกว่า 2,000 บาท ท่านจำเป็นต้องให้ผู้กู้ทำสัญญา มิเช่นนั้น ท่านจะฟ้องร้องดำเนินคดีกับผู้กู้ไม่ได้ (แม้ท่านจะมีพยานบุคคลรู้เห็นเป็นร้อยเป็นพันคนก็ตาม) แต่หากท่านให้ใครยืมเงินไปไม่เกิน 2,000 บาท แม้ท่านจะไม่ทำสัญญา ท่านก็สามารถฟ้องร้องดำเนินคดีกับผู้กู้ได้ แต่ทางที่ดี ไม่ว่าจะให้กู้ไปเท่าไร ทำสัญญาไว้เป็นดีที่สุด
2) สัญญากู้ยืมเงินจำเป็นต้องมีการคิดดอกเบี้ยกันทุกกรณีหรือไม่ และถ้าคิด คิดได้ไม่เกินเท่าไร
ปกติในการกู้ยืมเงิน ผู้ให้กู้จะคิดหรือไม่คิดดอกเบี้ยจากผู้กู้ก็ได้แล้วแต่จะตกลงกัน แต่ถ้าผู้ให้กู้ตกลงที่จะคิดดอกเบี้ย ผู้ให้กู้มีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้ไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี (ร้อยละ 1.25 ต่อเดือน) ถ้ามีการตกลงคิดดอกเบี้ยกันเกินกว่านั้น ในทางกฎหมายถือว่าดอกเบี้ยเป็นโมฆะ ผู้กู้ไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ยให้กับผู้ให้กู้ซักบาท มีหน้าที่จ่ายคืนเฉพาะเงินต้นเท่านั้น
3) ถ้าผู้กู้ไม่จ่ายเงินคืนให้กับผู้ให้กู้ ผู้กู้จะติดคุกหรือไม่
การผิดสัญญาเงินกู้เป็นความผิดทางแพ่ง ไม่ใช่ความผิดอาญา ผู้กู้ไม่มีทางติดคุก
4) ถ้าผู้กู้ผิดนัดไม่ชำระหนี้เงินกู้ ผู้ให้กู้จะต้องฟ้องผู้กู้ภายในกี่ปี
ภายใน 10 ปี หรือ 5 ปี นับแต่วันที่ผู้กู้ผิดนัดชำระหนี้ แล้วแต่กรณี
5) ถ้าผู้ให้กู้จะฟ้องผู้กู้ ผู้ให้กู้จะต้องเสียค่าธรรมเนียมในการฟ้องคดีหรือไม่
ผู้ให้กู้จะต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลในการฟ้องคดี
ถ้าฟ้องไม่เกิน 300,000 บาท เสียค่าธรรมเนียมศาล 1,000 บาท
ถ้าฟ้องเกิน 300,000 บาท เสียค่าธรรมเนียมศาลร้อยละ 2 แต่ไม่เกิน 200,000 บาท
เงินค่าธรรมเนียมศาลนี้ โดยปกติหากผู้ให้กู้ชนะคดี ศาลจะสั่งให้ผู้กู้ใช้คืนให้กับผู้ให้กู้ด้วย
เพิ่มเติมยังไงลองเมล์มาคุยกัน chitchaichinsunti@hotmail.com