สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 5
เหมือนจะเคยตอบไปหลายครั้งแล้วมั้ง แต่ลองเอาของเก่ามาเรียบเรียงอีกทีละกัน
1. อ่าวไทยตื้น แต่ไม่ได้หมายความว่ารดน. จะใช้งานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ พื้นที่ทะเลหลายแห่งระดับน้ำแค่ 40-50 เมตร แถบยุโรปก็ใช้ทำสงครามใต้ผิวน้ำมาตลอด โดยเฉพาะสงครามทุ่นระเบิด ล่าทำลายเรือผิวน้ำ และข่าวกรอง ภูมิประเทศตื้นเขินก็สร้างสภาวะที่สัญญาณเสียงจะตรวจจับได้ยากเช่นกัน
2. รดน. ไม่จำเป็นต้องปฎิบัติการเฉพาะพื้นที่อ่าวไทย (เชิงรับ) แต่สามารถทำการรบนอกพื้นที่เพื่อกดดัน/คุกคามฝ่ายตรงข้าม โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีความลึกกว่าเช่น สแปตลีย์ เกาะแก่งแถบทะเลจีนใต้ และทำลายแนวหลัง ซึ่งมีความซับซ้อนและค้นหารดน.ได้ยากมาก
3. เรือดำน้ำขนาดใหญ่ของอเมริกา เช่น นิวเคลียร์ชั้นลอสฯ ที่ระวางขับน้ำหนักกว่าเรือรบของกองทัพเรือไทยเราทุกลำด้วยซ้ำ (น้อยกว่าเรือจักรีฯหน่อยนึง) ยังมาซ้อมรบกับเราประจำ และทำได้อย่างยอดเยี่ยมด้วย ขนาดตอนฝึกปราบเรือดำน้ำไทยเราขอให้โชว์ฝีมือให้เต็มที่จะได้คล่องๆ แต่กัปตันเรือแกบอกเลยว่าลงมือเต็มที่ไม่ได้ เพราะมาที่นี่เพื่อสอนการใช้อุปกรณ์ต่างๆที่ซื้อมา แล้วก็ดำโชว์ให้ดูตรงหน้าแล้วกองเรือทั้งกองฯเราก็หาไม่เจอ (สัญญาณตรวจจับโดนภูมิประเทศสะท้อนกลับหมด) นี่ขนาดไม่ได้ใช้เทคนิคอะไรลวงเลยด้วยซ้ำ
4. การปฎิบัติการทางทหารของทุกเหล่าทัพ ควรจะมีความสามารถในการปฎิบัติการครบทุกมิติ เพื่อให้ตอบโต้ภัยคุกคามได้อย่างมีประสิทธิผล (ไม่ต้องประสิทธิภาพก็ได้) กรณีของกองทัพเรือก็คือ ผิวน้ำ - น่านฟ้า - และใต้น้ำ การที่มีอาวุธไม่ครบก็เหมือนกับการเป่ายิ้งฉุบโดยคุณสามารถออกได้แค่กรรไกร+ค้อน ยังไงก็เสียเปรียบคู่กรณี (ถ้าฝั่งนู้นรบได้ครบ 3 มิติ) อย่างมากครับ
5. ประโยชน์สูงสุดของเรือดำน้ำต่อกองทัพเรือไทยในเบื้องต้น (มากๆ) คือ "การฝึกฝน" ครับ เพราะปัจจุบันเราต้องยืมจมูกเพื่อนบ้าน หรือชาติมหาอำนาจทุกครั้ง ต่อให้ราชนาวีไทยเรามีอาวุธที่เทพระดับโลก หรือของมาตรฐานเดียวกับอเมริกา (ซื้อมานิ) แต่ก็ใช้ว่าฝีมือเราจะสูงพอ..ตรงนี้ต้องยอมรับว่าทัพเรือมีโอกาศซ้อมรบกับเรือดำน้ำน้อยมากๆ เพราะสู้กับฝั่ง-เรือผิวน้ำ-อากาศยาน ยังมีเป้าให้สู้ได้ .... แต่ตอนนี้เรือฟรีเกตปราบเรือดำน้ำของเราจะซ้อมทีก็เหมือนนักฟุตบอลที่ซ้อมวิ่งอย่างหนักแต่ดันไม่มีงบซื้อลูกบอลให้ฝึกยิง
ประมาณนั้นมั้ง.. แต่ถ้าถามว่าเมื่อไหร่จะมี รดน. ใช้ คงต้องทำใจครับ โครงการนี้กี่รัฐบาลก็ถูกพลังอำนาจลึกลับสั่งแบนมาตลอด
ปล. พึ่งเห็นที่ถกกันกระทู้เก่า แต่อ่านแล้ว เลยขี้เกียจย้อนกลับไปตอบ ถือว่าขอแปะแค่กระทู้นี้ละกัน
1. อ่าวไทยตื้น แต่ไม่ได้หมายความว่ารดน. จะใช้งานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ พื้นที่ทะเลหลายแห่งระดับน้ำแค่ 40-50 เมตร แถบยุโรปก็ใช้ทำสงครามใต้ผิวน้ำมาตลอด โดยเฉพาะสงครามทุ่นระเบิด ล่าทำลายเรือผิวน้ำ และข่าวกรอง ภูมิประเทศตื้นเขินก็สร้างสภาวะที่สัญญาณเสียงจะตรวจจับได้ยากเช่นกัน
2. รดน. ไม่จำเป็นต้องปฎิบัติการเฉพาะพื้นที่อ่าวไทย (เชิงรับ) แต่สามารถทำการรบนอกพื้นที่เพื่อกดดัน/คุกคามฝ่ายตรงข้าม โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีความลึกกว่าเช่น สแปตลีย์ เกาะแก่งแถบทะเลจีนใต้ และทำลายแนวหลัง ซึ่งมีความซับซ้อนและค้นหารดน.ได้ยากมาก
3. เรือดำน้ำขนาดใหญ่ของอเมริกา เช่น นิวเคลียร์ชั้นลอสฯ ที่ระวางขับน้ำหนักกว่าเรือรบของกองทัพเรือไทยเราทุกลำด้วยซ้ำ (น้อยกว่าเรือจักรีฯหน่อยนึง) ยังมาซ้อมรบกับเราประจำ และทำได้อย่างยอดเยี่ยมด้วย ขนาดตอนฝึกปราบเรือดำน้ำไทยเราขอให้โชว์ฝีมือให้เต็มที่จะได้คล่องๆ แต่กัปตันเรือแกบอกเลยว่าลงมือเต็มที่ไม่ได้ เพราะมาที่นี่เพื่อสอนการใช้อุปกรณ์ต่างๆที่ซื้อมา แล้วก็ดำโชว์ให้ดูตรงหน้าแล้วกองเรือทั้งกองฯเราก็หาไม่เจอ (สัญญาณตรวจจับโดนภูมิประเทศสะท้อนกลับหมด) นี่ขนาดไม่ได้ใช้เทคนิคอะไรลวงเลยด้วยซ้ำ
4. การปฎิบัติการทางทหารของทุกเหล่าทัพ ควรจะมีความสามารถในการปฎิบัติการครบทุกมิติ เพื่อให้ตอบโต้ภัยคุกคามได้อย่างมีประสิทธิผล (ไม่ต้องประสิทธิภาพก็ได้) กรณีของกองทัพเรือก็คือ ผิวน้ำ - น่านฟ้า - และใต้น้ำ การที่มีอาวุธไม่ครบก็เหมือนกับการเป่ายิ้งฉุบโดยคุณสามารถออกได้แค่กรรไกร+ค้อน ยังไงก็เสียเปรียบคู่กรณี (ถ้าฝั่งนู้นรบได้ครบ 3 มิติ) อย่างมากครับ
5. ประโยชน์สูงสุดของเรือดำน้ำต่อกองทัพเรือไทยในเบื้องต้น (มากๆ) คือ "การฝึกฝน" ครับ เพราะปัจจุบันเราต้องยืมจมูกเพื่อนบ้าน หรือชาติมหาอำนาจทุกครั้ง ต่อให้ราชนาวีไทยเรามีอาวุธที่เทพระดับโลก หรือของมาตรฐานเดียวกับอเมริกา (ซื้อมานิ) แต่ก็ใช้ว่าฝีมือเราจะสูงพอ..ตรงนี้ต้องยอมรับว่าทัพเรือมีโอกาศซ้อมรบกับเรือดำน้ำน้อยมากๆ เพราะสู้กับฝั่ง-เรือผิวน้ำ-อากาศยาน ยังมีเป้าให้สู้ได้ .... แต่ตอนนี้เรือฟรีเกตปราบเรือดำน้ำของเราจะซ้อมทีก็เหมือนนักฟุตบอลที่ซ้อมวิ่งอย่างหนักแต่ดันไม่มีงบซื้อลูกบอลให้ฝึกยิง
ประมาณนั้นมั้ง.. แต่ถ้าถามว่าเมื่อไหร่จะมี รดน. ใช้ คงต้องทำใจครับ โครงการนี้กี่รัฐบาลก็ถูกพลังอำนาจลึกลับสั่งแบนมาตลอด
ปล. พึ่งเห็นที่ถกกันกระทู้เก่า แต่อ่านแล้ว เลยขี้เกียจย้อนกลับไปตอบ ถือว่าขอแปะแค่กระทู้นี้ละกัน
ความคิดเห็นที่ 6
ในมุมมองของผมมันเป็นการลงทุนที่สูงเกินกว่าที่งบประมาณอันจำกัดของประเทศจะอำนวยให้ได้ และไม่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ในการป้องกันประเทศของไทยเรา ประกอบกับประเทศไทยไม่มีกรณีพิพาททางทะเลกับประเทศมหาอำนาจเหมือนกับที่ มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนิเซีย และเวียดนาม มีกรณีพิพาทกับจีนในกรณีแย่งชิงกรรมสิทธิ์เหนือหมู่เกาะสแปรตลีย์ เราจึงไม่จำเป็นต้องมีอาวุธเชิงรุกเพื่อปฎิบัติการกดดันเหนือพื้นที่พิพาทเหมือนกับที่ประเทศเหล่านั้นจำต้องกระทำเพื่อสร้างอำนาจต่อรองและรักษาสิทธิตามข้ออ้างของตน
การจัดหายุทโธปกรณ์จำต้องพิจารณายุทธศาสตร์ของประเทศเป็นสำคัญ.....มิใช่จัดหาตามแบบประเทศอื่นโดยไม่ดูว่าเค้าจัดหามาเพื่อการใด....สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนิเซีย ภูมิศาสตร์ตั้งอยู่ในเส้นทางเดินเรือที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของโลก (ช่องแคบมะละกา) จึงจำต้องมีกำลังทางเรือเชิงรุกเพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ทางทะเลของตน เนื่องจากนโยบายช่วงก่อนของอเมริกาที่ถอนทหารออกจากภูมิภาคเอเชียใต้ ทำให้สมดุลทางทหารเปลี่ยนไป ประกอบกับประเทศในแถบอาเซียนเริ่มมีขนาดเศรษฐกิจที่ดีขึ้น จึงได้ทุ่มเทงบประมาณปรับปรุงกองทัพเพื่อควบคุมดุลอำนาจทางทะเลที่กำลังเปลี่ยนไป เพราะการที่ประอาเซียนพึ่งพาความมั่นคงจากสหรัฐมายาวนานทำให้ได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาจากการที่อเมริกาถอนทหารออกไปจาภูมิภาค
เพราะการที่อเมริกาถอนทหารออกไปจากเอเชียใต้ และมุ่งความสำคัญไปที่การคุ้มครองประโยชน์ในตะวันออกกลาง ทำให้ จีน และ อินเดีย ซึ่งเป็นมหาอำนาจใหม่เริ่มแผ่อิทธิพลเข้ามาในน่านน้ำทะเลจีนใต้มากยี่งขึ้น จึงเป็นแรงกดดันที่ทำให้ประเทศอาเซียนที่ควบคุมช่องแคบมระกาและที่อ้างกรรมสิทธิเหนือหมู่เกาะสแปรตลีย์จำต้องสะสมอาวุธเชิงรุกเพื่อคุ้มครองสิทธิของตนตามกำลังเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆ ที่พอจะอำนวยให้กองทัพได้
แต่กับประเทศไทยเรา....เราไม่มียุทธศาสตร์ในการป้องกันประเทศในเชิงรุก....และไม่มีกรณีพิพาทกับมหาอำนาจใดๆ ในโลกในการที่จะต้องขวนขวายจัดหายุทโธปกรณ์เชิงรุกเพื่อมาตอบสนองยุทธศาสตร์ในการป้องกันและปกป้องทรัพย์กรของชาติ....ซึ่งผิดกับประเทศ สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนิเซีย และเวียดนาม ที่จำต้องมี....และที่เค้ามีก็มิได้มีไว้เพื่อเตรียมรบกับไทย แต่มีไว้เพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์ในการป้องกันและปกป้องทรัพย์กรธรรมชาติทางทะเลของเค้าเป็นสำคัญ
และที่สำคัญที่สุดคือ....ประเทศเรา "จน" ครับ...งบประมาณเรามีจำกัด กำลังพลเรามีมาก นายพลเรามีเยอะ แค่เงินเดือนเบี้ยหวัดกำลังพลตั้งแต่ นายพล ลงไปถึง พลทหาร ก็แทบจะไม่มีงบประมาณเหลือพอจัดหายุทโธปกรณ์ใหม่ๆ แล้วครับ....ซึ่งโครงสร้างของกองทัพไทยนั้นสวนทางกับประเทศอื่นๆ ที่พัฒนาแล้วในการจำกัดอัตตากำลังพล แต่กองทัพไทยเราหาทางเพิ่มอัตตาตลอด (เพราะอะไรคงไม่จำต้องพูดถึงนะครับ)
ดังนั้น....ด้วยงบประมาณที่จำกัด ด้วยยุทธศาสตร์ของชาติ ด้วยสภาพภูมิศาสตร์ "เรือดำน้ำ" จึงไม่ใช่สิ่งจำเป็นเร่งด่วนของไทย.....งบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัดของกองทัพไทยควรนำไปใช้จัดหายุทโธปกรณ์ที่มีคุณค่าทางยุทธศาสตร์มากกว่านี้ แต่ด้วยงบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัดเช่นนี้แค่จัดหายุทโธปกรณ์ทดแทนของเก่าที่ต้องปลดระวางก็ยังจัดหาได้ไม่ครบอัตตาเลยครับ
อนึ่ง...โครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่กริพเพนของกองทัพอากาศ ในความคิดของผมเป็นโครงการที่คุ้มค่าสูงสุด.....เพราะตอบสนองยุทธศาสตร์ในการป้องกันประเทศได้อย่างสูงสุดภายใต้งปประมาณที่จำกัด.....เพราะประเทศเรามียุทธศาสตร์ในการป้องกันเชิงรับ มีขาดประเทศที่ไม่ใหญ่มาก มีสนามบินกระจายไปทั่วทุกภูมิภาค การจัดหาเครื่องบินขับไล่สมรรถนะสูงที่มีขนาดเล็ก ประหยัด ค่าใช้จ่ายถูก และมีเครื่องบินเตือนภัยทางอากาศจึงเพิ่มขีดความสามารถในการป้องกันประเทศให้สูงมากขึ้น....เป็นการจัดหายุทโธปกรณ์ที่ตอบสนองภาระกิจของกองทัพอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แต่ประเทศอย่างสิงคโปร์ที่ต้องมี F-15SE เพราะเค้ามียุทธศาสตร์ในการป้องกันประเทศเชิงรุก....ด้วยขนาดของประเทศ ด้วยภูมิศาสตร์ที่เป็นเกาะ สิงคโปร์ต้องมีเครื่องบินโจมตีทางลึกเพื่อชิงลงมือโจมตีต่อภัยคุกคามก่อน....เพราะข้อจำกัดทางภูมิศาสตร์ของสิงคโปรทำให้เค้าไม่มีพื้นที่ร่นถอย ถ้าชิงความได้เปรียบก่อนข้าศึกในการโจมตีระลอกแรกไม่ได้สิงคโปรมีสิทธิสิ้นชาติสูง....เพราะถ้าข้าศึกครองอากาศเหนือเกาะสิงคโปร์ได้เมื่อไหร่ก็เป็นอันจบ นับเวลาถอยหลังสู่วันสิ้นชาติได้เลย
ส่วน มาเล อินโด เวียดนาม ที่ต้องมีเครื่องบินขับไล่ตระกูล SU 27 ก็เพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์ของชาติในการปกป้องผลประโยชน์ทางทะเลในพื้นที่ทับซ้อนหมู่เกาะสแปรตลีย์.....เค้าจึงต้องการเครื่องบินขับไล่โจมตีที่มีระยะปฎิบัติการไกลครอบคลุมถึงพื้นที่พิพาท
ดังนั้น...การจัดหายุทโธปกรณ์ใดๆ จึงต้องพิจารณายุทธศาสตร์ของชาติเป็นสำคัญ....มิใช่จะจัดหาตามประเทศเพื่อนบ้านเสมอไปโดยไม่ตอบสนองต่อยุทธศาสตร์ในการป้องกันประเทศเลย.....เช่นนี้แล้วก็จะเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณโดยใช่เหตุ โดยเฉพาะสำหรับประเทศที่มีงบประมาณจำกัดเช่นไทยเรา
อนึ่งสอง.....ในการจัดหายุทโธปกรณ์ในส่วนกองทัพเรือ ผมเองก็ค่อนข้างประหลาดใจมาหลายครั้งแล้ว ตั้งแต่การจัดหา "เรือจักรีนฤเบศร" จนถึงถึงทุกวันนี้ก็ยังไม่มีใครมาให้คำตอบได้เลยว่าประเทศไทยเราจำเป็นต้องมีเรือบรรทุกเครื่องบินเบามั้ย? มันตอบสนองภาระกิจในการป้องกันประเทศทางทะเลอย่างไร และคุ้มค่ามั้ยกับงบประมาณที่เสียไป
จริงอยู่ว่า เรือจักรีนฤเบศร ก็มีคุณค่าในตัวของมันเองอยู่เหมือนกัน.....แต่มันคุ้มกับเงินงบประมาณมหาศาลที่เสียไปหรือไม่? นี่คือคำถามที่หลายคนยังคาใจกับเรือใหญ่ลำนี้อยู่จนถึงทุกวันนี้เหมือนกัน
แต่จะว่าไปกองทัพเรือก็จัดหาเรือแปลกๆ มาใช้ตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่สองแล้ว เช่นเรือชุด ธนบุรี ที่มีระวางเพียงสองพันตันเศษๆ แต่ติดปืนใหญ่เกินตัวขนาดถึง 8 นิ้วซึ่งเป็นปืนใหญ่หลักของเรือลาดตระเวณขนาดหมื่นตันขึ้นไป.....การติดปืนขนาดใหญ่มากกับเรือที่มีขนาดเล็กจึงมีผลทำให้เรือขาดความคล่องตัว มีความเร็วต่ำเพียง 15 นอต....และมีอัตตาการยิงที่ช้ากว่าปืนขนาด 5 นิ้วมาก....แม้แต่ประเทศญี่ปุ่นผู้สร้างก็ยังไม่ประจำการเรือรบแบบนี้เลย เพราะมันขัดต่อสมดุลทางการรบที่ต้องประสานความคล่องตัว อำนาจการยิง และการป้องกันตัว (ลักษณะเหมือนรถถัง)....แต่กองทัพเรือไทยก็สั่งให้ต่อเรือแบบนี้....ซึ่งเมื่อออกรบจริงจึงได้เห็นว่าคุณลักษณะเช่นนี้ไม่เหมาะกับการทำการรบเลย เพราะอำนาจยิงไกลของปืนใหญ่ 8 นิ้วจะหมดความหมายทันทีเมื่อข้าศึกอาศัยความเร็วปิดระยะเข้ามาใกล้ เมื่อนั้นเรือธนบุรีที่อุ้ยอ้ายก็ไม่ต่างอะไรกับเป้าลอยน้ำให้ข้าศึกเลือกยิงได้ตามชอบ
ลองพิจารณาดูครับ
การจัดหายุทโธปกรณ์จำต้องพิจารณายุทธศาสตร์ของประเทศเป็นสำคัญ.....มิใช่จัดหาตามแบบประเทศอื่นโดยไม่ดูว่าเค้าจัดหามาเพื่อการใด....สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนิเซีย ภูมิศาสตร์ตั้งอยู่ในเส้นทางเดินเรือที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของโลก (ช่องแคบมะละกา) จึงจำต้องมีกำลังทางเรือเชิงรุกเพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ทางทะเลของตน เนื่องจากนโยบายช่วงก่อนของอเมริกาที่ถอนทหารออกจากภูมิภาคเอเชียใต้ ทำให้สมดุลทางทหารเปลี่ยนไป ประกอบกับประเทศในแถบอาเซียนเริ่มมีขนาดเศรษฐกิจที่ดีขึ้น จึงได้ทุ่มเทงบประมาณปรับปรุงกองทัพเพื่อควบคุมดุลอำนาจทางทะเลที่กำลังเปลี่ยนไป เพราะการที่ประอาเซียนพึ่งพาความมั่นคงจากสหรัฐมายาวนานทำให้ได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาจากการที่อเมริกาถอนทหารออกไปจาภูมิภาค
เพราะการที่อเมริกาถอนทหารออกไปจากเอเชียใต้ และมุ่งความสำคัญไปที่การคุ้มครองประโยชน์ในตะวันออกกลาง ทำให้ จีน และ อินเดีย ซึ่งเป็นมหาอำนาจใหม่เริ่มแผ่อิทธิพลเข้ามาในน่านน้ำทะเลจีนใต้มากยี่งขึ้น จึงเป็นแรงกดดันที่ทำให้ประเทศอาเซียนที่ควบคุมช่องแคบมระกาและที่อ้างกรรมสิทธิเหนือหมู่เกาะสแปรตลีย์จำต้องสะสมอาวุธเชิงรุกเพื่อคุ้มครองสิทธิของตนตามกำลังเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆ ที่พอจะอำนวยให้กองทัพได้
แต่กับประเทศไทยเรา....เราไม่มียุทธศาสตร์ในการป้องกันประเทศในเชิงรุก....และไม่มีกรณีพิพาทกับมหาอำนาจใดๆ ในโลกในการที่จะต้องขวนขวายจัดหายุทโธปกรณ์เชิงรุกเพื่อมาตอบสนองยุทธศาสตร์ในการป้องกันและปกป้องทรัพย์กรของชาติ....ซึ่งผิดกับประเทศ สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนิเซีย และเวียดนาม ที่จำต้องมี....และที่เค้ามีก็มิได้มีไว้เพื่อเตรียมรบกับไทย แต่มีไว้เพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์ในการป้องกันและปกป้องทรัพย์กรธรรมชาติทางทะเลของเค้าเป็นสำคัญ
และที่สำคัญที่สุดคือ....ประเทศเรา "จน" ครับ...งบประมาณเรามีจำกัด กำลังพลเรามีมาก นายพลเรามีเยอะ แค่เงินเดือนเบี้ยหวัดกำลังพลตั้งแต่ นายพล ลงไปถึง พลทหาร ก็แทบจะไม่มีงบประมาณเหลือพอจัดหายุทโธปกรณ์ใหม่ๆ แล้วครับ....ซึ่งโครงสร้างของกองทัพไทยนั้นสวนทางกับประเทศอื่นๆ ที่พัฒนาแล้วในการจำกัดอัตตากำลังพล แต่กองทัพไทยเราหาทางเพิ่มอัตตาตลอด (เพราะอะไรคงไม่จำต้องพูดถึงนะครับ)
ดังนั้น....ด้วยงบประมาณที่จำกัด ด้วยยุทธศาสตร์ของชาติ ด้วยสภาพภูมิศาสตร์ "เรือดำน้ำ" จึงไม่ใช่สิ่งจำเป็นเร่งด่วนของไทย.....งบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัดของกองทัพไทยควรนำไปใช้จัดหายุทโธปกรณ์ที่มีคุณค่าทางยุทธศาสตร์มากกว่านี้ แต่ด้วยงบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัดเช่นนี้แค่จัดหายุทโธปกรณ์ทดแทนของเก่าที่ต้องปลดระวางก็ยังจัดหาได้ไม่ครบอัตตาเลยครับ
อนึ่ง...โครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่กริพเพนของกองทัพอากาศ ในความคิดของผมเป็นโครงการที่คุ้มค่าสูงสุด.....เพราะตอบสนองยุทธศาสตร์ในการป้องกันประเทศได้อย่างสูงสุดภายใต้งปประมาณที่จำกัด.....เพราะประเทศเรามียุทธศาสตร์ในการป้องกันเชิงรับ มีขาดประเทศที่ไม่ใหญ่มาก มีสนามบินกระจายไปทั่วทุกภูมิภาค การจัดหาเครื่องบินขับไล่สมรรถนะสูงที่มีขนาดเล็ก ประหยัด ค่าใช้จ่ายถูก และมีเครื่องบินเตือนภัยทางอากาศจึงเพิ่มขีดความสามารถในการป้องกันประเทศให้สูงมากขึ้น....เป็นการจัดหายุทโธปกรณ์ที่ตอบสนองภาระกิจของกองทัพอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แต่ประเทศอย่างสิงคโปร์ที่ต้องมี F-15SE เพราะเค้ามียุทธศาสตร์ในการป้องกันประเทศเชิงรุก....ด้วยขนาดของประเทศ ด้วยภูมิศาสตร์ที่เป็นเกาะ สิงคโปร์ต้องมีเครื่องบินโจมตีทางลึกเพื่อชิงลงมือโจมตีต่อภัยคุกคามก่อน....เพราะข้อจำกัดทางภูมิศาสตร์ของสิงคโปรทำให้เค้าไม่มีพื้นที่ร่นถอย ถ้าชิงความได้เปรียบก่อนข้าศึกในการโจมตีระลอกแรกไม่ได้สิงคโปรมีสิทธิสิ้นชาติสูง....เพราะถ้าข้าศึกครองอากาศเหนือเกาะสิงคโปร์ได้เมื่อไหร่ก็เป็นอันจบ นับเวลาถอยหลังสู่วันสิ้นชาติได้เลย
ส่วน มาเล อินโด เวียดนาม ที่ต้องมีเครื่องบินขับไล่ตระกูล SU 27 ก็เพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์ของชาติในการปกป้องผลประโยชน์ทางทะเลในพื้นที่ทับซ้อนหมู่เกาะสแปรตลีย์.....เค้าจึงต้องการเครื่องบินขับไล่โจมตีที่มีระยะปฎิบัติการไกลครอบคลุมถึงพื้นที่พิพาท
ดังนั้น...การจัดหายุทโธปกรณ์ใดๆ จึงต้องพิจารณายุทธศาสตร์ของชาติเป็นสำคัญ....มิใช่จะจัดหาตามประเทศเพื่อนบ้านเสมอไปโดยไม่ตอบสนองต่อยุทธศาสตร์ในการป้องกันประเทศเลย.....เช่นนี้แล้วก็จะเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณโดยใช่เหตุ โดยเฉพาะสำหรับประเทศที่มีงบประมาณจำกัดเช่นไทยเรา
อนึ่งสอง.....ในการจัดหายุทโธปกรณ์ในส่วนกองทัพเรือ ผมเองก็ค่อนข้างประหลาดใจมาหลายครั้งแล้ว ตั้งแต่การจัดหา "เรือจักรีนฤเบศร" จนถึงถึงทุกวันนี้ก็ยังไม่มีใครมาให้คำตอบได้เลยว่าประเทศไทยเราจำเป็นต้องมีเรือบรรทุกเครื่องบินเบามั้ย? มันตอบสนองภาระกิจในการป้องกันประเทศทางทะเลอย่างไร และคุ้มค่ามั้ยกับงบประมาณที่เสียไป
จริงอยู่ว่า เรือจักรีนฤเบศร ก็มีคุณค่าในตัวของมันเองอยู่เหมือนกัน.....แต่มันคุ้มกับเงินงบประมาณมหาศาลที่เสียไปหรือไม่? นี่คือคำถามที่หลายคนยังคาใจกับเรือใหญ่ลำนี้อยู่จนถึงทุกวันนี้เหมือนกัน
แต่จะว่าไปกองทัพเรือก็จัดหาเรือแปลกๆ มาใช้ตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่สองแล้ว เช่นเรือชุด ธนบุรี ที่มีระวางเพียงสองพันตันเศษๆ แต่ติดปืนใหญ่เกินตัวขนาดถึง 8 นิ้วซึ่งเป็นปืนใหญ่หลักของเรือลาดตระเวณขนาดหมื่นตันขึ้นไป.....การติดปืนขนาดใหญ่มากกับเรือที่มีขนาดเล็กจึงมีผลทำให้เรือขาดความคล่องตัว มีความเร็วต่ำเพียง 15 นอต....และมีอัตตาการยิงที่ช้ากว่าปืนขนาด 5 นิ้วมาก....แม้แต่ประเทศญี่ปุ่นผู้สร้างก็ยังไม่ประจำการเรือรบแบบนี้เลย เพราะมันขัดต่อสมดุลทางการรบที่ต้องประสานความคล่องตัว อำนาจการยิง และการป้องกันตัว (ลักษณะเหมือนรถถัง)....แต่กองทัพเรือไทยก็สั่งให้ต่อเรือแบบนี้....ซึ่งเมื่อออกรบจริงจึงได้เห็นว่าคุณลักษณะเช่นนี้ไม่เหมาะกับการทำการรบเลย เพราะอำนาจยิงไกลของปืนใหญ่ 8 นิ้วจะหมดความหมายทันทีเมื่อข้าศึกอาศัยความเร็วปิดระยะเข้ามาใกล้ เมื่อนั้นเรือธนบุรีที่อุ้ยอ้ายก็ไม่ต่างอะไรกับเป้าลอยน้ำให้ข้าศึกเลือกยิงได้ตามชอบ
ลองพิจารณาดูครับ
แสดงความคิดเห็น
สงสัยเรื่องเรือดำน้ำ สืบเนื่องจากกระทู้ (ทำไมกองทัพเรือไทยถึงเน้นหนักไปทางกองเรือผิวน้ำครับ)
ซึ่งหลังๆ ได้มีการถกเถียงกันในหัวข้อ เรือดำน้ำ และความลึกของพื้นทะเลอ่าวไทย
เลยอยากทราบว่าแต่ละท่านมีความเห็นอย่างไรกันบ้างครับ
โดยส่วนตัวผมก็ไม่รู้เรื่องอะไรหรอกครับ แค่สงสัย
แต่มีท่านนึงให้ข้อมูลไว้ว่า เรือดำน้ำ ปฏิบัติการที่ระดับความลึก 40 - 80 เมตร
ส่วนพื้นทะเลอ่าวไทย ข้อมูลจากวิกิพีเดีย บอกความลึกเฉลี่ยอยู่ที่ 45 เมตร
ทีนี้ก็เลยมีหัวข้อที่ถกเถียงกันในกระทู้
ฝ่ายนึงบอกซื้อมาใช้ได้ ไม่ครอบคลุมพื้นที่ ไม่คุ้ม
อีกฝ่ายนึงบอกซื้อมา ไม่ได้เอาไว้แค่ตรวจชายฝั่งอย่างเดียว