มีใครใช้ยาอริสโตคอร์ททาหน้ามานาน ๆ บ้างมั้ยครับ

คือก่อนหน้านี้ผมจะเป็นคนที่เวลามีเหงื่อออกเมื่อไรตามคิ้วจะลอก คัน และแสบมาก ตอนนั้นหมอแนะนำให้ใช้ครีมอริสโตคอร์ท 0.1% ทา หลังใช้ก็หายเป็นปกติ แต่ปัญหาคือผมทามาเป็นประจำ ทาทุกวัน เพราะเห็นว่าทาแล้วไม่เป็นอะไรเลยใช้ทาทั้งใบหน้า ปัจจุบันก็เกือบ 3 ปีที่ใช้อยู่ จนเมื่อสามวันที่แล้วหยุดใช้เนื่องจากหมดและไม่มีเวลาออกไปซื้อเลยลองหยุดใช้ สรุปผมที่ได้คือทั้งใบหน้าลอก แดง แสบมาก ตกสะเก็ดเป็นแผ่นใหญ่ ๆ ผิวดูย่น ตอนนี้ไม่รู้จะทำอย่างไงกลัวหน้าพังมากเลยครับ ตอนนี้แฟนก็ให้ล้างหน้าด้วยน้ำเปล่า+กับใช้ครีม Physiogel AI Cream นี่ก็ผ่านมา 4-5 วันแล้วยังไม่ดีขึ้นเลยครับ ยิ่งโดนแดดเหงื่อออกด้วยนี่สุด ๆ เลยครับ

คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
อย่าทานานๆนะคะ  
Aristocort ความแรงไม่สูงมาก แต่มันก็ไม่ควรทาบนหน้า และไม่ควรทานานๆเลย

ผลข้างเคียงของยา Topical Steroids
1.Pituitary-adrenal axis suppression เกิดในกรณีที่ใช้ยาในปริมาณมาก หรือใช้ชนิด high potencyเป็นเวลานานๆ โดยเฉพาะในเด็ก

2.Cushing syndrome เกิดจากการใช้ยากลุ่ม high potent เป็นเวลานาน ๆ เช่น Dermovate หรือใช้ยาในกลุ่มผู้ป่วยที่มีปัญหาการทำงานของตับผิดปกติ

3.ผิวหนังบาง ผิวหนังเป็นรอยบุ๋ม ผิวมัน มีรอยย่น

4.Rosacea and perioral dermatitis มักเกิดภายหลังการหยุดใช้ยาทาในกลุ่ม potent fluorinated เช่น Topicort,synalar ทาบริเวณใบหน้าเป็นเวลานาน ๆ ลักษณะเป็นผื่นแดง ร่วมกับมีเส้นเลือดฝอยขยายตัว มีตุ่มหนองและตุ่มอักเสบแดง ปรากฎบริเวณใบหน้าส่วนกลาง อาการหายไปภายใน 1-3 เดือน หรือแก้โดยให้เปลี่ยนไปใช้ยาทาในกลุ่มที่ไม่ไช่ fluorinated steroid เช่น hydrocortisone แทน

5.Steroid acne เกิดได้ทั้งยากินและยาทา ไม่พบ comedone พบบ่อยบริเวณใบหน้าและหน้าอก

6.Opthalmologic side effect พบในผู้ป่วยที่ใช้ยาทาบริเวณหนังตาแล้วเกิดต้อหิน

7.Hypopigmentation ภาวะนี้หายเองได้เมื่อหยุดยา

ผู้ป่วยโรคผิวหนังมักมีข้อสงสัยในการใช้ยาเนื่องจากคิดว่ายาใช้ไม่ได้ ทำให้การรักษาไม่ได้ผล แต่อธิบายได้ว่าเกิดเนื่องจาก
1.Resistant เกิดจากการใช้ยาไประยะหนึ่งแล้วอาการไม่ดีขึ้น ทำให้ต้องทายาบ่อยขึ้น อาจต้องมีการเปลี่ยนยา

2.Tachyphylaxis เป็นการใช้ยาที่ได้ผลในระยะแรก เมื่อใช้ยาต่อไปโรคกลับไม่สนองตอบต่อการรักษา พบในกลุ่มยา potent steroid

3.Rebound phenomenon โรคผิวหนังบางชนิด เช่น psoriasis บางครั้งตอบสนองต่อ potent steroid ในระยะแรก เมื่อหยุดใช้ยาโรคจะกลับมาเป็นอีกและอาจจะรุนแรงกว่าเดิม กลไกการเกิดยังไม่ทราบ ดังนั้นเมื่อใช้ Topical steroid ชนิด potent ถ้าอาการดีขึ้นแล้ว ควรลดความแรงของยาลงหรือลดจำนวนครั้งของการทาลงเป็นวันละครั้งหรือวันเว้นวัน เพิ่อเพิ่มผลของการรักษา

ข้อห้ามใช้ของ Topical Steroid
1.กรณีเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนังที่ทราบสาเหตุที่แน่นอน เช่น โรค erysipilas,cellulitis ซึ่งเกิดจากเชื้อ group A streptococci และ staphylococcus โรค impetigo ที่เกิดจากเชื้อ group A streptococci และ staphylococcus

2.กรณีที่ติดเชื้อราที่ผิวหนัง เช่น candida หรือ dermatophyte

วิธีการใช้ Topical Steroid
1.เลือกใช้ Steroid ที่มีความแรงให้เหมาะสมกับโรคผิวหนังแต่ละชนิด เช่นในเด็กควรเริ่มที่ low potency ก่อน

2.โดยทั่วไป อาการจะดีขึ้นหลังจากการใช้ยาภายใน 1-2 สัปดาห์ เราค่อย ๆ ลด การใช้ยาลง เช่น เปลี่ยนเป็นชนิดที่อ่อนลง หรือลดจำนวนครั้งที่ทา

3.หลีกเลี่ยงการทายานี้บนผิวหนังปกติ

4.ไม่ใช้ยาทามากเกินความจำเป็น แนะนำให้ทาวันละ 2 เวลา การทายาบ่อยกว่านี้ไม่เพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาและอาจทำให้เกิดการดื้อยาได้

5.หลีกเลี่ยงการใช้ยาในกลุ่ม medium/high potency ในปริมาณเกินกว่า 45 g/สัปดาห์ในผู้ใหญ่และไม่เกิน
15 g/สัปดาห์ในเด็ก

6.ถ้าโรคผิวหนังแย่ลงในขณะที่ใช้ยาควรหยุดยา

7.คำแนะนำในการใช้ Topical Steroid ในกลุ่ม very high potency หรือ super potent เช่น Dermovate

- ระยะเวลาไม่ควรเกิน 2 สัปดาห์และปริมาณไม่เกิน 45-50 g/สัปดาห์

- หลีกเลี่ยงการใช้ยาในเด็กและสตรีมีครรภ์หรือระยะให้นมบุตร

- หลีกเลี่ยงการใช้ยาในบริเวณที่มี high หรือ very high permeability เช่น หนังตาหรือ Serotum

- ถ้าใช้เกิน 2 สัปดาห์ให้เปลี่ยนเป็นใช้วันเว้นวัน หรือใช้กลุ่มที่มี potent ลดลงเช่น 0.02%TA

- ไม่ใช้วิธี Occlusion (การปิดทับ)

- ระวังในการใช้ในผู้ป่วยโรคตับ เบาหวาน ตาต้อหรือโรคความดันโลหิตสูง

อ้างอิง : วารสารองค์การเภสัชกรรม ปี่ที่ 24 ฉบับที่ 2 เมย.-มิย.41
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่