การสลักหลัง...หลังเช็ค โอนให้คนอื่น

สมมุติว่า.....
นายสมชายได้รับเช็คสั่งจ่ายในชื่อของนายสมชายเอง(ไม่ได้ขีดคร่อม)...
นายสมชายทำการเซ็นต์สลักหลังเช็ค มอบให้นายสมกึ๋ยไปเบิกแทน.. เจตนาเพื่อใช้หนี้นายสมกึ๋ย

ถามว่า... นายสมกึ๋ยจะเอาเช็คไปเบิกได้หรือไม่ครับ

ขอบคุณครับ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
คำถามไม่ครบถ้วนครับ
ควรจะถามว่า นายสมชายได้รับเช็คมาฉบับหนึ่งระบุชื่อนายสมชายเป็นผู้รับเงินตามเช็ค
โดยมิได้ขีดฆ่าคำว่า "หรือผู้ถือ" ออก
หรือ เป็นกรณีขีดฆ่าคำว่า "หรือผู้ถือ" ออก
ทั้งสองกรณีต่างกันครับ

ส่วนการขีดคร่อมหรือไม่ เป็นเพียงวิธีการจ่ายเงินเท่านั้น
เช่นจ่ายเป็นเงินสด กับจ่ายผ่านบัญชี


ถ้าเป็นกรณีที่นายสมชายได้รับเช็คมา แล้วเช็คถูกขีดฆ่าหรือผู้ถือด้วย
เช็คฉบับนี้เป็นเช็คระบุชื่อผู้รับ
การที่นายสมชายสลักหลังและส่งมอบให้นายสมกืย  (สลักหลังลอย)
นายสมกืย จึงเป็นผู้ทรงเช็ค และได้รับโอนเช็คมาไว้ในครอบครอง นายสมกืยจึงเบิกเงินตามเช็คได้

แต่ถ้าเช็คไม่ได้ขีดฆ่าหรือผู้ถือออก
นายสมชายจะสลักหลังเช็คหรือไม่ ก็ไม่มีผลแต่อย่างใด
เพราะนายสมกืย ย่อมเบิกเงินตามเช็คได้อยู่แล้ว
เนื่องจากเช็คระบุชื่อผู้รับ และ ผู้ถือเช็คฉบับนี้ด้วยเช่นกัน
แต่การที่นายสมชายสลักหลังเช็คด้วย ก็ส่งผลให้นายสมชายเป็นผู้อาวัลเช่นอีกกรณีหนึ่งเท่านั้น


ปล.จริงๆแล้วหากเช็คไม่ขีดฆ่าหรือผู้ถือออก
แนะนำให้ส่งมอบเช็คโดยไม่ต้องสลักหลังเลย
เพราะหากเช็คเด้งขึ้นมา ผู้สั่งจ่ายและผู้สลักหลัง... ซวย
แต่ถ้าเป็นเช็คระบุชื่อ และ ขีดฆ่าหรือผู้ถือออก
การโอนกันก็ต้องสลักหลัง จะสลักหลังลอย หรือ สลักหลังเฉพาะก็ย่อมได้


ดอกไม้ดอกไม้
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่