ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
ย้อนกลับไปเมื่อ 5 ปีที่แล้ว ช่อง 3 พยายามปลุกปั้นหาแนวละครใหม่ ๆ มาสู้ศึกเรตติ้งกับช่อง 7 อย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางสงครามละครที่มักเป็นฝ่ายปราชัยช่อง 7 อยู่เสมอ
จน "ประวิทย์ มาลีนนท์" ต้องออกมาประกาศไม่ขอใช้ตัวเลขเรตติ้งจากทางบริษัทวิจัย "เอซีนีลเส็น" อีกต่อไป แต่ขอเชื่อใน "กระแส" ความนิยมของละครจากผู้ชมมากกว่า ขณะเดียวกันก็ส่งทีมการตลาดลงพื้นที่สำรวจความนิยมของผู้ชมทั่วประเทศด้วยตัวเอง
ขณะเดียวกันก็พยายามพัฒนาและหากลยุทธ์ใหม่ ๆ เพื่อสู้ศึกวิกหมอชิก ด้วยการทดลองละครหลายต่อหลายแนว จนมา "จุดติด" กับซีรีส์ "4 หัวใจแห่งขุนเขา" ในโอกาสฉลองครบรอบ 40 ปีเมื่อ 2 ปีก่อนซึ่งถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของช่อง 3 ก็ว่าได้
ไม่ว่าจะเป็นเรตติ้ง กระแส รวมถึงสามารถแจ้งเกิดนักแสดงหน้าใหม่อีกคับคั่ง โดยเฉพาะสร้างคู่ขวัญ "ณเดชน์-ญาญ่า" ขึ้นมาประดับวงการ
สร้างปรากฏการณ์ให้แก่วงการละครไทย และถือเป็นความแปลกใหม่ที่ผู้บริโภคไม่เคยลิ้มลอง
"ประวิทย์ มาลีนนท์" กล่าวไว้อย่างน่าสนใจกับกลยุทธ์ละครซีรีส์ว่า เวลาสร้างละครหนึ่งเรื่อง ก็ต้องโปรโมตหนึ่งครั้ง พอจบหนึ่งเรื่องก็โปรโมตเรื่องใหม่อีก แล้วจะทำอย่างไรให้การโปรโมตละครต่อเนื่องกันได้
ถึงวันนี้ช่อง 3 เดินหน้าต่อยอดกลยุทธ์ดังกล่าวอย่างเข้มข้นกับ "สุภาพบุรุษจุฑาเทพ" และ "3 ทหารเสือสาว" ที่ออกอากาศพร้อม ๆ กันขณะนี้ เป็นการสร้างเอกลักษณ์ละครของช่องให้เด่นชัดขึ้น
"สมรักษ์ ณรงค์วิชัย" ผู้อำนวยการฝ่ายผลิตรายการ บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) ขยายความว่า เป้าหมายหลักของการนำเสนอละครวันนี้คือ ต้องตอบโจทย์สนองความต้องการของผู้ชมแต่ละเซ็กเมนต์ โดยวางรูปแบบละครที่ออกอากาศตลอด 7 วันอย่างชัดเจนว่า ต้องเจาะกลุ่มเป้าหมายใด ตามพฤติกรรมที่แตกต่างกัน
โดยละครช่วงศุกร์-เสาร์-อาทิตย์ จะเป็นแนวฝันหวาน จินตนาการ เจาะกลุ่มครอบครัวและวัยรุ่น รวมถึงเปิดเป็นเวทีปั้นดาราหน้าใหม่ ขณะที่จันทร์-อังคาร เน้นละครหลากหลายสไตล์ ส่วนพุธ-พฤหัสบดี วางให้เป็นละครดราม่า ชีวิต ที่เพิ่มระดับความเข้มข้นขึ้น
"ส่วนการนำละครเรียงกันเป็นแพ็ก ทำให้โปรโมตเพียงครั้งเดียวและผู้ชมก็สามารถรับชมได้ต่อเนื่อง และหากมีนักแสดงหรือตัวละครตัวไหนที่ผู้ชมชอบ ผู้ชมก็จะติดตามต่อไปเรื่อย ๆ"
ว่ากันว่า ความได้เปรียบของละครซีรีส์ คือ เมื่อผู้ชมติดเรื่องแรกแล้วก็จะมีความรู้สึกอยากจะติดตามเรื่องต่อ ๆ ไป หรือในแง่จิตวิทยาเมื่อผู้ชมชื่นชอบ "นักแสดง" หรือ "ตัวละคร" ตัวใดตัวหนึ่ง ก็จะติดตามตัวละครนั้น ๆ ในตอนอื่น ๆ ด้วย
อีกแง่หนึ่งก็เป็นการ "ตีกัน" ไม่ให้ผู้ชมเปลี่ยนช่อง หากซีรีส์นั้นสามารถดึงดูดผู้ชมได้สำเร็จตั้งแต่ตอนแรก ๆ ความได้เปรียบของซีรีส์ก็จะส่งต่อให้สามารถ "ตรึง" ผู้ชมอยู่หน้าจอทีวีได้ยาวนานร่วมหลายเดือน
ยกตัวอย่าง สุภาพบุรุษจุฑาเทพ ที่ใช้เวลาออนแอร์ยาวนานร่วม 4-5 เดือน เมื่อเทียบกับละครปกติที่จะออกอากาศ 15 ตอน กินเวลาร่วม 1-2 เดือนเท่านั้น
วันนี้ละครซีรีส์จึงกลายเป็นหมากสำคัญของช่อง 3 ที่จะดึงระยะเวลาการชมละครจากช่องอื่น ๆ ไว้ได้นานกว่า
ล่าสุดช่อง 3 ยังเปิดซีรีส์เรื่องใหม่ "The Rising Sun" ประกอบด้วย 3 เรื่อง ซึ่งมีการเปิดกล้องไปแล้ว 2 เรื่องคือ รอยฝันตะวันเดือด และรอยรักหักเหลี่ยมตะวัน โดยดึงคู่ขวัญ "ณเดชน์-ญาญ่า" มาเป็นตัวชูโรงอีกครั้ง
ทั้งนี้ เมื่อบวกกับการวางแผนโปรโมตของช่อง3 ที่วางไว้อย่างมีระบบ ทั้งรายการเปิดกองวิก 3 วิก 3 ยามบ่าย เรื่องเล่าเช้านี้ สีสันบันเทิง ฯลฯ รวมถึงการปูพรมสร้างฐานแฟนคลับของนักแสดงแต่ละคนมาก่อนหน้านี้แล้ว ยิ่งช่วยโหมกระแสต่าง ๆ ให้ "จุดติด" เร็วขึ้น สร้างโอกาสทั้งในแง่การขยายฐานผู้ชม เรตติ้งละครและการต่อยอดจากตัว "นักแสดง" ที่กลายเป็นซูเปอร์สตาร์ชั่วข้ามคืน ซึ่งหมายถึงโอกาสจากเม็ดเงินโฆษณาที่จะเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัวในอนาคต
ในมุมมองของมีเดียเอเยนซี่ "รัฐกร สืบสุข" หัวหน้ากลุ่มกลยุทธ์การค้าและการลงทุน กรุ๊ปเอ็มระบุว่า แม้ละครซีรีส์ "สุภาพบุรุษจุฑาเทพ" จะได้รับผลตอบรับดี แต่ในแง่การวางแผนสื่อแล้วจะพิจารณาจากภาพรวมของละครเป็นหลัก ว่าแต่ละเดือนมีละครเรื่องอะไรบ้าง ไม่ได้เจาะจงละครเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ เพราะแต่ละสถานีโทรทัศน์มีจุดเด่นที่แตกต่างกัน
ขณะเดียวกันจะพิจารณาว่าละครไหนประสบความสำเร็จ ก็ต้องพิจารณาจากทั้ง "เรตติ้ง" และ "กระแส" ความนิยมของผู้ชมควบคู่กันไป โดยไม่สามารถพิจารณาจากปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งได้
"กระแส คือ ความรู้สึก ซึ่งไม่สามารถยืนยันความดังหรือไม่ดังของละครได้ กระแสที่เกิดขึ้นอาจจะเกิดขึ้นเฉพาะกรุงเทพฯ ก็ได้ แต่ในต่างจังหวัดอาจจะไม่เกิดกระแสเหมือนกรุงเทพฯ ขณะที่ตัวเลขเรตติ้งซึ่งมาจากการสุ่มตัวอย่างก็วัดความสำเร็จไม่ได้ เพราะไม่ได้วัดผลจากประชากรทั้งประเทศ"
เนื้อหาข่าว
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1368642112
ภาพจาก fanlakorn.gmember.com news.tlcthai.com
"ช่อง 3" จุดติดกลยุทธ์ "ซีรีส์"
ย้อนกลับไปเมื่อ 5 ปีที่แล้ว ช่อง 3 พยายามปลุกปั้นหาแนวละครใหม่ ๆ มาสู้ศึกเรตติ้งกับช่อง 7 อย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางสงครามละครที่มักเป็นฝ่ายปราชัยช่อง 7 อยู่เสมอ
จน "ประวิทย์ มาลีนนท์" ต้องออกมาประกาศไม่ขอใช้ตัวเลขเรตติ้งจากทางบริษัทวิจัย "เอซีนีลเส็น" อีกต่อไป แต่ขอเชื่อใน "กระแส" ความนิยมของละครจากผู้ชมมากกว่า ขณะเดียวกันก็ส่งทีมการตลาดลงพื้นที่สำรวจความนิยมของผู้ชมทั่วประเทศด้วยตัวเอง
ขณะเดียวกันก็พยายามพัฒนาและหากลยุทธ์ใหม่ ๆ เพื่อสู้ศึกวิกหมอชิก ด้วยการทดลองละครหลายต่อหลายแนว จนมา "จุดติด" กับซีรีส์ "4 หัวใจแห่งขุนเขา" ในโอกาสฉลองครบรอบ 40 ปีเมื่อ 2 ปีก่อนซึ่งถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของช่อง 3 ก็ว่าได้
ไม่ว่าจะเป็นเรตติ้ง กระแส รวมถึงสามารถแจ้งเกิดนักแสดงหน้าใหม่อีกคับคั่ง โดยเฉพาะสร้างคู่ขวัญ "ณเดชน์-ญาญ่า" ขึ้นมาประดับวงการ
สร้างปรากฏการณ์ให้แก่วงการละครไทย และถือเป็นความแปลกใหม่ที่ผู้บริโภคไม่เคยลิ้มลอง
"ประวิทย์ มาลีนนท์" กล่าวไว้อย่างน่าสนใจกับกลยุทธ์ละครซีรีส์ว่า เวลาสร้างละครหนึ่งเรื่อง ก็ต้องโปรโมตหนึ่งครั้ง พอจบหนึ่งเรื่องก็โปรโมตเรื่องใหม่อีก แล้วจะทำอย่างไรให้การโปรโมตละครต่อเนื่องกันได้
ถึงวันนี้ช่อง 3 เดินหน้าต่อยอดกลยุทธ์ดังกล่าวอย่างเข้มข้นกับ "สุภาพบุรุษจุฑาเทพ" และ "3 ทหารเสือสาว" ที่ออกอากาศพร้อม ๆ กันขณะนี้ เป็นการสร้างเอกลักษณ์ละครของช่องให้เด่นชัดขึ้น
"สมรักษ์ ณรงค์วิชัย" ผู้อำนวยการฝ่ายผลิตรายการ บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) ขยายความว่า เป้าหมายหลักของการนำเสนอละครวันนี้คือ ต้องตอบโจทย์สนองความต้องการของผู้ชมแต่ละเซ็กเมนต์ โดยวางรูปแบบละครที่ออกอากาศตลอด 7 วันอย่างชัดเจนว่า ต้องเจาะกลุ่มเป้าหมายใด ตามพฤติกรรมที่แตกต่างกัน
โดยละครช่วงศุกร์-เสาร์-อาทิตย์ จะเป็นแนวฝันหวาน จินตนาการ เจาะกลุ่มครอบครัวและวัยรุ่น รวมถึงเปิดเป็นเวทีปั้นดาราหน้าใหม่ ขณะที่จันทร์-อังคาร เน้นละครหลากหลายสไตล์ ส่วนพุธ-พฤหัสบดี วางให้เป็นละครดราม่า ชีวิต ที่เพิ่มระดับความเข้มข้นขึ้น
"ส่วนการนำละครเรียงกันเป็นแพ็ก ทำให้โปรโมตเพียงครั้งเดียวและผู้ชมก็สามารถรับชมได้ต่อเนื่อง และหากมีนักแสดงหรือตัวละครตัวไหนที่ผู้ชมชอบ ผู้ชมก็จะติดตามต่อไปเรื่อย ๆ"
ว่ากันว่า ความได้เปรียบของละครซีรีส์ คือ เมื่อผู้ชมติดเรื่องแรกแล้วก็จะมีความรู้สึกอยากจะติดตามเรื่องต่อ ๆ ไป หรือในแง่จิตวิทยาเมื่อผู้ชมชื่นชอบ "นักแสดง" หรือ "ตัวละคร" ตัวใดตัวหนึ่ง ก็จะติดตามตัวละครนั้น ๆ ในตอนอื่น ๆ ด้วย
อีกแง่หนึ่งก็เป็นการ "ตีกัน" ไม่ให้ผู้ชมเปลี่ยนช่อง หากซีรีส์นั้นสามารถดึงดูดผู้ชมได้สำเร็จตั้งแต่ตอนแรก ๆ ความได้เปรียบของซีรีส์ก็จะส่งต่อให้สามารถ "ตรึง" ผู้ชมอยู่หน้าจอทีวีได้ยาวนานร่วมหลายเดือน
ยกตัวอย่าง สุภาพบุรุษจุฑาเทพ ที่ใช้เวลาออนแอร์ยาวนานร่วม 4-5 เดือน เมื่อเทียบกับละครปกติที่จะออกอากาศ 15 ตอน กินเวลาร่วม 1-2 เดือนเท่านั้น
วันนี้ละครซีรีส์จึงกลายเป็นหมากสำคัญของช่อง 3 ที่จะดึงระยะเวลาการชมละครจากช่องอื่น ๆ ไว้ได้นานกว่า
ล่าสุดช่อง 3 ยังเปิดซีรีส์เรื่องใหม่ "The Rising Sun" ประกอบด้วย 3 เรื่อง ซึ่งมีการเปิดกล้องไปแล้ว 2 เรื่องคือ รอยฝันตะวันเดือด และรอยรักหักเหลี่ยมตะวัน โดยดึงคู่ขวัญ "ณเดชน์-ญาญ่า" มาเป็นตัวชูโรงอีกครั้ง
ทั้งนี้ เมื่อบวกกับการวางแผนโปรโมตของช่อง3 ที่วางไว้อย่างมีระบบ ทั้งรายการเปิดกองวิก 3 วิก 3 ยามบ่าย เรื่องเล่าเช้านี้ สีสันบันเทิง ฯลฯ รวมถึงการปูพรมสร้างฐานแฟนคลับของนักแสดงแต่ละคนมาก่อนหน้านี้แล้ว ยิ่งช่วยโหมกระแสต่าง ๆ ให้ "จุดติด" เร็วขึ้น สร้างโอกาสทั้งในแง่การขยายฐานผู้ชม เรตติ้งละครและการต่อยอดจากตัว "นักแสดง" ที่กลายเป็นซูเปอร์สตาร์ชั่วข้ามคืน ซึ่งหมายถึงโอกาสจากเม็ดเงินโฆษณาที่จะเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัวในอนาคต
ในมุมมองของมีเดียเอเยนซี่ "รัฐกร สืบสุข" หัวหน้ากลุ่มกลยุทธ์การค้าและการลงทุน กรุ๊ปเอ็มระบุว่า แม้ละครซีรีส์ "สุภาพบุรุษจุฑาเทพ" จะได้รับผลตอบรับดี แต่ในแง่การวางแผนสื่อแล้วจะพิจารณาจากภาพรวมของละครเป็นหลัก ว่าแต่ละเดือนมีละครเรื่องอะไรบ้าง ไม่ได้เจาะจงละครเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ เพราะแต่ละสถานีโทรทัศน์มีจุดเด่นที่แตกต่างกัน
ขณะเดียวกันจะพิจารณาว่าละครไหนประสบความสำเร็จ ก็ต้องพิจารณาจากทั้ง "เรตติ้ง" และ "กระแส" ความนิยมของผู้ชมควบคู่กันไป โดยไม่สามารถพิจารณาจากปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งได้
"กระแส คือ ความรู้สึก ซึ่งไม่สามารถยืนยันความดังหรือไม่ดังของละครได้ กระแสที่เกิดขึ้นอาจจะเกิดขึ้นเฉพาะกรุงเทพฯ ก็ได้ แต่ในต่างจังหวัดอาจจะไม่เกิดกระแสเหมือนกรุงเทพฯ ขณะที่ตัวเลขเรตติ้งซึ่งมาจากการสุ่มตัวอย่างก็วัดความสำเร็จไม่ได้ เพราะไม่ได้วัดผลจากประชากรทั้งประเทศ"
เนื้อหาข่าว http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1368642112
ภาพจาก fanlakorn.gmember.com news.tlcthai.com