นางพนิตา กำภู ณ อยุธยา ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ปลัด ศธ.) เปิดเผยถึงแนวทางแก้ไขปัญหาหนี้สินครูว่า ตนมีแนวคิดให้สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและสวัสดิการครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) หาเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ หรือซอฟต์โลน มาซื้อหนี้ครูที่เป็นหนี้เสีย เพื่อปรับโครงสร้างหนี้ใหม่ ให้ครูกลุ่มนี้มีหนี้อยู่เพียงแห่งเดียว โดยจะลดดอกเบี้ยให้อยู่ที่ประมาณร้อยละ 5 จากขณะนี้ที่สูงประมาณร้อยละ 7-8
แนวทางดังกล่าวนี้ จะให้เฉพาะกลุ่มครูที่มีหนี้เสียจริงๆ คือ เป็นครูที่มีหนี้วิกฤตขั้นรุนแรง เช่น โดนฟ้องเรื่องบัตรเครดิต ถูกอายัดทรัพย์ หรือผ่อนหนี้ต่องวดแล้ว ไม่เหลือเงินใช้จ่ายดำรงชีวิตเลย เป็นต้น
ปลัดกระทรวงศึกษาธิการกล่าวต่อว่า สำหรับวิธีการที่คิดไว้ คือ จะกู้ในนาม สกสค. และปล่อยให้ครูกลุ่มนี้กู้ในอัตราที่เป็นดอกเบี้ยถูก เพื่อผ่อนปรนภาระที่แบกอยู่ ส่วนแนวทางการแก้ปัญหาหนี้ครูในระยะยาวนั้น ถึงจะพูดและทำกันมานาน แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ ดังนั้นวิธีการที่ยั่งยืนควรจะส่งเสริมให้ครูที่เป็นหนี้ได้มีรายได้เพิ่มขึ้นมากกว่า
ด้านการแก้ปัญหาโดยส่งเสริมให้ครูมีรายได้เพิ่ม นั้น มีอยู่หลากหลายวิธี เช่น อาจประสานสำนักงาน คณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ส่งครูหรือนักเรียน นักศึกษา มาให้ความรู้กับครูกลุ่มนี้ ทั้งเรื่องการผลิต สินค้าเพื่อนำไปขาย หรือการนำสินค้าโอท็อปไปปรับปรุง ต่อยอด
นางพนิตากล่าวด้วยว่า ในส่วนของสำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (สป.ศธ.) ซึ่งกำกับดูแลสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (สำนักงาน กศน.) ที่ส่งเสริมสนับสนุนการสร้างอาชีพอยู่แล้ว ก็จะสั่งการให้เข้ามาช่วยฝึกอาชีพสร้างรายได้ให้กับครูอีกทางหนึ่งด้วย
"เพราะการจะช่วยให้ครูใช้จ่ายอย่างประหยัดคงเป็นเรื่องยากกว่าการส่งเสริมให้ครูมีรายได้เพิ่มขึ้น" ปลัดกระทรวงศึกษาธิการกล่าว
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TURObFpIVXdNVEUwTURVMU5nPT0=§ionid=TURNeE5RPT0=&day=TWpBeE15MHdOUzB4TkE9PQ==
ครูเป็นหนี้ นศ.เบี้ยวหนี้ กยศ.
เพจชมรมผู้ไม่ใฝ่ใจบริโภคนิยมและวัตถุนิยม
https://www.facebook.com/nonmaterialism
ห่วงครูหนี้สินท่วมวิกฤตขั้นรุนแรง ศธ.เล็งปรับโครงสร้างใหม่-หาอาชีพ-รายได้เสริม
แนวทางดังกล่าวนี้ จะให้เฉพาะกลุ่มครูที่มีหนี้เสียจริงๆ คือ เป็นครูที่มีหนี้วิกฤตขั้นรุนแรง เช่น โดนฟ้องเรื่องบัตรเครดิต ถูกอายัดทรัพย์ หรือผ่อนหนี้ต่องวดแล้ว ไม่เหลือเงินใช้จ่ายดำรงชีวิตเลย เป็นต้น
ปลัดกระทรวงศึกษาธิการกล่าวต่อว่า สำหรับวิธีการที่คิดไว้ คือ จะกู้ในนาม สกสค. และปล่อยให้ครูกลุ่มนี้กู้ในอัตราที่เป็นดอกเบี้ยถูก เพื่อผ่อนปรนภาระที่แบกอยู่ ส่วนแนวทางการแก้ปัญหาหนี้ครูในระยะยาวนั้น ถึงจะพูดและทำกันมานาน แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ ดังนั้นวิธีการที่ยั่งยืนควรจะส่งเสริมให้ครูที่เป็นหนี้ได้มีรายได้เพิ่มขึ้นมากกว่า
ด้านการแก้ปัญหาโดยส่งเสริมให้ครูมีรายได้เพิ่ม นั้น มีอยู่หลากหลายวิธี เช่น อาจประสานสำนักงาน คณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ส่งครูหรือนักเรียน นักศึกษา มาให้ความรู้กับครูกลุ่มนี้ ทั้งเรื่องการผลิต สินค้าเพื่อนำไปขาย หรือการนำสินค้าโอท็อปไปปรับปรุง ต่อยอด
นางพนิตากล่าวด้วยว่า ในส่วนของสำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (สป.ศธ.) ซึ่งกำกับดูแลสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (สำนักงาน กศน.) ที่ส่งเสริมสนับสนุนการสร้างอาชีพอยู่แล้ว ก็จะสั่งการให้เข้ามาช่วยฝึกอาชีพสร้างรายได้ให้กับครูอีกทางหนึ่งด้วย
"เพราะการจะช่วยให้ครูใช้จ่ายอย่างประหยัดคงเป็นเรื่องยากกว่าการส่งเสริมให้ครูมีรายได้เพิ่มขึ้น" ปลัดกระทรวงศึกษาธิการกล่าว
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TURObFpIVXdNVEUwTURVMU5nPT0=§ionid=TURNeE5RPT0=&day=TWpBeE15MHdOUzB4TkE9PQ==
ครูเป็นหนี้ นศ.เบี้ยวหนี้ กยศ.
เพจชมรมผู้ไม่ใฝ่ใจบริโภคนิยมและวัตถุนิยม
https://www.facebook.com/nonmaterialism