ผมถูกถามคำถามอยู่บ่อยครั้งว่า
ทำอย่างไรถึงจะสามารถทำงานเป็นแพทย์ในสหภาพยุโรปได้ ?
ก่อนจะตอบคำถามนี้ เราคงต้องย้อนกลับไปสู่คำถามที่ว่า
ทำอย่างไรจึงจะสามารถทำงานเป็นแพทย์ได้ในประเทศไทย ?
การเีรียนแพทย์นั้นยากหมด ไม่ว่าจะเรียนที่ประเทศไหน ทั้งยาก ทั้งแพง ทั้งใช้เวลานาน คนจะเรียนแพทย์ได้ไม่จำเป็นจะเก่ง แต่ต้องขยัน ต้องอดทน ต้องทนรับสภาวะแย่ ๆ ของการทำงานได้ ที่สำคัญคือต้องมีความรักในวิชาชีพและต้องสามารถเข้าใจได้ว่า อาชีพ "แพทย์" นั้นไม่ได้ทำให้รวย คนจะรวยสามารถรวยได้จากทุกอาชีพที่ทำ ถ้าตั้งใจที่จะทำและตั้งใจที่จะรวย แพทย์เป็นเพียงวิชาชีพหนึ่งในหลายร้อยพันหมื่นวิชาชีพบนโลกใบนี้เท่านั้นเอง
การเรียนแพทย์ที่เมืองไทยเริ่มจากการเลือกแผนการเรียนตอนชั้นมัธยมปลาย สอบเข้ามหาวิทยาลัยให้ได้ในคณะแพทยศาสตร์ แล้วก็ตา่มทางรุ่นพี่ไปเรื่อย ๆ ทำงานหลังเรียนจบ ศึกษาต่อ เป็นอาจารย์สอนหนังสือ รักษาคนไข้ เป็นผู้บริหาร มีความสุขกับการทำงาน นั่นคือแนวทางของวิชาชีพแพทย์ในเมืองไทย
ในต่างประเทศ การเรียนแพทย์แบ่งได้เป็น ๒ แบบใหญ่ ๆ ด้วยกัน คือ เีริ่มเรียนตอนเข้ามหาวิทยาลัยอย่้างในประเทศไทย หรือ เรียนให้จบปริญญาตรีก่อนแล้วค่อยสอบเข้าอย่างในประเทศสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ทั้งนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดในการเรียนแพทย์ต่างประเทศ คือ เรื่องของภาษา ความอดทน ความตั้งใจ และเงินทุนสนับสนุน
ประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ (Anglophone Countries) มักจะมีค่าเล่าเรียนที่แพงลิบลิ่วไม่เพียงแต่สำหรับนักเรียนต่างชาติแต่กับนักเรียนในประเทศนั้่น ๆ เองก็ตามที แม้กระนั้น การแข่งขันก็ยังสูงมาก คนที่จะสมัครเข้าเรียนได้จำเป็นที่จะต้องอยู่ในเกณฑ์ของผู้ที่ทางมหาวิทยาลัยพิจารณาแล้วว่าจะสามารถเรียนจนจบไปทำงานเป็นแพทย์ ทำชื่อเสียงให้สถาบัน ไม่นำเรื่องด่างพร้อยมาให้ ดังนั้น ไม่เพียงแต่ในโรงเรียนแพทย์ของต่างประเทศที่ทำเช่นนี้ โรงเรียนแพทย์ในไทยก็ทำเฉกเช่นเดียวกัน
ในปี 2012 สหภาพยุโรปมีประเทศสมาชิกทั้งสิ้น ๒๖ ประเทศ ๒๓ ภาษาราชการ มีประชากร (2012 estimate) 503,492,041 คน มีผลิตภัณฑ์มวลรวมในสหภาพ (2011 estimate total $17.577 trillion) 17.577 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นอันดับหนึ่งของโลก (Ref:
http://www.europarl.europa.eu/oeil/popups/ficheprocedure.do?lang=en&reference=2007/2240%28REG%29)
แม้จะไม่มีข้อมูลอย่างเป็นทางการว่ามีชาวไทยอาศัยอยู่ในสหภาพยุโรป (ทั้งถูกกฏหมายและไม่ถูกกฏหมาย) ทั้งหมดแล้วเป็นจำนวนเท่าไหร่ ทั้งนี้ ผมอนุมานว่าไม่น่าจะต่ำกว่าสองแสนคน จำนวนแพทย์ชาวไทย (MD Physicians with Thai origin) ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรม (License to Practice Medicine) ของสหภาพยุโรปในปัจจุบันนี้ (2013) มีกันอยู่ไม่ถึง ๑๐ ท่าน ที่ยังประกอบวิชาชีพแพทย์อยู่ในประเทศสมาชิกในปัจจุบัน
ด้วยอัตราส่วนที่ไม่สัมพันธ์กันนี้ ทำให้คนไทยที่อาศัยอยู่ในประเทศสมาชิกของสหภาพยุโรปประสบปัญหาในพบแพทย์ที่ตนสามารถอธิบายความเป็นป่วยและอาการในภาษาที่ตนเองมีความถนัดได้ ต้องเข้าใจก่อนว่า ภาษาไทยนั้น มีความเฉพาะในตัวของมันเอง เช่น อาการปวดหัว (ปวดตุบ ๆ ปวดหน่วง ๆ ปวดหนึบ ๆ ฯลฯ) อาการใจสั่น (สั่นระริก สั่นระรัว ฯลฯ) ยังไม่นับรวมภาษาถิ่นที่แม้แต่แพทย์ไทยในประเทศไทยบางท่านก็ยังมีความลำบากในความเข้าใจ
ผมขอแนะนำให้อ่านบทความที่เขียนโดยสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงบรัสเซลส์ เมื่อเดือน พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๕ เรื่อง
ความสัมพันธ์ไทย-สหภาพยุโรป ที่
http://www2.thaieurope.net/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B9%8C%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2-%E0%B8%AA%E0%B8%AB%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A2%E0%B8%B8/
ก่อนที่ผมจะมานำเสนอข้อมูลเบื้องต้นอื่น ๆ ต่อไป
ขอบคุณครับ
การประกอบวิชาชีพแพทย์ (MD) ในสหภาพยุโรป
ก่อนจะตอบคำถามนี้ เราคงต้องย้อนกลับไปสู่คำถามที่ว่า ทำอย่างไรจึงจะสามารถทำงานเป็นแพทย์ได้ในประเทศไทย ?
การเีรียนแพทย์นั้นยากหมด ไม่ว่าจะเรียนที่ประเทศไหน ทั้งยาก ทั้งแพง ทั้งใช้เวลานาน คนจะเรียนแพทย์ได้ไม่จำเป็นจะเก่ง แต่ต้องขยัน ต้องอดทน ต้องทนรับสภาวะแย่ ๆ ของการทำงานได้ ที่สำคัญคือต้องมีความรักในวิชาชีพและต้องสามารถเข้าใจได้ว่า อาชีพ "แพทย์" นั้นไม่ได้ทำให้รวย คนจะรวยสามารถรวยได้จากทุกอาชีพที่ทำ ถ้าตั้งใจที่จะทำและตั้งใจที่จะรวย แพทย์เป็นเพียงวิชาชีพหนึ่งในหลายร้อยพันหมื่นวิชาชีพบนโลกใบนี้เท่านั้นเอง
การเรียนแพทย์ที่เมืองไทยเริ่มจากการเลือกแผนการเรียนตอนชั้นมัธยมปลาย สอบเข้ามหาวิทยาลัยให้ได้ในคณะแพทยศาสตร์ แล้วก็ตา่มทางรุ่นพี่ไปเรื่อย ๆ ทำงานหลังเรียนจบ ศึกษาต่อ เป็นอาจารย์สอนหนังสือ รักษาคนไข้ เป็นผู้บริหาร มีความสุขกับการทำงาน นั่นคือแนวทางของวิชาชีพแพทย์ในเมืองไทย
ในต่างประเทศ การเรียนแพทย์แบ่งได้เป็น ๒ แบบใหญ่ ๆ ด้วยกัน คือ เีริ่มเรียนตอนเข้ามหาวิทยาลัยอย่้างในประเทศไทย หรือ เรียนให้จบปริญญาตรีก่อนแล้วค่อยสอบเข้าอย่างในประเทศสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ทั้งนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดในการเรียนแพทย์ต่างประเทศ คือ เรื่องของภาษา ความอดทน ความตั้งใจ และเงินทุนสนับสนุน
ประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ (Anglophone Countries) มักจะมีค่าเล่าเรียนที่แพงลิบลิ่วไม่เพียงแต่สำหรับนักเรียนต่างชาติแต่กับนักเรียนในประเทศนั้่น ๆ เองก็ตามที แม้กระนั้น การแข่งขันก็ยังสูงมาก คนที่จะสมัครเข้าเรียนได้จำเป็นที่จะต้องอยู่ในเกณฑ์ของผู้ที่ทางมหาวิทยาลัยพิจารณาแล้วว่าจะสามารถเรียนจนจบไปทำงานเป็นแพทย์ ทำชื่อเสียงให้สถาบัน ไม่นำเรื่องด่างพร้อยมาให้ ดังนั้น ไม่เพียงแต่ในโรงเรียนแพทย์ของต่างประเทศที่ทำเช่นนี้ โรงเรียนแพทย์ในไทยก็ทำเฉกเช่นเดียวกัน
ในปี 2012 สหภาพยุโรปมีประเทศสมาชิกทั้งสิ้น ๒๖ ประเทศ ๒๓ ภาษาราชการ มีประชากร (2012 estimate) 503,492,041 คน มีผลิตภัณฑ์มวลรวมในสหภาพ (2011 estimate total $17.577 trillion) 17.577 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นอันดับหนึ่งของโลก (Ref: http://www.europarl.europa.eu/oeil/popups/ficheprocedure.do?lang=en&reference=2007/2240%28REG%29)
แม้จะไม่มีข้อมูลอย่างเป็นทางการว่ามีชาวไทยอาศัยอยู่ในสหภาพยุโรป (ทั้งถูกกฏหมายและไม่ถูกกฏหมาย) ทั้งหมดแล้วเป็นจำนวนเท่าไหร่ ทั้งนี้ ผมอนุมานว่าไม่น่าจะต่ำกว่าสองแสนคน จำนวนแพทย์ชาวไทย (MD Physicians with Thai origin) ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรม (License to Practice Medicine) ของสหภาพยุโรปในปัจจุบันนี้ (2013) มีกันอยู่ไม่ถึง ๑๐ ท่าน ที่ยังประกอบวิชาชีพแพทย์อยู่ในประเทศสมาชิกในปัจจุบัน
ด้วยอัตราส่วนที่ไม่สัมพันธ์กันนี้ ทำให้คนไทยที่อาศัยอยู่ในประเทศสมาชิกของสหภาพยุโรปประสบปัญหาในพบแพทย์ที่ตนสามารถอธิบายความเป็นป่วยและอาการในภาษาที่ตนเองมีความถนัดได้ ต้องเข้าใจก่อนว่า ภาษาไทยนั้น มีความเฉพาะในตัวของมันเอง เช่น อาการปวดหัว (ปวดตุบ ๆ ปวดหน่วง ๆ ปวดหนึบ ๆ ฯลฯ) อาการใจสั่น (สั่นระริก สั่นระรัว ฯลฯ) ยังไม่นับรวมภาษาถิ่นที่แม้แต่แพทย์ไทยในประเทศไทยบางท่านก็ยังมีความลำบากในความเข้าใจ
ผมขอแนะนำให้อ่านบทความที่เขียนโดยสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงบรัสเซลส์ เมื่อเดือน พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๕ เรื่อง ความสัมพันธ์ไทย-สหภาพยุโรป ที่
http://www2.thaieurope.net/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B9%8C%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2-%E0%B8%AA%E0%B8%AB%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A2%E0%B8%B8/
ก่อนที่ผมจะมานำเสนอข้อมูลเบื้องต้นอื่น ๆ ต่อไป
ขอบคุณครับ