คัดจาก หนังสือ ปัจฉิมอาพาธท่านพุทธทาสมหาเถระ บทเรียนทางธรรม การแพทย์ และสังคมวิทยา โดย ศาสตราจารย์นายแพทย์ ประเวศ วะสี
พิมพ์ ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๔๑ โดย สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
http://www.buddhadasa.com/Article/principle.html
พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานใต้ต้นสาละ ใกล้เมืองกุสินารา เมื่อกว่า ๒๕๐๐ ปีมาแล้ว เมื่อยังดำรงพระชนม์ชีพอยู่ ก็เสด็จดำเนินด้วยพระบาท สั่งสอนผู้คนอยู่ในประเทศอินเดียตอนเหนือ แต่หลังจากพุทธปรินิพพานแล้ว ชื่อเสียงเกียรติคุณของพระพุทธองค์กำจรไปไกล ผู้คนหลายพันล้านคนตลอดช่วงเวลาที่ผ่านไปได้รับรู้ เรียนรู้และได้รับประโยชน์ สัญลักษณ์อันเกี่ยวเนื่องกับพระพุทธเจ้าถูกสร้างขึ้นด้วยปริมาณมาก ไม่ว่าจะเป็นโบสถ์ พระเจดีย์ พระพุทธรูป ทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก
เมื่อกาลผ่านไปถึงกว่า ๒๕๐๐ ปี ภาษาและวัฒนธรรมของผู้คนก็เปลี่ยนไป เป็นการยากที่คนปัจจุบันจะเข้าใจพุทธธรรมจากการอ่านพระไตรปิฎก
ท่านพุทธทาสเป็นพระอรรถกถาจารย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดนับแต่พระพุทธโฆษาจารย์ชาว อินเดียผู้รจนาคัมภีร์วิสุทธิมรรค ที่พระใช้แปลในการสอบเปรียญธรรม ๙ ประโยค สำหรับบางท่าน ท่านพุทธทาสยิ่งใหญ่กว่าพระพุทธโฆษาจารย์ในการตีความพระไตรปิฎก
การศึกษาค้นคว้าด้วยความเป็นอิสระและด้วยปัญญาอันยอดเยี่ยมท่านพุทธทาสได้ฝากผล งานซึ่งอาจเรียกว่า พุทธทาสธรรมไว้ให้แก่โลกเป็นอันมาก ทำให้บุคคลร่วมสมัยสามารถเข้าถึงพุทธธรรมได้ง่ายขึ้น
ผลงานเหล่านี้มีผู้ศึกษาไม่ใช่จำเพาะในประเทศไทย แต่ในวงการนานาชาติ แม้เมื่อกายสังขารของท่านจะดับสูญไปแล้ว แต่ความรู้ที่ท่านได้สร้างไว้ และจิตวิญญาณ (Spirituality) แห่งความเป็นพุทธทาสจะยังคงอยู่ต่อไปและแพร่หลายมากขึ้น
สวนโมกขพลารามหรือสวนอันเป็นพลังแห่งความหลุดพ้น เป็นสถาบันที่จะอำนวยความหลุดพ้นแก่มนุษยชาติที่ตกอยู่ในสภาวะวิกฤติด้วยประการทั้งปวง
เมื่อ ท่านอาจารย์พุทธทาสเป็นสถาบัน ก็จะมีผู้อ้างอิงถึงต่อไป ทั้งโดยผู้ที่เป็นศิษย์และมิใช่ศิษย์ และก็จะอ้างอิงถูกบ้างหรือผิดเพี้ยนไปบ้าง โดยเจตนาบ้างและโดยไม่เจตนาบ้าง ฉะนั้นลูกศิษย์ผู้แตกฉานในพุทธทาสธรรมควรจะช่วยกันวางเกณฑ์ไว้ให้ผู้คนใช้ ตรวจสอบกันต่อไปในภายภาคหน้า ว่าอย่างใดใช่ไม่ใช่คำสอนของท่านอาจารย์พุทธทาส
เพื่อให้มีการเริ่มต้น ท่านศาสตราจารย์นายแพทย์ประเวศ วะสี ได้เสนอว่า คำสอนของท่านอาจารย์พุทธทาส มีลักษณะ ๕ หรือเบญจลักษณะ ดังต่อไปนี้
๑. ท่านอาจารย์พุทธทาส สอนเรื่องสุญตา หรือ ความว่างจากตัวตน หรือจากตัวกู-ของกู ว่าเป็นบรมธรรม
คำสอนใดๆ ที่ยังเนื่องด้วยการมีตัวตน ไม่ใช่คำสอนของท่านพุทธทาส
๒. ท่านอาจารย์พุทธทาส สอนเรื่อง อิทัปปัจจยตา ว่าด้วยสิ่งทั้งหลายล้วนเป็นกระแสของเหตุปัจจัยที่หนุนเนื่องกัน อะไรที่เกิด หรือไม่เกิด เพราะมีเหตุปัจจัยให้มันเป็นเช่นนั้นเอง (ตถตา) ไม่ถึงเข้าไปยึดมั่นถือมั่น
คำสอนใดๆ ที่เนื่องด้วยการยึดมั่นถือมั่น ไม่ใช่คำสอนของท่านพุทธทาส
๓. ท่านอาจารย์พุทธทาสสอนเรื่อง ความถูกต้องๆ (สัมมาๆ) อันเป็นความถูกต้องที่เป็นกลาง เหนือดีเหนือชั่ว ไม่แบ่งเป็นขั้ว
คำสอนใดๆ ที่เนื่องด้วยการเป็นมิจฉาและแบ่งขั้ว ไม่ใช่คำสอนของท่านพุทธทาส
๔. ท่านอาจารย์พุทธทาสสอนให้ทำความเข้าใจระหว่างศาสนา ให้แต่ละศาสนิกทำความเข้าใจในธรรมะอันลึกซึ้งแห่งศาสนาของตนและมีความเป็นมิตรกันระหว่างศาสนา
คำสอนใดๆ อันก่อให้เกิดความแตกแยกระหว่างศาสนา ไม่ใช่คำสอนของท่านอาจารย์พุทธทาส
๕. ท่านอาจารย์พุทธทาสสอนให้มนุษย์ถอนตัวออกจากวัตถุนิยม เพื่อโลกจะได้พ้นจากสภาวะวิกฤติ
คำสอนและการประพฤติปฏิบัติใดๆ ที่เนื่องด้วยความมักมากในวัตถุ ไม่ใช่คำสอนและการปฏิบัติของท่านพุทธทาส
ปัจฉิมอาพาธท่านพุทธทาสมหาเถระ โดย ศาสตราจารย์นายแพทย์ ประเวศ วะสี
พิมพ์ ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๔๑ โดย สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
http://www.buddhadasa.com/Article/principle.html
พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานใต้ต้นสาละ ใกล้เมืองกุสินารา เมื่อกว่า ๒๕๐๐ ปีมาแล้ว เมื่อยังดำรงพระชนม์ชีพอยู่ ก็เสด็จดำเนินด้วยพระบาท สั่งสอนผู้คนอยู่ในประเทศอินเดียตอนเหนือ แต่หลังจากพุทธปรินิพพานแล้ว ชื่อเสียงเกียรติคุณของพระพุทธองค์กำจรไปไกล ผู้คนหลายพันล้านคนตลอดช่วงเวลาที่ผ่านไปได้รับรู้ เรียนรู้และได้รับประโยชน์ สัญลักษณ์อันเกี่ยวเนื่องกับพระพุทธเจ้าถูกสร้างขึ้นด้วยปริมาณมาก ไม่ว่าจะเป็นโบสถ์ พระเจดีย์ พระพุทธรูป ทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก
เมื่อกาลผ่านไปถึงกว่า ๒๕๐๐ ปี ภาษาและวัฒนธรรมของผู้คนก็เปลี่ยนไป เป็นการยากที่คนปัจจุบันจะเข้าใจพุทธธรรมจากการอ่านพระไตรปิฎก
ท่านพุทธทาสเป็นพระอรรถกถาจารย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดนับแต่พระพุทธโฆษาจารย์ชาว อินเดียผู้รจนาคัมภีร์วิสุทธิมรรค ที่พระใช้แปลในการสอบเปรียญธรรม ๙ ประโยค สำหรับบางท่าน ท่านพุทธทาสยิ่งใหญ่กว่าพระพุทธโฆษาจารย์ในการตีความพระไตรปิฎก
การศึกษาค้นคว้าด้วยความเป็นอิสระและด้วยปัญญาอันยอดเยี่ยมท่านพุทธทาสได้ฝากผล งานซึ่งอาจเรียกว่า พุทธทาสธรรมไว้ให้แก่โลกเป็นอันมาก ทำให้บุคคลร่วมสมัยสามารถเข้าถึงพุทธธรรมได้ง่ายขึ้น
ผลงานเหล่านี้มีผู้ศึกษาไม่ใช่จำเพาะในประเทศไทย แต่ในวงการนานาชาติ แม้เมื่อกายสังขารของท่านจะดับสูญไปแล้ว แต่ความรู้ที่ท่านได้สร้างไว้ และจิตวิญญาณ (Spirituality) แห่งความเป็นพุทธทาสจะยังคงอยู่ต่อไปและแพร่หลายมากขึ้น
สวนโมกขพลารามหรือสวนอันเป็นพลังแห่งความหลุดพ้น เป็นสถาบันที่จะอำนวยความหลุดพ้นแก่มนุษยชาติที่ตกอยู่ในสภาวะวิกฤติด้วยประการทั้งปวง
เมื่อ ท่านอาจารย์พุทธทาสเป็นสถาบัน ก็จะมีผู้อ้างอิงถึงต่อไป ทั้งโดยผู้ที่เป็นศิษย์และมิใช่ศิษย์ และก็จะอ้างอิงถูกบ้างหรือผิดเพี้ยนไปบ้าง โดยเจตนาบ้างและโดยไม่เจตนาบ้าง ฉะนั้นลูกศิษย์ผู้แตกฉานในพุทธทาสธรรมควรจะช่วยกันวางเกณฑ์ไว้ให้ผู้คนใช้ ตรวจสอบกันต่อไปในภายภาคหน้า ว่าอย่างใดใช่ไม่ใช่คำสอนของท่านอาจารย์พุทธทาส
เพื่อให้มีการเริ่มต้น ท่านศาสตราจารย์นายแพทย์ประเวศ วะสี ได้เสนอว่า คำสอนของท่านอาจารย์พุทธทาส มีลักษณะ ๕ หรือเบญจลักษณะ ดังต่อไปนี้
๑. ท่านอาจารย์พุทธทาส สอนเรื่องสุญตา หรือ ความว่างจากตัวตน หรือจากตัวกู-ของกู ว่าเป็นบรมธรรม
คำสอนใดๆ ที่ยังเนื่องด้วยการมีตัวตน ไม่ใช่คำสอนของท่านพุทธทาส
๒. ท่านอาจารย์พุทธทาส สอนเรื่อง อิทัปปัจจยตา ว่าด้วยสิ่งทั้งหลายล้วนเป็นกระแสของเหตุปัจจัยที่หนุนเนื่องกัน อะไรที่เกิด หรือไม่เกิด เพราะมีเหตุปัจจัยให้มันเป็นเช่นนั้นเอง (ตถตา) ไม่ถึงเข้าไปยึดมั่นถือมั่น
คำสอนใดๆ ที่เนื่องด้วยการยึดมั่นถือมั่น ไม่ใช่คำสอนของท่านพุทธทาส
๓. ท่านอาจารย์พุทธทาสสอนเรื่อง ความถูกต้องๆ (สัมมาๆ) อันเป็นความถูกต้องที่เป็นกลาง เหนือดีเหนือชั่ว ไม่แบ่งเป็นขั้ว
คำสอนใดๆ ที่เนื่องด้วยการเป็นมิจฉาและแบ่งขั้ว ไม่ใช่คำสอนของท่านพุทธทาส
๔. ท่านอาจารย์พุทธทาสสอนให้ทำความเข้าใจระหว่างศาสนา ให้แต่ละศาสนิกทำความเข้าใจในธรรมะอันลึกซึ้งแห่งศาสนาของตนและมีความเป็นมิตรกันระหว่างศาสนา
คำสอนใดๆ อันก่อให้เกิดความแตกแยกระหว่างศาสนา ไม่ใช่คำสอนของท่านอาจารย์พุทธทาส
๕. ท่านอาจารย์พุทธทาสสอนให้มนุษย์ถอนตัวออกจากวัตถุนิยม เพื่อโลกจะได้พ้นจากสภาวะวิกฤติ
คำสอนและการประพฤติปฏิบัติใดๆ ที่เนื่องด้วยความมักมากในวัตถุ ไม่ใช่คำสอนและการปฏิบัติของท่านพุทธทาส