แบบแรก มีแม่สามอยู่ 3 สี คือ Red สีแดง, Green สีเขียว และ Blue สีน้ำเงิน
หรือที่เราได้ยินบ่อยๆว่าระบบสี RGB นั่นเอง อันนี้นิยมใช้กันในงานที่ต้องให้แสงส่องผ่าน
แล้วปรากฎเป็นภาพเช่นในทีวี จอคอมพ์เราก็ใช่
แบบที่สอง จะมีแม่เป็นสี Red สีแดง, Yellow สีเหลือง และ Blue สีน้ำเงิน
หรือ RYB จะนิยมสอนกันในโรงเรียนศิลปะพวกที่ต้องผสมสีวาดภาพ เป็นแม่สีที่ปรากฎจากวัตถุ
แต่ที่เราใช้บ่อยๆในการถ่ายภาพคือ RYB
ซึ่งเป็นสีที่เป็นสีของวัตถุที่เรามองเห็นกันอยู่หลัดๆทุกวันนี้
ต่างจาก RGB ซึ่งจะเป็นสีที่เกิดจากการหักเหของแสง
เราจึงจะคุยกันแต่เรื่อง RYB สามสีนี้
... ก ร ะ ทู้ ส่ ง ผ ล ง า น วิ จ า ร ณ์ ภ า พ ถ่ า ย ... ค รั้ ง ที่ 5 .... ข อ เ ชิ ญ ร่ ว ม ส นุ ก ค รั บ ...
สวัสดีสาธุชนผู้ใคร่ในการถ่ายภาพทุกท่านครับ
วันนี้ตรงกับวันพฤหัสอีกครั้ง และอีกครั้งกับกระทู้วิเคราะห์วิจารณ์ภาพตามประสาคนถ่ายภาพนะครับ
วันนี้มาเลทหน่อย ติดงานพอสมควรทีเดียว
ก่อนจะไปถึงการวิจารณ์ภาพ เราก็มาคุยกันถึงสาระน่ารู้บ้างไม่น่ารู้บ้างเกี่ยวกับการถ่ายภาพ เหมือนเคย
คราวก่อนเราสนทนากันถึงเรื่องภาพขาวดำ
วันนี้เราจะมาคุยกันถึงเรื่องสีครับ
สารภาพตามตรงว่าถ่ายรูปแรกๆ(กว่าตอนนี้) มองข้ามเรื่องสีไปแบบไม่ใยดีเหมือนกัน
ไม่ใช่อะไร คือมองไม่ออกนั่นเอง
ดังนั้น วันนี้เราจะคุยกันเรื่องสีแบบคร่าวๆกันก่อนนะครับ
สีนั้นเป็นอะไรที่มีแม่ครับ
แม่ของสีสันหรือสีปฐมภูมิ (primary colours)มีอยู่ 3 ตระกูล
แบบแรก มีแม่สามอยู่ 3 สี คือ Red สีแดง, Green สีเขียว และ Blue สีน้ำเงิน
หรือที่เราได้ยินบ่อยๆว่าระบบสี RGB นั่นเอง อันนี้นิยมใช้กันในงานที่ต้องให้แสงส่องผ่าน
แล้วปรากฎเป็นภาพเช่นในทีวี จอคอมพ์เราก็ใช่
แบบที่สอง จะมีแม่เป็นสี Red สีแดง, Yellow สีเหลือง และ Blue สีน้ำเงิน
หรือ RYB จะนิยมสอนกันในโรงเรียนศิลปะพวกที่ต้องผสมสีวาดภาพ เป็นแม่สีที่ปรากฎจากวัตถุ
แบบที่สาม สีแบบ CMYหรือ CMYKนั่นเองถ้านับสีดำเข้าไป จะมีแม่สีสามสีเช่นกันคือ Cyanฟ้า Magenta ม่วง Yellowเหลือง
นิยมใช้ในงานที่ต้องใช้การสะท้อนแสงเช่นงานพิมพ์เป็นต้น
---------
แต่ที่เราใช้บ่อยๆในการถ่ายภาพคือ RYB
ซึ่งเป็นสีที่เป็นสีของวัตถุที่เรามองเห็นกันอยู่หลัดๆทุกวันนี้
ต่างจาก RGB ซึ่งจะเป็นสีที่เกิดจากการหักเหของแสง
เราจึงจะคุยกันแต่เรื่อง RYB สามสีนี้
สีสามสีนั้นคือ แดง เหลือง น้ำเงิน ซึ่งเป็นแม่สี
เมื่อผสมปนกันแล้ว ก็จะได้สีอื่นๆออกมาอีก 3 สี
เรียกว่าสีทุติยภูมิ(secondary colours)
ดังนี้
สีม่วง(Violet) เกิดจาก สีน้ำเงิน 50% ผสมสีแดงอีก 50%
สีส้ม (Orange) เกิดจาก สีแดง 50% กับสีเหลืองอีก 50%
สีเขียว (Green ) เกิดจาก สีเหลือง 50% กับสีน้ำเงินอีก 50%
นอกจากนั้น เมื่อเรานำสีขั้นที่สองหรือสีขั้น ทุติยภูมิ
มาผสมกับแม่สี เราก็จะได้สีขั้นที่ 3 หรือสีตติยภูมิมาอีก 6 สี คือ
ส้มเหลือง/ ส้มแดง
เขียวเหลือง /เขียวน้ำเงิน
ม่วงแดง/ ม่วงน้ำเงิน
สีกลาง (neutral colour) คือการเอาทุกสีหรือเอาแม่สีสามสีมาผสมกันเข้า
ใสสัดส่วนที่เท่ากัน เราจะได้สีกลางเป็นสีเทาแก่ๆ ซึ่งเราเรียกว่า "สีเทากลาง"
คุ้นๆกันไหมครับ ทีนี้เรารู้แล้วว่าทำไมกล้องจึงอ้างอิงสีเทากลาง
เพราะสีเทากลางเกิดจากแม่สีทั้งสามสีผสมกันในสัดส่วนที่เท่าๆกันนั่นเอง
กล้องมันจึงหาจุดที่สีมีสมดุลกันมากที่สุดในการอ้างอิง
สีทั้ง 12 สีนั้นแบ่งเป็นสองวรรณะตามความรู้สึกหลังจากที่เรามองมัน
คือมองแล้วรู้สึกร้อนเร่ากับมองแล้วรู้สึกเย็นสบายตา ดังนี้
วรรณะสีอุ่น (warm tone) มีสมาชิกคือ สีส้มเหลือง ส้ม ส้มแดง แดง ม่วงแดง
วรรณะสีเย็น (cool tone) ประกอบด้วย สีเขียวเหลือง เขียว เขียวน้ำเงินน้ำเงิน ม่วงน้ำเงิน
รวมกันได้ 10 สี ส่วนอีกสองสี คือ สีเหลืองกับสีม่วง เข้ากันกับทั้ง 2 วรรณะสี
ไปรวมกับวรรณะไหนก็ได้หมด เข้ากับวรรณะร้อนก็ร้อน เข้ากับวรรณะเย็นก็เย็น ว่างั้นเถอะ
วรรณะสีมีประโยชน์ในการออกแบบโทนสีของภาพของเรา
ว่าต้องการให้คนมองแล้วรู้สึกอย่างไร เร้าใจหรือสงบเงียบเย็นใจ
การที่เราจะใช้สีสันให้เป็นประโยชน์ เราจำเป็นต้องรู้จักหลักการใช้สีและคู่สี
คู่สี (complementary colours) คู่สีคือคู่ของสี คู่สีที่อยู่ตรงข้ามกันในวงล้อสี
วงล้อสีคืออันนี้
เครดิต http://designwithmshsquared.wordpress.com/interior-design/elements-and-principles-of-design/
ถ้าสีไหนอยู่ตรงข้ามกัน เราเรียกมันว่าคู่สีตรงข้าม
ถ้าเราเลือกมันเข้ามาเป็นส่วนประกอบของภาพ จะให้ความรู้สึกสดใส
ขัดแย้ง ตื่นเต้นเด้งดึ๋ง
คู่สีตรงข้ามก็คือ
สีเขียวเหลือง กับ สีม่วงแดง
สีเขียว กับ สีแดง
สีเขียวแก่ กับ สีแดงส้ม
สีน้ำเงิน กับ สีส้ม
สีม่วง กับ สีเหลือง
สีม่วงน้ำเงิน กับ สีเหลืองส้ม
การใช้สีตรงข้ามหรือสีตัดกัน ต้องใช้สีใดสีหนึ่งจำนวน 80% อีกฝ่ายหนึ่ง ต้องเป็น 20%
บวกลบได้เล็กน้อยตามแต่ปัจจัยจะอำนวย ถ้าไม่ได้จริงๆ ให้ลดความเข้มของสีทั้งสองลง
(คงต้องใช้โปรแกรมนะครับ อันนี้ )
ถ้าคู่สีใดอยู่ใกล้กันในวงล้อสี เราเรียกว่า คู่สีเสริมกันหรือสีใกล้กัน (Harmony)
เริ่มจากสีน้ำเงิน และยิ่งอยู่ห่างกันมากเท่าไหร่ในวงล้อสี ก็จะเพิ่มคอนทราสให้กับภาพถ่ายมากเท่านั้น
แต่ถ้าอยู่ใกล้กันมากเกินไป ก็อาจจะทำให้ภาพถ่ายดูจืดชืด
สามสีเยื้องกันเป็นตัว Y (TRIADS) คือ การใช้คู่สี 3 เฉด ที่เป็นคู่สีแยกตรงข้าม
เป็นสีที่อยู่แยกไปทางซ้ายและขวาของสีตรงข้ามเป็นรูปตัว Y ทำให้สีในภาพดูไม่ตัดกัน
จนเกินไป โดยการเพิ่มสีที่สามลงไป
สุดท้ายปลายกระทู้ เรามาดูจิตวิทยาของสี
ว่าสีไหนเรามองแล้วให้ความรู้สึกแบบไหนกับมนุษย์มาตรฐานส่วนใหญ่ของโลก
- สีดำ คือสีแห่งการควบคุมและพลังอำนาจ การยอมจำนน ทุกข์ เสียใจ
- ขาว สีแห่งฤดูร้อน บริสุทธิ์ไร้เดียงสา เป็นกลาง
- สีแดง สีแห่งการโฆษณาชวนเชื่อ ตื่นเต้น เร้าใจ
- สีแดงอ่อน ความประณีต ความเยือกเย็น ความหวาน ความสุข
- สีแดงเข้ม มีอุดมคติสูง ยิ่งใหญ่ สมบูรณ์
- สีชมพู สีแห่งความเป็นหนุ่มสาว สีแห่งความรัก ความมั่นใจ
- สีน้ำเงิน สีแห่งความเชื่อมั่น หนักแน่น สุภาพ ถ่อมตน
- สีฟ้าอ่อน สีแห่งความราบรื่น ร่มเย็น
- สีเหลือง สว่างสดใส ร่าเริง รู้สึกมีรสเปรี้ยว
- สีแสด ตื่นตัวเร้าใจ สนุกสนาน
- สีม่วง สีแห่งความผิดหวัง ไม่เชื่อมั่น ไม่แน่นอน เศร้า
- สีเขียวอ่อน สดชื่น ร่าเริง เบิกบาน
- สีเขียวแก่ เศร้า ชรา เบื่อหน่าย
- สีน้ำตาล อับทึบ
- สีเทา เงียบสงัด ขรึม สุภาพ
กระทู้คู่สี ลองดูเป็นตัวอย่าง ถ่ายด้วย Hasselblad H3D II 39 ทีเดียวครับ
http://www.pixpros.net/forums/showthread.php?t=63890
*********
แหล่งข้อมูล
http://www.luminous-landscape.com/tutorials/colour_theory.shtml
http://www.krungshing.com/forum/showthread.php?t=3607
***********
ก่อนเริ่มวิเคราะห์วิจารณ์ภาพ
ลองกดอ่านกติกาเล็กๆซัก 3 ข้อ ตรงข้อความที่ซ่อนไว้ครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
กดคำว่าตอบกลับใต้ภาพนั้นๆ เพื่อให้ง่ายต่อการอ่าน
เชิญครับ
ลงนาม
เป็ดสวรรค์