--แก้ไขเรียบเรียงใหม่นะครับ เพื่อเข้าใจง่ายขึ้น แก้จากสัมปทานแต่งงานเป็นจดทะเบียนแฟน--
ปัญหา
ในปัจจุบัน โดยเฉพาะวัยรุ่นอยู่กันแบบแฟน แต่ไม่แต่งงานมากขึ้น ปัญหาคือเมื่อเลิกกันแม้กระทั้งมีลูกด้วยกันก็ไม่ช่วยค่าใช้จ่ายเลี้ยงลูก
ฝ่ายชายก็อ้างว่าไม่มีเงิน ทั้งๆที่มีเงินเลี้ยงผู้หญิงคนใหม่ และก็เป็นผุ้ชายคนเดิมๆที่หลอกผู้หญิงช้ำแล้วช้ำเล่า และยิ่งนานยิ่งหลอกได้เนียนขึ้น
แม้ว่าจะได้ค่าเลี้ยงดู แต่พอฝ่ายหญิงแต่งงานใหม่ ฝ่ายชายก็ไม่ต้องจ่ายค่าเลี้ยงดูลูกแล้ว
ทั้งที่ฝ่ายหญิงอาจมีแค่พอเลี้ยงแต่ไม่มีเงินส่งค่าเล่าเรียน และพ่อเลี้ยงอาจไม่ดูแลส่วนนี้
กลายเป็นปัญหาสังคมและการศึกษาอีก ต้องกู้เรียน
ปัญหาบางส่วนเกิดจาก อยู่ด้วยกันไม่มีการจดทะเบียนสมรส ปัญหาดูจะป้องกันได้ง่ายๆ คือให้ผู้หญิงรอจนผู้ชายพร้อมจดทะเบียนสมรสก่อนค่อยอยู่ด้วยกัน มีลูกกัน แต่บางทีผุ้หญิงก็ไม่รอ เพราะ
1.ใจร้อน หรือกลัวโดนแย่งผู้ชายไปก่อน
2.คิดว่าเสียเวลาและโอกาสเริ่มใหม่
3.ฝ่ายหญิงบางส่วนเองก็ยังไม่พร้อมแต่งงานแต่อยู่ด้วยกันก่อนแล้วแบบแฟน
สิ่งที่อยากให้แก้ไขคือ
1.เปิดให้มีการจดทะเบียนแฟนสำหรับคนที่สมัครใจอยู่ด้วยกันแต่ยังไม่พร้อมแต่งงานตลอดชีพ คราวละ 5 ปีเพื่อที่จะนำคู่ที่อยู่ด้วยกันนอกระบบสมรสมาอยู่ในระบบ และฝ่ายหญิงได้รับการคุ้มครองตามกฏหมาย
2. เมื่อหมดอายุการจดทะเบียนแฟน ฝ่ายชายหรือฝ่ายหญิงมีสิทธิไม่ต่ออายุ กรณีถ้าฝ่ายชายไม่ต่ออายุต้องชดเชยค่าเลิกกันแต่ไม่ต้องแบ่งทรัพย์สิน แต่ระบุค่าเลี้ยงดูลูกไปจนกว่าลูกจะเรียนจบ ป ตรี แม้ว่าฝ่ายหญิงจะแต่งงานใหม่ ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่ทั้งสองฝ่ายตกลงตั้งแต่ก่อนจดทะเบียนสมรสโดยตกลงก่อนจดทะเบียน และให้ผู้เชี่ยวชาญด้านวางแผนครอบครัวและผุ้เชี่ยวชาญการเงินเช็นรับรองเพื่อไม่ให้สูงหรือต่ำเกินไป
3.มีกฏหมายเอาผิดผู้ที่ไม่จ่ายค่าเลิกกัน หรือค่าดูแลบุตรอย่างรุนแรง เช่น ห้ามทำงานราชการ ไม่ได้รับสิทธิบางอย่าง หรือกระทั้งจำคุกแล้วให้ไปทำงานในคุกเอาเงินมาชดเชย จะมาอ้างทีหลังไม่ได้ว่าไม่มีเงินจ่าย
4.ห้ามเลิกกันก่อนโดยสมัครใจแต่ฝ่ายเดียว นั้นหมายความว่าทั้งสองฝ่ายจะเลิกกันแล้วไปแต่งกันกับคนใหม่ไม่ได้ภายในระยะห้าปี(เพื่อป้องกันฝ่ายชายไปหลอกผู้หญิงอื่นอีกช้ำๆ) เว้นแต่เสียค่าชดเชยให้รัฐ และอีกฝ่ายจนพึ่งพอใจ
5.มาตรการสนับสนุนให้คนจดทะเบียนมากขึ้น เช่น ลดภาษีเรือนหอ หรือลดค่าเรียนอนุบาล
ข้อดี
1.เพิ่มทางเลือกให้สำหรับคู่รักที่อยากอยู่รวมกันไม่ยังไม่พร้อมแต่งงานจริงๆ ฝ่ายหญิงได้รับการคุ้มครองตามกฏหมายดีกว่าอยู่ด้วยกันเฉยๆ
2.ลดปัญหาสังคม เช่น ผู้ชายคนเดิมไปหลอกผู้หญิงอื่นช้ำๆทุกๆปี(เพราะมีข้อห้ามคนจดทะเบียนแฟนมีแฟนใหม่ในระยะห้าปี) ลดปัญหาค่าเลี้ยงดูบุตรไม่พอ
3. เพิ่มความรับผิดชอบ(โดยบังคับ)ของฝ่ายชาย ป้องกันการอ้างว่าไม่มีเงินรับผิดชอบเลี้ยงดูบุตรหลังหย่า ก็ให้ตกลงกันชัดเจนตั้งแต่ก่อนจดทะเบียนแฟน
4. ลดการรอคอยการแต่งงานของฝ่ายหญิง
5. เป็นการกำหนดความรับผิดชอบเวลาเลิกกัน ตั้งแต่ตอนจดทะเบียน ไม่ต้องตัดสินตอนฟ้องหย่า
6. ทั้งสองฝ่ายฟ้องร้องกันได้ หากอีกฝ่ายไปมีคนรักใหม่
ข้อสงสัยที่ถามบ่อย faqs
1.จดทะเบียนแฟนกับจดทะเบียนสมรสต่างกันอย่างไร
-กลุ่มเป้าหมายต่างกัน คือคู่รักที่อยากอยู่รวมกัน แต่ยังไม่พร้อมแต่งงาน(คนกลุ่มนี้มีอยู่จริง) เช่น ยังเรียนอยู่ ถ้าท้องขึ้นมาผู้ชายแทบไม่ต้องรับผิดชอบเลย หรือ อยากอยู่ด้วยกันมีลูกด้วยกันแต่ไม่พร้อมใช้เงินกระเป่าเดียวกัน
-อายุสัมปทานระยะห้าปี ถ้าไม่ประสงค์ต่ออายุก็ให้ยกเลิกโดยไม่ต้องฟ้องหย่า แต่มีเงื่อนไขชดเชยที่กำหนดไว้แทน
-ฝ่ายชายหรือฝ่ายหญิงจะฟ้องหย่าแบ่งทรัพย์สินกันไม่ได้ ถือว่าแต่งแบบแยกกระเป่าสตางค์กัน
ปล. ปัจจุบันจดแค่กระดาษ ไม่มีเงื่อนไขอะไรเลย( ขนาดฝากเงินธนาคารยังมีเงื่อนไขมากกว่าอีกจะถอนได้เท่าไร ถอนก่อนหักเท่าไร) แล้วเลิก ให้ฟ้องหย่า ฟ้องแล้วก้ไม่ยอมจ่าย มันแย่กว่าที่ผมเสนออีกนะ ไม่อย่างนั้นคงไม่มีปัญหาแบบนี้ทุกวันๆ
ขอบคุณครับ
สัมปทานแต่งงานควรมีหรือไม่
ปัญหา
ในปัจจุบัน โดยเฉพาะวัยรุ่นอยู่กันแบบแฟน แต่ไม่แต่งงานมากขึ้น ปัญหาคือเมื่อเลิกกันแม้กระทั้งมีลูกด้วยกันก็ไม่ช่วยค่าใช้จ่ายเลี้ยงลูก
ฝ่ายชายก็อ้างว่าไม่มีเงิน ทั้งๆที่มีเงินเลี้ยงผู้หญิงคนใหม่ และก็เป็นผุ้ชายคนเดิมๆที่หลอกผู้หญิงช้ำแล้วช้ำเล่า และยิ่งนานยิ่งหลอกได้เนียนขึ้น
แม้ว่าจะได้ค่าเลี้ยงดู แต่พอฝ่ายหญิงแต่งงานใหม่ ฝ่ายชายก็ไม่ต้องจ่ายค่าเลี้ยงดูลูกแล้ว
ทั้งที่ฝ่ายหญิงอาจมีแค่พอเลี้ยงแต่ไม่มีเงินส่งค่าเล่าเรียน และพ่อเลี้ยงอาจไม่ดูแลส่วนนี้
กลายเป็นปัญหาสังคมและการศึกษาอีก ต้องกู้เรียน
ปัญหาบางส่วนเกิดจาก อยู่ด้วยกันไม่มีการจดทะเบียนสมรส ปัญหาดูจะป้องกันได้ง่ายๆ คือให้ผู้หญิงรอจนผู้ชายพร้อมจดทะเบียนสมรสก่อนค่อยอยู่ด้วยกัน มีลูกกัน แต่บางทีผุ้หญิงก็ไม่รอ เพราะ
1.ใจร้อน หรือกลัวโดนแย่งผู้ชายไปก่อน
2.คิดว่าเสียเวลาและโอกาสเริ่มใหม่
3.ฝ่ายหญิงบางส่วนเองก็ยังไม่พร้อมแต่งงานแต่อยู่ด้วยกันก่อนแล้วแบบแฟน
สิ่งที่อยากให้แก้ไขคือ
1.เปิดให้มีการจดทะเบียนแฟนสำหรับคนที่สมัครใจอยู่ด้วยกันแต่ยังไม่พร้อมแต่งงานตลอดชีพ คราวละ 5 ปีเพื่อที่จะนำคู่ที่อยู่ด้วยกันนอกระบบสมรสมาอยู่ในระบบ และฝ่ายหญิงได้รับการคุ้มครองตามกฏหมาย
2. เมื่อหมดอายุการจดทะเบียนแฟน ฝ่ายชายหรือฝ่ายหญิงมีสิทธิไม่ต่ออายุ กรณีถ้าฝ่ายชายไม่ต่ออายุต้องชดเชยค่าเลิกกันแต่ไม่ต้องแบ่งทรัพย์สิน แต่ระบุค่าเลี้ยงดูลูกไปจนกว่าลูกจะเรียนจบ ป ตรี แม้ว่าฝ่ายหญิงจะแต่งงานใหม่ ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่ทั้งสองฝ่ายตกลงตั้งแต่ก่อนจดทะเบียนสมรสโดยตกลงก่อนจดทะเบียน และให้ผู้เชี่ยวชาญด้านวางแผนครอบครัวและผุ้เชี่ยวชาญการเงินเช็นรับรองเพื่อไม่ให้สูงหรือต่ำเกินไป
3.มีกฏหมายเอาผิดผู้ที่ไม่จ่ายค่าเลิกกัน หรือค่าดูแลบุตรอย่างรุนแรง เช่น ห้ามทำงานราชการ ไม่ได้รับสิทธิบางอย่าง หรือกระทั้งจำคุกแล้วให้ไปทำงานในคุกเอาเงินมาชดเชย จะมาอ้างทีหลังไม่ได้ว่าไม่มีเงินจ่าย
4.ห้ามเลิกกันก่อนโดยสมัครใจแต่ฝ่ายเดียว นั้นหมายความว่าทั้งสองฝ่ายจะเลิกกันแล้วไปแต่งกันกับคนใหม่ไม่ได้ภายในระยะห้าปี(เพื่อป้องกันฝ่ายชายไปหลอกผู้หญิงอื่นอีกช้ำๆ) เว้นแต่เสียค่าชดเชยให้รัฐ และอีกฝ่ายจนพึ่งพอใจ
5.มาตรการสนับสนุนให้คนจดทะเบียนมากขึ้น เช่น ลดภาษีเรือนหอ หรือลดค่าเรียนอนุบาล
ข้อดี
1.เพิ่มทางเลือกให้สำหรับคู่รักที่อยากอยู่รวมกันไม่ยังไม่พร้อมแต่งงานจริงๆ ฝ่ายหญิงได้รับการคุ้มครองตามกฏหมายดีกว่าอยู่ด้วยกันเฉยๆ
2.ลดปัญหาสังคม เช่น ผู้ชายคนเดิมไปหลอกผู้หญิงอื่นช้ำๆทุกๆปี(เพราะมีข้อห้ามคนจดทะเบียนแฟนมีแฟนใหม่ในระยะห้าปี) ลดปัญหาค่าเลี้ยงดูบุตรไม่พอ
3. เพิ่มความรับผิดชอบ(โดยบังคับ)ของฝ่ายชาย ป้องกันการอ้างว่าไม่มีเงินรับผิดชอบเลี้ยงดูบุตรหลังหย่า ก็ให้ตกลงกันชัดเจนตั้งแต่ก่อนจดทะเบียนแฟน
4. ลดการรอคอยการแต่งงานของฝ่ายหญิง
5. เป็นการกำหนดความรับผิดชอบเวลาเลิกกัน ตั้งแต่ตอนจดทะเบียน ไม่ต้องตัดสินตอนฟ้องหย่า
6. ทั้งสองฝ่ายฟ้องร้องกันได้ หากอีกฝ่ายไปมีคนรักใหม่
ข้อสงสัยที่ถามบ่อย faqs
1.จดทะเบียนแฟนกับจดทะเบียนสมรสต่างกันอย่างไร
-กลุ่มเป้าหมายต่างกัน คือคู่รักที่อยากอยู่รวมกัน แต่ยังไม่พร้อมแต่งงาน(คนกลุ่มนี้มีอยู่จริง) เช่น ยังเรียนอยู่ ถ้าท้องขึ้นมาผู้ชายแทบไม่ต้องรับผิดชอบเลย หรือ อยากอยู่ด้วยกันมีลูกด้วยกันแต่ไม่พร้อมใช้เงินกระเป่าเดียวกัน
-อายุสัมปทานระยะห้าปี ถ้าไม่ประสงค์ต่ออายุก็ให้ยกเลิกโดยไม่ต้องฟ้องหย่า แต่มีเงื่อนไขชดเชยที่กำหนดไว้แทน
-ฝ่ายชายหรือฝ่ายหญิงจะฟ้องหย่าแบ่งทรัพย์สินกันไม่ได้ ถือว่าแต่งแบบแยกกระเป่าสตางค์กัน
ปล. ปัจจุบันจดแค่กระดาษ ไม่มีเงื่อนไขอะไรเลย( ขนาดฝากเงินธนาคารยังมีเงื่อนไขมากกว่าอีกจะถอนได้เท่าไร ถอนก่อนหักเท่าไร) แล้วเลิก ให้ฟ้องหย่า ฟ้องแล้วก้ไม่ยอมจ่าย มันแย่กว่าที่ผมเสนออีกนะ ไม่อย่างนั้นคงไม่มีปัญหาแบบนี้ทุกวันๆ
ขอบคุณครับ