เพื่อเป็นกำลังใจแก่ผู้หญิงทำงาน สมาคมศิษย์เก่าเซนต์คาเบรียล ร่วมกับ บริษัท เอ็น.ที. อาร์. มีเดีย แอนด์ คอนซัลแทนท์ จำกัด มีการยกย่องเชิดชูเกียรติสตรีที่ทำงานเพื่อสังคม โดยมอบรางวัลเกียรติยศ “ธิดาแรงงานเกียรติยศ” ซึ่งมีผู้ผ่านการคัดเลือกเข้ารอบสุดท้าย 3 คน ได้แก่ นิดา รสรื่น หรือ ป้านิดา ผู้ก่อตั้งบ้านแสงตะวันของสัตว์จรจัด, ปางธาราไพร นราพงศ์พุทธ์ หรือ หมอณา พอเพียง ผู้ก่อตั้งศูนย์เรียนรู้การดูแลสุขภาพแบบผสมผสานใช้ธรรมชาติรักษาโรค และ ครูนาง-นริศราภรณ์ อสิพงษ์ หัวหน้าแผนกครูข้างถนน มูลนิธิส่งเสริมการพัฒนาบุคคล ศูนย์เมอร์ซี่ หรือ “แม่พระของเด็กสะพานพุทธ” ซึ่งชนะใจกรรมการได้รับการตัดสินให้ได้รับรางวัล และได้รับเงินรางวัล 100,000 บาท พร้อมถ้วยเกียรติยศ
ครูนาง-นริศราภรณ์ วัย 40 ปี เล่าถึงชีวิตการทำงานว่า เริ่มต้นการทำงานด้านสังคมจากการเป็นอาสาสมัครโครงการพัฒนาเด็กด้อยโอกาส จากนั้นในปี 2546 จึงได้ย้ายมาทำงานที่มูลนิธิเมอร์ซี่ และได้จับงานเป็นครูข้างถนนให้กับเด็กเร่ร่อนนับแต่นั้นมา โดยพื้นที่ที่ตนเข้าไปดูคือบริเวณสะพานพุทธ ซึ่งมีกลุ่มเด็กเร่ร่อนอยู่เป็นจำนวนมากสุดประมาณ 40-50 คน เป็นเด็กชายทั้งหมดอายุประมาณ 14-18 ปี การทำงาน ทีแรกจับต้นชนปลายไม่ถูกเลย ไม่มีหลักสูตรตายตัว ก็ต้องเข้าไปคุย เข้าไปทำความรู้จักให้คุ้นเคยกันก่อน พอคุ้นกัน เราก็ให้คำปรึกษาแนะนำ พร้อมกับถามว่าทำไมมาเร่ร่อน แล้วจึงลงพื้นที่ไปดูครอบครัวของเด็กๆในจังหวัดต่างๆ ถ้าพาเขาคืนสู่ครอบครัวได้ เราก็ทำ แต่ส่วนใหญ่เด็กที่ออกมาเร่ร่อนมาจากครอบครัวที่แตกแยก พ่อแม่เลิกรากันแล้วไปมีครอบครัวใหม่ หรือบางคนพ่อแม่เลิกกัน แล้วเด็กอยู่กับแม่และแม่เสียชีวิต บางคนสภาพครอบครัวยากจน พาเด็กกลับบ้านก็จะถามว่ากลับมาทำไม เป็นต้น เด็กเร่ร่อนเหล่านี้ อาชีพหลักของเขาคือการขอทาน เราอยากจะพาเขาไปรับบริการของภาครัฐ แต่บางครั้งก็ติดเรื่องเอกสาร เช่น ไม่มีบัตรประชาชน บางคนไม่รู้ชื่อจริงของตัวเองก็มี การทำงานจึงเป็นการช่วยเวลาเด็กๆเหล่านี้มีปัญหา เช่น เจ็บป่วย และเป็นที่ปรึกษามากกว่าการสอน ซึ่งแรกๆก็จะสอนให้เขาพออ่านออกเขียนได้บ้างเท่านั้น
จากการทำงานที่ผ่านมากว่า 10 ปี ครูนาง บอกว่า เด็กๆเหล่านี้เขามี ที่นอนเป็นพื้น มีหลังคาเป็นท้องฟ้า ไม่มีใครอยากออกมาเร่ร่อน ถ้าครอบครัวมี ความสุข ดังนั้นคนที่เป็นพ่อเป็นแม่คนต้องมีความรับผิดชอบ แล้วเด็กๆเหล่านี้ ถูกแสวงหาผลประโยชน์ตกเป็นเหยื่อทั้งเรื่องทางเพศและยาเสพติด จึงอยากให้สังคมให้โอกาสพวกเขาบ้าง อย่ามองแต่ว่าเขาสร้างปัญหาให้สังคม เรื่อง บวกๆของพวกเขาก็มีเยอะ แต่ไม่มีใครเห็น เช่น เด็กๆพวกนี้เคยช่วยคนจะกระโดดน้ำฆ่าตัวตาย สำหรับตนการทำงานที่ผ่านมาก็หนัก แต่ก็ได้รับกำลังใจจากเด็กเหล่านี้ที่ให้กำลังใจตลอด บางวันเด็กเขาจะโทร.หาบอกว่าคิดถึง อย่างวันแม่ เขาได้มาหาพร้อมกับนำพวงมาลัยมาไหว้ เป็นความประทับใจและกำลังใจให้ทำงานต่อไป.
http://www.thairath.co.th/content/life/342940
ยินดีด้วยครับ
เพจ "ข่าวดี"
https://www.facebook.com/pages/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%B5/125262077559921
ครูนาง-นริศราภรณ์รับรางวัลธิดาแรงงานเกียรติยศ-รางวัลครูเจ้าฟ้ากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์56
เพื่อเป็นกำลังใจแก่ผู้หญิงทำงาน สมาคมศิษย์เก่าเซนต์คาเบรียล ร่วมกับ บริษัท เอ็น.ที. อาร์. มีเดีย แอนด์ คอนซัลแทนท์ จำกัด มีการยกย่องเชิดชูเกียรติสตรีที่ทำงานเพื่อสังคม โดยมอบรางวัลเกียรติยศ “ธิดาแรงงานเกียรติยศ” ซึ่งมีผู้ผ่านการคัดเลือกเข้ารอบสุดท้าย 3 คน ได้แก่ นิดา รสรื่น หรือ ป้านิดา ผู้ก่อตั้งบ้านแสงตะวันของสัตว์จรจัด, ปางธาราไพร นราพงศ์พุทธ์ หรือ หมอณา พอเพียง ผู้ก่อตั้งศูนย์เรียนรู้การดูแลสุขภาพแบบผสมผสานใช้ธรรมชาติรักษาโรค และ ครูนาง-นริศราภรณ์ อสิพงษ์ หัวหน้าแผนกครูข้างถนน มูลนิธิส่งเสริมการพัฒนาบุคคล ศูนย์เมอร์ซี่ หรือ “แม่พระของเด็กสะพานพุทธ” ซึ่งชนะใจกรรมการได้รับการตัดสินให้ได้รับรางวัล และได้รับเงินรางวัล 100,000 บาท พร้อมถ้วยเกียรติยศ
ครูนาง-นริศราภรณ์ วัย 40 ปี เล่าถึงชีวิตการทำงานว่า เริ่มต้นการทำงานด้านสังคมจากการเป็นอาสาสมัครโครงการพัฒนาเด็กด้อยโอกาส จากนั้นในปี 2546 จึงได้ย้ายมาทำงานที่มูลนิธิเมอร์ซี่ และได้จับงานเป็นครูข้างถนนให้กับเด็กเร่ร่อนนับแต่นั้นมา โดยพื้นที่ที่ตนเข้าไปดูคือบริเวณสะพานพุทธ ซึ่งมีกลุ่มเด็กเร่ร่อนอยู่เป็นจำนวนมากสุดประมาณ 40-50 คน เป็นเด็กชายทั้งหมดอายุประมาณ 14-18 ปี การทำงาน ทีแรกจับต้นชนปลายไม่ถูกเลย ไม่มีหลักสูตรตายตัว ก็ต้องเข้าไปคุย เข้าไปทำความรู้จักให้คุ้นเคยกันก่อน พอคุ้นกัน เราก็ให้คำปรึกษาแนะนำ พร้อมกับถามว่าทำไมมาเร่ร่อน แล้วจึงลงพื้นที่ไปดูครอบครัวของเด็กๆในจังหวัดต่างๆ ถ้าพาเขาคืนสู่ครอบครัวได้ เราก็ทำ แต่ส่วนใหญ่เด็กที่ออกมาเร่ร่อนมาจากครอบครัวที่แตกแยก พ่อแม่เลิกรากันแล้วไปมีครอบครัวใหม่ หรือบางคนพ่อแม่เลิกกัน แล้วเด็กอยู่กับแม่และแม่เสียชีวิต บางคนสภาพครอบครัวยากจน พาเด็กกลับบ้านก็จะถามว่ากลับมาทำไม เป็นต้น เด็กเร่ร่อนเหล่านี้ อาชีพหลักของเขาคือการขอทาน เราอยากจะพาเขาไปรับบริการของภาครัฐ แต่บางครั้งก็ติดเรื่องเอกสาร เช่น ไม่มีบัตรประชาชน บางคนไม่รู้ชื่อจริงของตัวเองก็มี การทำงานจึงเป็นการช่วยเวลาเด็กๆเหล่านี้มีปัญหา เช่น เจ็บป่วย และเป็นที่ปรึกษามากกว่าการสอน ซึ่งแรกๆก็จะสอนให้เขาพออ่านออกเขียนได้บ้างเท่านั้น
จากการทำงานที่ผ่านมากว่า 10 ปี ครูนาง บอกว่า เด็กๆเหล่านี้เขามี ที่นอนเป็นพื้น มีหลังคาเป็นท้องฟ้า ไม่มีใครอยากออกมาเร่ร่อน ถ้าครอบครัวมี ความสุข ดังนั้นคนที่เป็นพ่อเป็นแม่คนต้องมีความรับผิดชอบ แล้วเด็กๆเหล่านี้ ถูกแสวงหาผลประโยชน์ตกเป็นเหยื่อทั้งเรื่องทางเพศและยาเสพติด จึงอยากให้สังคมให้โอกาสพวกเขาบ้าง อย่ามองแต่ว่าเขาสร้างปัญหาให้สังคม เรื่อง บวกๆของพวกเขาก็มีเยอะ แต่ไม่มีใครเห็น เช่น เด็กๆพวกนี้เคยช่วยคนจะกระโดดน้ำฆ่าตัวตาย สำหรับตนการทำงานที่ผ่านมาก็หนัก แต่ก็ได้รับกำลังใจจากเด็กเหล่านี้ที่ให้กำลังใจตลอด บางวันเด็กเขาจะโทร.หาบอกว่าคิดถึง อย่างวันแม่ เขาได้มาหาพร้อมกับนำพวงมาลัยมาไหว้ เป็นความประทับใจและกำลังใจให้ทำงานต่อไป.
http://www.thairath.co.th/content/life/342940
ยินดีด้วยครับ
เพจ "ข่าวดี"
https://www.facebook.com/pages/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%B5/125262077559921