ต้นไผ่ตงกำลังแย่ค่ะ อาการแบบนี้เกิดจากอะไรคะ?

กระทู้คำถาม
สวัสดีค่ะเพื่อนๆ เราปลูกไผ่ตงไว้ริมรั้วบ้าน มีสองต้นที่มีอาการแห้งจากปลายใบ แล้วก็แห้งหมด ทั้งๆที่เราก็รดน้ำทุกวัน ทีแรกเราสงสัยว่าเค้าจะขาดน้ำก็เลยรดน้ำเพิ่มมากขึ้นแต่อาการนี้ก็ยังไม่หายไป จนเราลองขุดที่โคนต้นเค้าดูปรากฎว่าดินมันฉ่ำมากเลย จะว่าแฉะก็ได้ค่ะ เค้าได้น้ำเยอะเกิน หรือ เพราะสาเหตุอื่นคะ คือเราไม่เคยเลี้ยงไผ่มาก่อนเลย ถามทางร้านเค้าก็บอกว่าปลูกดินแบบไหนก็ได้ ที่ตรงนี้ที่เราปลูกเค้าน้ำค่อนข้างถึงเยอะหน่อยค่ะ เพราะใกล้ก๊อกน้ำ เวลาเรามาล้างมือ ล้างเท้าก็จะมีน้ำไหลไปตลอดน่ะค่ะ



ใครพอทราบว่าเป็นเพราะอะไรช่วยไผ่เราหน่อยนะคะ เม่าโศก
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 6
ใบแห้งเกิดได้ทั้งจากการขาดน้ำและเป็นการย้ายไปรับแดดช่วงแรก หลังจากอยู่ในร่มนาน  แต่เมื่อมีใบอ่อนงอกออกมาใหม่แล้ว ใบชุดใหม่จะมีความเคยชินกับการรับแดด(แต่นั่นคือน้ำต้องเพรียบนะครับ)

ไม่รู้ว่าตินปลูกท่านขุดหลุมลึกเกินไปหรือเปล่าครับ  จากรูปที่สอง ปกติรากไผ่จะหากินผิวดิน เริ่มปลูกใหม่ขุดลึกทำให้รากขาดออกซิเจนได้  ควรขุดลึกพอประมาณ  ง่ายๆคือเอาแค่ปากหลุมเท่ากับดินในถุงดำที่ชำไผ่  อย่าขุดลึก  แต่ให่ขุดให้กว้าง  

ไผ่หรือกอไผ่เมื่อปลูกไปนานๆจะมีลักษณะรากลอยมาหากินตามผิวดิน ถ้าท่านสังเกตุกอไผ่ที่มีอายุพอประมาณลักษณะกอเขาจะเหมือนเราปลูกเขาไว้บนเนินเล็กๆ ทั้งๆที่ปลูกตอนแรกระดับดินแถวนั้นก็เท่าๆกัน แต่ส่วนที่เป็นกอจะเห็นโคนกอดินกองพูนสูงขึ้นกว่าที่ข้างๆ  นั่นแหละคือเหตุผลที่ผมบอกว่ารากไผ่ไม่หากินลึก

ไผ่ตงมีรากอากาศ(ไผ่ทุกชนิดที่มีรากอากาศ)จะชอบน้ำ  และทนน้ำท่วมขังได้เป็นเดือนๆเลยครับ  กรณีของท่านที่เกรงว่าน้ำเยอะเกินนั้นตัดไปได้เลย

รากไผ่อาณุภาพไม่แรงเหมือนรากต้นไม้ยืนต้นครับ  ที่เกรงว่าส่วนรากจะทำให้กำแพงพังตัดไปได้ครับ  ส่วนที่ว่าในอนาคตจะมีส่วนทำให้กำแพงพังน่าจะเป็นเมื่อเขาโตเต็มที่เลยเอนไปพิงกำแพง แล้วเจอลมฝนเข้าอีกอันนี้มีส่วน   ถ้ากังวลเรื่องรากและลำกับกำแพง  ท่านก็ตัดหน่อที่งอกไปทางกำแพงมากิน  แล้วปล่ยหน่อที่งอกมาในทิศทางที่ท่านต้องการให้เขาบินขึ้นไปเป็นลำในตำแหน่งนั้นๆครับ  หรือควบคุมความสูงของลำให้สูงเท่าที่เราต้องการได้  สามารทำได้ทั้งช่วงที่เป็นหน่อบ้น(คือช่วงที่หน่อไม่แทงโผล่ขึ้นมาบนดินแล้วพุ่งสูงขึ้นไปบนฟ้า  ช่วงนี้จะโตเร็วมากครับบางชนิดโตวันละเมตรเลยครับ  และช่วงนี้จะยังไม่มีกิ่งก้านสาขาหรือใบครับ  ท่านสามารถตัดยอดเพื่อรักษาระดับความสูงของลำไผ่นำนี้ได้ตามระดับที่ท่านต้องการ เช่นลำนี้อยากให้เรือนยอดสูงแค่สามเมตร  พอหน่อบินบินขึ้นมาสักสี่เมตรท่านก็ตักให้เหลือสามเมตร  หรือท่านจะตัดในช่วงที่เขาสูงเต็มที่แล้วก็ได้ครับแต่อาจไม่สะดวกเพราะไผ่เขาจะสูงมีกิ่งก้านใบแล้ว

ไผ่ตงในชื่อไทยมีหลายชื่อครับ  ไผ่ตงลืมแล้ง ตงศรีปราจีน ตงหวานฯลฯ

ถ้าชื่อพฤกษศาสตร์ มี Bambusa beechayana ตงลืมแล้ง กิ่มซุ่ง ผมเรียเขาว่าไผ่ร้อยนาม เพราะมีชื่อไทยเยอะมาก  ชนิดนี้ปลูกในบริเวณบ้านได้ดี เป็นไผ่ขนาดกลางกอไม่แน่น ไม่มีหนาม ใบและขนไม่คัน หน่อหวานอร่อยหน่ออกหน้าแล้งได้ง่ายกว่าชนิดอื่น  ศก. ลำโตขีดสุดของสายพันธ์เคยเห็นโต6-7นิ้วครับ  ความสูงประมาณ 10-14 เมตร

ถ้าเป็น Dendrocalamus asper ตงศรีปราจีน และชื่อไทยอย่างอื่นบ้าง  อันนี้เป็นไผ่ขนาดใหญ่ ถ้าโตเต็มกำลังตามขีดสุด ลำจะมีศก 8-10 นิ้วได้ ความสูง20เมตรหรือมากกว่า  ไม่มีหนาม หน่ออร่อย แต่ใบและขนอาจทำให้แพ้และคันจากการสัมผัส  (ไม่ถึงขนาดลอยมากับลมแล้วแพ้)

ดูรูปแล้วไม่แน่ใจว่าเป็น B. beecheyana  หรือ D. asper

แต่ปลูกไผ่นั้นแหละครับโตไว ให้หน่อกิน คืนออกซิเจนให้บ้านท่านได้มากกว่าต้นไม้ชนิดอื่นถึงสามเท่า  จัดการง่ายๆ


ยิ่งท่านให้ข้อมูลว่าจะมีน้ำให้ไผ่เยอะเช่นนี้แล้วในอนาคตท่าจะมีหน่อไม้กินทั้งปีเลยครับ
แต่อย่างไรก็ตามเป็นเรื่องปกตินะครับตอนนี้ยังไม่เป็นกอเป็นแค่กิ่งเล็กท่านอาจกลัวว่าน้ำเยอะเกิน  แต่ในอนาคตถ้าเขาโตขึ้นกอใหญ่ขึ้นเขาก็ต้องการน้ำมากขึ้นนะครับ
ท่านอาจะใช้วิธีนำน้ำที่ใช้แล้วจากอ่างล้างหน้า อาบน้ำ ซักผ้า ล้างจาน ล้างผัก โถฉี่ถ้าแยกจากโถหนัก  ต่อท่อรวมลงวิ่งไปลงที่โคนกอได้เลยครับ
ไผ่เขียวทั้งปี หน้าแล้งก็ไม่ทิ้งใบ มีหน่อหน้าแลง ตราบใดที่ยังมีคนอยู่ในบ้านท่านและต้องใช้น้ำ

ปลูกไปในอนาคตกอเขาแน่นท่านก็ตัดกิ่งมาชำจำหน่ายจ่ายแจกให้เพื่อนเขาไปปลูกช่วยกันลดโลกร้อนเพิ่มออกซิเจน  ไผ่ขยายพันธ์ได้ง่ายที่สุดในสามโลกแล้วครับ

เคยไปพักคอนโดแถวๆสถานทูตอเมริกา มองเห็นบ้านเดี่ยวติดคอนโดนั้นเขาก็ปลูกไผ่ตง(D. asper)ติดริมรั้วเลยครับ ก็โตสวยงามดีให้ร่มเงาข้ามมาถึงเขตที่จอดรถคอนโด และจุดจอดรถที่ได้ร่มเงากอไผ่นั้นก็เป็นที่หมายตาของเจ้าของรถในคอนโด ถ้าถ้าเลือกได้และถ้าว่างก็จะเป็นตรงร่มเงาไผ่นี้แหละครับ

จำชื่อคอนโดไม่ได้แล้ว

ขอให้มีความสุขกับการปลูกไผ่ครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่