สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 9
ถ้าบ้านชั้นเดียว และหลังคาไม่ใหญ่มาก ใช้ต่อท่อจากก๊อกน้ำประปาก็น่าจะได้นะครับ
อย่างข้างล่างนี้เป็นชุดที่ผมใช้อยู่ ราคาทั้งหมดที่เห็นนี่ไม่เกิน 1 ร้อยบาท
เป็นพวกชุดสายอุปกรณ์น้ำหยด ท่อPE ตัวรัดท่อPE หัวต่อท่อPEกับสายยาง
หัวต่อท่อPEกับสายน้ำหยด และหัวสปริงเกอร์น้ำหยดในขนาดที่ต้องการ เหล่านี้ไปหาซื้อได้ตามร้านอุปกรณ์การเกษตร
หัวสปริงเกอร์ขนาดเล็ก
จะลองซื้อมาใช้หลายๆยี่ห้อก็ได้ เพราะตัวละไม่ถึงสิบบาท
แต่ถ้าเลือกหาซื้อได้ ขอแนะนำยี่ห้อ S drop (ตามภาพ)
เพราะเท่าที่ลองมาเองหลายยี่ห้อ ในวงรัศมีน้ำของเจ้านี้จะส่งน้ำไปได้อย่างทั่วถึงและสม่ำเสมอกันกว่าเจ้าอื่นๆ
รัศมีน้ำไกลส่งได้ไกลประมาณ 3 เมตร (เส้นผ่านศูนย์กลาง 6 เมตร)
และถ้ายกหัว sprinkle ให้สูงจากพื้นได้อีก รัศมีวงน้ำก็สามารถขยายได้กว้างกว่านี้
ต่อท่อกันง่ายๆอย่างนี้เลยครับ
หาคลิปมารัดระหว่างรอยต่อสายยาง กันหลุดไว้ด้วย
นี่ขนาดเปิดก๊อกไว้แค่นี้ก็ได้แรงดันน้ำเกินมากพอสำหรับสปริงเกอร์ตัวเล็กๆแล้ว
ปล. อันที่จริงหากใครสามารถหาวิธีสร้างจุดกรองน้ำไว้ระหว่างนี้ได้สักอันก็ดี
เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำมีเศษตะกอนอะไรใหญ่ๆไหลปะปนไปอุดตันหัว sprinkle
เป็นการป้องกันไว้ก่อน เพราะการขึ้นหลังคาเพื่อไปแก้ไขกันในภายหลังสำหรับบางลักษณะอาจเกิดอันตรายได้ง่าย
ส่วนอันนี้เป็นภาพเวลาใช้งานจริง จุดยากที่สุดอีกอันคือตรงนี้แหละ
ว่าจะทำอย่างไรจึงจะเอาหัว sprinkle นี้ไปวางตั้งอยู่บนหลังคาให้ได้
คือจะตั้งมันอย่างไรให้มั่นคงพอ และไม่เอียงกระเท่เร่ไปมามากเกินความต้องการ
ซึ่งตรงนี้ก็ต้องหาวิธีที่เหมาะสมกับรูปแบบหลังคากันเอาเองแล้ว
อย่างในภาพ ผมก็ไม่ได้ปีนขึ้นไปวางกลางหลังคา
แต่ใช้วิธีเอาไม้ไผ่ยาวๆ มาดันๆแท่นตั้ง sprinkle ทีละนิด จนมันไปตั้งอยู่ในตำแหน่งที่เราต้องการ
หลังคาอันนี้มีความลาดเอียงน้อย และลาดเทลงมาทางเดียว
รัศมีน้ำคือวงกลมสีเหลือง ซึ่งผมวางตำแหน่งให้รัศมีน้ำไปถึงปลายขอบด้านหลังคาด้านบนๆ
จากนั้นเวลาที่เราเปิดน้ำพรมหลังคาไปสักพัก น้ำส่วนที่เหลือก็จะทยอยไหลลงมาตามความเอียงของหลังคา
ทำให้พื้นที่หลังคาส่วนที่อยู่ต่ำกว่าลงมามีความเย็นมากขึ้นไปด้วยเอง
จุดที่ผมใช้อยู่นี่ก็เป็นอาคารชั้นเดียว เพดานห้องสูงแค่สองเมตรกว่าๆ
หลังคากับฝ้าเพดานก็มีความสูงห่างกันไม่ถึงฟุต ทำให้ไม่สะดวกเปิดเข้าไปติดตั้งฉนวนกันความร้อนใดๆได้
เวลากลางวันแดดเปรี้ยงๆ ห้องด้านล่างจึงค่อนข้างร้อน
แต่พอใช้วิธีนี้ ก็ทำให้ผู้ที่อยู่ในอาคารรู้สึกเย็นสบายขึ้นกว่าเดิมมากอย่างรู้สึกได้
ขนาดบางวันที่แดดจัดและอากาศข้างนอกร้อน
ก็ยังสามารถปิดหน้าต่างแล้วเข้าไปอยู่สบายๆภายในอาคารได้โดยไม่ต้องใช้พัดลม
(แค่อยู่สบายๆนะครับ ไม่ใช่บอกว่าเย็นเหมือนเปิดแอร์)
ซึ่งโดยปกติผมจะเปิดน้ำเพียงแค่วันละ 3 ชั่วโมง
คือช่วงใกล้ๆเที่ยง ไปถึงสักบ่ายสามก็จะปิด
เพราะหลังคาเป็นเพิงหมาแหงนหันไปทางตะวันตก หลังจากบ่ายสามไปตะวันก็เริ่มไม่ค่อยส่องกระทบโดนหลังคาตรงๆแล้ว
หรือเปิดน้ำพรมหลังคาอีกที ถ้ามีใครต้องการใช้เครื่องปรับอากาศในเวลากลางวัน
เพราะมันสามารถช่วยลดภาระความร้อนที่เคยแผ่ลงมาจากหลังคาเข้ามาในห้องด้านล่างได้มากโขอยู่
-----------------------------
ปล. เพิ่งไปทดสอบจากของจริงมาเมื่อสักครู่นี้
หัว sprinkler รุ่นเล็กนี้ ใช้น้ำ 2 ลิตรต่อหัว/นาที (ชั่วโมงละ 120 ลิตร)
เพื่อพรมไปทั่วหลังคาเป็นวงกลมรัศมี 3 เมตร = พื้นที่ 28.26 ตรม.โดยประมาณ
(เทียบกับการอาบน้ำฝักบัวใช้น้ำ 5-7 ลิตร/นาที)
คิดเป็นค่าน้ำเฉลี่ยชั่วโมงละ 1.9 บาท
(ที่น้ำประปายูนิตละ 16 บาท, หรือลิตรละ 0.016 บาท)
เมื่อนำ ค่าวัสดุอุปกรณ์+ค่าใช้จ่าย+อุณหภูมิที่ลดได้ต่อความรู้สึกของผู้ใช้งาน
มาเปรียบเทียบกับการลดความร้อน/ทำความเย็นด้วยวิธีการอื่นๆ ในหลากหลายแง่มุมแล้ว (เช่นความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม)
วิธีนี้จะคุ้มหรือไม่คุ้มอย่างไร ก็ถือว่าเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถนำไปทดลองทำและปรับประยุกต์ใช้กันได้ตามความเหมาะสมครับ
อย่างข้างล่างนี้เป็นชุดที่ผมใช้อยู่ ราคาทั้งหมดที่เห็นนี่ไม่เกิน 1 ร้อยบาท
เป็นพวกชุดสายอุปกรณ์น้ำหยด ท่อPE ตัวรัดท่อPE หัวต่อท่อPEกับสายยาง
หัวต่อท่อPEกับสายน้ำหยด และหัวสปริงเกอร์น้ำหยดในขนาดที่ต้องการ เหล่านี้ไปหาซื้อได้ตามร้านอุปกรณ์การเกษตร
หัวสปริงเกอร์ขนาดเล็ก
จะลองซื้อมาใช้หลายๆยี่ห้อก็ได้ เพราะตัวละไม่ถึงสิบบาท
แต่ถ้าเลือกหาซื้อได้ ขอแนะนำยี่ห้อ S drop (ตามภาพ)
เพราะเท่าที่ลองมาเองหลายยี่ห้อ ในวงรัศมีน้ำของเจ้านี้จะส่งน้ำไปได้อย่างทั่วถึงและสม่ำเสมอกันกว่าเจ้าอื่นๆ
รัศมีน้ำไกลส่งได้ไกลประมาณ 3 เมตร (เส้นผ่านศูนย์กลาง 6 เมตร)
และถ้ายกหัว sprinkle ให้สูงจากพื้นได้อีก รัศมีวงน้ำก็สามารถขยายได้กว้างกว่านี้
ต่อท่อกันง่ายๆอย่างนี้เลยครับ
หาคลิปมารัดระหว่างรอยต่อสายยาง กันหลุดไว้ด้วย
นี่ขนาดเปิดก๊อกไว้แค่นี้ก็ได้แรงดันน้ำเกินมากพอสำหรับสปริงเกอร์ตัวเล็กๆแล้ว
ปล. อันที่จริงหากใครสามารถหาวิธีสร้างจุดกรองน้ำไว้ระหว่างนี้ได้สักอันก็ดี
เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำมีเศษตะกอนอะไรใหญ่ๆไหลปะปนไปอุดตันหัว sprinkle
เป็นการป้องกันไว้ก่อน เพราะการขึ้นหลังคาเพื่อไปแก้ไขกันในภายหลังสำหรับบางลักษณะอาจเกิดอันตรายได้ง่าย
ส่วนอันนี้เป็นภาพเวลาใช้งานจริง จุดยากที่สุดอีกอันคือตรงนี้แหละ
ว่าจะทำอย่างไรจึงจะเอาหัว sprinkle นี้ไปวางตั้งอยู่บนหลังคาให้ได้
คือจะตั้งมันอย่างไรให้มั่นคงพอ และไม่เอียงกระเท่เร่ไปมามากเกินความต้องการ
ซึ่งตรงนี้ก็ต้องหาวิธีที่เหมาะสมกับรูปแบบหลังคากันเอาเองแล้ว
อย่างในภาพ ผมก็ไม่ได้ปีนขึ้นไปวางกลางหลังคา
แต่ใช้วิธีเอาไม้ไผ่ยาวๆ มาดันๆแท่นตั้ง sprinkle ทีละนิด จนมันไปตั้งอยู่ในตำแหน่งที่เราต้องการ
หลังคาอันนี้มีความลาดเอียงน้อย และลาดเทลงมาทางเดียว
รัศมีน้ำคือวงกลมสีเหลือง ซึ่งผมวางตำแหน่งให้รัศมีน้ำไปถึงปลายขอบด้านหลังคาด้านบนๆ
จากนั้นเวลาที่เราเปิดน้ำพรมหลังคาไปสักพัก น้ำส่วนที่เหลือก็จะทยอยไหลลงมาตามความเอียงของหลังคา
ทำให้พื้นที่หลังคาส่วนที่อยู่ต่ำกว่าลงมามีความเย็นมากขึ้นไปด้วยเอง
จุดที่ผมใช้อยู่นี่ก็เป็นอาคารชั้นเดียว เพดานห้องสูงแค่สองเมตรกว่าๆ
หลังคากับฝ้าเพดานก็มีความสูงห่างกันไม่ถึงฟุต ทำให้ไม่สะดวกเปิดเข้าไปติดตั้งฉนวนกันความร้อนใดๆได้
เวลากลางวันแดดเปรี้ยงๆ ห้องด้านล่างจึงค่อนข้างร้อน
แต่พอใช้วิธีนี้ ก็ทำให้ผู้ที่อยู่ในอาคารรู้สึกเย็นสบายขึ้นกว่าเดิมมากอย่างรู้สึกได้
ขนาดบางวันที่แดดจัดและอากาศข้างนอกร้อน
ก็ยังสามารถปิดหน้าต่างแล้วเข้าไปอยู่สบายๆภายในอาคารได้โดยไม่ต้องใช้พัดลม
(แค่อยู่สบายๆนะครับ ไม่ใช่บอกว่าเย็นเหมือนเปิดแอร์)
ซึ่งโดยปกติผมจะเปิดน้ำเพียงแค่วันละ 3 ชั่วโมง
คือช่วงใกล้ๆเที่ยง ไปถึงสักบ่ายสามก็จะปิด
เพราะหลังคาเป็นเพิงหมาแหงนหันไปทางตะวันตก หลังจากบ่ายสามไปตะวันก็เริ่มไม่ค่อยส่องกระทบโดนหลังคาตรงๆแล้ว
หรือเปิดน้ำพรมหลังคาอีกที ถ้ามีใครต้องการใช้เครื่องปรับอากาศในเวลากลางวัน
เพราะมันสามารถช่วยลดภาระความร้อนที่เคยแผ่ลงมาจากหลังคาเข้ามาในห้องด้านล่างได้มากโขอยู่
-----------------------------
ปล. เพิ่งไปทดสอบจากของจริงมาเมื่อสักครู่นี้
หัว sprinkler รุ่นเล็กนี้ ใช้น้ำ 2 ลิตรต่อหัว/นาที (ชั่วโมงละ 120 ลิตร)
เพื่อพรมไปทั่วหลังคาเป็นวงกลมรัศมี 3 เมตร = พื้นที่ 28.26 ตรม.โดยประมาณ
(เทียบกับการอาบน้ำฝักบัวใช้น้ำ 5-7 ลิตร/นาที)
คิดเป็นค่าน้ำเฉลี่ยชั่วโมงละ 1.9 บาท
(ที่น้ำประปายูนิตละ 16 บาท, หรือลิตรละ 0.016 บาท)
เมื่อนำ ค่าวัสดุอุปกรณ์+ค่าใช้จ่าย+อุณหภูมิที่ลดได้ต่อความรู้สึกของผู้ใช้งาน
มาเปรียบเทียบกับการลดความร้อน/ทำความเย็นด้วยวิธีการอื่นๆ ในหลากหลายแง่มุมแล้ว (เช่นความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม)
วิธีนี้จะคุ้มหรือไม่คุ้มอย่างไร ก็ถือว่าเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถนำไปทดลองทำและปรับประยุกต์ใช้กันได้ตามความเหมาะสมครับ
แสดงความคิดเห็น
การแก้ปัญหาบ้านร้อนโดยติดตั้งหัวฉีด Sprinker บนหลังคา
สอบถามผู้รู้หรือมีประสบการณ์ จะลงทุนติดตั้งหัว Sprinker บนหลังคาบ้านชั้นเดียวเพื่อแก้ปัญหาบ้านร้อนตอนกลางวัน โดยจะใช้พลังงานจากโซล่าเซลบนหลังคาตามรูป มีข้อควรระวังอะไรบ้างครับ หรือมีรายละเอียดชนิดของปั้มและแผงโซล่าเซลมาแนะนำให้จะเป็นพระคุณอย่างสูงครับ